“ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ” หัวเรือใหญ่ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ธนชาต นั่งแท่น CEO ใหม่ คุมธนาคาร พร้อมเปิดทัพผู้บริหารแกร่ง ชูนโยบาย Customer Centric ผนึก Fast & Focused ขับเคลื่อนองค์กรเพื่อรักษาความเป็นธนาคารชั้นนำ ลั่นพร้อมทุ่มเททำงานเต็มที่ ประกาศเป้าหมายธุรกิจปี’62 รุกทุกด้านทั้งสินเชื่อรถ, บ้าน,เงินฝาก พร้อมเร่งขยายสัดส่วนธุรกิจลูกค้ารายย่อย เผยความสำเร็จปี’61 ทำกำไรสุทธิรวม 14,703 ล้านบาท ส่งผลเติบโตต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน เฉลี่ยโตปีละ 10%
นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะผู้ที่เติบโตมาจากพนักงานธรรมดาคนหนึ่ง ย่อมมีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจากกรรมการและผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยตำแหน่งล่าสุดก่อนได้รับมอบหมายครั้งนี้ คือ รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารธนชาตดำเนินนโยบายเชิงรุกมาโดยตลอด การเข้ามาบริหารงานจากนี้ จะเป็นการสานต่อนโยบายเพื่อมุ่งไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้ บนพื้นฐานของการ ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยให้ความสำคัญกับความต้องการและผลประโยชน์ของลูกค้าสูงสุด และจะใช้หลักการทำงานแบบ Fast & Focused ในทุกองคาพยพเพื่อเน้นการตั้งเป้าหมายที่คมชัด วัดผลได้ สื่อสารให้ทุกคนในทีมรับรู้ และมีแรงผลักดันที่จะเติบโตไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อรักษาความเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ
ธนาคารธนชาตมีทีมงานที่มุ่งมั่น เชี่ยวชาญและดำเนินกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตในธุรกิจหลักอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้ฐานะทางการเงินเติบโตอย่างแข็งแกร่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง มีสินทรัพย์รวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท และล่าสุด ผลกำไรสุทธิปี 2561 อยู่ที่ 14,703 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยเฉลี่ยเติบโตปีละ 10% ขณะที่ตัวเลขหนี้เสีย (NPL Ratio) คงที่ 2.3% ถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรม
จากรากฐานความสำเร็จที่มี การบริหารงานในปี 2562 ธนชาตกำหนดกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจไว้อย่างชัดเจน 4 ประการ ได้แก่ การปรับผังผู้บริหารและตั้งหน่วยงานใหม่ ให้สอดรับกับแผนธุรกิจและ Customer Journey เพื่อให้แต่ละหน่วยงาน Focus กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น เช่น ตั้งหน่วยงาน Enterprise Digital Banking เพื่อศึกษาพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปและวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้เหมาะสม และจะมีการนำโมเดลการบริหารธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบบริหารธุรกิจด้านอื่นๆ อีกทั้งแต่ละธุรกิจจะมีทีมบริหารที่ดูแลงานขายและงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กลยุทธ์ข้อต่อมา คือ การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) ซึ่งจะเป็นการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนธุรกิจทุกทิศทางและเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม กลยุทธ์ข้อที่ 3 การลดกระบวนการทำงานต่างๆ (Agility) เปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติเพื่อให้บริการได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยที่ผ่านมาธนชาตได้พัฒนาระบบ Automotive Lending Digital Experience (ALDX) ให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้นซึ่งประสบความสำเร็จ ลูกค้าให้การตอบรับเป็นอย่างดี และกลยุทธ์ประการที่ 4 การเพิ่มความรู้ทักษะพนักงาน ให้มีความรู้ลึก และรอบด้านในการให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ลูกค้า (Advisor) อย่างตรงจุดและสม่ำเสมอ
สำหรับทัพผู้บริหารซึ่งมากด้วยประสบการณ์ และมีความเข้าใจลูกค้าและตลาดการเงินธนาคารอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะเข้ามาบริหารธุรกิจหลักที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้ธนชาตรักษาความเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ ประกอบด้วย นายวิลเลียม ซาอิด รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งมีประสบการณ์บริหารงานธุรกิจด้านโครงสร้างต้นทุน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงของสโกเทียแบงก์มาแล้วในหลายประเทศ อาทิ แคนาดา สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน รับผิดชอบบริหารด้าน ลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ และ การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม ส่วน ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ บริหารโดย นายป้อมเพชร รสานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ซึ่งมีประสบการณ์คลุกคลีในวงการรถยนต์และมีความเข้าใจธุรกิจนี้เป็นอย่างดี รวมถึงร่วมงานกับธนชาตมานานกว่า 30 ปี เป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้ธนาคารเป็นที่หนึ่งของสินเชื่อรถยนต์ และอีกหน่วยงานที่สำคัญคือ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล รองกรรมการผู้จัดการ จะยังคงบริหารงานอย่างต่อเนื่องเหมือนเดิม
“สำหรับพันธกิจที่ธนาคารธนชาตจะมุ่งไปในปี 2562 ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ การรักษาความเป็นที่ 1 ในตลาดสินเชื่อรถยนต์, พัฒนาสินเชื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ, เพิ่มบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน (CASA) และขยายสัดส่วนธุรกิจลูกค้ารายย่อย ซึ่งจากกลยุทธ์และทิศทางบริหารงานที่คมชัดดังกล่าวประกอบกับทีมงานที่มีคุณภาพ ผมเชื่อมั่นว่าจะทำให้ธนชาตไปถึงเป้าหมายของปี 2562 ได้ และผลประกอบการจะเติบโตไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา” นายประพันธ์กล่าวสรุป
“ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ” CEO ใหม่ธนชาตประกาศเป้าหมายธุรกิจ เปิดทัพผู้บริหารแกร่ง ตั้งธงปีนี้เติบโตทุกด้าน!
“ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ” หัวเรือใหญ่ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ธนชาต นั่งแท่น CEO ใหม่ คุมธนาคาร พร้อมเปิดทัพผู้บริหารแกร่ง ชูนโยบาย Customer Centric ผนึก Fast & Focused ขับเคลื่อนองค์กรเพื่อรักษาความเป็นธนาคารชั้นนำ ลั่นพร้อมทุ่มเททำงานเต็มที่ ประกาศเป้าหมายธุรกิจปี’62 รุกทุกด้านทั้งสินเชื่อรถ, บ้าน,เงินฝาก พร้อมเร่งขยายสัดส่วนธุรกิจลูกค้ารายย่อย เผยความสำเร็จปี’61 ทำกำไรสุทธิรวม 14,703 ล้านบาท ส่งผลเติบโตต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน เฉลี่ยโตปีละ 10%
นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะผู้ที่เติบโตมาจากพนักงานธรรมดาคนหนึ่ง ย่อมมีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจากกรรมการและผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยตำแหน่งล่าสุดก่อนได้รับมอบหมายครั้งนี้ คือ รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารธนชาตดำเนินนโยบายเชิงรุกมาโดยตลอด การเข้ามาบริหารงานจากนี้ จะเป็นการสานต่อนโยบายเพื่อมุ่งไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้ บนพื้นฐานของการ ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยให้ความสำคัญกับความต้องการและผลประโยชน์ของลูกค้าสูงสุด และจะใช้หลักการทำงานแบบ Fast & Focused ในทุกองคาพยพเพื่อเน้นการตั้งเป้าหมายที่คมชัด วัดผลได้ สื่อสารให้ทุกคนในทีมรับรู้ และมีแรงผลักดันที่จะเติบโตไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อรักษาความเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ
ธนาคารธนชาตมีทีมงานที่มุ่งมั่น เชี่ยวชาญและดำเนินกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตในธุรกิจหลักอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้ฐานะทางการเงินเติบโตอย่างแข็งแกร่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง มีสินทรัพย์รวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท และล่าสุด ผลกำไรสุทธิปี 2561 อยู่ที่ 14,703 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยเฉลี่ยเติบโตปีละ 10% ขณะที่ตัวเลขหนี้เสีย (NPL Ratio) คงที่ 2.3% ถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรม
จากรากฐานความสำเร็จที่มี การบริหารงานในปี 2562 ธนชาตกำหนดกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจไว้อย่างชัดเจน 4 ประการ ได้แก่ การปรับผังผู้บริหารและตั้งหน่วยงานใหม่ ให้สอดรับกับแผนธุรกิจและ Customer Journey เพื่อให้แต่ละหน่วยงาน Focus กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น เช่น ตั้งหน่วยงาน Enterprise Digital Banking เพื่อศึกษาพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปและวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้เหมาะสม และจะมีการนำโมเดลการบริหารธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบบริหารธุรกิจด้านอื่นๆ อีกทั้งแต่ละธุรกิจจะมีทีมบริหารที่ดูแลงานขายและงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กลยุทธ์ข้อต่อมา คือ การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) ซึ่งจะเป็นการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนธุรกิจทุกทิศทางและเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม กลยุทธ์ข้อที่ 3 การลดกระบวนการทำงานต่างๆ (Agility) เปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติเพื่อให้บริการได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยที่ผ่านมาธนชาตได้พัฒนาระบบ Automotive Lending Digital Experience (ALDX) ให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้นซึ่งประสบความสำเร็จ ลูกค้าให้การตอบรับเป็นอย่างดี และกลยุทธ์ประการที่ 4 การเพิ่มความรู้ทักษะพนักงาน ให้มีความรู้ลึก และรอบด้านในการให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ลูกค้า (Advisor) อย่างตรงจุดและสม่ำเสมอ
สำหรับทัพผู้บริหารซึ่งมากด้วยประสบการณ์ และมีความเข้าใจลูกค้าและตลาดการเงินธนาคารอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะเข้ามาบริหารธุรกิจหลักที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้ธนชาตรักษาความเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ ประกอบด้วย นายวิลเลียม ซาอิด รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งมีประสบการณ์บริหารงานธุรกิจด้านโครงสร้างต้นทุน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงของสโกเทียแบงก์มาแล้วในหลายประเทศ อาทิ แคนาดา สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน รับผิดชอบบริหารด้าน ลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ และ การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม ส่วน ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ บริหารโดย นายป้อมเพชร รสานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ซึ่งมีประสบการณ์คลุกคลีในวงการรถยนต์และมีความเข้าใจธุรกิจนี้เป็นอย่างดี รวมถึงร่วมงานกับธนชาตมานานกว่า 30 ปี เป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้ธนาคารเป็นที่หนึ่งของสินเชื่อรถยนต์ และอีกหน่วยงานที่สำคัญคือ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล รองกรรมการผู้จัดการ จะยังคงบริหารงานอย่างต่อเนื่องเหมือนเดิม
“สำหรับพันธกิจที่ธนาคารธนชาตจะมุ่งไปในปี 2562 ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ การรักษาความเป็นที่ 1 ในตลาดสินเชื่อรถยนต์, พัฒนาสินเชื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ, เพิ่มบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน (CASA) และขยายสัดส่วนธุรกิจลูกค้ารายย่อย ซึ่งจากกลยุทธ์และทิศทางบริหารงานที่คมชัดดังกล่าวประกอบกับทีมงานที่มีคุณภาพ ผมเชื่อมั่นว่าจะทำให้ธนชาตไปถึงเป้าหมายของปี 2562 ได้ และผลประกอบการจะเติบโตไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา” นายประพันธ์กล่าวสรุป