21/1/2562
NASA
นักบินอวกาศ บัซซ์ อัลดริน รู้สึกทึ่งกับความเงียบสงัดและเวิ้งว้างว่างเปล่าของดวงจันทร์
ทุกวันนี้รัฐบาลของหลายประเทศและองค์กรเอกชนหลายแห่ง ต่างก็แสดงความสนใจที่จะตั้งสถานีอวกาศและขุดเจาะหาทรัพยากรต่าง ๆ บนดวงจันทร์ โดยล่าสุดจีนได้ส่งยานฉางเอ๋อ-4 เพื่อสำรวจด้านไกลของดวงจันทร์ รวมทั้งพยายามเพาะปลูกพืชบนดาวเคราะห์บริวารของโลกเป็นครั้งแรกอีกด้วย
แต่ก็ยังมีข้อกังขาอยู่ว่า การเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินบนดวงจันทร์ รวมทั้งการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เหล่านั้นสามารถทำได้อย่างถูกต้องหรือไม่ และใครจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินในเรื่องเหล่านี้
นับแต่ภารกิจอะพอลโล-11 เมื่อปี 1969 ก็แทบไม่มีการสำรวจดวงจันทร์กันอีกเลย ส่วนมนุษย์นั้นได้ไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายก็เมื่อปี 1972 อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้ความสนใจที่จะสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการทำเหมืองขุดเจาะเอาทรัพยากรอันมีค่าออกมาใช้ได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการมองหาทองคำ แพลทินัม หรือแร่ธาตุหายากที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ บริษัทไอสเปซ (iSpace) ของญี่ปุ่น ยังมีโครงการจะสร้างฐานเพื่อการขนส่งระหว่างโลกกับดวงจันทร์ รวมทั้งสำรวจหาแหล่งน้ำบริเวณขั้วของดวงจันทร์อีกด้วย
ปัญหาเรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินบนดวงจันทร์ รวมทั้งสภาพการณ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและธุรกิจ เนื่องจากการแก่งแย่งกันครอบครองที่ดินและทรัพยากรต่างดาวนั้น เริ่มเป็นประเด็นมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นที่ชาติมหาอำนาจแข่งขันกันสำรวจอวกาศอย่างดุเดือดแล้ว
กำเนิดสนธิสัญญาอวกาศ
เมื่อพบว่าองค์การนาซาเริ่มวางแผนจะส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก สหประชาชาติจึงได้เริ่มร่างสนธิสัญญาอวกาศ (Outer space treaty) ซึ่งสหรัฐฯและอีกหลายประเทศร่วมลงนามในปี 1967 รวมทั้งสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักรด้วย โดยสนธิสัญญาดังกล่าวระบุว่า "อวกาศรวมถึงดวงจันทร์และวัตถุในห้วงอวกาศอื่น ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ชาติต่าง ๆ จะสามารถอ้างกรรมสิทธิ์ได้ ด้วยการประกาศอำนาจอธิปไตย การเข้าครอบครองใช้ทำประโยชน์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ"
โจแอน วีลเลอร์ ผู้อำนวยการของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศ Alden Advisers บอกว่าสนธิสัญญาดังกล่าวเปรียบเสมือน "มหากฎบัตร แมกนา คาร์ตา แห่งห้วงอวกาศ" ซึ่งชี้ว่าการที่นีล อาร์มสตรอง และนักบินอวกาศชาวอเมริกันคนอื่น ๆ ปักธงชาติลงไปบนพื้นดวงจันทร์นั้น ไม่ได้มีผลผูกพันทำให้สหรัฐฯหรือบริษัทและกลุ่มบุคคลใด ๆ มีสิทธิ์เป็นเจ้าของพื้นที่บนดวงจันทร์ได้
ต่อมาในปี 1979 สหประชาชาติได้ออกข้อตกลงควบคุมกิจกรรมของประเทศต่าง ๆ บนดวงจันทร์และวัตถุอวกาศอื่น ๆ หรือที่เรียกกันว่า "ข้อตกลงดวงจันทร์" (Moon agreement) ซึ่งกำหนดว่าพื้นที่ในอวกาศดังกล่าวจะต้องถูกใช้ประโยชน์ไปในทางสันติเท่านั้น ส่วนการสร้างสถานีอวกาศบนดวงจันทร์จะต้องรายงานต่อยูเอ็นถึงตำแหน่งและวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างทุกครั้ง
เนื้อหาของข้อตกลงดวงจันทร์ยังระบุไว้ว่า "ดวงจันทร์และทรัพยากรธรรมชาติบนดวงจันทร์เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ" และ "จะต้องมีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่การใช้ประโยชน์นั้นจะสามารถเป็นไปได้"
แต่ปัญหาของข้อตกลงนี้คือมีเพียง 11 ประเทศเท่านั้นที่ร่วมให้สัตยาบัน เช่นฝรั่งเศสและอินเดีย แต่ชาติมหาอำนาจด้านอวกาศอย่างสหรัฐฯ รัสเซีย สหราชอาณาจักร หรือแม้กระทั่งจีน ไม่ได้ร่วมให้สัตยาบันด้วย ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบังคับใช้ข้อตกลงนี้อย่างได้ผล เนื่องจากประเทศที่ไม่ให้สัตยาบันไม่สามารถออกข้อบังคับควบคุมเป็นกฎหมาย ซึ่งจะผูกมัดให้เอกชนและบริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามได้
Getty Images
การบังคับใช้ข้อตกลงดวงจันทร์ให้ได้ผลไม่ใช่เรื่องง่าย
ใครจะได้ครองขุมทรัพย์บนดวงจันทร์?
ศาสตราจารย์โจแอน ไอรีน กาบรีโนวิชซ์ อดีตบรรณาธิการใหญ่ของวารสารกฎหมายอวกาศบอกว่า ไม่มีหลักประกันใด ๆ ที่รับรองได้ว่าสนธิสัญญาและข้อตกลงต่าง ๆ จะได้รับความเคารพยำเกรง เพราะการบังคับใช้นั้นมีปัจจัยหลากหลายทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และความเห็นสาธารณะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ส่วนสนธิสัญญาและข้อตกลงด้านอวกาศที่มีอยู่ก็ถูกท้าทายบ่อยครั้งขึ้น เช่นในปี 2015 สหรัฐฯผ่านกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจขนส่งอวกาศ รับรองสิทธิพลเมืองอเมริกันในการเป็นเจ้าของทรัพยากรที่ขุดเจาะได้จากดาวเคราะห์น้อย ซึ่งในอนาคตไม่มีใครทราบได้ว่า การรับรองสิทธินี้อาจขยายไปครอบคลุมถึงทรัพยากรบนดวงจันทร์ด้วยหรือไม่
เมื่อปี 2017 ลักเซมเบิร์กก็ออกกฎหมายแบบเดียวกัน โดยให้สิทธิแก่พลเมืองเป็นเจ้าของทรัพยากรที่พบในห้วงอวกาศ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีของลักเซมเบิร์กอ้างว่า กฎหมายนี้จะทำให้ชาติของตนก้าวขึ้นเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในภาคธุรกิจด้านอวกาศต่อไป
เฮเลน ทาเบนี ทนายความจากสถาบันนโยบายและกฎหมายอวกาศนาเลดีในสหราชอาณาจักรมองว่า ประเทศต่าง ๆ พร้อมที่จะช่วยเหลือบริษัทเอกชนของตนให้เข้าแสวงหาผลประโยชน์ในห้วงอวกาศมากขึ้น
"เป็นที่ชัดเจนว่าการทำเหมืองบนดวงจันทร์ ไม่ว่าจะทำเพื่อลำเลียงทรัพยากรมายังโลก หรือเพื่อแปรรูปตั้งแต่อยู่ในอวกาศ ล้วนเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับหลักการไม่สร้างความเสียหายในสนธิสัญญาอวกาศทั้งสิ้น"
"อาจกล่าวได้ว่าสหรัฐฯและลักเซมเบิร์กใช้อำนาจบาตรใหญ่เพื่อออกนอกลู่ทางของกรอบกฎหมาย จึงน่าสงสัยอย่างยิ่งว่าหลักการที่เปี่ยมด้วยจริยธรรม ซึ่งเชื่อว่าชาติต่างๆ ทั่วโลกจะสามารถร่วมกันสำรวจดวงจันทร์และอวกาศได้อย่างเท่าเทียมนั้น จะมีผลในทางปฏิบัติแค่ไหนกัน"
BBC/NEWS/ไทย
เราจะเข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินบนดวงจันทร์ได้หรือไม่?
NASA
นักบินอวกาศ บัซซ์ อัลดริน รู้สึกทึ่งกับความเงียบสงัดและเวิ้งว้างว่างเปล่าของดวงจันทร์
ทุกวันนี้รัฐบาลของหลายประเทศและองค์กรเอกชนหลายแห่ง ต่างก็แสดงความสนใจที่จะตั้งสถานีอวกาศและขุดเจาะหาทรัพยากรต่าง ๆ บนดวงจันทร์ โดยล่าสุดจีนได้ส่งยานฉางเอ๋อ-4 เพื่อสำรวจด้านไกลของดวงจันทร์ รวมทั้งพยายามเพาะปลูกพืชบนดาวเคราะห์บริวารของโลกเป็นครั้งแรกอีกด้วย
แต่ก็ยังมีข้อกังขาอยู่ว่า การเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินบนดวงจันทร์ รวมทั้งการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เหล่านั้นสามารถทำได้อย่างถูกต้องหรือไม่ และใครจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินในเรื่องเหล่านี้
นับแต่ภารกิจอะพอลโล-11 เมื่อปี 1969 ก็แทบไม่มีการสำรวจดวงจันทร์กันอีกเลย ส่วนมนุษย์นั้นได้ไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายก็เมื่อปี 1972 อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้ความสนใจที่จะสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการทำเหมืองขุดเจาะเอาทรัพยากรอันมีค่าออกมาใช้ได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการมองหาทองคำ แพลทินัม หรือแร่ธาตุหายากที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ บริษัทไอสเปซ (iSpace) ของญี่ปุ่น ยังมีโครงการจะสร้างฐานเพื่อการขนส่งระหว่างโลกกับดวงจันทร์ รวมทั้งสำรวจหาแหล่งน้ำบริเวณขั้วของดวงจันทร์อีกด้วย
ปัญหาเรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินบนดวงจันทร์ รวมทั้งสภาพการณ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและธุรกิจ เนื่องจากการแก่งแย่งกันครอบครองที่ดินและทรัพยากรต่างดาวนั้น เริ่มเป็นประเด็นมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นที่ชาติมหาอำนาจแข่งขันกันสำรวจอวกาศอย่างดุเดือดแล้ว
กำเนิดสนธิสัญญาอวกาศ
เมื่อพบว่าองค์การนาซาเริ่มวางแผนจะส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก สหประชาชาติจึงได้เริ่มร่างสนธิสัญญาอวกาศ (Outer space treaty) ซึ่งสหรัฐฯและอีกหลายประเทศร่วมลงนามในปี 1967 รวมทั้งสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักรด้วย โดยสนธิสัญญาดังกล่าวระบุว่า "อวกาศรวมถึงดวงจันทร์และวัตถุในห้วงอวกาศอื่น ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ชาติต่าง ๆ จะสามารถอ้างกรรมสิทธิ์ได้ ด้วยการประกาศอำนาจอธิปไตย การเข้าครอบครองใช้ทำประโยชน์ หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ"
โจแอน วีลเลอร์ ผู้อำนวยการของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศ Alden Advisers บอกว่าสนธิสัญญาดังกล่าวเปรียบเสมือน "มหากฎบัตร แมกนา คาร์ตา แห่งห้วงอวกาศ" ซึ่งชี้ว่าการที่นีล อาร์มสตรอง และนักบินอวกาศชาวอเมริกันคนอื่น ๆ ปักธงชาติลงไปบนพื้นดวงจันทร์นั้น ไม่ได้มีผลผูกพันทำให้สหรัฐฯหรือบริษัทและกลุ่มบุคคลใด ๆ มีสิทธิ์เป็นเจ้าของพื้นที่บนดวงจันทร์ได้
ต่อมาในปี 1979 สหประชาชาติได้ออกข้อตกลงควบคุมกิจกรรมของประเทศต่าง ๆ บนดวงจันทร์และวัตถุอวกาศอื่น ๆ หรือที่เรียกกันว่า "ข้อตกลงดวงจันทร์" (Moon agreement) ซึ่งกำหนดว่าพื้นที่ในอวกาศดังกล่าวจะต้องถูกใช้ประโยชน์ไปในทางสันติเท่านั้น ส่วนการสร้างสถานีอวกาศบนดวงจันทร์จะต้องรายงานต่อยูเอ็นถึงตำแหน่งและวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างทุกครั้ง
เนื้อหาของข้อตกลงดวงจันทร์ยังระบุไว้ว่า "ดวงจันทร์และทรัพยากรธรรมชาติบนดวงจันทร์เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ" และ "จะต้องมีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่การใช้ประโยชน์นั้นจะสามารถเป็นไปได้"
แต่ปัญหาของข้อตกลงนี้คือมีเพียง 11 ประเทศเท่านั้นที่ร่วมให้สัตยาบัน เช่นฝรั่งเศสและอินเดีย แต่ชาติมหาอำนาจด้านอวกาศอย่างสหรัฐฯ รัสเซีย สหราชอาณาจักร หรือแม้กระทั่งจีน ไม่ได้ร่วมให้สัตยาบันด้วย ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบังคับใช้ข้อตกลงนี้อย่างได้ผล เนื่องจากประเทศที่ไม่ให้สัตยาบันไม่สามารถออกข้อบังคับควบคุมเป็นกฎหมาย ซึ่งจะผูกมัดให้เอกชนและบริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามได้
Getty Images
การบังคับใช้ข้อตกลงดวงจันทร์ให้ได้ผลไม่ใช่เรื่องง่าย
ใครจะได้ครองขุมทรัพย์บนดวงจันทร์?
ศาสตราจารย์โจแอน ไอรีน กาบรีโนวิชซ์ อดีตบรรณาธิการใหญ่ของวารสารกฎหมายอวกาศบอกว่า ไม่มีหลักประกันใด ๆ ที่รับรองได้ว่าสนธิสัญญาและข้อตกลงต่าง ๆ จะได้รับความเคารพยำเกรง เพราะการบังคับใช้นั้นมีปัจจัยหลากหลายทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และความเห็นสาธารณะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ส่วนสนธิสัญญาและข้อตกลงด้านอวกาศที่มีอยู่ก็ถูกท้าทายบ่อยครั้งขึ้น เช่นในปี 2015 สหรัฐฯผ่านกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจขนส่งอวกาศ รับรองสิทธิพลเมืองอเมริกันในการเป็นเจ้าของทรัพยากรที่ขุดเจาะได้จากดาวเคราะห์น้อย ซึ่งในอนาคตไม่มีใครทราบได้ว่า การรับรองสิทธินี้อาจขยายไปครอบคลุมถึงทรัพยากรบนดวงจันทร์ด้วยหรือไม่
เมื่อปี 2017 ลักเซมเบิร์กก็ออกกฎหมายแบบเดียวกัน โดยให้สิทธิแก่พลเมืองเป็นเจ้าของทรัพยากรที่พบในห้วงอวกาศ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีของลักเซมเบิร์กอ้างว่า กฎหมายนี้จะทำให้ชาติของตนก้าวขึ้นเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในภาคธุรกิจด้านอวกาศต่อไป
เฮเลน ทาเบนี ทนายความจากสถาบันนโยบายและกฎหมายอวกาศนาเลดีในสหราชอาณาจักรมองว่า ประเทศต่าง ๆ พร้อมที่จะช่วยเหลือบริษัทเอกชนของตนให้เข้าแสวงหาผลประโยชน์ในห้วงอวกาศมากขึ้น
"เป็นที่ชัดเจนว่าการทำเหมืองบนดวงจันทร์ ไม่ว่าจะทำเพื่อลำเลียงทรัพยากรมายังโลก หรือเพื่อแปรรูปตั้งแต่อยู่ในอวกาศ ล้วนเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับหลักการไม่สร้างความเสียหายในสนธิสัญญาอวกาศทั้งสิ้น"
"อาจกล่าวได้ว่าสหรัฐฯและลักเซมเบิร์กใช้อำนาจบาตรใหญ่เพื่อออกนอกลู่ทางของกรอบกฎหมาย จึงน่าสงสัยอย่างยิ่งว่าหลักการที่เปี่ยมด้วยจริยธรรม ซึ่งเชื่อว่าชาติต่างๆ ทั่วโลกจะสามารถร่วมกันสำรวจดวงจันทร์และอวกาศได้อย่างเท่าเทียมนั้น จะมีผลในทางปฏิบัติแค่ไหนกัน"
BBC/NEWS/ไทย