ปํญหาที่ว่านี้หมายถึงปัญหาเรื่องการใช้ภาษาของคนภาคอื่นๆ ที่มีภาษาถิ่นของตัวเอง
เช่น ภาคเหนือ, ภาคอิสาน,ภาคใต้
ส่วนคนภาคกลางไม่น่าจะเจอปัญหานี้ เพราะประเทศไทย ใช้ภาษาไทยภาคกลางเป็นภาษาราชการหรือภาษากลางอยู่แล้ว
มาดูกันว่ามันเป็นปัญหายังไง....
ยกตัวอย่าง อย่างเคสของผม ผมเกิดและโตที่เชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่และจังหวัดในภาคเหนือตอนบน
ก็จะมีภาษาถิ่นที่เรียกว่า "กำเมือง"
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนเชียงใหม่ทุกคนจะอู้กำเมือง หรือพูดภาษาถิ่นได้ เพราะในเมืองเชียงใหม่
มีคนต่างถิ่นมาอยู่ หรือมาตั้งรกรากอยู่เยอะ
แล้วมันเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันยังไง (จริงๆก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่ก็ถือว่ามีประเด็นเหมือนกัน)
ยกตัวอย่างเช่น เวลาผมเข้าไปซื้อของในร้านค้า หรือจะสอบถามอะไรสักอย่างจากคนขาย
สมองผมก็ต้องสละเวลานิดนึงประมวลผลก่อนว่า แม่ค้าหรือพ่อค้ารูปร่างลักษณะหน้าตาแบบนี้ เราควรจะทักด้วยภาษาไทยกลาง
หรืออู้กำเมืองใส่ดี บางครั้งดูแล้วหน้าตาแบบนี้ คนเหนือแน่ๆ พอทักไป เค้าก็งงๆ พูดสวนกลับมาด้วยภาษาไทยกลาง ก็หน้าแตกไปเล็กน้อย
บางที ดูหน้าแล้วเด็กเทพ(กทม.)ชัดๆ ก็ทักภาษาไทยกลางไป เค้าดันอู้กำเมืองตอบกลับเรามา อันนี้ก็ต้องมาปรับจูนเรื่องการใช้ภาษาให้ตรงกันใหม่
อาจจะสงสัยกันว่า แล้วทำไมผมไม่พูดภาษาไทยกลางกับคนแปลกหน้าทุกคนไปก่อนเลยล่ะ? อันนี้ก็เป็นเพราะว่า มักจะมีคนที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม
จะชอบมาแซะ หรือชอบมาแขวะพวกที่อู้กำเมืองได้ แต่ไม่ค่อยยอมอู้ว่า " สลิด-ดก" แปลเป็นภาษาไทยกลางว่า "กระแดะ" นั่นเอง
ส่วนคนภาคกลางไม่ต้องคิดไรมาก เจอคนแปลกหน้าก็พูดไปตามปกติ ไม่ต้องมาคอยฉุกคิดว่าจะคุยภาษาอะไรกับเค้าดี
ผมคิดว่าประเด็นแบบนี้ คนทางภาคอิสาน,ภาคใต้ในเมืองใหญ่ๆที่มีคนต่างถิ่นมาอยู่ด้วยเยอะ ก็คงจะเจอเช่นกัน
ปัญหาไม่ได้มีแค่เฉพาะตอนเริ่มคุยกับคนแปลกหน้าเท่านั้น ในสถานที่ทำงาน ยิ่งเพื่อนร่วมงานเยอะ ยิ่งเพิ่มความสับสนเยอะ
อย่างในที่ทำงานผม ที่มีเพื่อนร่วมงานประมาณสามร้อยคน ผมจะต้องมาจดจำว่า เพื่อนร่วมงานคนนี้อู้กำเมืองได้ คนนี้อู้ไม่ได้
เจอหน้ากันครั้งแรก ก็ต้องถามก่อน อู้กำเมืองได้ก่อ? ถ้าอู้ไม่ได้ สมองก็จะบันทึกไว้เลย ว่าคราวหลังถ้าเจอคนนี้ ให้พูดภาษากลางใส่
บางทีก็สับสนกันเอง จำผิดจำถูกมั่ง กลายเป็นว่า กับคนๆนี้ เมื่อก่อนเคยคุยกันด้วยกำเมือง มาคราวนี้มาคุยกันด้วยภาษาไทยกลาง
ก็งงๆขำๆกันไป
ถ้าคู่สนทนาอู้กำเมืองไม่ได้เลย เช่นเป็นคนต่างถิ่น อันนี้ก็ไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไหร่
แต่กับคนที่พูดได้ทั้งสองภาษา อันนี้สิน่าปวดหัวกว่า
คือจะให้อู้กำเมืองก็ได้ จะคุยภาษาไทยกลางก็ได้ กับคนกลุ่มนี้ ต้องมาตกลงกันก่อน ว่าจะใช้ภาษาไหนคุยกัน
เพราะไม่อยากคุยสลับไปสลับมา จะใช้ภาษาไหน ก็ใช้ภาษานั้นไปให้ตลอดเลย
บางเคส เพื่อนในกลุ่มเดียวกันแท้ๆ อู้กำเมืองได้ทุกคน สมมุติในกลุ่มมี 5 คน รวมเราด้วย
ในกลุ่มนี้ จะมีสองคนที่เราอู้กำเมืองด้วย แต่กับอีกสองคนจะพูดด้วยภาษาไทยกลางกัน
เหตุเพราะ ตอนเริ่มรู้จักกันแรกๆ คุยด้วยภาษาไทยกลางกันก่อน ก็เลยเคยชินจะคุยกันด้วยไทยกลางมากกว่า
ถ้าจะเปลี่ยนมาอู้กำเมืองด้วย จะรู้สึกไม่ชินและแปลกๆ กลายเป็นว่า เวลามันคุยกับเรา ก็จะคุยภาษาไทยกลาง
แต่เวลามันคุยกับเพื่อนคนอื่นๆในกลุ่ม มันก็อู้กำเมือง เวลาอยู่ด้วยกันคุยกันเป็นกลุ่ม ก็คุยสลับภาษากันไปมา ก็งงๆขำๆกันไป
ปัญหานี้แม้จะดูเหมือนจุกจิกหยุมหยิมในชีวิต แต่ก็เป็นสีสันในชีวิตได้เหมือนกัน.
ปัญหาของคนภาคอื่นๆที่คนภาคกลางอาจไม่เคยรู้
เช่น ภาคเหนือ, ภาคอิสาน,ภาคใต้
ส่วนคนภาคกลางไม่น่าจะเจอปัญหานี้ เพราะประเทศไทย ใช้ภาษาไทยภาคกลางเป็นภาษาราชการหรือภาษากลางอยู่แล้ว
มาดูกันว่ามันเป็นปัญหายังไง....
ยกตัวอย่าง อย่างเคสของผม ผมเกิดและโตที่เชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่และจังหวัดในภาคเหนือตอนบน
ก็จะมีภาษาถิ่นที่เรียกว่า "กำเมือง"
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนเชียงใหม่ทุกคนจะอู้กำเมือง หรือพูดภาษาถิ่นได้ เพราะในเมืองเชียงใหม่
มีคนต่างถิ่นมาอยู่ หรือมาตั้งรกรากอยู่เยอะ
แล้วมันเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันยังไง (จริงๆก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่ก็ถือว่ามีประเด็นเหมือนกัน)
ยกตัวอย่างเช่น เวลาผมเข้าไปซื้อของในร้านค้า หรือจะสอบถามอะไรสักอย่างจากคนขาย
สมองผมก็ต้องสละเวลานิดนึงประมวลผลก่อนว่า แม่ค้าหรือพ่อค้ารูปร่างลักษณะหน้าตาแบบนี้ เราควรจะทักด้วยภาษาไทยกลาง
หรืออู้กำเมืองใส่ดี บางครั้งดูแล้วหน้าตาแบบนี้ คนเหนือแน่ๆ พอทักไป เค้าก็งงๆ พูดสวนกลับมาด้วยภาษาไทยกลาง ก็หน้าแตกไปเล็กน้อย
บางที ดูหน้าแล้วเด็กเทพ(กทม.)ชัดๆ ก็ทักภาษาไทยกลางไป เค้าดันอู้กำเมืองตอบกลับเรามา อันนี้ก็ต้องมาปรับจูนเรื่องการใช้ภาษาให้ตรงกันใหม่
อาจจะสงสัยกันว่า แล้วทำไมผมไม่พูดภาษาไทยกลางกับคนแปลกหน้าทุกคนไปก่อนเลยล่ะ? อันนี้ก็เป็นเพราะว่า มักจะมีคนที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม
จะชอบมาแซะ หรือชอบมาแขวะพวกที่อู้กำเมืองได้ แต่ไม่ค่อยยอมอู้ว่า " สลิด-ดก" แปลเป็นภาษาไทยกลางว่า "กระแดะ" นั่นเอง
ส่วนคนภาคกลางไม่ต้องคิดไรมาก เจอคนแปลกหน้าก็พูดไปตามปกติ ไม่ต้องมาคอยฉุกคิดว่าจะคุยภาษาอะไรกับเค้าดี
ผมคิดว่าประเด็นแบบนี้ คนทางภาคอิสาน,ภาคใต้ในเมืองใหญ่ๆที่มีคนต่างถิ่นมาอยู่ด้วยเยอะ ก็คงจะเจอเช่นกัน
ปัญหาไม่ได้มีแค่เฉพาะตอนเริ่มคุยกับคนแปลกหน้าเท่านั้น ในสถานที่ทำงาน ยิ่งเพื่อนร่วมงานเยอะ ยิ่งเพิ่มความสับสนเยอะ
อย่างในที่ทำงานผม ที่มีเพื่อนร่วมงานประมาณสามร้อยคน ผมจะต้องมาจดจำว่า เพื่อนร่วมงานคนนี้อู้กำเมืองได้ คนนี้อู้ไม่ได้
เจอหน้ากันครั้งแรก ก็ต้องถามก่อน อู้กำเมืองได้ก่อ? ถ้าอู้ไม่ได้ สมองก็จะบันทึกไว้เลย ว่าคราวหลังถ้าเจอคนนี้ ให้พูดภาษากลางใส่
บางทีก็สับสนกันเอง จำผิดจำถูกมั่ง กลายเป็นว่า กับคนๆนี้ เมื่อก่อนเคยคุยกันด้วยกำเมือง มาคราวนี้มาคุยกันด้วยภาษาไทยกลาง
ก็งงๆขำๆกันไป
ถ้าคู่สนทนาอู้กำเมืองไม่ได้เลย เช่นเป็นคนต่างถิ่น อันนี้ก็ไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไหร่
แต่กับคนที่พูดได้ทั้งสองภาษา อันนี้สิน่าปวดหัวกว่า
คือจะให้อู้กำเมืองก็ได้ จะคุยภาษาไทยกลางก็ได้ กับคนกลุ่มนี้ ต้องมาตกลงกันก่อน ว่าจะใช้ภาษาไหนคุยกัน
เพราะไม่อยากคุยสลับไปสลับมา จะใช้ภาษาไหน ก็ใช้ภาษานั้นไปให้ตลอดเลย
บางเคส เพื่อนในกลุ่มเดียวกันแท้ๆ อู้กำเมืองได้ทุกคน สมมุติในกลุ่มมี 5 คน รวมเราด้วย
ในกลุ่มนี้ จะมีสองคนที่เราอู้กำเมืองด้วย แต่กับอีกสองคนจะพูดด้วยภาษาไทยกลางกัน
เหตุเพราะ ตอนเริ่มรู้จักกันแรกๆ คุยด้วยภาษาไทยกลางกันก่อน ก็เลยเคยชินจะคุยกันด้วยไทยกลางมากกว่า
ถ้าจะเปลี่ยนมาอู้กำเมืองด้วย จะรู้สึกไม่ชินและแปลกๆ กลายเป็นว่า เวลามันคุยกับเรา ก็จะคุยภาษาไทยกลาง
แต่เวลามันคุยกับเพื่อนคนอื่นๆในกลุ่ม มันก็อู้กำเมือง เวลาอยู่ด้วยกันคุยกันเป็นกลุ่ม ก็คุยสลับภาษากันไปมา ก็งงๆขำๆกันไป
ปัญหานี้แม้จะดูเหมือนจุกจิกหยุมหยิมในชีวิต แต่ก็เป็นสีสันในชีวิตได้เหมือนกัน.