สวัสดีค่ะ ดิฉัน Miss Horksri จากกระทู้ Eurovision Magazine ที่เกี่ยวการแข่งยูโรวิชั่น การประกวดเพลงในยุโรปน่ะค่ะ
กระทู้นี้ไม่ได้พูดถึงยูโรวิชั่นแต่อย่างใดนะคะ เพราะเราจะมาบอกข่าวดีว่าในภูมิภาคเอเชียของเรากำลังจะมีการประกวดเพลงกับเขาซักที
โดยเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา เอบียูได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าปีนี้จะมีการจัด ABU Song Contest โดยรายละเอียดของงานนี้มีดังนี้ค่ะ
ABU Song Contest เป็นการประกวดเพลงที่จัดโดยเอบียู (สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเอเชีย-แปซิฟิก) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวิทยุและโทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิค ซึ่งไทยเป็นสมาชิกนี้ด้วย งานนี้เป็นการแตกหน่อจาก ABU Song Festival ที่จัดตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเป็นเทศกาลโชว์เพลงในระดับภูมิภาคและไม่มีการแข่งขันแต่อย่างใด โดย ABU Song Contest ได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา โดยได้เปิดรายละเอียดการจัดและเปิดรับสมัครทางเวป
เอบียู อย่างเป็นทางการด้วยค่ะ
ตามแผนของเอบียู จัดขึ้นในวันที่ 17 และ 19 ตุลาคม 2019 ที่ West Coast Star Island เมืองชิงเต่า ประเทศจีน โดยช่อง CCTV เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดครั้งแรก โดยมีการแข่งรอบรองชนะเลิศในวันที่ 17 และรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 19
โดยรายละเอียดของการแข่งขันรายการนี้ มีดังนี้ค่ะ
1. สถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่รับผิดชอบในประเทศนั้นๆ เนื่องจากเป็นรายการที่เกี่ยวความร่วมมือทางด้านสื่อสารมวลชนด้วย ประเทศสมาชิกเอบียูเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ซึ่งประเทศนั้นๆจะต้องมีตัวแทนทำหน้าที่รับผิดชอบการส่งตัวแทนไปแข่งและทำหน้าที่ถ่ายทอดสดในประเทศของตนด้วย ซึ่งทางเอบียูได้ประกาศรับสมัครหน่วยงานจากประเทศที่เป็นสมาชิกเอบียูเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ ซึ่งจะ
ปิดรับสมัครในวันที่ 20 มีนาคมนี้
เมื่อเข้าไปดู เมื่อเข้าไปดูใน
วิกีพีเดียหัวข้อเอบียู ประเทศสมาชิกเอบียูครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย โซนแปซิฟิก และแอฟริกาตอนเหนือด้วย นั่นก็หมายความว่าเราอาจจะได้เห็นประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก ไม่ก็จากแอฟริกาตอนเหนือ นอกเหนือจากทวีปเอเชียเข้าร่วมการแข่งขันก็ได้ ซึ่งบ้านเราเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกด้วย ซึ่งมีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของบ้านเราที่เป็นสมาชิกเอบียู ดังนี้
สมาชิกถาวร
- ช่อง NBT ช่องนี้เคยเป็นหัวหอกส่งตัวแทนไทยไปร่วมงาน ABU TV Song Festival และ ABU Radio Song Festival ในช่วงปี 2013-2016
- โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งมีช่อง 5 เป็นแม่ข่าย และรวมถึงช่องฟรีทีวีภาคพื้นดินทุกช่อง ซึ่งช่อง 9 เข้าร่วมกิจกรรมของเอบียูในนามทีวีพูล ในการส่งตัวแทนไทยแข่ง ABU Robocon มาแล้ว
สมาชิกเพิ่มเติม
- ช่อง Thai PBS
ซึ่งหวังว่าช่องที่กล่าวมาจะสนใจเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้นะคะ และตอนนี้เหลือเวลาอีกสองเดือนกว่าๆในการตัดสินใจ หวังว่าจะมาทันเวลา
เมื่อประเทศนั้นส่งช่องทีวีสมัครเข้าร่วมแข่งแล้ว ถึงจะมีสเต็ปต่อไปดังนี้
2. ศิลปินที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทน หลักเกณฑ์มีดังนี้
- ต้องอายุ 16 ปีขึ้นไป
- ต้องเป็นศิลปินอาชีพ อาจจะมาจากสายรายการเรียลลิตี้ สายนักร้องตลาดก็ได้
- จะเป็นศิลปินเดี่ยว หรือศิลปินคู่ หรือเป็นศิลปินกลุ่มได้ และไม่จำกัดจำนวนสมาชิก
- ตอนแข่งรายการนี้จะต้องร้องสดเท่านั้น และต้องเริ่มการแข่งรอบรองชนะเลิศก่อน เมื่อผ่านเข้ารอบ ถึงจะไปแข่งรอบชิงชนะเลิศ
3. เพลงตัวแทน หลักเกณฑ์มีดังนี้
- ต้องมีความยาวไม่เกิน 3 นาที
- ไม่มีเนื้อหาประเด็นอ่อนไหวหรือเชิงการเมืองโดยเด็ดขาด
- ไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาราชการของประเทศตัวเองก็ได้ ซึ่งสามารถส่งเพลงภาษาอังกฤษได้ และไม่จำกัดแนวเพลงด้วย
- เพลงที่ส่งจะเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่เพื่อแข่งรายการนี้โดยเฉพาะ หรือเพลงฮิตของตัวเองก็ได้
โดยสถานีวิทยุและโทรทัศน์จากประเทศนั้นๆที่ได้สมัครเข้าร่วมแข่งรายการนี้ จะคัดเลือกเพื่อหา 1 เพลงและ 1 ศิลปินมาเป็นตัวแทน ซึ่งอาจจะใช้ระบบการจัดการแข่งขันระดับประเทศเพื่อชิงตัวแทน หรืออาจจะคัดเลือกภายในสถานีโดยดุลพินิจของบอร์ดช่องก็ได้ ซึ่งทั้งสองส่วน ต้องเรียบร้อยและส่งไปให้อีบียู
ภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้
ส่วนการตัดสิน จะใช้คะแนนกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ทางเอบียูแต่งตั้ง เพื่อมาให้คะแนนสดหลังแข่ง และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคณะกรรมการจากผู้ชมในประเทศนั้นจำนวน 100 คน เพื่อให้คะแนน โดยรูปแบบการให้คะแนนในรายการนี้ยังไม่บอกชัดเจนว่าจะให้ยังไง แต่รู้แต่ว่าจะไม่สามารถให้คะแนนประเทศตัวเองเป็นอันขาด ในรอบรองชนะเลิศจะมีการคัดออกตามโควต้าซึ่งยังไม่ระบุว่าจะมีกี่ประเทศที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป แต่ในรอบชิง ประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นแชมป์ในปีนั้น และได้สิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในปีต่อไปโดยอัตโนมัติ
ก่อนหน้าที่จะมีการจัดการประกวดเพลงของเอบียู เอบียูได้จัด ABU Song Festival ซึ่งเป็นเทศกาลเพลงที่ไม่มีการแข่งขัน ตั้งแต่ปี 2012 โดยจัดขึ้นทุกปี โดยแบ่งเป็น 2 รายการย่อย คือ
ABU TV Song Festival สำหรับศิลปินตลาด โดยจัดครั้งแรกที่เกาหลี โดยปีที่แล้วจัดที่เติร์กเมนิสถาน
และ ABU Radio Song Festival สำหรับศิลปินสมัครเล่น โดยจัดครั้งแรกที่เกาหลี โดยครั้งล่าสุดจัดที่คาซัคสถานเมื่อปีที่แล้ว
เท่าที่รู้มานะคะ ไทยเข้าร่วมในตอนนั้นด้วย โดยช่อง NBT เป็นผู้รับผิดชอบ แต่รูปแบบของช่องก็อย่างที่รู้กันดี ภาพลักษณ์ของศิลปินไทยที่ไปร่วมงานเหมือนไปโชว์สวนนงนุชมากกว่าการโชว์เพลงร่วมสมัยเหมือนที่ประเทศอื่นๆที่เข้าร่วมงานทำกัน
ไทยเข้าร่วมงาน ABU TV Song Festival เป็นครั้งแรก ในปี 2013 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ โดยช่อง NBT ส่งแคนดี้ รากแก่นไปร่วมงานในเพลงแอบแซ่บ
ปีต่อมา ที่มาเก๊าเป็นเจ้าภาพ ได้ส่งเจ เจตริน ในเพลงสวรรค์ชั้น 7 โอ้โหๆๆๆ บอกได้เลยค่ะ โอ้โหๆๆๆ
ซึ่งบ้านเราส่งเข้าร่วมงาน ABU TV Song Contest เพียง 2 ครั้ง และหลังจากนั้นไทยไม่เข้าร่วมอีกเลย
ส่วนงาน ABU Radio Song Festival ไทยเข้าร่วมงานนี้ในปี 2014 โดยปีนั้นที่ศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ ส่งวงกรมประชาสัมพันธ์ ในเพลงความสามัคคี ซึ่งเพลงเชยมากๆ ต่างจากประเทศอื่นส่งเพลงทันสมัยมาร่วมงาน (ในคลิปนี้เป็นรายการในบ้านเรา ซึ่งหาคลิปเต็มในงานนี้ไม่เจอ)
ส่วนปีต่อมา ปี 2015 ส่งวง Jack's Fruit Band ในเพลงบ้านของเรา มาแนวหลังหกโมงเย็นมากๆ (เอาออดิโอไปฟังแก้ขัดก่อนนะคะ เพราะไม่มีคลิปในวันงาน)
และปีสุดท้ายที่ไทยเข้าร่วมในปี 2016 ส่งโอม นวพล จากเดอะวอยซ์ไทย ในเพลงบนโลกนี้ เพลงดูทันสมัยขึ้นเป็นกองเลย
(เอาออดิโอไปฟังแก้ขัดก่อนนะคะ เพราะไม่มีคลิปเต็มในวันงาน)
โดยงาน ABU Radio Song Festival ไทยได้เป็นเจ้าภาพในปี 2017 ด้วย แต่ต่อมางดจัด เพราะในช่วงนั้นบ้านเรากำลังไว้ทุกข์ในหลวง ร. 9 อยู่ค่ะ
ได้เห็นผลงานของช่อง NBT ในการส่งตัวแทนไทยในรายการด้านดนตรีที่ผ่านๆมา ก็น่าจะพอช่วยตัดสินได้ว่างานที่จะเกิดขึ้นสมควรให้ช่องนี้รับผิดชอบหรือไม่ ซึ่งเราหวังว่าช่องที่มีภาพลักษณ์ทันสมัยจะเข้ามาทำหน้าที่นี้ ไม่งั้นอายกันทั้งทวีปเลยนะ หรือถ้าช่อง NBT จะขอแก้ตัว ก็ต้องทำให้เชื่อว่าช่องนี้เอาจริงในเรื่องนี้นะ
ในตอนนี้มี 4 ประเทศที่สนใจเข้าร่วมแข่ง ABU Song Contest ได้แก่ จีน (ประเทศเจ้าภาพ) เวียดนาม ตุรกี และวานูอาตู แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรมาก เพราะเพิ่งมีข่าวนี้และเพิ่งเปิดรับสมัคร แต่ตอนนี้ที่เวียดนามเป็นประเทศเดียวที่มีความเคลื่อนไหวการคัดเลือกตัวแทนในบ้านเขา โดยเอารายการ Sao Mai ซึ่งเป็นรายการประกวดท้องถิ่นเก่าแก่ของบ้านเขามาใช้ในการค้นหาศิลปินอาชีพเพื่อเป็นตัวแทนบ้านเขา โดยช่อง VTV เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งในการออดิชั่นในบ้านเขาค่ะ ภาพและข้อมูลโดยช่อง
VTV
เราขอเดาว่าประเทศที่น่าจะเข้าร่วมนอกจาก 4 ประเทศที่ว่า น่าจะมีอินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ คาซัคสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า เมียนมาร์ สิงค์โปร์ มัลดีลฟ์ มาเลเซีย ประมาณนี้แหล่ะ
ส่วนไทยตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะเข้าร่วมแข่งรายการนี้เลย ซึ่งอยากให้สถานีโทรทัศน์ที่เป็นสมาชิกอีบียูเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องใหม่มากในภูมิภาคเราที่มีการแข่งขันด้านเพลงและดนตรีแบบนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบก็ไม่ต่างจากการส่งนักกีฬาไปแข่งซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และการส่งสาวงามไปประกวดการประกวดรายการใหญ่ๆค่ะ ซึ่งมันจะดีทั้งกระตุ้นวงการเพลงไทยให้กลับมาคึกคัก ถ้ามีการจัดชิงตัวแทนระดับประเทศที่ช่วยกระตุ้นเกิดเพลงใหม่ นอกจากนี้ช่วยกระตุ้นวงการสื่อสารมวลชนที่ทุลักทุเลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาให้มีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะรายการเพลงที่แทบไม่มีเลยในผังรายการ และช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ถ้าไทยสามารถได้แชมป์และได้เป็นเจ้าภาพ
อย่างไรก็ตามต้องมาดูการจัดรายการนี้ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีแรกว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหนด้วย
อยากให้ช่องไหนในบ้านเราทำหน้าที่ในรายการนี้ และอยากเห็นใครเป็นตัวแทนบ้านเรา มาแสดงความเห็นกันค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อีกรายการหนึ่งที่จะมีการจัดในภูมิภาคเราเช่นเดียวกันคือ ยูโรวิชั่นเอเชีย ซึ่งเป็นการซื้อลิขสิทธิ์ยูโรวิชั่นโดยตรง ผลิตโดบอีบียู (สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป) ผู้จัดการแข่งยูโรวิชั่น ช่องเอสบีเอส (ช่องทีวีสาธารณะจากออสเตรเลีย) และบลิงก์ทีวี (บริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในออสเตรเลีย) ซึ่งมีแผนตั้งแต่ปี 2016 เปิดตัวในปี 2017 แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคืบหน้าในรายการนี้เท่าไหร่ ซึ่งปล่อยให้เอบียูนำไปหนึ่งก้าวแล้ว
เอบียูเตรียมจัด ABU Song Contest การประกวดเพลงระดับเอเชียและแปซิฟิก เป็นครั้งแรกที่จีนปีนี้
สวัสดีค่ะ ดิฉัน Miss Horksri จากกระทู้ Eurovision Magazine ที่เกี่ยวการแข่งยูโรวิชั่น การประกวดเพลงในยุโรปน่ะค่ะ
กระทู้นี้ไม่ได้พูดถึงยูโรวิชั่นแต่อย่างใดนะคะ เพราะเราจะมาบอกข่าวดีว่าในภูมิภาคเอเชียของเรากำลังจะมีการประกวดเพลงกับเขาซักที
โดยเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา เอบียูได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าปีนี้จะมีการจัด ABU Song Contest โดยรายละเอียดของงานนี้มีดังนี้ค่ะ
ABU Song Contest เป็นการประกวดเพลงที่จัดโดยเอบียู (สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเอเชีย-แปซิฟิก) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวิทยุและโทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิค ซึ่งไทยเป็นสมาชิกนี้ด้วย งานนี้เป็นการแตกหน่อจาก ABU Song Festival ที่จัดตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเป็นเทศกาลโชว์เพลงในระดับภูมิภาคและไม่มีการแข่งขันแต่อย่างใด โดย ABU Song Contest ได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา โดยได้เปิดรายละเอียดการจัดและเปิดรับสมัครทางเวป เอบียู อย่างเป็นทางการด้วยค่ะ
ตามแผนของเอบียู จัดขึ้นในวันที่ 17 และ 19 ตุลาคม 2019 ที่ West Coast Star Island เมืองชิงเต่า ประเทศจีน โดยช่อง CCTV เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดครั้งแรก โดยมีการแข่งรอบรองชนะเลิศในวันที่ 17 และรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 19
โดยรายละเอียดของการแข่งขันรายการนี้ มีดังนี้ค่ะ
1. สถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่รับผิดชอบในประเทศนั้นๆ เนื่องจากเป็นรายการที่เกี่ยวความร่วมมือทางด้านสื่อสารมวลชนด้วย ประเทศสมาชิกเอบียูเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ซึ่งประเทศนั้นๆจะต้องมีตัวแทนทำหน้าที่รับผิดชอบการส่งตัวแทนไปแข่งและทำหน้าที่ถ่ายทอดสดในประเทศของตนด้วย ซึ่งทางเอบียูได้ประกาศรับสมัครหน่วยงานจากประเทศที่เป็นสมาชิกเอบียูเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ ซึ่งจะปิดรับสมัครในวันที่ 20 มีนาคมนี้
เมื่อเข้าไปดู เมื่อเข้าไปดูในวิกีพีเดียหัวข้อเอบียู ประเทศสมาชิกเอบียูครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย โซนแปซิฟิก และแอฟริกาตอนเหนือด้วย นั่นก็หมายความว่าเราอาจจะได้เห็นประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก ไม่ก็จากแอฟริกาตอนเหนือ นอกเหนือจากทวีปเอเชียเข้าร่วมการแข่งขันก็ได้ ซึ่งบ้านเราเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกด้วย ซึ่งมีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของบ้านเราที่เป็นสมาชิกเอบียู ดังนี้
สมาชิกถาวร
- ช่อง NBT ช่องนี้เคยเป็นหัวหอกส่งตัวแทนไทยไปร่วมงาน ABU TV Song Festival และ ABU Radio Song Festival ในช่วงปี 2013-2016
- โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งมีช่อง 5 เป็นแม่ข่าย และรวมถึงช่องฟรีทีวีภาคพื้นดินทุกช่อง ซึ่งช่อง 9 เข้าร่วมกิจกรรมของเอบียูในนามทีวีพูล ในการส่งตัวแทนไทยแข่ง ABU Robocon มาแล้ว
สมาชิกเพิ่มเติม
- ช่อง Thai PBS
ซึ่งหวังว่าช่องที่กล่าวมาจะสนใจเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้นะคะ และตอนนี้เหลือเวลาอีกสองเดือนกว่าๆในการตัดสินใจ หวังว่าจะมาทันเวลา
เมื่อประเทศนั้นส่งช่องทีวีสมัครเข้าร่วมแข่งแล้ว ถึงจะมีสเต็ปต่อไปดังนี้
2. ศิลปินที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทน หลักเกณฑ์มีดังนี้
- ต้องอายุ 16 ปีขึ้นไป
- ต้องเป็นศิลปินอาชีพ อาจจะมาจากสายรายการเรียลลิตี้ สายนักร้องตลาดก็ได้
- จะเป็นศิลปินเดี่ยว หรือศิลปินคู่ หรือเป็นศิลปินกลุ่มได้ และไม่จำกัดจำนวนสมาชิก
- ตอนแข่งรายการนี้จะต้องร้องสดเท่านั้น และต้องเริ่มการแข่งรอบรองชนะเลิศก่อน เมื่อผ่านเข้ารอบ ถึงจะไปแข่งรอบชิงชนะเลิศ
3. เพลงตัวแทน หลักเกณฑ์มีดังนี้
- ต้องมีความยาวไม่เกิน 3 นาที
- ไม่มีเนื้อหาประเด็นอ่อนไหวหรือเชิงการเมืองโดยเด็ดขาด
- ไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาราชการของประเทศตัวเองก็ได้ ซึ่งสามารถส่งเพลงภาษาอังกฤษได้ และไม่จำกัดแนวเพลงด้วย
- เพลงที่ส่งจะเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่เพื่อแข่งรายการนี้โดยเฉพาะ หรือเพลงฮิตของตัวเองก็ได้
โดยสถานีวิทยุและโทรทัศน์จากประเทศนั้นๆที่ได้สมัครเข้าร่วมแข่งรายการนี้ จะคัดเลือกเพื่อหา 1 เพลงและ 1 ศิลปินมาเป็นตัวแทน ซึ่งอาจจะใช้ระบบการจัดการแข่งขันระดับประเทศเพื่อชิงตัวแทน หรืออาจจะคัดเลือกภายในสถานีโดยดุลพินิจของบอร์ดช่องก็ได้ ซึ่งทั้งสองส่วน ต้องเรียบร้อยและส่งไปให้อีบียูภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้
ส่วนการตัดสิน จะใช้คะแนนกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ทางเอบียูแต่งตั้ง เพื่อมาให้คะแนนสดหลังแข่ง และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคณะกรรมการจากผู้ชมในประเทศนั้นจำนวน 100 คน เพื่อให้คะแนน โดยรูปแบบการให้คะแนนในรายการนี้ยังไม่บอกชัดเจนว่าจะให้ยังไง แต่รู้แต่ว่าจะไม่สามารถให้คะแนนประเทศตัวเองเป็นอันขาด ในรอบรองชนะเลิศจะมีการคัดออกตามโควต้าซึ่งยังไม่ระบุว่าจะมีกี่ประเทศที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป แต่ในรอบชิง ประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นแชมป์ในปีนั้น และได้สิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในปีต่อไปโดยอัตโนมัติ
ก่อนหน้าที่จะมีการจัดการประกวดเพลงของเอบียู เอบียูได้จัด ABU Song Festival ซึ่งเป็นเทศกาลเพลงที่ไม่มีการแข่งขัน ตั้งแต่ปี 2012 โดยจัดขึ้นทุกปี โดยแบ่งเป็น 2 รายการย่อย คือ
ABU TV Song Festival สำหรับศิลปินตลาด โดยจัดครั้งแรกที่เกาหลี โดยปีที่แล้วจัดที่เติร์กเมนิสถาน
และ ABU Radio Song Festival สำหรับศิลปินสมัครเล่น โดยจัดครั้งแรกที่เกาหลี โดยครั้งล่าสุดจัดที่คาซัคสถานเมื่อปีที่แล้ว
เท่าที่รู้มานะคะ ไทยเข้าร่วมในตอนนั้นด้วย โดยช่อง NBT เป็นผู้รับผิดชอบ แต่รูปแบบของช่องก็อย่างที่รู้กันดี ภาพลักษณ์ของศิลปินไทยที่ไปร่วมงานเหมือนไปโชว์สวนนงนุชมากกว่าการโชว์เพลงร่วมสมัยเหมือนที่ประเทศอื่นๆที่เข้าร่วมงานทำกัน
ไทยเข้าร่วมงาน ABU TV Song Festival เป็นครั้งแรก ในปี 2013 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ โดยช่อง NBT ส่งแคนดี้ รากแก่นไปร่วมงานในเพลงแอบแซ่บ
ปีต่อมา ที่มาเก๊าเป็นเจ้าภาพ ได้ส่งเจ เจตริน ในเพลงสวรรค์ชั้น 7 โอ้โหๆๆๆ บอกได้เลยค่ะ โอ้โหๆๆๆ
ซึ่งบ้านเราส่งเข้าร่วมงาน ABU TV Song Contest เพียง 2 ครั้ง และหลังจากนั้นไทยไม่เข้าร่วมอีกเลย
ส่วนงาน ABU Radio Song Festival ไทยเข้าร่วมงานนี้ในปี 2014 โดยปีนั้นที่ศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ ส่งวงกรมประชาสัมพันธ์ ในเพลงความสามัคคี ซึ่งเพลงเชยมากๆ ต่างจากประเทศอื่นส่งเพลงทันสมัยมาร่วมงาน (ในคลิปนี้เป็นรายการในบ้านเรา ซึ่งหาคลิปเต็มในงานนี้ไม่เจอ)
ส่วนปีต่อมา ปี 2015 ส่งวง Jack's Fruit Band ในเพลงบ้านของเรา มาแนวหลังหกโมงเย็นมากๆ (เอาออดิโอไปฟังแก้ขัดก่อนนะคะ เพราะไม่มีคลิปในวันงาน)
และปีสุดท้ายที่ไทยเข้าร่วมในปี 2016 ส่งโอม นวพล จากเดอะวอยซ์ไทย ในเพลงบนโลกนี้ เพลงดูทันสมัยขึ้นเป็นกองเลย
(เอาออดิโอไปฟังแก้ขัดก่อนนะคะ เพราะไม่มีคลิปเต็มในวันงาน)
โดยงาน ABU Radio Song Festival ไทยได้เป็นเจ้าภาพในปี 2017 ด้วย แต่ต่อมางดจัด เพราะในช่วงนั้นบ้านเรากำลังไว้ทุกข์ในหลวง ร. 9 อยู่ค่ะ
ได้เห็นผลงานของช่อง NBT ในการส่งตัวแทนไทยในรายการด้านดนตรีที่ผ่านๆมา ก็น่าจะพอช่วยตัดสินได้ว่างานที่จะเกิดขึ้นสมควรให้ช่องนี้รับผิดชอบหรือไม่ ซึ่งเราหวังว่าช่องที่มีภาพลักษณ์ทันสมัยจะเข้ามาทำหน้าที่นี้ ไม่งั้นอายกันทั้งทวีปเลยนะ หรือถ้าช่อง NBT จะขอแก้ตัว ก็ต้องทำให้เชื่อว่าช่องนี้เอาจริงในเรื่องนี้นะ
ในตอนนี้มี 4 ประเทศที่สนใจเข้าร่วมแข่ง ABU Song Contest ได้แก่ จีน (ประเทศเจ้าภาพ) เวียดนาม ตุรกี และวานูอาตู แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรมาก เพราะเพิ่งมีข่าวนี้และเพิ่งเปิดรับสมัคร แต่ตอนนี้ที่เวียดนามเป็นประเทศเดียวที่มีความเคลื่อนไหวการคัดเลือกตัวแทนในบ้านเขา โดยเอารายการ Sao Mai ซึ่งเป็นรายการประกวดท้องถิ่นเก่าแก่ของบ้านเขามาใช้ในการค้นหาศิลปินอาชีพเพื่อเป็นตัวแทนบ้านเขา โดยช่อง VTV เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งในการออดิชั่นในบ้านเขาค่ะ ภาพและข้อมูลโดยช่อง VTV
เราขอเดาว่าประเทศที่น่าจะเข้าร่วมนอกจาก 4 ประเทศที่ว่า น่าจะมีอินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ คาซัคสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า เมียนมาร์ สิงค์โปร์ มัลดีลฟ์ มาเลเซีย ประมาณนี้แหล่ะ
ส่วนไทยตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะเข้าร่วมแข่งรายการนี้เลย ซึ่งอยากให้สถานีโทรทัศน์ที่เป็นสมาชิกอีบียูเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องใหม่มากในภูมิภาคเราที่มีการแข่งขันด้านเพลงและดนตรีแบบนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบก็ไม่ต่างจากการส่งนักกีฬาไปแข่งซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และการส่งสาวงามไปประกวดการประกวดรายการใหญ่ๆค่ะ ซึ่งมันจะดีทั้งกระตุ้นวงการเพลงไทยให้กลับมาคึกคัก ถ้ามีการจัดชิงตัวแทนระดับประเทศที่ช่วยกระตุ้นเกิดเพลงใหม่ นอกจากนี้ช่วยกระตุ้นวงการสื่อสารมวลชนที่ทุลักทุเลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาให้มีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะรายการเพลงที่แทบไม่มีเลยในผังรายการ และช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ถ้าไทยสามารถได้แชมป์และได้เป็นเจ้าภาพ
อย่างไรก็ตามต้องมาดูการจัดรายการนี้ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีแรกว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหนด้วย
อยากให้ช่องไหนในบ้านเราทำหน้าที่ในรายการนี้ และอยากเห็นใครเป็นตัวแทนบ้านเรา มาแสดงความเห็นกันค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้