ปฏิปทาสูตรที่ ๓
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐ
ชื่อนาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณสติ
หรือหนอ ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมเจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสติ นี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงครึ่งวัน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี
พระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้ทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็น
อันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าว ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวได้คำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า หรือหาย
ใจเข้าแล้วหายใจออก พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำ
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่า
นั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่
ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำ
สอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ
เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระ
ทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า
โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ครึ่งวัน พึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำ
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ
เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้
มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญ
มรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ และภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลา
เคี้ยวข้าวได้ ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็น
ผู้ประมาทอยู่ เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง
เป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี-
*พระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ และภิกษุใด
เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า
หรือหายใจเข้าแล้วหายใจออก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าไม่
ประมาทอยู่ ย่อมเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ จัก
เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้แล ฯ
[๑๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐชื่อ
นาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอัน
บุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลาง
วันสิ้นไป กลางคืนเวียนมาย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมาก
หนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะ
เหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหาร
ที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็
ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้
พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึง
มีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป
อกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มี
อยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรา
ยังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่ ภิกษุนั้น
พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความ
ไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นเสีย เปรียบเหมือนคนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะ
เป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
หมั่นศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนสิ้นไป กลาง
วันเวียนมาถึง ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งู
พึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเรา
พึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เรา
บริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้
ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวก
อมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้น
พึงมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป
อกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือ
หนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้
ที่จะพึงทำอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนบุคคลมีผ้าถูก
ไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ
ศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรม
อันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลาง
วันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืนในกุศล
ธรรมทั้งหลายอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้
มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
การดูจิต คือ มรณสติ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐ
ชื่อนาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณสติ
หรือหนอ ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมเจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสติ นี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงครึ่งวัน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี
พระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้ทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็น
อันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าว ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวได้คำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า หรือหาย
ใจเข้าแล้วหายใจออก พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำ
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่า
นั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่
ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำ
สอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ
เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระ
ทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า
โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ครึ่งวัน พึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำ
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ
เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้
มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญ
มรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เป็นอันมากหนอ และภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลา
เคี้ยวข้าวได้ ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็น
ผู้ประมาทอยู่ เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง
เป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี-
*พระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ และภิกษุใด
เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า
หรือหายใจเข้าแล้วหายใจออก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าไม่
ประมาทอยู่ ย่อมเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ จัก
เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้แล ฯ
[๑๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐชื่อ
นาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอัน
บุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลาง
วันสิ้นไป กลางคืนเวียนมาย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมาก
หนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะ
เหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหาร
ที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็
ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้
พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึง
มีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป
อกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มี
อยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรา
ยังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่ ภิกษุนั้น
พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความ
ไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นเสีย เปรียบเหมือนคนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะ
เป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
หมั่นศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนสิ้นไป กลาง
วันเวียนมาถึง ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งู
พึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเรา
พึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เรา
บริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้
ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวก
อมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้น
พึงมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป
อกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือ
หนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้
ที่จะพึงทำอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนบุคคลมีผ้าถูก
ไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ
ศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรม
อันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลาง
วันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืนในกุศล
ธรรมทั้งหลายอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้
มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ