สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
การใส่เสียงในหนังไทยสมัยที่ไม่ใช่เสียงในฟีลม์ตั้งแต่ถ่ายทำนั้น จะใช้เสียงเอฟเฟคที่บันทึกไว้ในแผ่นเสียงเป็นหลัก เนื่องจากควบคุมจังหวะการใส่เสียงได้แม่นยำกว่าการใช้เทป และดีกว่าการทำเสียงเอฟเฟคโดยผู้พากษ์ ผู้ประกอบเสียงจะมีชื่ออยู่ในเครดิตของภาพยนต์เสมอ และอาจจะรู้ว่าใครเป็นผู้ประกอบเสียงได้จากเสียงต่างๆที่ใส่เข้าไปนั่นเอง เพราะในเมืองไทยนั้นมีผู้เก่งกาจงานด้านนี้อยู่ไม่กี่ท่าน และแต่ละท่านก็จะมีสต็อกเสียงต่างๆของท่านเอง เป็นแผ่นเสียงจำนวนหนึ่ง บรรจุไว้ในกระเป๋าส่วนตัวใบใหญ่ และหิ้วไปยังห้องอัดเสียง เรียกว่าคนในวงการฟังออกว่า เสียงปืนกระบอกนี้ ของผู้ประกอบเสียงคนนี้แน่ๆ
เสียงปืนที่ถาม ก็ไปอัดมาจากสนามยิงปืน จากการซ้อมรบ หามาหลายๆแบบนำมารวมไว้ในแผ่นเดียวกัน แล้วใช้ให้ถูกจังหวะ ประมาณนั้น
แผ่นเสียงประกอบด้งกล่าว แต่ละท่านต้องไปเสาะหามาเอง มันไม่มีขาย แต่ต้องไปอัดเสียงเหล่านี้มาด้วยเทป แล้วมาถ่ายลงแผ่นเสียง โดยรวมๆมาได้หลายเสียงจำนวนมาก ให้พอดีกับความยาวที่แผ่นจะบันทึกได้ นำมาร้อยลงในเทปขนาดความยาวพอดีกับแผ่นเสียงหน้าหนึ่ง แล้วกัดแผ่นมาสเตอร์เอาไว้ใช้งาน
แผ่นมาสเตอร์ของแผ่นเสียงนั้น ในช่วงราวๆยุค 60's ราคาแผ่นละพันกว่าบาท ขณะที่ทองคำราคาบาทละ 400 บาท ลองอ่าน https://ppantip.com/topic/36683229 ผู้ตอบเขียนเรื่องแผ่นเสียงไว้นิดหน่อย
มันค่อนข้างยากสำหรับคนทั่วไปหรือแม้แต่ห้องอัดเสียงเอง หรือผู้สรา้งภาพยนต์ ที่จะหาเสียงประกอบต่างๆมาใส่ในหนังของตนได้ อาชีพผู้ให้เสียงประกอบนี้จึงมีค่าตัวแพงพอๆกับดาราเลยทีเดียว
ผู้ตอบรู้จักท่านที่ทำงานด้านนี้หลายคนอยู่ เคยนั่งดูท่านใส่เสียงประกอบ ซึ่งไม่เฉพาะภาพยนต์ ในละครวิทยุ ก็ต้องใช้บริการเหล่านี้ ป่านนี้คงลาจากกันไปเกือบหมดแล้ว มีรูปท่านหนึ่งที่เป็นมือระดับพระกาฬ ในภาพยนต์ไทยโบราณๆจะมีชื่อท่านอยู่มากเรื่อง ท่านคือ ประเสริฐ จุลเกตุ ซึ่งผู้ตอบถือว่าท่านเป็นครุคนหนึ่งของผู้ตอบ เพราะท่านสอนวิชาอะไรเกี่ยวกับการบันทึกเสียงใส่เสียงประกอบให้ผู้ตอบไว้มากมายเหลือเกิน
ในภาพนั้นท่านคือคนที่ยืนใส่เสื้อขาว ยกแขนเห็นนาฬิกาข้อมือ ทางขวาของภาพ ที่กระเป๋าเหน็บปากกา นั่นละมือหนึ่งของไทยในเรื่องประกอบเสียงภาพยนต์และวิทยุในสมัยก่อน ส่วนในภาพนั้นซ้ายมือสุดคือ ถาวร สุวรรณ นักหนังสือพิมพ์นักเขียนที่มีชื่อเสียง เป็นนักข่าวเดลินิวส์สมัยก่อตั้ง และผู้เขียนบทละครโทรทัศน์บทภาพยนต์ที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง
ส่วนท่านที่เหลือ ลองเดาๆเอาว่าเป็นใครกันบ้าง
อีกสองท่านที่เคยเห็นฝืมือมา ลองอ่านประวัติดู แต่สองท่านนี้ทำทางโทรทัศน์และวิทยุเป็นหลัก ในภาพจะพอเห็นเครื่องมือในยุคโบราณอยู่
เสียงปืนที่ถาม ก็ไปอัดมาจากสนามยิงปืน จากการซ้อมรบ หามาหลายๆแบบนำมารวมไว้ในแผ่นเดียวกัน แล้วใช้ให้ถูกจังหวะ ประมาณนั้น
แผ่นเสียงประกอบด้งกล่าว แต่ละท่านต้องไปเสาะหามาเอง มันไม่มีขาย แต่ต้องไปอัดเสียงเหล่านี้มาด้วยเทป แล้วมาถ่ายลงแผ่นเสียง โดยรวมๆมาได้หลายเสียงจำนวนมาก ให้พอดีกับความยาวที่แผ่นจะบันทึกได้ นำมาร้อยลงในเทปขนาดความยาวพอดีกับแผ่นเสียงหน้าหนึ่ง แล้วกัดแผ่นมาสเตอร์เอาไว้ใช้งาน
แผ่นมาสเตอร์ของแผ่นเสียงนั้น ในช่วงราวๆยุค 60's ราคาแผ่นละพันกว่าบาท ขณะที่ทองคำราคาบาทละ 400 บาท ลองอ่าน https://ppantip.com/topic/36683229 ผู้ตอบเขียนเรื่องแผ่นเสียงไว้นิดหน่อย
มันค่อนข้างยากสำหรับคนทั่วไปหรือแม้แต่ห้องอัดเสียงเอง หรือผู้สรา้งภาพยนต์ ที่จะหาเสียงประกอบต่างๆมาใส่ในหนังของตนได้ อาชีพผู้ให้เสียงประกอบนี้จึงมีค่าตัวแพงพอๆกับดาราเลยทีเดียว
ผู้ตอบรู้จักท่านที่ทำงานด้านนี้หลายคนอยู่ เคยนั่งดูท่านใส่เสียงประกอบ ซึ่งไม่เฉพาะภาพยนต์ ในละครวิทยุ ก็ต้องใช้บริการเหล่านี้ ป่านนี้คงลาจากกันไปเกือบหมดแล้ว มีรูปท่านหนึ่งที่เป็นมือระดับพระกาฬ ในภาพยนต์ไทยโบราณๆจะมีชื่อท่านอยู่มากเรื่อง ท่านคือ ประเสริฐ จุลเกตุ ซึ่งผู้ตอบถือว่าท่านเป็นครุคนหนึ่งของผู้ตอบ เพราะท่านสอนวิชาอะไรเกี่ยวกับการบันทึกเสียงใส่เสียงประกอบให้ผู้ตอบไว้มากมายเหลือเกิน
ในภาพนั้นท่านคือคนที่ยืนใส่เสื้อขาว ยกแขนเห็นนาฬิกาข้อมือ ทางขวาของภาพ ที่กระเป๋าเหน็บปากกา นั่นละมือหนึ่งของไทยในเรื่องประกอบเสียงภาพยนต์และวิทยุในสมัยก่อน ส่วนในภาพนั้นซ้ายมือสุดคือ ถาวร สุวรรณ นักหนังสือพิมพ์นักเขียนที่มีชื่อเสียง เป็นนักข่าวเดลินิวส์สมัยก่อตั้ง และผู้เขียนบทละครโทรทัศน์บทภาพยนต์ที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง
ส่วนท่านที่เหลือ ลองเดาๆเอาว่าเป็นใครกันบ้าง
อีกสองท่านที่เคยเห็นฝืมือมา ลองอ่านประวัติดู แต่สองท่านนี้ทำทางโทรทัศน์และวิทยุเป็นหลัก ในภาพจะพอเห็นเครื่องมือในยุคโบราณอยู่
แสดงความคิดเห็น
เสียงปืน ในหนังไทยยุคเก่าๆ ทำไมเสียงปืนมันแปลกๆ อยากทราบว่าเป็นปืนรุ่นอะไรครับ
ไม่เหมือนกับเสียงปืนในปัจจุบัน จึงอยากทราบว่าปืนสมัยนั้นเป็นรุ่นไหนครับ