สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
ส่วนใหญ่พวกที่บอกว่าตื่นตูม เกินกว่าเหตุ อะไรทั้งหลายคือนั่งอยู่ในเมือง ในกรุง อยู่ตึก อยู่บ้านปูน นั่งเล่นเน็ต อ่านกระทู้สบายใจ
ลองไปเป็นคนพื้นที่ อยู่ริมชายฝั่ง เป็นชาวประมง หรือมีเรือกมีสวน บ้านไม้กระท่อนกระแท่น หรือครึ่งไม้ครึ่งปูนบ้าง
ทรัพย์สินมีค่าคือเรือหาปลา คือร้านค้าริมชายหาด คือต้นไม้ในสวน บางบ้านมีตู้เย็น ทีวี เตียงนอน ก็เป็นแทบจะทุกอย่างที่มีแล้ว
แล้วพอพายุเข้า ทุกอย่างที่ดู "กระจอก" ในสายตาคนที่ไม่ได้รับผลกระทบ มันคือทุกอย่างของเค้าแล้วก็มี ..
ไปมองว่า เห็นในทีวีแล้วก็แค่ต้นไม้ล้ม ก็แค่บ้านไม่กี่หลัง ก็แค่เสาไฟล้ม รถพัง ไม่เห็นจะอะไร ไม่เห็นจะตายกันเกลื่อนแบบที่กลัวกัน ไม่เห็นจะเสียหายอะไรมากมายแบบที่ประโคมข่าวกัน ..
นี่ขนาดเค้าเตียมการป้องกัน อพยพคนเอาไว้แล้ว ในแง่การขนส่งต่างๆ รู้ตัวล่วงหน้าก็ขนย้ายคนออกจากพื้นที่ เช่นตามเกาะหรือตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รีบจัดไฟลท์บินกลับกัน พอบินไม่ได้ก็มีเสริมเที่ยวรถทัวร์ไปรับช่วงรีบระบายคนออกมา พวกสาธารณูปโภค ไฟฟ้า โทรศัพท์ ก็ตั้งรับเต็มที่ ตระเตรียมระบบสำรอง หรือหากเสียหายตรงไหนก็พุ่งไปดูแลไปซ่อมทันที ไม่งั้นบางบ้าน บางชุมชน บางโรงพยาบาล ได้ขาดไฟฟ้าใช้เป็นสัปดาห์ๆ จะกระทบแค่ไหน (เห็นในข่าว รพ.สิชล ทำคลอดเด็กโดยไม่มีไฟฟ้าไป 2 ราย ก็ถือว่าเก่งมากๆแล้ว)
ซึ่งนี่ขนาดเตรียมพร้อมรับขนาดนี้ แต่ก็ยังห้ามความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ บ้านเรือนพังเสียหายไปเยอะพอควร (นี่ขนาดผ่านมา 57 ปี ซึ่งการก่อสร้างพัฒนาไปมากแค่ไหนแล้ว) รถพัง เรือพัง ต้นไม้โค่นล้ม .. แต่สุดท้ายส่วนใหญ่ก็เป็นแค่วัตถุ ที่เสียหาย ส่วนชีวิตผู้คนนั้น ความเสียหายเมื่อเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ถือว่าน้อยมาก ซึ่งมันไม่ใช่พายุไม่แรง แต่มันคือการเตรียมการ และแผนรับมือที่ดีครับ
ลองไปเป็นคนพื้นที่ อยู่ริมชายฝั่ง เป็นชาวประมง หรือมีเรือกมีสวน บ้านไม้กระท่อนกระแท่น หรือครึ่งไม้ครึ่งปูนบ้าง
ทรัพย์สินมีค่าคือเรือหาปลา คือร้านค้าริมชายหาด คือต้นไม้ในสวน บางบ้านมีตู้เย็น ทีวี เตียงนอน ก็เป็นแทบจะทุกอย่างที่มีแล้ว
แล้วพอพายุเข้า ทุกอย่างที่ดู "กระจอก" ในสายตาคนที่ไม่ได้รับผลกระทบ มันคือทุกอย่างของเค้าแล้วก็มี ..
ไปมองว่า เห็นในทีวีแล้วก็แค่ต้นไม้ล้ม ก็แค่บ้านไม่กี่หลัง ก็แค่เสาไฟล้ม รถพัง ไม่เห็นจะอะไร ไม่เห็นจะตายกันเกลื่อนแบบที่กลัวกัน ไม่เห็นจะเสียหายอะไรมากมายแบบที่ประโคมข่าวกัน ..
นี่ขนาดเค้าเตียมการป้องกัน อพยพคนเอาไว้แล้ว ในแง่การขนส่งต่างๆ รู้ตัวล่วงหน้าก็ขนย้ายคนออกจากพื้นที่ เช่นตามเกาะหรือตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รีบจัดไฟลท์บินกลับกัน พอบินไม่ได้ก็มีเสริมเที่ยวรถทัวร์ไปรับช่วงรีบระบายคนออกมา พวกสาธารณูปโภค ไฟฟ้า โทรศัพท์ ก็ตั้งรับเต็มที่ ตระเตรียมระบบสำรอง หรือหากเสียหายตรงไหนก็พุ่งไปดูแลไปซ่อมทันที ไม่งั้นบางบ้าน บางชุมชน บางโรงพยาบาล ได้ขาดไฟฟ้าใช้เป็นสัปดาห์ๆ จะกระทบแค่ไหน (เห็นในข่าว รพ.สิชล ทำคลอดเด็กโดยไม่มีไฟฟ้าไป 2 ราย ก็ถือว่าเก่งมากๆแล้ว)
ซึ่งนี่ขนาดเตรียมพร้อมรับขนาดนี้ แต่ก็ยังห้ามความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ บ้านเรือนพังเสียหายไปเยอะพอควร (นี่ขนาดผ่านมา 57 ปี ซึ่งการก่อสร้างพัฒนาไปมากแค่ไหนแล้ว) รถพัง เรือพัง ต้นไม้โค่นล้ม .. แต่สุดท้ายส่วนใหญ่ก็เป็นแค่วัตถุ ที่เสียหาย ส่วนชีวิตผู้คนนั้น ความเสียหายเมื่อเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ถือว่าน้อยมาก ซึ่งมันไม่ใช่พายุไม่แรง แต่มันคือการเตรียมการ และแผนรับมือที่ดีครับ
ความคิดเห็นที่ 1
ความรุนแรงของพายุมันก็รุนแรงพอๆ กันกับพายุที่เคยสร้างความเสียหายในอดีต แต่ระบบการเตือนภัย การสื่อสารดีขึ้นมากทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ มีการเตรียมตัวรับมือไว้ก่อน อย่างพายุเกย์ในอดีตเรือประมงไม่รู้ถูกพัดจมทะเลตายกันหลายลำหลายคนเพราะออกเรือไปโดยไม่รู้ว่ามีพายุใหญ่ เหตุแบบนี้มันจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเพราะตอนนี้เรามีเทคโนโลยีรู้ล่วงหน้าได้นานเป็นสัปดาห์ครับ
แสดงความคิดเห็น
สรุปพายุปาบึก ไม่ได้รุนแรงและก่อความเสียหายเหมือนที่คาดการณ์เอาไว้ใช่ไหมครับ