เชื่อไหมว่าการเรียนทันตแพทย์.. มันหนักมากจริงๆ.. (ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่าน)

สวัสดีค่ะ เราเป็นนศ.ทันตแพทย์อยู่ชั้นปีที่4 (ขอไม่บอกสถาบันนะคะ) เราอยากเขียนกระทู้นี้เพื่อฝากถึงใครๆหลายๆคนค่ะ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นน้องที่อยากเข้าเรียนคณะนี้ เพื่อนร่วมคณะ หรือแม้แต่อาจารย์
*เราไม่ได้ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพนี้หรือวิชาชีพใดๆนะคะ เราแค่อยากบอกเล่า ว่าง่ายๆคือขอมาระบายกับสิ่งที่ตนเองเจอในคณะ*

อาชีพทันตแพทย์หรือหมอฟันเนี่ย.. เราคิดว่าเป็นอาชีพในฝันของใครๆหลายๆคน เพราะการได้ทำอาชีพนี้ นอกจากจะได้ช่วยคนอื่นแล้วยังเป็นอาชีพที่มีรายได้มั่นคงต่อตัวเราเองอีกด้วย ค่ะ.. เราก็คิดอย่างนั้น เรามีความฝันว่าอยากเป็นหมอฟันมาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความที่เรารู้สึกว่าหมอฟันที่ทำฟันให้เรานั้นใจดีมากๆ (หมอฟันภาคเด็กน่ะค่ะ) จะบอกว่าหมอฟันท่านนั้นเป็นไอดอลของเราเลยก็ว่าได้ พอมาบอกที่บ้านว่าอยากเป็นหมอฟันทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็สนับสนุนเนื่องจากว่าเห็นเป็นอาชีพที่มั่นคง บวกกับที่เราเป็นลูกคนเดียวด้วยพ่อและแม่เลยคิดว่าถ้าทำงานประเภทนี้ถึงเราจะขึ้นคานและอยู่คนเดียว ยังไงเราก็สามารถดูแลตัวเองได้

เราอยากเป็นหมอฟันมาตั้งแต่เด็กค่ะ จนวันนึงช่วยสอบเข้ามหาลัยความคิดเราก็เริ่มเปลี่ยนที่มาสนใจอยากลองทำอาชีพทางสายศิลป์ อย่าง สถาปนิกหรือทำเกี่ยวกับบนักออกแบบภายใน และเป็นแย่างที่หลายๆคนคิดค่ะ คนรอบตัวไม่มีใครสนับสนุน แม้แต่อาจารย์ที่สอนแนะแนวหรือครูที่สอนพิเศษ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนก็บอก”ห้ามไปเลยว่าไม่ได้นะ ไม่ควรทำ เรียนหมอฟันน่ะดีแล้ว” ทุกคนใช้หลักเหตุผลพูดค่ะ และเราก็เข้าใจว่าหมอฟันนั้นมีอาชีพที่มันคงกว่าการทำงานทางสายศิลป์ แต่สุดท้ายเราก็สอบติดในคณะทันตแพทย์ค่ะ

เรียนปี1 เป็นปีที่ปูพื้นฐาน บอกเลยว่าเราไม่มีปัญหากับการเรียนปีนี้ค่ะ แต่ที่รู้สึกแปลกอย่างนึงคือรุ่นพี่ในคณะมักจะบอกว่า.. “จะเรียนจริงๆเหรอคณะนี้น่ะ มันยากนะ ซิ่วได้ซิ่วเหอะ” โอ้โห.. ให้กำลังใจกันมากเลย5555 จริงๆเราก็รู้อยู่แล้วว่าคณะนี้เรียนหนัก แต่เราก็คิดว่า ‘มันก็หนักทุกคณะแหละ สุดท้ายเดี๋ยวก็ผ่านไปได้มะ?’
ปี2 วิชาเริ่มยากขึ้นค่ะ ทุกๆคนเริ่มกดดันมากขึ้นเพราะปีนี้คณะทันตะ มหาลัยเราจะเก็บเกรดคือ ถ้าใครมีเกรดน้อยกว่า 2.00 จะไม่สามารถผ่านขึ้นปี3 ได้ และคนที่ตกต้องซ้ำชั้นไปอีกปีเพื่อทำเกรดให้ผ่านในปีหน้า แต่สำหรับเราเราก็ว่าเครียดนะ แต่เรารู้สึกว่ามันไม่ได้ขนาดนั้น ถ้าคุณมีวินัยในการอ่านหนังสือและตั้งใจเรียนก็สามารถผ่านมาได้ และเราก็ผ่านปี2มาได้อย่างตรงรุ่นค่ะ

ปี3-4…(เราขอเล่า2ปีนี้ควบกันเลยนะคะเพราะเหตุการณ์คล้ายๆกัน) ปี3เป็นปีที่เริ่มเรียนในวิชาชีพของทันตแพทย์จริงๆ (ปี1-2 จะเรียนพวกวิชาวิทย์ที่ทางคณะวิทย์สอนค่ะ)  ซึ่งพอเรียนวิชาในคณะก็หมายถึงว่าเริ่มมีแลปทางทันตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยใช่ไหมคะ? และแล้วเราก็ค้นพบตนเองค่ะ ว่าเราไม่ชอบวิชาแลปเอาซะเลย.. โดยแลปที่เกี่ยวกับทันตกรรมจริงๆคือแลปoper หรือแลปกรอฟันอุดฟันค่ะ เราเริ่มเรียนแลปนี้ตอนปี3 เทอม2 เรารู้ค่ะว่าการทำแลปมันต้องใช้ทักษะ มันไม่ใช่ว่าทุกคนจะborn to be a dentist มันต้องใช้เวลาและการฝึกฝน แต่ว่า.. เราไม่ได้มีเวลากันมากขนาดนั้นค่ะ.. เรายกตัวอย่างแลปนี้ แทบจะเป็นแลปนึงที่เพื่อนๆเครียดกันมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ถ้าผู้อ่านคนไหนที่จบทันตแพทย์มาแล้วหรือคนอื่นๆอาจจะสงสัยว่า “อะไรแค่กรอฟันเอง ฟันเล็กนิดเดียวก็ไม่น่าจะยากขยชนาดนั้น”  เอาจริงๆจะว่ายากมันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นหรอกค่ะ แต่คุณเข้าใจสภาวะการโดนกดดันของเด็กไหมคะ? เด็กที่ไม่เคยแม้แต่จับเครื่องมือกรอฟันมาก่อน แต่ต้องมานั่งทำงานฝีมือทั้งที่เวลามีจำกัด ซึ่งนอกจากเวลาในการทำที่กดดันแล้ว ก็ยังมีคำพูดบางคำของอาจารย์ที่ทำให้เรากดดันอีก ไหนจะคะแนนของวิชาแลป เยอะมากเลยค่ะ จริงๆเราเข้าใจนะ ที่อาจารย์หลายๆท่านเตือนหรือว่า เพราะท่านอยากให้เราทำงานเป็นจริงๆและจบไปเป็นทันตแพทย์ที่มีคุณภาพจริงๆ แต่คำพูดบางคำ เราว่ามันทำร้ายจิตใจเด็กเกินไป.. ซึ่งเราและเพื่อนๆหลายๆคนก็สงสัยเหมือนกันค่ะ ว่ามันต้องพูดกันแรงขนาดนั้นเลยเหรอ..
ไม่รู้ว่าทราบกันหรือเปล่า ว่าถึงแม้จะเป็นคำพูดที่บางทีมันอาจจะออกมาจากอารมณ์ที่หงุดหงิดของอาจารย์ แต่มันสะสมอยู่ในใจนศ.ได้นานเลยนะคะ..
และเรารู้สึกแย่กับหลายๆคำพูดมากๆ และไม่ใช่แค่เรา.. เป็นคุณคุณจะรู้สึกยังไงที่เห็นเพื่อนคุณร้องไห้บ่อยครั้งในช่วงเวลาเรียนแลป อันนี้ไม่ใช่แลปoperอย่างเดียวนะคะ หล่ยๆแลปก็เป็นคล้ายๆกัน โดยเฉพาะปี4 ที่ต้องทำงานแลปหลายๆแลปติดกัน ไม่ว่าจะเป็นแลปที่สามารถเอากลับมาทำเองที่หอได้ หรือแลปที่ทำได้แค่ในห้องแลป ทุกๆแลปมีความเครียดทั้งนั้นค่ะ สำหรับเราเราได้แต่คิดว่าช่างมันๆ และเลือกที่จะไม่สนใจ ทำให้ดีที่สุด แต่คุณรู้อะไรมั้ยคะ ทุกวันนี้เราต้องถอนวิชาเรียนบางตัวโดยเฉพาะวิชาแลป ใช่ค่ะ..เราป่วย เป็นโรคซึมเศร้า จริงๆโดยพื้นฐานเราเป็นคนคิดมากอยู่แล้วค่ะ ชอบเก็บเอาเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปคิด หลายๆคนบอกว่า”จะคิดมากทำไม  อย่าไปคิดมันสิ” เรารู้ค่ะ แต่เราทำไม่ได้ ทุกครั้งที่เราโดนว่าต่างๆ หรือเห็นผลงานของตัวเองที่ทำออกมาแล้วมันไม่ได้ดั่งใจ ทั้งๆที่ภายในใจเราบอกว่าช่างมันๆและเลือกที่จะปล่อยมันไป แต่ภายในใจลึกๆมันไม่หายไปไหนค่ะ ตั้งแต่ช่วงปี3 เทอม2 เป็นต้นมาจนถึงตอนนี้.. เรานอนฝันทุกคืน ไม่ว่าจะเป็นฝันเกี่ยวกับการเรียน ฝันร้ายบ้าง บลาๆ ซึ่งทราบจากจิตแพทย์ว่าอาการนี้มันคืออาการของคนที่เครียดลึกๆภายในใจค่ะ เราไม่สามารถบอกได้ว่าเราเครียดเรื่องอะไร เพราะเรื่องนี้มันมีหลายๆปัจจัยมารวมกัน ตอนนช่วงนี้พอหยุดพักบางตัวมาอาการเราดีขึ้นพอสมควรแล้วค่ะ  ตอนแรกคุณหมอแนะนำว่าควรดรอปพักรักษาตัวไปเลย แต่พอลองปรึกษากับที่บ้านและอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว อาจารย์ก็อยากจะให้เก็บบางตัวไว้บ้างเพื่อจะได้ไม่หนักไปในปีหน้า เราก็เลยเลือกที่จะเรียนวิชาเลคเชอร์ต่อค่ะ ส่วนแลปเรารู้สึกว่ายังไม่พร้อมจริงๆ..
จริงๆตอนก่อนจะถอนบางวิชา เราได้คุยกับอาจารย์หลายท่านแล้วนะคะ อาจารย์ก็ถามว่ามันเครียดไปเหรอ อย่างนั้นอย่างนี้ บางวิชาที่ดูเหมือนจะไม่เครียด มันก็เครียด พอเราเล่าไปว่าเราและเพื่อนรู้สึกอะไรกันมาบ้าง เราหด้คำตอบมาว่า “มันก็เป็นอย่างงี้แหละ... สู้ๆหน่อย เนี่ย.. สมัยก่อนอาจารย์ก็เจอ โดนกดดันอย่างนี้แหละ” พอได้ยินคำพูดนี้ของอาจารย์มันทำให้เราได้รู้ว่า ไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนแปลงขนาดไหน หรือจะมีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆเข้ามา แต่มันจำเป็นด้วยเหรอ กับการที่เราต้องโดนกดดันด้วยแค่เรื่องคำพูด..
มันไม่ใช่แค่เรานะคะที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีเพื่อนเราหลายๆคนที่เป็น และเพื่อนร่วมคณะต่างม.ที่ต้องกินยาคลายกังวล กินยาแก้ซึมเศร้า...

บ่นมาซะยาวเลย555 เราแค่อยากฝากกระทู้นี้ถึงน้องๆที่อยากจะเข้าคณะนี้นะคะ ว่าไม่ได้ง่ายอย่างนั้นจริงๆ ถึงใครๆที่มองว่าอาชีพนี้สวยหรู มีความมั่นคง แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้น่ะ มันยากมากนะคะ เพราะไม่ใช่แค่คุณต้องเก่งเรื่องวิชาการอย่างเดียว คุณต้องจิดใจแข็งแรง ย้ำว่าจิตใจแข็งแรงมากๆด้วย เพราะนี่สิ่งที่เราเล่ามาจริงๆมันยังมีอีกเยอะค่ะ ถ้าเห็นว่าปีpreclinicหนักแล้ว เรารู้ว่าปีclinicหนักกว่านี้อีกหลายเท่า..

แต่สิ่งที่เราสงสัยจริงๆคือมันจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอเรื่องคำพูดที่รุนแรง.. ถ้าใครพอทราบเรื่องนี้ช่วยบอกเหตุผลหน่อยได้ไหมคะ
ว่าการเรียนอาชีพนี้เราจะต้องโดนกดดันกันอีกขนาดไหน...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่