สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร) เสด็จ เป็นประธาน เปิดการประชุมสัมมนาพระธรรมทูตในประเทศ ประจำปี 2561 และทรงมีพระโอวาท เปิดการประชุม ว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็น หน้าที่โดยตรงของพระภิกษุ ไม่พึงมุ่งหวังลาภสักการะใดๆ แต่พึงมุ่งหมายเพื่อให้ธรรมะเรืองรองขึ้นอย่างกว้างขวาง ให้เป็นแสงสว่างทางปัญญา ช่วย อนุเคราะห์เกื้อกูลชาวโลก การช่วยกันหมุนกงล้อแห่งธรรม หรือที่เรียกว่า “ธรรมจักร” ให้ขับเคลื่อนไปนั้น จำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติ 5 ประการ
สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระโอวาทต่อว่า 1.ธัมมัญญุตา ต้องเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง ต้องเป็นผู้รู้ธรรม 2.อัตถัญญุตา ต้องเป็นผู้รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ ว่า ธรรมะที่เผยแผ่ไปนั้นมีความหมายอย่างไร และการทำหน้าที่ของท่านนั้นเพื่อประโยชน์อะไร 3.มัตตัญญุตา ต้องรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุในพระพุทธศาสนาย่อมรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ 4.กาลัญญุตา ต้องรู้จักกาลอันเหมาะสม รู้ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจการงาน บริหารเวลาให้ถูกต้อง รู้ว่าเวลาใดควรทำ หรือควรพูด 5.ปริสัญญุตา ต้องเป็นผู้รู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยา อย่างนี้จะต้อง พูดอย่างนี้ เป็นต้น ถ้าพระธรรมทูตมีคุณสมบัติครบทั้ง 5 ประการ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ.
https://www.thairath.co.th/content/1454830
ทรงชี้คุณสมบัติสำคัญ “พระธรรมทูต”
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร) เสด็จ เป็นประธาน เปิดการประชุมสัมมนาพระธรรมทูตในประเทศ ประจำปี 2561 และทรงมีพระโอวาท เปิดการประชุม ว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็น หน้าที่โดยตรงของพระภิกษุ ไม่พึงมุ่งหวังลาภสักการะใดๆ แต่พึงมุ่งหมายเพื่อให้ธรรมะเรืองรองขึ้นอย่างกว้างขวาง ให้เป็นแสงสว่างทางปัญญา ช่วย อนุเคราะห์เกื้อกูลชาวโลก การช่วยกันหมุนกงล้อแห่งธรรม หรือที่เรียกว่า “ธรรมจักร” ให้ขับเคลื่อนไปนั้น จำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติ 5 ประการ
สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระโอวาทต่อว่า 1.ธัมมัญญุตา ต้องเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง ต้องเป็นผู้รู้ธรรม 2.อัตถัญญุตา ต้องเป็นผู้รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ ว่า ธรรมะที่เผยแผ่ไปนั้นมีความหมายอย่างไร และการทำหน้าที่ของท่านนั้นเพื่อประโยชน์อะไร 3.มัตตัญญุตา ต้องรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุในพระพุทธศาสนาย่อมรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ 4.กาลัญญุตา ต้องรู้จักกาลอันเหมาะสม รู้ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจการงาน บริหารเวลาให้ถูกต้อง รู้ว่าเวลาใดควรทำ หรือควรพูด 5.ปริสัญญุตา ต้องเป็นผู้รู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยา อย่างนี้จะต้อง พูดอย่างนี้ เป็นต้น ถ้าพระธรรมทูตมีคุณสมบัติครบทั้ง 5 ประการ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ.
https://www.thairath.co.th/content/1454830