ลุงน้อยเป็นชายวัย 50กว่าที่จากแม่วัยชรา มาจากจังหวัดหนึ่งในพื้นภาคอีสาน เข้ามาในกรุงเทพเพื่อต้องการหาเงินมาใช้จ่าย และเก็บเงินกลับไปให้แม่ใช้ในบั้นปลายชีวิต ลุงน้อยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งเพราะไม่มีเงินมากพอที่จะเช่าห้องอยู่ ลุงน้อยจึงอาศัยวัดและใต้สะพานข้ามแยกต่างๆเป็นที่หลับนอน
อาชีพของลุงน้อยคือการสานตั๊กแตนจากใบลานขาย ลุงน้อยจะไปขอซื้อใบลาน ใบตาล หรือใบมะพร้าว จากชาวบ้านที่ปลูกต้นไม้เหล่านี้เพื่อเอามาสานเป็นตั๊กแตนเร่ขายตามแยกต่างๆในกรุงเทพ บางครั้งก็ได้วัตถุดิบฟรีจากวัดต่างๆที่พระท่านให้ ลุงน้อยสานตั๊กแตนขายตัวละ 10บาท วันไหนเจอเด็กขอทานลุงน้อยก็ให้เด็กฟรีๆไม่คิดตัง
ลุงน้อยขายตั๊กแตนได้ก็เก็บเงินไว้กับตัว วันๆนึงลุงน้อยขายตั๊กแตนได้มากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอน เฉลี่ยวันนึงไม่เกิน 20ตัว แต่ลุงน้อยใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเพื่อหวังจะเก็บเงินไว้ให้แม่ ลุงน้อยไม่มีมือถือ ไม่มีสมาร์ทโฟน ลุงน้อยไม่รู้จักโซเชียลต่างๆ ลุงน้อยไม่รู้จักบัตรเอทีเอ็ม ไม่มีบัญชีเงินฝากเพราะลุงน้อยทำไม่เป็น
วันหนึ่งลุงน้อยเอาตั๊กแตนมาขายที่แยกไฟแดงหนึ่งที่อยู่ติดกับหน้าห้างห้างหนึ่ง ลุงน้อยรู้สึกแปลกใจว่าทำไมถึงมีคนมากันมากมาย แต่ละคนขี่มอเตอร์ไซค์มา ขับรถยนต์มา พอจอดรถก็พากันไปต่อแถวที่หน้าตู้เอทีเอ็มเพื่อกดเงิน วันนี้มันเป็นวันกดเงินแห่งชาติหรืออย่างไร ลุงน้อยคิดในใจ เห็นดังนั้นลุงน้อยจึงเดินเอาตั๊กแตนไปขายให้กับคนพวกนั้น แต่ลุงน้อยขายไม่ได้เลยซักตัว ไม่มีใครสนใจจะซื้อตั๊กแตนจากแกเลย
บางคนพอกดเงินได้ก็เอามาถ่ายรูปกับบัตรสีฟ้าๆ ลุงน้อยนึกสงสัยว่าทำไปทำไม หรือพวกเค้าได้เงินพิเศษจากไหนอะไรกันมานะถึงได้ดูท่าทางดีใจขนาดนี้ แต่เมื่อขายตั๊กแตนไม่ได้ลุงน้อยก็เดินกลับไปขายที่สี่แยกไฟแดงเหมือนเดิม...ลุงน้อยจะรู้บ้างมั้ยน้อ ว่าลุงน้อยมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินนั้นมากกว่าใครบางคนที่ยืนต่อแถวตรงตู้เอทีเอ็มนั่นอีก
และคงมีอีกหลายคนที่สงสัยเหมือนกันว่า การแจกเงินคนจนนั้นเค้ามีวิธิการคัดเลือกคนอย่างไร มีการสำรวจรายได้ไหม การเข้าถึงสิทธิ์เหล่านี้ต้องทำเช่นไร ถ้าคนจนจริงๆที่ไม่มีความรู้ ไม่มีการเข้าถึงสื่อ จะมีสิทธิ์รับเงินนี้บ้างไหม เงินที่แจกนี้จะมีประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ในเมื่อคนยากจนจริงๆเค้าไม่ได้ แต่ที่ได้คือคนอยากจน
นิทานเรื่อง ลุงน้อยผู้สานตั๊กแตนขาย
อาชีพของลุงน้อยคือการสานตั๊กแตนจากใบลานขาย ลุงน้อยจะไปขอซื้อใบลาน ใบตาล หรือใบมะพร้าว จากชาวบ้านที่ปลูกต้นไม้เหล่านี้เพื่อเอามาสานเป็นตั๊กแตนเร่ขายตามแยกต่างๆในกรุงเทพ บางครั้งก็ได้วัตถุดิบฟรีจากวัดต่างๆที่พระท่านให้ ลุงน้อยสานตั๊กแตนขายตัวละ 10บาท วันไหนเจอเด็กขอทานลุงน้อยก็ให้เด็กฟรีๆไม่คิดตัง
ลุงน้อยขายตั๊กแตนได้ก็เก็บเงินไว้กับตัว วันๆนึงลุงน้อยขายตั๊กแตนได้มากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอน เฉลี่ยวันนึงไม่เกิน 20ตัว แต่ลุงน้อยใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเพื่อหวังจะเก็บเงินไว้ให้แม่ ลุงน้อยไม่มีมือถือ ไม่มีสมาร์ทโฟน ลุงน้อยไม่รู้จักโซเชียลต่างๆ ลุงน้อยไม่รู้จักบัตรเอทีเอ็ม ไม่มีบัญชีเงินฝากเพราะลุงน้อยทำไม่เป็น
วันหนึ่งลุงน้อยเอาตั๊กแตนมาขายที่แยกไฟแดงหนึ่งที่อยู่ติดกับหน้าห้างห้างหนึ่ง ลุงน้อยรู้สึกแปลกใจว่าทำไมถึงมีคนมากันมากมาย แต่ละคนขี่มอเตอร์ไซค์มา ขับรถยนต์มา พอจอดรถก็พากันไปต่อแถวที่หน้าตู้เอทีเอ็มเพื่อกดเงิน วันนี้มันเป็นวันกดเงินแห่งชาติหรืออย่างไร ลุงน้อยคิดในใจ เห็นดังนั้นลุงน้อยจึงเดินเอาตั๊กแตนไปขายให้กับคนพวกนั้น แต่ลุงน้อยขายไม่ได้เลยซักตัว ไม่มีใครสนใจจะซื้อตั๊กแตนจากแกเลย
บางคนพอกดเงินได้ก็เอามาถ่ายรูปกับบัตรสีฟ้าๆ ลุงน้อยนึกสงสัยว่าทำไปทำไม หรือพวกเค้าได้เงินพิเศษจากไหนอะไรกันมานะถึงได้ดูท่าทางดีใจขนาดนี้ แต่เมื่อขายตั๊กแตนไม่ได้ลุงน้อยก็เดินกลับไปขายที่สี่แยกไฟแดงเหมือนเดิม...ลุงน้อยจะรู้บ้างมั้ยน้อ ว่าลุงน้อยมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินนั้นมากกว่าใครบางคนที่ยืนต่อแถวตรงตู้เอทีเอ็มนั่นอีก
และคงมีอีกหลายคนที่สงสัยเหมือนกันว่า การแจกเงินคนจนนั้นเค้ามีวิธิการคัดเลือกคนอย่างไร มีการสำรวจรายได้ไหม การเข้าถึงสิทธิ์เหล่านี้ต้องทำเช่นไร ถ้าคนจนจริงๆที่ไม่มีความรู้ ไม่มีการเข้าถึงสื่อ จะมีสิทธิ์รับเงินนี้บ้างไหม เงินที่แจกนี้จะมีประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ในเมื่อคนยากจนจริงๆเค้าไม่ได้ แต่ที่ได้คือคนอยากจน