ประเพณีแห่กระธูป ของจังหวัดชัยภูมิ จัดขึ้นทุกปี ซึ่งปีนี้งานเริ่มวันที่ 13-17 ตุลาคม อยากให้เพื่อนๆได้มาสัมผัสกับบรรยากาศจริงในงาน
รับรองว่าจะต้องทึ่งกับฝีมือของชาวบ้านหนองบัวแดง ที่ร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งขบวนกระธูปด้วยสีสันงดงาม
ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่กระธูปครับ
ในวันออกพรรษา ชาวพุทธจะถวายการสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากโปรดพุทธมารดา ชาวพุทธทั้งหลายต่างเฉลิมฉลอง และในกาลนี้ ชาวพุทธในภาคอีสาน โดยเฉพาะชาวอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดทำต้นหระธูปโดยการนำธูปพันด้วยกระดาษสีให้เป็นลวดลายต่างๆ แล้วประกอบเป็นต้น
ร่วมสมโภชและนำไปจุดยังวัดต่างๆ ในการจัดทำกระธูปครั้งแรกเริ่มจัดทำที่บ้านราษฎร์ดำเนินโดยทำต้นกระธูปและจัดให้มีมหรสพสมโภชก่อนวันออกพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2545 อำเภอหนองบัวแดงได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของประเพณีแห่กระธูปจึงได้จัดให้ชุมชนและวัดต่างๆ ที่เคยมีการทำต้นกระธูป และที่ยังไม่เคยทำต้นกระธูปให้ร่วมกันประดิษฐ์ต้นกระธูป เพื่อเป็นการสืบสานประเพณี และเป็นหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอหนองบัวแดง
“ประเพณีแห่กระธูป” ที่ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ในประเพณีบุญออกพรรษา ของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูปโดยจะตีเกราะเคาะขอลอ ให้ชาวบ้านออกไปรวมตัว ณ จุดนัดหมาย (อาจเป็นศาลากลางบ้านหรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน) ไปพันกระธูป ซึ่งกว่าจะเป็นธูปจุดไฟได้ต้องผ่านกระบวนการยาวนานพอสมควร เพราะมันไม่ใช่กระธูปหรือธูปที่วางขายตามตลาด แต่มันเกิดมาจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวจนร่วงออกมาเป็นผง แล้วพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษแก้วหลากสีสัน ก่อนที่จะนำไปมัดเข้ากับดาวก้านตาล(สานจากใบตาลหรือใบลาน) จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด ทำไว้มาก ๆ เสร็จแล้วจึงจะนำเข้าไปเสียบเข้าไปรูรอบปล้องไม้ไผ่ ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงาม ก่อนที่จะนำออกไปจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา
ประเพณีแห่กระธูป จังหวัดชัยภูมิ สะดุดตา สะดุดใจ ทำเอาหลงใหลอยากให้มาสัมผัส
รับรองว่าจะต้องทึ่งกับฝีมือของชาวบ้านหนองบัวแดง ที่ร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งขบวนกระธูปด้วยสีสันงดงาม
ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่กระธูปครับ
ในวันออกพรรษา ชาวพุทธจะถวายการสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากโปรดพุทธมารดา ชาวพุทธทั้งหลายต่างเฉลิมฉลอง และในกาลนี้ ชาวพุทธในภาคอีสาน โดยเฉพาะชาวอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดทำต้นหระธูปโดยการนำธูปพันด้วยกระดาษสีให้เป็นลวดลายต่างๆ แล้วประกอบเป็นต้น
ร่วมสมโภชและนำไปจุดยังวัดต่างๆ ในการจัดทำกระธูปครั้งแรกเริ่มจัดทำที่บ้านราษฎร์ดำเนินโดยทำต้นกระธูปและจัดให้มีมหรสพสมโภชก่อนวันออกพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2545 อำเภอหนองบัวแดงได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของประเพณีแห่กระธูปจึงได้จัดให้ชุมชนและวัดต่างๆ ที่เคยมีการทำต้นกระธูป และที่ยังไม่เคยทำต้นกระธูปให้ร่วมกันประดิษฐ์ต้นกระธูป เพื่อเป็นการสืบสานประเพณี และเป็นหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอหนองบัวแดง
“ประเพณีแห่กระธูป” ที่ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ในประเพณีบุญออกพรรษา ของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูปโดยจะตีเกราะเคาะขอลอ ให้ชาวบ้านออกไปรวมตัว ณ จุดนัดหมาย (อาจเป็นศาลากลางบ้านหรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน) ไปพันกระธูป ซึ่งกว่าจะเป็นธูปจุดไฟได้ต้องผ่านกระบวนการยาวนานพอสมควร เพราะมันไม่ใช่กระธูปหรือธูปที่วางขายตามตลาด แต่มันเกิดมาจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวจนร่วงออกมาเป็นผง แล้วพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษแก้วหลากสีสัน ก่อนที่จะนำไปมัดเข้ากับดาวก้านตาล(สานจากใบตาลหรือใบลาน) จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด ทำไว้มาก ๆ เสร็จแล้วจึงจะนำเข้าไปเสียบเข้าไปรูรอบปล้องไม้ไผ่ ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงาม ก่อนที่จะนำออกไปจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา