โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดของไทย


อันดับ 1 โรงพยาบาลศิริราช 46.3 คะแนน คิดเป็น 4%
โรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย (อายุ 130 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
บุคลากรทางการแพทย์ 6,700 คน อันดับ 1 ของประเทศ
เตียงผู้ป่วยใน  1,792 เตียง อันดับ 1 ของประเทศ
ผู้ป่วยนอก 3,017,493 ครั้ง อันดับ 1 ของประเทศ


อันดับ 2 โรงพยาบาลรามาธิบดี 33.2 คะแนน คิดเป็น 3% (อายุ 49 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

อันดับ 3 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 33.0 คะแนน คิดเป็น 3% (อายุ 43 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

อันดับ 4 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 30.9 คะแนน คิดเป็น 3% (อายุ 72 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

อันดับ 5 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 29.7 คะแนน คิดเป็น 3% (อายุ 104 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.สังกัดสภากาชาดไทย

อันดับ 6 โรงพยาบาลกรุงเทพ 27.2 คะแนน คิดเป็น 2% (อายุ 46 ปี)
รพ.เอกชนทั่วไปขนาดใหญ่ กรุงเทพมหานคร

อันดับ 7 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 26.9 คะแนน คิดเป็น 2% (อายุ 36 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

อันดับ 8 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 23.5 คะแนน คิดเป็น 2% (อายุ 38 ปี)
รพ.เอกชนทั่วไปขนาดใหญ่ กรุงเทพมหานคร
แพทย์เฉพาะทาง 941 คน อันดับ 1 ของประเทศ


อันดับ 9 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 21.4 คะแนน คิดเป็น 2% (อายุ 109 ปี)
รพ.ศูนย์ (รพศ.) โดยความร่วมมือกับแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้ป่วยใน 109,965 ราย อันดับ 1 ของประเทศ

อันดับ 10 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 21.2 คะแนน คิดเป็น 2% (อายุ 86 ปี)
รพ.โรงเรียนแพทย์ โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหม


เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจำกัดข้อมูล
1.โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) มี 33 แห่ง
2.โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 500 เตียงขึ้นไป มี 14 แห่ง (รวม รพ.ราชวิถี)
3.โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ 20 แห่ง (ไม่รวม รพ.ราชวิถี)
4.โรงพยาบาลเอกชน ขนาด 150 เตียงขึ้นไป มี 44 แห่ง
(ยกเว้น รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ 130 เตียง เนื่องจากมีจำนวนแพทย์เฉพาะทางมากกว่า 400 ท่าน)
มี รพ.ที่ผ่านเกณฑ์ 111 แห่ง

เกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนด้านละ 100 คะแนน รวม 1100 คะแนน
(คะแนนมาจาก % สัดส่วนของทุกข้อมูล แล้วนำมาคิดรวมกัน เป็นคะแนนรวมในแต่ละด้าน)
1.แพทย์เฉพาะทางทั้งหมด (จำนวนแพทย์เฉพาะทาง 82 สาขา และจำนวนทันตแพทย์เฉพาะทาง 10 สาขา)
2.สาขาแพทย์เฉพาะทางทั้งหมด (89สาขา)
3.แพทย์เฉพาะทางต่อยอด (ระดับอาจารย์หมอ)
4.สาขาแพทย์เฉพาะทางต่อยอด (37สาขา)
5.แพทย์ได้รับใบอนุญาต ปี 2539-2560 (การผลิตแพทย์ของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์)
6.เตียงผู้ป่วยใน (จำนวนเตียงทางการตามที่รายงาน)
7.สถานที่และเครื่องมือทางการแพทย์ (รายการสถานบริการ+รายการครุภัณฑ์การแพทย์)
8.บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด
9.ผู้ป่วยทั้งหมด (จำนวนครั้งผู้ป่วยนอก+จำนวนรายผู้ป่วยใน)
10.ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ 5 สาขาขั้นพื้นฐาน (รพ.ของรัฐ)
11.JCI มาตรฐานสถานพยาบาลระดับสากล (รพ.เอกชน)


*ข้อมูลจาก: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
**ตัวเลขสถิติมีความคลาดเคลื่อน เพราะข้อมูลจากหน่วยงานเดียวกันแต่คนละเว็บไซต์ยังไม่ตรงกัน
***เนื่องจากยุค 4.0 หากคะแนนข้อมูลด้านใดของ รพ.ไม่มีหรือไม่ครบถ้วน เพราะไม่มีการบันทึกข้อมูล คะแนนในด้านนั้นจะไม่ถูกนับคะแนน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่