งนับวันตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยยิ่งเติบโตและแข่งขันกันดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากผู้เล่นรายใหญ่จากแดนมังกรกระโดดเข้าบุกตลาดไทยเต็มรูปแบบ ทั้ง “ลาซาด้า” จากอาลีบาบากรุ๊ป “JD.co.th” จาก JD.com ที่จับมือกับค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในไทยอย่างเซ็นทรัลกรุ๊ป และ “ช้อปปี้” ที่มีบริษัทแม่คือ Sea ซึ่งมี “เทนเซ็นต์” เป็นผู้ถือหุ้นด้วย ทำให้ “จีน” เข้ามามีอิทธิพลกับวงการอีคอมเมิร์ซไทยอย่างมาก ทั้งในฐานะของ “นายทุน” เจ้าของแพลตฟอร์ม รวมถึงแหล่งผลิต “สินค้า” ที่กำลังทะลักเข้ามา
สอดคล้องกับผลสำรวจของ Priceza เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา โดย “ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด (และยังเป็นนายกสมาคมอีคอมเมิร์ซ) ระบุว่า ภาพรวมอีคอมเมิร์ซในปี 2561 คาดว่ามีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 20-30% และคาดว่าปี 2562 ยังคงรักษาระดับการเติบโตได้ โดยเป็นการซื้อขายผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ 1.มาร์เก็ตเพลซ 35% 2.เว็บไซต์แบรนด์ 25% 3.โซเชียลมีเดีย 40%
ขณะที่เทรนด์ในปี 2562 ที่สำคัญคือ “ทุกแพลตฟอร์มมุ่งสู่อีคอมเมิร์ซ” ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นชัดเจนแล้วว่า บรรดาขาใหญ่ในวงการออนไลน์ ล้วนมีแพลตฟอร์ม “ค้าขาย” ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Google ที่มีกูเกิลช็อปปิ้ง, Facebook มีมาร์เก็ตเพลซ, ธนาคารอย่าง Kbank มีมาร์เก็ตเพลซ แม้แต่แอปพลิเคชั่นแชตอย่าง LINE ก็เพิ่งซื้อสตาร์ตอัพโซเชียลคอมเมิร์ซ “Sellsuki”
อีกสิ่งที่จะเห็นได้ชัดมากยิ่งขึ้นไปอีกคือ “สินค้าต่างชาติทะลักเข้าไทย” ซึ่งปัจจุบันจากการสำรวจ 3 แพลตฟอร์มคอมเมิร์ซ 3 รายใหญ่ในไทย ที่มีสินค้ารวมกัน 75 ล้านรายการ ก็พบว่า 80% เป็นสินค้าจากต่างประเทศ และในปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
และเมื่อ “ทุนจีน” ครองช่องทางขายในไทย จึงไม่แปลกใจที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าแม้แต่โรงงานจาก “จีน” ก็ส่งตรงสินค้าตัวเองมาถึงผู้บริโภคชาวไทยได้ง่าย ๆ กระทบผู้ค้าอีคอมเมิร์ซไทยที่ยังเป็นแค่ “ตัวกลาง” ซื้อสินค้าจีนมาขายให้คนไทย เพราะยากมากที่ “พ่อค้าคนกลาง” จะขายสินค้าได้ราคาถูกกว่า “ผู้ผลิต”
แต่ก็เห็นความพยายามปรับตัวของผู้ได้รับผลกระทบ จนกลายเป็นช่องทางให้อีกธุรกิจกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง นั่นคือ “ทัวร์แม่ค้า-ทัวร์โรงงานจีน” ที่จะจัดกรุ๊ปทัวร์พิเศษพาผู้ค้าออนไลน์ไปซื้อสินค้าโดยตรงจากโรงงาน ซึ่งจริง ๆ ก็มีบริษัททัวร์ที่จับตลาดนี้มาพักใหญ่แล้ว แต่ยิ่งตลาดอีคอมเมิร์ซบูมก็เริ่มเห็นหน้าใหม่ ๆ เข้ามาทำธุรกิจนี้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นพาไปที่เมืองกว่างโจวและอี้อู สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าแฟชั่น และไปที่เมืองฝอซานสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์ โดยจะจัดล่ามส่วนตัวประกบให้ลูกทัวร์แต่ละคน ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศจีน เพื่อพาไปเจรจาซื้อสินค้าตามที่ลูกทัวร์แต่ละคนต้องการ พร้อมมีบริการจัดส่งมายังเมืองไทยและเดินเรื่องนำเข้าสินค้าผ่านกรมศุลกากรให้ด้วย เรียกว่าเป็นบริการแบบครบวงจรเสร็จสรรพ ทั้งทัวร์และชิปปิ้งหรือแม้แต่กลุ่มนักศึกษาจีนในประเทศไทยและนักศึกษาไทยในประเทศจีน ก็มีไม่น้อยที่คอยมาโพสต์เสนอตัวโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นไกด์ส่วนตัวให้กับผู้ค้าออนไลน์ที่ต้องการไปติดต่อที่โรงงานในประเทศจีนเอง แต่ไม่ต้องการซื้อแพ็กเกจทัวร์ด้วย
แต่ในมุมมองของผู้คร่ำหวอดในวงการค้าขายสินค้าจากจีน ก็ย้ำชัดว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่ไปแล้วจะกำไร” ดีไม่ดีราคาก็ได้เท่ากับ (หรือแพงกว่า) ไปเดินหาซื้อที่ประตูน้ำ-แพลทินัม-สำเพ็ง เพราะผู้ค้าในย่านดังกล่าว ตกลงซื้อขายกับโรงงานที่จีนแต่ละครั้ง “ยอดซื้อเป็นหลาย ๆ ล้านบาท” และทำธุรกิจระหว่างกันมายาวนาน แต่กลุ่มไปกับทัวร์ ยอดซื้อไม่ได้สูงมากพอที่จะต่อรองกันได้ ที่สำคัญคือ เวลาจำกัดในการไปเดินหา ตรวจรับสินค้า
สอดคล้องกับหลายเสียงบ่นของคนเคยไปกับทัวร์เหล่านี้ว่า ด้วยความรีบ ๆ ทำให้หลายครั้งไม่ได้เจอกับสินค้าที่ “ต่าง” กับที่มีขายในเว็บอีคอมเมิร์ซจีน ที่สั่งซื้อจากไทยได้ ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Aliexpress และ Taobao แถมพอไปสั่งซื้อจำนวนเยอะ ๆ ก็ไม่มีของ หรือบอกว่าจะส่งมาให้ที่โรงแรมที่พัก แต่พอเปิดกล่องดูก็พบว่า ได้สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ แต่จะไปโวยวายขอเปลี่ยน “ก็ไม่ทันขึ้นเครื่องกลับแล้ว”
ยิ่งถ้าเป็นการชิปปิ้งส่งตามมาที่ไทย ยิ่งแก้ไขอะไรไม่ค่อยได้ จะส่งคืนกลับไปเปลี่ยน ค่าส่งก็ดูจะไม่คุ้ม สุดท้ายต้องเอามาขายแบบโละสต๊อก ไม่ให้เงินจม แตกต่างจากการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ ที่อย่างน้อยก็มีพื้นที่ให้ “รีวิว” สินค้าและบริการของผู้ขายรายนั้น ๆ ได้แต่ถ้าจังหวะดี ๆ ทัวร์พาไปเจอสินค้าที่ “ต่าง” ทริปนั้นก็จะพอทำกำไรได้
แต่จังหวะดี ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ยุคนี้ถ้าเป็นแค่ “ตัวกลาง” ที่ไม่มีประโยชน์ สุดท้ายก็จะสาบสูญไป ลองพลิกมุมเป็น “ส่งสินค้าไทยไปตีตลาดจีน” บ้างดีไหม
ยาหม่องสมุนไพร มาสก์หน้า และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หลายแบรนด์ที่คนไทยไม่คุ้นเคย แต่ฮิตมากในตลาดจีนนะ
https://www.prachachat.net/columns/news-268891
สินค้าจีนทะลักออนไลน์ บีบอีคอมเมิร์ซไทยปรับตัว
สอดคล้องกับผลสำรวจของ Priceza เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา โดย “ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด (และยังเป็นนายกสมาคมอีคอมเมิร์ซ) ระบุว่า ภาพรวมอีคอมเมิร์ซในปี 2561 คาดว่ามีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 20-30% และคาดว่าปี 2562 ยังคงรักษาระดับการเติบโตได้ โดยเป็นการซื้อขายผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ 1.มาร์เก็ตเพลซ 35% 2.เว็บไซต์แบรนด์ 25% 3.โซเชียลมีเดีย 40%
ขณะที่เทรนด์ในปี 2562 ที่สำคัญคือ “ทุกแพลตฟอร์มมุ่งสู่อีคอมเมิร์ซ” ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นชัดเจนแล้วว่า บรรดาขาใหญ่ในวงการออนไลน์ ล้วนมีแพลตฟอร์ม “ค้าขาย” ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Google ที่มีกูเกิลช็อปปิ้ง, Facebook มีมาร์เก็ตเพลซ, ธนาคารอย่าง Kbank มีมาร์เก็ตเพลซ แม้แต่แอปพลิเคชั่นแชตอย่าง LINE ก็เพิ่งซื้อสตาร์ตอัพโซเชียลคอมเมิร์ซ “Sellsuki”
อีกสิ่งที่จะเห็นได้ชัดมากยิ่งขึ้นไปอีกคือ “สินค้าต่างชาติทะลักเข้าไทย” ซึ่งปัจจุบันจากการสำรวจ 3 แพลตฟอร์มคอมเมิร์ซ 3 รายใหญ่ในไทย ที่มีสินค้ารวมกัน 75 ล้านรายการ ก็พบว่า 80% เป็นสินค้าจากต่างประเทศ และในปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
และเมื่อ “ทุนจีน” ครองช่องทางขายในไทย จึงไม่แปลกใจที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าแม้แต่โรงงานจาก “จีน” ก็ส่งตรงสินค้าตัวเองมาถึงผู้บริโภคชาวไทยได้ง่าย ๆ กระทบผู้ค้าอีคอมเมิร์ซไทยที่ยังเป็นแค่ “ตัวกลาง” ซื้อสินค้าจีนมาขายให้คนไทย เพราะยากมากที่ “พ่อค้าคนกลาง” จะขายสินค้าได้ราคาถูกกว่า “ผู้ผลิต”
แต่ก็เห็นความพยายามปรับตัวของผู้ได้รับผลกระทบ จนกลายเป็นช่องทางให้อีกธุรกิจกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง นั่นคือ “ทัวร์แม่ค้า-ทัวร์โรงงานจีน” ที่จะจัดกรุ๊ปทัวร์พิเศษพาผู้ค้าออนไลน์ไปซื้อสินค้าโดยตรงจากโรงงาน ซึ่งจริง ๆ ก็มีบริษัททัวร์ที่จับตลาดนี้มาพักใหญ่แล้ว แต่ยิ่งตลาดอีคอมเมิร์ซบูมก็เริ่มเห็นหน้าใหม่ ๆ เข้ามาทำธุรกิจนี้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นพาไปที่เมืองกว่างโจวและอี้อู สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าแฟชั่น และไปที่เมืองฝอซานสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์ โดยจะจัดล่ามส่วนตัวประกบให้ลูกทัวร์แต่ละคน ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศจีน เพื่อพาไปเจรจาซื้อสินค้าตามที่ลูกทัวร์แต่ละคนต้องการ พร้อมมีบริการจัดส่งมายังเมืองไทยและเดินเรื่องนำเข้าสินค้าผ่านกรมศุลกากรให้ด้วย เรียกว่าเป็นบริการแบบครบวงจรเสร็จสรรพ ทั้งทัวร์และชิปปิ้งหรือแม้แต่กลุ่มนักศึกษาจีนในประเทศไทยและนักศึกษาไทยในประเทศจีน ก็มีไม่น้อยที่คอยมาโพสต์เสนอตัวโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นไกด์ส่วนตัวให้กับผู้ค้าออนไลน์ที่ต้องการไปติดต่อที่โรงงานในประเทศจีนเอง แต่ไม่ต้องการซื้อแพ็กเกจทัวร์ด้วย
แต่ในมุมมองของผู้คร่ำหวอดในวงการค้าขายสินค้าจากจีน ก็ย้ำชัดว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่ไปแล้วจะกำไร” ดีไม่ดีราคาก็ได้เท่ากับ (หรือแพงกว่า) ไปเดินหาซื้อที่ประตูน้ำ-แพลทินัม-สำเพ็ง เพราะผู้ค้าในย่านดังกล่าว ตกลงซื้อขายกับโรงงานที่จีนแต่ละครั้ง “ยอดซื้อเป็นหลาย ๆ ล้านบาท” และทำธุรกิจระหว่างกันมายาวนาน แต่กลุ่มไปกับทัวร์ ยอดซื้อไม่ได้สูงมากพอที่จะต่อรองกันได้ ที่สำคัญคือ เวลาจำกัดในการไปเดินหา ตรวจรับสินค้า
สอดคล้องกับหลายเสียงบ่นของคนเคยไปกับทัวร์เหล่านี้ว่า ด้วยความรีบ ๆ ทำให้หลายครั้งไม่ได้เจอกับสินค้าที่ “ต่าง” กับที่มีขายในเว็บอีคอมเมิร์ซจีน ที่สั่งซื้อจากไทยได้ ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Aliexpress และ Taobao แถมพอไปสั่งซื้อจำนวนเยอะ ๆ ก็ไม่มีของ หรือบอกว่าจะส่งมาให้ที่โรงแรมที่พัก แต่พอเปิดกล่องดูก็พบว่า ได้สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ แต่จะไปโวยวายขอเปลี่ยน “ก็ไม่ทันขึ้นเครื่องกลับแล้ว”
ยิ่งถ้าเป็นการชิปปิ้งส่งตามมาที่ไทย ยิ่งแก้ไขอะไรไม่ค่อยได้ จะส่งคืนกลับไปเปลี่ยน ค่าส่งก็ดูจะไม่คุ้ม สุดท้ายต้องเอามาขายแบบโละสต๊อก ไม่ให้เงินจม แตกต่างจากการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ ที่อย่างน้อยก็มีพื้นที่ให้ “รีวิว” สินค้าและบริการของผู้ขายรายนั้น ๆ ได้แต่ถ้าจังหวะดี ๆ ทัวร์พาไปเจอสินค้าที่ “ต่าง” ทริปนั้นก็จะพอทำกำไรได้
แต่จังหวะดี ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ยุคนี้ถ้าเป็นแค่ “ตัวกลาง” ที่ไม่มีประโยชน์ สุดท้ายก็จะสาบสูญไป ลองพลิกมุมเป็น “ส่งสินค้าไทยไปตีตลาดจีน” บ้างดีไหม
ยาหม่องสมุนไพร มาสก์หน้า และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หลายแบรนด์ที่คนไทยไม่คุ้นเคย แต่ฮิตมากในตลาดจีนนะ
https://www.prachachat.net/columns/news-268891