คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ขอแชร์ประสบการณ์ตรงค่ะ จากเคสตัวเองที่เปลี่ยนทนาย 2 คนจนคดีสิ้นสุดที่ชั้นอุทธรณ์โดยดิฉันชนะจบเมื่อต้นปี 61นี้ และตอนนี้ก็เลือกจ้างทนายว่าความให้เพื่อนฝรั่งอยู่จะเร่ิมฟ้องต้นปี 62 ด้วย ขอย้ำว่า การที่จะได้ทนายดีและเก่งแบบที่เราสามารถปล่อยให้เค้าทำงานโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือให้ความเห็นเพื่อให้เราในฐานะลูกความได้ประโยชน์สูงสุด (ในฐานะที่เรามีข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในมือรวมทั้งเซ้นส์ของเราที่มีต่อการทำคดีด้วย) นั้นยังไม่เคยเจอเลยและหากเจอแบบนั้นคงถือว่าถูกรางวัลที่1ค่ะ
วิธีการหาทนายจากประสบการณ์ตัวเอง
1. หากจ้างทนายที่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทใหญ่นั้นต้องระวังให้มากและต้องตรวจสอบจากสภาทนายฯ โทรศัพท์สอบถามว่าทนายชื่อนี้ยังมีใบอนุญาตว่าความอยู่หรือไม่ (จากประสบการณ์ที่จ้างทนายที่ทำงานคนเดียวนี้ จะเรียกเฉพาะค่าตัว ไม่ได้ขอส่วนแบ่งจากเราเมื่อชนะคดี)
2. สภาทนายฯไม่สามารถแนะนำทนายความได้
3. หากจ้างทนายจากบริษัทดัง (บางแห่ง) ก็จะเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงสูงมาก เพราะจะมีการเรียกทั้งค่าจ้างที่แพงอยู่แล้วและยังขอเปอร์เซ็นต์จากค่าทดแทนที่เราได้รับเมือชนะคดีอีกด้วย แต่การทำงานก็ไม่ได้การันตีว่าจะช่วยปกป้องผลประโยชน์ให้เราได้ดีกว่ากว่าทนายที่ทำงานโดยลำพังที่ไม่มีทีมบริษัทฯและหลายท่านก็เรียกค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามากอย่างน้อย 1 ใน 3 เทียบกับบริษัทใหญ่
4. ราคาค่าจ้าง จริงอยุ่ว่าทุกคนจะบอกว่าขึ้นอยู่กับความยากง่ายของคดี แต่ในฐานะลูกความหรือผู้จ้าง เราก็ต้องค้นหาข้อมูลและพอเข้าใจว่าความยากง่ายหมายถึงอะไร ส่วนตัวคิดว่า ความยากง่ายคือเรื่องของความพร้อมของหลักฐานต่างๆ ถ้ามีมากพอที่จะชนะได้ ก็คือ "ง่าย"
5. เมื่อเจอทนายแล้วต้องเล่าเรื่องข้อเท็จจริงอย่าโกหกแล้วให้เขาวิเคราะห์ว่าจะทำให้คดีเราออกมามีผลอย่างไรบ้าง ความเป็นไปได้ที่จะชนะ หากเรามีหลักฐานแบบนี้ ต้องเปรียบเทียบอย่างน้อย 3 แห่ง เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
6. ระหว่างการพูดคุยเราต้องพิจารณาให้ดีว่า หากทนายที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยให้ความรู้หรือออกอาการรำคาญว่าถามมาก หรือเจอคำพูดประเภทว่า ผมรุ้ดีกว่าเพราะผมเรียนจบทนาย ถ้าเจอเช่นนี้ ขอตอบว่าอย่าจ้างเพราะจะเป็นตัวปัญหา เพราะเจอมาแล้วจ้างมาแล้ว ผลไม่เป็นดั่งที่พูด แต่อาการเหล่านี้มักไม่ปรากฎตอนคุยเบื้องต้น แต่จะปรากฎหลังจากเซ็นสัญญาจ้างได้เงินไปแล้ว จะเป็นแนวว่า ไม่รับสาย ไม่โทรกลับ ไม่ให้ถาม แสดงความรำคาญกับเราซึ่งเป็นลูกความ ข้อนี้จึงยากมากๆ มารู้ตัวว่าจ้างผิดคนก็สายไปแล้ว หากวันนั้นเราในฐานะลูกความไม่ได้นั่งอยุ่ข้างทนายในศาลเพื่อให้ข้อมุลที่เรารู้ดีกว่าก็คงแพ้ไปแล้ว เพราะเค้าไม่เคยสนใจถามไถ่เราเกี่ยวกับตัวจำเลยทั้งที่โจทก์รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับจำเลย
7. ทนายไทยไม่เหมือนทนายต่างประเทศเพราะทนายไทยมักจะบอกว่าตนทำได้ทุกคดี แต่หาน้อยมากที่จะช่ำชองในคดีประเภทใดเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าทุกคนจะรุ้และทำได้ดีไปเสียทุกคดี ซึ่งลูกความก็ต้องเสี่ยงดวงเอา
8. อายุและเพศของทนายไม่สำคัญ อายุเยอะไม่ได้แปลว่าเก่งกว่าอายุน้อย อายุน้อยประสบการณ์งานน้อยกว่าก็จริงแต่ไม่อีโก้และรับฟังข้อมุลที่เป็นประโยชน์จากลูกความและเอาไปใช้ทำให้ชนะคดีและในที่สุดได้เงินค่าทดแทนให้ลูกความได้มากกว่าด้วย ตรงนี้ขึ้นอยุ่กับวิจารณญาณของผุ้จ้างว่าจะเลือกแบบไหน แต่ให้ดูจากการพูดคุยและวิสัยทัศน์
9. การที่ทนายว่าความให้ชนะนั้นไม่ยากเท่ากับการที่ทนายจะช่วยลูกความของตนให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดนี่ยากกว่า นี่คือข้อพิสูจน์ของทนายเก่ง
10. ทนายที่เก่งไม่จำเป็นต้องแสดงความกร่าง โดยออกลักษณะข่มใช้เสียงดังเหมือนตะคอกให้ตกใจ เวลาซักพยานฝ่ายตรงข้าม เพราะไม่ได้ทำให้ลูกความของตนชนะคดีได้ เจอมาแล้วเพราะเป้นทนายของฝั่งตรงข้าม ใช้วิธีแบบนี้หวังให้พยานจิตตกและให้ข้อมุลคลาดเคลื่อน 00 ถ้าเราถูกซักแบบนี้ ไม่ต้องกลัวย้อนกลับไปเลยแบบสุภาพและถามคำถามย้อนกลับไปได้เลยหากคิดทัน (ไม่ต้องรอให้ทนายเรามาแก้ให้ทีหลังเพราะเขาอาจไม่ทันเกมหรือไม่มีข้อมูลตรงนั้นหรืออาจไม่แก้ให้เพราะคิดว่าไม่สำคัญ แต่เราต้องรู้ว่าจะไม่ทำให้เราเสียเปรียบ ถ้าไม่แน่ใจก็แค่ปล่อยวางเฉยซะ) ซึ่งทำมาแล้วตอกหน้าทนายฝั่งตรงข้ามมาแล้วด้วยความสุภาพซึ่งเรารู้ว่าคำถามของเขาต้องการอะไร แต่เราไม่ตกหลุม
11. หาทนายจากที่ไหนก็ตามสื่อหลากหลายช่องทางหากไม่มีใครแนะนำ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
12. ข้อสำคัญอีกข้อ การขอคดีตัวอย่างมาดุเพื่อจะได้ดูความสามารถของทนายคนนั้นว่าจะคุ้มค่ากับเงินที่เขาเรียกเราหรือไม่ จริงอยู่ว่าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้ดู ไม่รุ้ว่ากลัวอะไร เพราะทนายสามารถปิดบังชื่อโจทก์จำเลยต่างๆได้ ที่ทนายเองยังขอคำฟ้องของทนายคนก่อนไปดูเลย (กรณีหาทนายใหม่มาทำอุทธรณ์หรือฎีกาหรือเปลี่ยนตัวทนาย) จากประสบการณ์ทนายคนแรกไม่ให้แต่เราต้องจ้างเพราะไม่มีประสบการณ์เรื่องคดีความและไม่มีเงินมาก (ตอนนั้นอยู่ตปท.ตัวคนเดียว คิดคนเดียวทำทุกอย่งคนเดียว) ทนายคนที่ 2 และคนอื่น เขาก็ให้ดูตัวอย่างผลงานของเขา เราก็จะเห็นว่าใครเก่งหรือมีไหวพริบหรือไม่ ที่สำคัญตรงนี้ทำตามคำแนะนำของทนายอาวุโสที่เคยอ่านเจอเค้าบอกว่าเราต้องขอตัวอย่างคดีของเขามาศึกษาก่อนจะเลือกด้วย และก็เป็นประโยชน์กับเราจริงๆอย่างที่ท่านแนะนำไว้
13. เมื่อเลือกได้แล้ว ต้องขอให้ทำสัญญาจ้างแบบละเอียด ว่าจะทำอะไรให้เราบ้าง มีค่าใช้จ่ายอย่างไร เริ่มกระบวนการตรงไหนและจบเมื่อไร หลังจากจบจะต้องทำอย่างไรจ่ายเงินอย่างไร ต้องให้เขียนสัญญาให้ละเอียด เพราะเรารู้กม.น้อยกว่าทนายความ หากเกิดอะไรขึ้นเราโต้แย้งไม่ได้เพราะจะอ้างอะไรที่นอกเหนือจากในสัญญาไม่ได้ หากไม่รุ้และสงสัยต้องถามให้แน่ใจทุกอย่างก่อนเซ็นต์สัญญา
14. การตกลงเรื่องการจ่ายค่าจ้างนั้นเราสามารถต่อรองและกำหนดได้ ไม่จำเป็นต้องจ่ายทั้งหมดตั้งแต่แรก ควรจ่ายเป็น 2 ครั้งดีกว่าคือ ตอนทำสัญญาและตอนขั้นศาล เราก็ต้องป้องกันความเสียงของเราด้วย แต่เรื่องเงินนี้ทนายส่วนใหญ่ก็จะยืดหยุ่นให้คือพูดคุยกันได้ แต่เราต้องเอ่ยปากนะ เพราะเค้าจะไม่เสนอเราก่อนหรอก
15. ในกรณีที่ไม่ได้ทำดำให้เป็นเทาหรือเป็นขาวนั้น ข้อมูลหลักฐานมากเท่าไรก็มีชัยไปกว่าครึ่งและความเก่งของทนายนั้นก็จะยิ่งทำให้เราได้ผลหรือสิ่งที่เราเรียกร้องมากยึ่งขึ้น กรณีที่หลักฐานน้อยทนายยิ่งต้องเก่งมากๆเพราะเขาต้องฉลาดและมีไหวพริบมากๆ พอที่จะคิดและช่วยเราหาข้อมูลต่างๆเพื่อมาเป็นหลักฐานหรือพยานเพิ่มเติม ไม่ใช่รับงานมาแล้วได้เงินแล้วก็ทำไปแค่นั้น ไม่ดิ้นรนขวนขวายพูดคุยกับลูกความเพื่อแสดงความกระตือรือร้นช่วยเหลือลูกความ อย่างนี้ก็มีเยอะเพราะอย่างน้อยก้ได้เงินมาแล้ว เอาคืนไม่ได้อยู่แล้ว
ส่วนกรณีทำดำให้เป็นขาว อันนี้ไม่มีประสบการณ์ตรงเลยแนะนำไม่ได้
16. เมื่อได้ทนายแล้ว เราต้องคอยติดตาม (ไม่ใช่ตามจิกนะ) สอบถามในแง่ หากเรามีข้อมูลที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมก็ต้องรีบคุยเพื่อเอาไปใช้ในคดีก่อนที่จะสายไป เพราะทนายเค้าจะไม่มาคอยติดต่อเราถามโน่นนี่ นอกจากว่าคนที่กระตือรือร้นจริงๆ เพราะประสบการณ์กับคนแรกนั้นไม่เคยติดต่อเรามาเลย มีแต่เราเท่านั้นหยิบยื่นหลักฐานและไอเดียต่างๆและกระกระสนวิ่งหาหลักฐานเพ่ิมเติมตามที่เราคิดว่าน่าจะเป็นไปได้และมีประโยชน์ และก็ได้ใช้ทำให้คดีชนะจนได้ เราอย่าคิดว่าเมื่อจ่ายค่าจ้างแล้วจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทนายไปเลยทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะเราจะรุ้สึกว่าหายใจไม่ทั่วท้อง กระวนกระวายเพราะเราก็เป็นห่วงคดีของเราเพราะมันคือชีวิตของเราไม่ใช่ชีวิตของเขา ต้องจำให้ดี
ฉนั้นการได้ทนายที่เก่งและดีจึงสำคัญมากๆแต่มันหาได้ไม่ง่าย ไม่ต่างจากการซื้อล็อตเตอร์รี่เลย คือ ถูกเลขท้าย ถูกรางวัลใหญ่ รางวัลที่หนึ่ง หรือถูกกินคือขาดทุน ต้องยอมรับว่าเป็นการเสี่ยงดวงจริงๆ คนดีและไม่ดีมีอยู่ทุกวงการ ขอให้โชคดีนะคะ
ปล.ขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีอคติกับอาชีพทนายเลยเพราะตัวเองก็เริ่มมาอ่านกฎหมายมากขึ้นอย่างน้อยเพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัว ทั้งหมดเล่าจากประสบการณ์ตรงค่ะ ต้องขอโทษทนายทั้งหลายด้วยหากทำให้เสียความรุ้สึกบ้าง ตรงนี้ไม่ได้หมายรวมถึงทุกคนนะคะ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ
วิธีการหาทนายจากประสบการณ์ตัวเอง
1. หากจ้างทนายที่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทใหญ่นั้นต้องระวังให้มากและต้องตรวจสอบจากสภาทนายฯ โทรศัพท์สอบถามว่าทนายชื่อนี้ยังมีใบอนุญาตว่าความอยู่หรือไม่ (จากประสบการณ์ที่จ้างทนายที่ทำงานคนเดียวนี้ จะเรียกเฉพาะค่าตัว ไม่ได้ขอส่วนแบ่งจากเราเมื่อชนะคดี)
2. สภาทนายฯไม่สามารถแนะนำทนายความได้
3. หากจ้างทนายจากบริษัทดัง (บางแห่ง) ก็จะเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงสูงมาก เพราะจะมีการเรียกทั้งค่าจ้างที่แพงอยู่แล้วและยังขอเปอร์เซ็นต์จากค่าทดแทนที่เราได้รับเมือชนะคดีอีกด้วย แต่การทำงานก็ไม่ได้การันตีว่าจะช่วยปกป้องผลประโยชน์ให้เราได้ดีกว่ากว่าทนายที่ทำงานโดยลำพังที่ไม่มีทีมบริษัทฯและหลายท่านก็เรียกค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามากอย่างน้อย 1 ใน 3 เทียบกับบริษัทใหญ่
4. ราคาค่าจ้าง จริงอยุ่ว่าทุกคนจะบอกว่าขึ้นอยู่กับความยากง่ายของคดี แต่ในฐานะลูกความหรือผู้จ้าง เราก็ต้องค้นหาข้อมูลและพอเข้าใจว่าความยากง่ายหมายถึงอะไร ส่วนตัวคิดว่า ความยากง่ายคือเรื่องของความพร้อมของหลักฐานต่างๆ ถ้ามีมากพอที่จะชนะได้ ก็คือ "ง่าย"
5. เมื่อเจอทนายแล้วต้องเล่าเรื่องข้อเท็จจริงอย่าโกหกแล้วให้เขาวิเคราะห์ว่าจะทำให้คดีเราออกมามีผลอย่างไรบ้าง ความเป็นไปได้ที่จะชนะ หากเรามีหลักฐานแบบนี้ ต้องเปรียบเทียบอย่างน้อย 3 แห่ง เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
6. ระหว่างการพูดคุยเราต้องพิจารณาให้ดีว่า หากทนายที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยให้ความรู้หรือออกอาการรำคาญว่าถามมาก หรือเจอคำพูดประเภทว่า ผมรุ้ดีกว่าเพราะผมเรียนจบทนาย ถ้าเจอเช่นนี้ ขอตอบว่าอย่าจ้างเพราะจะเป็นตัวปัญหา เพราะเจอมาแล้วจ้างมาแล้ว ผลไม่เป็นดั่งที่พูด แต่อาการเหล่านี้มักไม่ปรากฎตอนคุยเบื้องต้น แต่จะปรากฎหลังจากเซ็นสัญญาจ้างได้เงินไปแล้ว จะเป็นแนวว่า ไม่รับสาย ไม่โทรกลับ ไม่ให้ถาม แสดงความรำคาญกับเราซึ่งเป็นลูกความ ข้อนี้จึงยากมากๆ มารู้ตัวว่าจ้างผิดคนก็สายไปแล้ว หากวันนั้นเราในฐานะลูกความไม่ได้นั่งอยุ่ข้างทนายในศาลเพื่อให้ข้อมุลที่เรารู้ดีกว่าก็คงแพ้ไปแล้ว เพราะเค้าไม่เคยสนใจถามไถ่เราเกี่ยวกับตัวจำเลยทั้งที่โจทก์รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับจำเลย
7. ทนายไทยไม่เหมือนทนายต่างประเทศเพราะทนายไทยมักจะบอกว่าตนทำได้ทุกคดี แต่หาน้อยมากที่จะช่ำชองในคดีประเภทใดเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าทุกคนจะรุ้และทำได้ดีไปเสียทุกคดี ซึ่งลูกความก็ต้องเสี่ยงดวงเอา
8. อายุและเพศของทนายไม่สำคัญ อายุเยอะไม่ได้แปลว่าเก่งกว่าอายุน้อย อายุน้อยประสบการณ์งานน้อยกว่าก็จริงแต่ไม่อีโก้และรับฟังข้อมุลที่เป็นประโยชน์จากลูกความและเอาไปใช้ทำให้ชนะคดีและในที่สุดได้เงินค่าทดแทนให้ลูกความได้มากกว่าด้วย ตรงนี้ขึ้นอยุ่กับวิจารณญาณของผุ้จ้างว่าจะเลือกแบบไหน แต่ให้ดูจากการพูดคุยและวิสัยทัศน์
9. การที่ทนายว่าความให้ชนะนั้นไม่ยากเท่ากับการที่ทนายจะช่วยลูกความของตนให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดนี่ยากกว่า นี่คือข้อพิสูจน์ของทนายเก่ง
10. ทนายที่เก่งไม่จำเป็นต้องแสดงความกร่าง โดยออกลักษณะข่มใช้เสียงดังเหมือนตะคอกให้ตกใจ เวลาซักพยานฝ่ายตรงข้าม เพราะไม่ได้ทำให้ลูกความของตนชนะคดีได้ เจอมาแล้วเพราะเป้นทนายของฝั่งตรงข้าม ใช้วิธีแบบนี้หวังให้พยานจิตตกและให้ข้อมุลคลาดเคลื่อน 00 ถ้าเราถูกซักแบบนี้ ไม่ต้องกลัวย้อนกลับไปเลยแบบสุภาพและถามคำถามย้อนกลับไปได้เลยหากคิดทัน (ไม่ต้องรอให้ทนายเรามาแก้ให้ทีหลังเพราะเขาอาจไม่ทันเกมหรือไม่มีข้อมูลตรงนั้นหรืออาจไม่แก้ให้เพราะคิดว่าไม่สำคัญ แต่เราต้องรู้ว่าจะไม่ทำให้เราเสียเปรียบ ถ้าไม่แน่ใจก็แค่ปล่อยวางเฉยซะ) ซึ่งทำมาแล้วตอกหน้าทนายฝั่งตรงข้ามมาแล้วด้วยความสุภาพซึ่งเรารู้ว่าคำถามของเขาต้องการอะไร แต่เราไม่ตกหลุม
11. หาทนายจากที่ไหนก็ตามสื่อหลากหลายช่องทางหากไม่มีใครแนะนำ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
12. ข้อสำคัญอีกข้อ การขอคดีตัวอย่างมาดุเพื่อจะได้ดูความสามารถของทนายคนนั้นว่าจะคุ้มค่ากับเงินที่เขาเรียกเราหรือไม่ จริงอยู่ว่าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้ดู ไม่รุ้ว่ากลัวอะไร เพราะทนายสามารถปิดบังชื่อโจทก์จำเลยต่างๆได้ ที่ทนายเองยังขอคำฟ้องของทนายคนก่อนไปดูเลย (กรณีหาทนายใหม่มาทำอุทธรณ์หรือฎีกาหรือเปลี่ยนตัวทนาย) จากประสบการณ์ทนายคนแรกไม่ให้แต่เราต้องจ้างเพราะไม่มีประสบการณ์เรื่องคดีความและไม่มีเงินมาก (ตอนนั้นอยู่ตปท.ตัวคนเดียว คิดคนเดียวทำทุกอย่งคนเดียว) ทนายคนที่ 2 และคนอื่น เขาก็ให้ดูตัวอย่างผลงานของเขา เราก็จะเห็นว่าใครเก่งหรือมีไหวพริบหรือไม่ ที่สำคัญตรงนี้ทำตามคำแนะนำของทนายอาวุโสที่เคยอ่านเจอเค้าบอกว่าเราต้องขอตัวอย่างคดีของเขามาศึกษาก่อนจะเลือกด้วย และก็เป็นประโยชน์กับเราจริงๆอย่างที่ท่านแนะนำไว้
13. เมื่อเลือกได้แล้ว ต้องขอให้ทำสัญญาจ้างแบบละเอียด ว่าจะทำอะไรให้เราบ้าง มีค่าใช้จ่ายอย่างไร เริ่มกระบวนการตรงไหนและจบเมื่อไร หลังจากจบจะต้องทำอย่างไรจ่ายเงินอย่างไร ต้องให้เขียนสัญญาให้ละเอียด เพราะเรารู้กม.น้อยกว่าทนายความ หากเกิดอะไรขึ้นเราโต้แย้งไม่ได้เพราะจะอ้างอะไรที่นอกเหนือจากในสัญญาไม่ได้ หากไม่รุ้และสงสัยต้องถามให้แน่ใจทุกอย่างก่อนเซ็นต์สัญญา
14. การตกลงเรื่องการจ่ายค่าจ้างนั้นเราสามารถต่อรองและกำหนดได้ ไม่จำเป็นต้องจ่ายทั้งหมดตั้งแต่แรก ควรจ่ายเป็น 2 ครั้งดีกว่าคือ ตอนทำสัญญาและตอนขั้นศาล เราก็ต้องป้องกันความเสียงของเราด้วย แต่เรื่องเงินนี้ทนายส่วนใหญ่ก็จะยืดหยุ่นให้คือพูดคุยกันได้ แต่เราต้องเอ่ยปากนะ เพราะเค้าจะไม่เสนอเราก่อนหรอก
15. ในกรณีที่ไม่ได้ทำดำให้เป็นเทาหรือเป็นขาวนั้น ข้อมูลหลักฐานมากเท่าไรก็มีชัยไปกว่าครึ่งและความเก่งของทนายนั้นก็จะยิ่งทำให้เราได้ผลหรือสิ่งที่เราเรียกร้องมากยึ่งขึ้น กรณีที่หลักฐานน้อยทนายยิ่งต้องเก่งมากๆเพราะเขาต้องฉลาดและมีไหวพริบมากๆ พอที่จะคิดและช่วยเราหาข้อมูลต่างๆเพื่อมาเป็นหลักฐานหรือพยานเพิ่มเติม ไม่ใช่รับงานมาแล้วได้เงินแล้วก็ทำไปแค่นั้น ไม่ดิ้นรนขวนขวายพูดคุยกับลูกความเพื่อแสดงความกระตือรือร้นช่วยเหลือลูกความ อย่างนี้ก็มีเยอะเพราะอย่างน้อยก้ได้เงินมาแล้ว เอาคืนไม่ได้อยู่แล้ว
ส่วนกรณีทำดำให้เป็นขาว อันนี้ไม่มีประสบการณ์ตรงเลยแนะนำไม่ได้
16. เมื่อได้ทนายแล้ว เราต้องคอยติดตาม (ไม่ใช่ตามจิกนะ) สอบถามในแง่ หากเรามีข้อมูลที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมก็ต้องรีบคุยเพื่อเอาไปใช้ในคดีก่อนที่จะสายไป เพราะทนายเค้าจะไม่มาคอยติดต่อเราถามโน่นนี่ นอกจากว่าคนที่กระตือรือร้นจริงๆ เพราะประสบการณ์กับคนแรกนั้นไม่เคยติดต่อเรามาเลย มีแต่เราเท่านั้นหยิบยื่นหลักฐานและไอเดียต่างๆและกระกระสนวิ่งหาหลักฐานเพ่ิมเติมตามที่เราคิดว่าน่าจะเป็นไปได้และมีประโยชน์ และก็ได้ใช้ทำให้คดีชนะจนได้ เราอย่าคิดว่าเมื่อจ่ายค่าจ้างแล้วจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทนายไปเลยทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะเราจะรุ้สึกว่าหายใจไม่ทั่วท้อง กระวนกระวายเพราะเราก็เป็นห่วงคดีของเราเพราะมันคือชีวิตของเราไม่ใช่ชีวิตของเขา ต้องจำให้ดี
ฉนั้นการได้ทนายที่เก่งและดีจึงสำคัญมากๆแต่มันหาได้ไม่ง่าย ไม่ต่างจากการซื้อล็อตเตอร์รี่เลย คือ ถูกเลขท้าย ถูกรางวัลใหญ่ รางวัลที่หนึ่ง หรือถูกกินคือขาดทุน ต้องยอมรับว่าเป็นการเสี่ยงดวงจริงๆ คนดีและไม่ดีมีอยู่ทุกวงการ ขอให้โชคดีนะคะ
ปล.ขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีอคติกับอาชีพทนายเลยเพราะตัวเองก็เริ่มมาอ่านกฎหมายมากขึ้นอย่างน้อยเพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัว ทั้งหมดเล่าจากประสบการณ์ตรงค่ะ ต้องขอโทษทนายทั้งหลายด้วยหากทำให้เสียความรุ้สึกบ้าง ตรงนี้ไม่ได้หมายรวมถึงทุกคนนะคะ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ความคิดเห็นที่ 7 เขียนได้ตรงประเด็นดีครับ ไม่มีการลําเอียงหรือมีทัศนคติที่ไม่ดีกับทนาย
การเขียนนั้น เรียกได้ว่า Based on true story ล่ะครับ
เขียนดี น่าอ่านครับ ผมอ่านทุกประโยคเลยครับ และถูกใจครับ
ข้อ 10 นะ บางครั้ง ลูกความสั่งให้ทนายดุดัน เพื่อจะได้สะใจเขา
ผมเคยเจอและจะเป็นคดีเมียหลวงฟ้องเมียน้อยเสียส่วนใหญ่ ต้องเข้าใจว่า ลูกความพกความแค้นมาครับ เพราะมีคนมาเผาบ้านตัวเอง
ก็ซักแบบเอาใจ นิด ๆ น้อย ๆ
ข้อ 12 นะ ผมจะให้ดู แต่ขอลบชื่อคู่ความออก
คดีแบบไหน ที่ไม่เคยทํามา ก็บอกตรง ๆ มีลูกจ้างให้ฟ้องหมอ แจ้งไปเลยครับว่า ไม่เคยฟ้องหมอ
แต่หากจะให้ฟ้อง ผมต้องขอเวลาหลายเรื่องและต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ หากจะจ้าง ก็รับ แต่ต้องให้เวลาผมนานหน่อย
การเขียนนั้น เรียกได้ว่า Based on true story ล่ะครับ
เขียนดี น่าอ่านครับ ผมอ่านทุกประโยคเลยครับ และถูกใจครับ
ข้อ 10 นะ บางครั้ง ลูกความสั่งให้ทนายดุดัน เพื่อจะได้สะใจเขา
ผมเคยเจอและจะเป็นคดีเมียหลวงฟ้องเมียน้อยเสียส่วนใหญ่ ต้องเข้าใจว่า ลูกความพกความแค้นมาครับ เพราะมีคนมาเผาบ้านตัวเอง
ก็ซักแบบเอาใจ นิด ๆ น้อย ๆ
ข้อ 12 นะ ผมจะให้ดู แต่ขอลบชื่อคู่ความออก
คดีแบบไหน ที่ไม่เคยทํามา ก็บอกตรง ๆ มีลูกจ้างให้ฟ้องหมอ แจ้งไปเลยครับว่า ไม่เคยฟ้องหมอ
แต่หากจะให้ฟ้อง ผมต้องขอเวลาหลายเรื่องและต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ หากจะจ้าง ก็รับ แต่ต้องให้เวลาผมนานหน่อย
แสดงความคิดเห็น
ถ้าต้องจ้างทนายจะทราบได้ยังไงว่าทนายนั้นมีความเชี่ยวชาญด้านคดีนั้นหรือเปล่าครับ
1.ทนายคนนั้นเคยว่าความคดีไหนบ้าง แล้วชนะหรือแพ้คดีเท่าไหร่
2.ทนายความเก่งว่าความด้านไหน
3.ถ้าจะหาทนาย เราควรหาจากแหล่งไหนครับ
ขอบคุณครับ