เนื่องจากการทำ MOU ให้กับแรงงานต่างด้าว เป็นอะไรที่ทราบกันดีว่าจะต้องติดต่อบริษัทจัดหาแรงงาน เวลาที่เราไปติดต่อสำนักงานจัดหางานของกทม. ซึ่งมีอยู่ตามโซนพื้นที่ต่างๆทั้ง 10 แห่งทั่วกทม. พอถามอะไรเจ้าหน้าที่ก็จะบอกว่าต้องทำ MOU แล้วก็ชี้ไปที่ป้ายรายชื่อบริษัทจัดหาแรงงานอย่างเดียว (ทำงานกันง่ายดีแท้ 555) เมื่อลองโทรไปติดต่อแต่ละเจ้า ก็จะราคาค่าบริการใกล้เคียงกันคือ 18,000-20,000 (ไม่รวมค่าธรรมเนียมของหน่วยงานราชการ) ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างที่เราจะดำเนินการนำเข้าแรงงาน ตอนแรกเราก็เตรียมตัวติดต่อบริษัทที่เราคิดว่าน่าจะสะดวกสุดเอาไว้แล้ว เราจ้างแรงงานเพิ่มเพียงคนเดียวเป็นคนกัมพูชา บริษัทส่วนใหญ่จะคิด 2หมื่น แต่สุดท้ายเราก็ได้เจ้าที่ให้ราคาแค่ 1.8 หมื่น เพราะเค้าก็จะเดินเรื่องไปพร้อมๆกับของนายจ้างรายอื่นที่จะจ้างเด็กกัมพูชาเหมือนกัน
แต่บังเอิญมีคนรู้จักบอกว่า รู้จักคนทำ MOU ได้ ราคาแค่ 1หมื่น ทำได้เหมือนกับพวกราคา 1.8+หมื่นเลย แต่เป็นบริษัทที่ชายแดนสระแก้วนะ เราอาจจะต้องมีการส่งเอกสารข้ามไปมาระหว่างกทม.-สระแก้ว แต่ประหยัดกว่าตั้ง 8พัน คนรู้จักก็มีญาติเพิ่งทำ MOU กับเจ้านี้ โอ้วถูกขนาดนี้.....รีบโทรคุยเลย
จนท.ของบริษัทเป็นชาวกัมพูชา พอพูดไทยได้ ลองคุยแล้วก็น่าจะพอเชื่อถือได้ แต่ด้วยความที่เราไม่รู้ว่าขั้นตอน MOU มีอะไรบ้าง เราก็คิดว่าส่งเอกสารแล้วเค้าไปเดินเรื่อง แล้วเค้าก็พาลูกจ้างเข้ามาทำงาน เราก็รอจ่ายตังค์...จบ (ไอ้ที่คิดไว้แบบนี้มันคือบริการของ MOU 1.8+ ไม่ใช่แค่ 1หมื่นแบบนี้...... อันนี้เพิ่งมาทราบซึ้งทีหลัง ซึ่งหลังจากเริ่มดำเนินการไปบางส่วนกับบริษัทนี้แล้ว จึงได้มาถึงบางอ้อว่าที่ราคามันถูก เพราะเค้าดำเนินการให้เฉพาะฝั่งกัมพูชา ส่วนฝั่งไทยทางนายจ้างต้องเดินเรื่องเองทุกขั้นตอน เค้าแค่จะบอกเราว่าเอกสารใช้อะไรบ้าง และต้องไปดำเนินการที่ไหน ซึ่งส่วนนี้เราไม่ได้ทราบก่อนที่จะตกลงทำ MOU กับเค้า -_-!! )
มาดูขั้นตอนการดำเนินการกันเลยค่ะ
1. ถ้าลูกจ้างยังไม่มี passport ก็จะต้องให้ลูกจ้างเดินทางไปทำ passport ที่ฝั่งกัมพูชาก่อนค่ะ ข้ามชายแดนสระแก้วไปที่ปอยเปต จะมีสถานกงศุลให้ไปทำ passport ถ้าลูกจ้างมี passport มาแล้ว ก็ข้ามขั้นตอนนี้ค่ะ
ปล. เข้าไทยตอนยังไม่มีใบอนุญาตทำงานจะเป็น visa แบบท่องเที่ยว ถ้าไม่เสียเงินพิเศษ ชาวกัมพูชาจะอยู่ในไทยได้แค่ 14วัน ดังนั้นทุกๆ 14วันจะต้องเดินทางไปชายแดนเพื่อต่อ visa ท่องเที่ยวค่ะ
2. โอนเงินให้บริษัทจัดหาแรงงานของกัมพูชาเป็นค่าดำเนินการก้อนแรก 7พัน แล้วเค้าจะขอให้เราถ่ายรูป passport ของลูกจ้าง , รูปถ่ายลูกจ้าง, สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง, สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง, ที่ตั้งร้าน (กรณีเป็นลูกจ้างร้านค้า หรือร้านอาหาร) ส่งไปทางไลน์
3. หลังจากขั้นตอนที่2 ประมาณ 3วัน บริษัทเค้าส่งเอกสารที่เป็นแบบฟอร์ม Demand (คำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว นจ.2) , หนังสือยืนยันนำเข้าแรงงาน, หนังสือมอบอำนาจ ,สัญญาจ้าง ซึ่งเอกสารทั้ง4 กรอกรายละเอียดของนายจ้างมาให้เรียบร้อยแล้วสะดวกดี ส่งมาทางไลน์ เราก็เอามา print แล้วก็แค่เซ็นต์ชื่อ จากนั้นก็เตรียมเอกสารของนายจ้าง ประกอบด้วยสำเนาบัตร ปชช,ทะเบียนบ้าน,ทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี),แผนที่ร้าน เตรียมเซ็นสำเนาถูกต้องไว้ให้พร้อมค่ะ
4. เอาเอกสารที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 3 ไปยื่นที่สำนักงานจัดหางานตามเขตพื้นที่ที่ร้านเราตั้งอยู่ ของเราอยู่พื้นที่9 บนIT square หลักสี่ ชั้น3 ค่ะ เข้าไปขอบัตรคิว บอก จนท. ว่ามาทำดีมานด์ MOU ค่ะ (ปิดรับบัตรคิวตอนบ่าย2 นะคะ แต่สำนักงานเปิด 8:30-16:30ค่ะ) ถ้าเอกสารครบ และ จนท. ดำเนินการเรียบร้อย เค้าก็จะบอกวันนัดรับเอกสารดีมานด์ค่ะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนัดรับ 1สัปดาห์ค่ะ เช่นไปทำเรื่องวันพุธ ก็จะนัดรับเอกสารวันพุธถัดไป
5. ไปรับเอกสารดีมานด์ อันนี้ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรไปค่ะ แค่ไปขอบัตรคิวเพื่อรับดีมานด์ เมื่อถึงคิวเรา จนท. ก็ให้ไปค้นเอกสารปึกใหญ่ เพื่อหาว่าเอกสารใบไหนเป็นของเรา (ต้องค้นเองนะคะ) พอได้เอกสารตัวเองมาแล้ว ก็เซ็นต์รับในสมุดรับเอกสาร จากนั้นก็ถ่ายรูปเอกสารที่ได้รับมาซึ่งคือเอกสารที่เรายื่นไปในขั้นตอนที่ 4 แต่จะมีลายเซ็นต์และตราประทับจากกรมการจัดหางานเรียบร้อยแล้ว ส่งรูปเอกสารทั้งหมดให้บริษัททางไลน์
6. ทางบริษัทจะให้รอเอกสารที่เค้าจะเอาดีมานด์ไปดำเนินการทางฝั่งกัมพูชา แล้วจะได้ Name List ส่งกลับมาให้นายจ้างซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-4สัปดาห์ก็จะได้รับเอกสารตัวจริงทางไปรษณีย์ ซึ่งเราก็ต้องทำเหมือนเดิมคือเซ็นต์เอกสาร แล้วเอาไปยื่นที่สำนักงานจัดหางานที่เดิม ไปขอบัตรคิวแล้วบอกว่ามายื่น Name List คราวนี้การดำเนินการมีค่าใช้จ่ายค่ะ ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับ 1หมื่นที่เราต้องจ่ายให้บริษัทนะคะ อันนี้นายจ้างจ่ายค่าธรรมเนียมให้สำนักงานจัดหางาน จะมีค่าคำขอ 100บาท + ค่าใบอนุญาตทำงาน 2ปี 1,800บาท + เงินประกัน 1,000บาท (ถ้าทำผ่านบริษัทจัดหาแรงงานในไทยไม่ต้องเสียค่าประกัน 1,000) = รวม 2,900บาท (บัญชีปิด 4โมงเย็น ดังนั้นต้องรีบดำเนินการแต่เช้านะคะ ถ้ามารับคิวบ่าย2จะเสร็จไม่ทันจ่ายเงินตอน 4โมง และจะต้องเสียเวลาอีก1วัน เพื่อมาจ่ายเงิน) เมื่อดำเนินการยื่นเนมลิสเรียบร้อย เราจะได้ใบรับคำขอกับใบเสร็จที่ได้จ่ายเงินไป และนัดรับเอกสารเนมลิส อีก 1สัปดาห์ เหมือนเดิม
7. ไปรับเอกสารเนมลิสต์ เตรียมไปแค่ใบรับคำขอกับใบเสร็จรับเงิน 2,900 จากนั้น จนท. จะเอาเอกสารเนมลิสซึ่งมีตราประทับเรียบร้อยแล้ว ให้เราเอาไปยื่นที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวค่ะ
8. ไปยื่นเอกสารเนมลิสต์ที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน ชั้น3 (ถ.มิตรไมตรี ดินแดง) เข้าไปกดบัตรคิวสำหรับนายจ้างค่ะ แล้วพอถึงคิวก็ยื่นเอกสารแล้ว จนท.จะให้ใบรับเอกสารค่ะ ในใบนั้นจะมีบอก link website ให้ตรวจสอบว่าเอกสารของเราเสร็จรึยัง ซึ่งในใบรับเอกสารจะบอกว่าให้ไปเช็คในเวปเมื่อครบ7วัน แต่ที่จริงเร็วกว่านั้นค่ะ แค่3วัน ก็มีชื่อขึ้นในเวปให้มารับเอกสารได้แล้วค่ะ จดเลขที่ และวันที่ของเอกสารไว้ด้วยค่ะ
9. ไปรับเอกสารจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว โดยกดบัตรคิวนายจ้างเหมือนเดิม เมื่อถึงคิวก็แจ้งเลขและวันที่ ที่แสดงในเวปไซต์ จนท. ก็จะหาเอกสารให้ได้เร็วค่ะ
10. นำเอกสารที่ได้ในข้อ 9 รวมกับเอกสารที่ได้ข้อ 3 ทั้งหมด ส่งไปรษณีย์กลับไปที่บริษัทจัดหาแรงงาน
11. เมื่อบริษัทได้รับเอกสารทั้งหมดแล้วก็จะแจ้งให้ส่ง passport ตัวจริงของลูกจ้างไปให้บริษัทเพื่อดำเนินการตีวีซ่าแบบ Non L-A เพื่อทำงานได้ 2ปี ระหว่างนี้ลูกจ้างถ้าอยู่ในไทยแล้ว จะต้องเดินทางออกไปที่บ้านเกิดก่อน เพราะไม่มี passport ที่จะอยู่ในไทยได้ หรือถ้ายังอยู่ในไทยก็ต้องอยู่แบบผิดกฎหมายไประยะหนึ่ง ใช้เวลาในการดำเนินการเรื่องวีซ่าประมาณ 1สัปดาห์
12. บริษัทแจ้งให้โอนชำระค่าบริการส่วนที่เหลือ 3,000บาท แล้วบริษัทก็พาลูกจ้างพร้อม passport ที่ปั๊มวีซ่า2ปี เดินทางเข้าไทยมาอบรมที่ศูนย์แรกรับแรงงานที่สระแก้ว และเมื่อผ่านการอบรมแล้วลูกจ้างก็จะได้เอกสารเนมลิสชื่อลูกจ้างที่ผ่านการอบรม และบัตรอนุญาตทำงาน ซึ่งจะเป็นบัตรแข็งขนาดเท่าบัตรประชาชน แล้วลูกจ้างก็สามารถเดินทางกลับเข้ามาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
13. รีบดำเนินการแจ้งที่อยู่ของแรงงานต่างด้าวกับ ตม. ภายใน 24 ชม ที่ ตม. แจ้งวัฒนะ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารB หากเกินกว่า24 ชม จะมีค่าปรับค่ะ
14. พาแรงงานต่างด้าวไปตรวจโรค ที่ รพ. รัฐ เสียค่าใช้จ่าย 500 บาท ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซ์เรย์ปอด พบแพทย์ เสร็จแล้วจะได้ใบรับรองแพทย์ เพื่อไปยื่นที่สำนักงานจัดหางาน ต้องดำเนินการภายใน 15วัน นับจากวันที่แรงงานเดินทางเข้ามาในไทย
15. นำแบบฟอร์มแจ้งการเข้าทำงานของต่างด้าว (ดาวน์โหลด หรือขอที่สำนักงานจัดหางาน) ,สำเนาpassport หน้าที่มีรูป+หน้าวีซ่า, สำเนาบัตรอนุญาตทำงาน, ใบรับรองแพทย์(ตัวจริง), ใบเสร็จรับเงิน+ใบรับคำขอ ที่ได้จากข้อ6 ไปยื่นที่สำนักงานจัดหางาน เพื่อยืนยันการเข้าทำงานของแรงงาน (ปล. ถ้าลูกจ้างไม่ได้ไปด้วยต้องมีใบมอบอำนาจของลูกจ้างต่างด้าวด้วย)
16. เมื่อจบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ลูกจ้างต้องไปรายงานตัวทุก 90วัน ที่ ตม. นะคะ รายงานตัวล่วงหน้าได้ 14วัน หลังครบกำหนดได้อีก 7วัน ถ้าเกินกว่านี้มีค่าปรับอีกวันละ 500บาท รายงานตัวได้ที่ ตม. bigc สะพานใหม่ , อิมพีเรียลลาดพร้าว , bigc ราชบูรณะ
กว่าจะจบขั้นตอนเยอะ เสียเวลาแยะ คิดว่าถ้ามีลูกจ้างคนเดียว ไม่ค่อยคุ้มกับการประหยัดไป 8พันเท่าไหร่ แต่ถ้าลูกจ้างหลายคนทำเรื่องพร้อมๆกัน ก็น่าจะคุ้มค่าเสียเวลา เสียค่าน้ำมันรถ เข้าใจบริษัทจัดหาแรงงานในไทยเลยว่าทำไมแพง เพราะเค้าต้องไปดำเนินการให้เราทั้งทางฝั่งไทยและจ่ายค่าดำเนินการของบริษัทฝั่งบ้านเกิดของลูกจ้างด้วย อันนี้ไม่ได้โฆษณาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเหล่านี้นะคะ แค่จะให้นายจ้างได้ความรู้ว่าข้อดีข้อเสียมันต่างกันอย่างไร แบบจ่ายแพงแต่ไม่เสียเวลาทำมาหากินของนายจ้าง กับแบบถูกแต่ต้องเสียเวลาเยอะมาก เพราะไปแต่ละที่ก็เดินทางรถติดเป็นชั่วโมง และยังต้องรอคิวอีก เอาไว้เป็นข้อมูลตัดสินใจกันนะคะ
MOU แรงงานต่างด้าวกัมพูชา ฉบับนายจ้าง
แต่บังเอิญมีคนรู้จักบอกว่า รู้จักคนทำ MOU ได้ ราคาแค่ 1หมื่น ทำได้เหมือนกับพวกราคา 1.8+หมื่นเลย แต่เป็นบริษัทที่ชายแดนสระแก้วนะ เราอาจจะต้องมีการส่งเอกสารข้ามไปมาระหว่างกทม.-สระแก้ว แต่ประหยัดกว่าตั้ง 8พัน คนรู้จักก็มีญาติเพิ่งทำ MOU กับเจ้านี้ โอ้วถูกขนาดนี้.....รีบโทรคุยเลย
จนท.ของบริษัทเป็นชาวกัมพูชา พอพูดไทยได้ ลองคุยแล้วก็น่าจะพอเชื่อถือได้ แต่ด้วยความที่เราไม่รู้ว่าขั้นตอน MOU มีอะไรบ้าง เราก็คิดว่าส่งเอกสารแล้วเค้าไปเดินเรื่อง แล้วเค้าก็พาลูกจ้างเข้ามาทำงาน เราก็รอจ่ายตังค์...จบ (ไอ้ที่คิดไว้แบบนี้มันคือบริการของ MOU 1.8+ ไม่ใช่แค่ 1หมื่นแบบนี้...... อันนี้เพิ่งมาทราบซึ้งทีหลัง ซึ่งหลังจากเริ่มดำเนินการไปบางส่วนกับบริษัทนี้แล้ว จึงได้มาถึงบางอ้อว่าที่ราคามันถูก เพราะเค้าดำเนินการให้เฉพาะฝั่งกัมพูชา ส่วนฝั่งไทยทางนายจ้างต้องเดินเรื่องเองทุกขั้นตอน เค้าแค่จะบอกเราว่าเอกสารใช้อะไรบ้าง และต้องไปดำเนินการที่ไหน ซึ่งส่วนนี้เราไม่ได้ทราบก่อนที่จะตกลงทำ MOU กับเค้า -_-!! )
มาดูขั้นตอนการดำเนินการกันเลยค่ะ
1. ถ้าลูกจ้างยังไม่มี passport ก็จะต้องให้ลูกจ้างเดินทางไปทำ passport ที่ฝั่งกัมพูชาก่อนค่ะ ข้ามชายแดนสระแก้วไปที่ปอยเปต จะมีสถานกงศุลให้ไปทำ passport ถ้าลูกจ้างมี passport มาแล้ว ก็ข้ามขั้นตอนนี้ค่ะ
ปล. เข้าไทยตอนยังไม่มีใบอนุญาตทำงานจะเป็น visa แบบท่องเที่ยว ถ้าไม่เสียเงินพิเศษ ชาวกัมพูชาจะอยู่ในไทยได้แค่ 14วัน ดังนั้นทุกๆ 14วันจะต้องเดินทางไปชายแดนเพื่อต่อ visa ท่องเที่ยวค่ะ
2. โอนเงินให้บริษัทจัดหาแรงงานของกัมพูชาเป็นค่าดำเนินการก้อนแรก 7พัน แล้วเค้าจะขอให้เราถ่ายรูป passport ของลูกจ้าง , รูปถ่ายลูกจ้าง, สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง, สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง, ที่ตั้งร้าน (กรณีเป็นลูกจ้างร้านค้า หรือร้านอาหาร) ส่งไปทางไลน์
3. หลังจากขั้นตอนที่2 ประมาณ 3วัน บริษัทเค้าส่งเอกสารที่เป็นแบบฟอร์ม Demand (คำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว นจ.2) , หนังสือยืนยันนำเข้าแรงงาน, หนังสือมอบอำนาจ ,สัญญาจ้าง ซึ่งเอกสารทั้ง4 กรอกรายละเอียดของนายจ้างมาให้เรียบร้อยแล้วสะดวกดี ส่งมาทางไลน์ เราก็เอามา print แล้วก็แค่เซ็นต์ชื่อ จากนั้นก็เตรียมเอกสารของนายจ้าง ประกอบด้วยสำเนาบัตร ปชช,ทะเบียนบ้าน,ทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี),แผนที่ร้าน เตรียมเซ็นสำเนาถูกต้องไว้ให้พร้อมค่ะ
4. เอาเอกสารที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 3 ไปยื่นที่สำนักงานจัดหางานตามเขตพื้นที่ที่ร้านเราตั้งอยู่ ของเราอยู่พื้นที่9 บนIT square หลักสี่ ชั้น3 ค่ะ เข้าไปขอบัตรคิว บอก จนท. ว่ามาทำดีมานด์ MOU ค่ะ (ปิดรับบัตรคิวตอนบ่าย2 นะคะ แต่สำนักงานเปิด 8:30-16:30ค่ะ) ถ้าเอกสารครบ และ จนท. ดำเนินการเรียบร้อย เค้าก็จะบอกวันนัดรับเอกสารดีมานด์ค่ะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนัดรับ 1สัปดาห์ค่ะ เช่นไปทำเรื่องวันพุธ ก็จะนัดรับเอกสารวันพุธถัดไป
5. ไปรับเอกสารดีมานด์ อันนี้ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรไปค่ะ แค่ไปขอบัตรคิวเพื่อรับดีมานด์ เมื่อถึงคิวเรา จนท. ก็ให้ไปค้นเอกสารปึกใหญ่ เพื่อหาว่าเอกสารใบไหนเป็นของเรา (ต้องค้นเองนะคะ) พอได้เอกสารตัวเองมาแล้ว ก็เซ็นต์รับในสมุดรับเอกสาร จากนั้นก็ถ่ายรูปเอกสารที่ได้รับมาซึ่งคือเอกสารที่เรายื่นไปในขั้นตอนที่ 4 แต่จะมีลายเซ็นต์และตราประทับจากกรมการจัดหางานเรียบร้อยแล้ว ส่งรูปเอกสารทั้งหมดให้บริษัททางไลน์
6. ทางบริษัทจะให้รอเอกสารที่เค้าจะเอาดีมานด์ไปดำเนินการทางฝั่งกัมพูชา แล้วจะได้ Name List ส่งกลับมาให้นายจ้างซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-4สัปดาห์ก็จะได้รับเอกสารตัวจริงทางไปรษณีย์ ซึ่งเราก็ต้องทำเหมือนเดิมคือเซ็นต์เอกสาร แล้วเอาไปยื่นที่สำนักงานจัดหางานที่เดิม ไปขอบัตรคิวแล้วบอกว่ามายื่น Name List คราวนี้การดำเนินการมีค่าใช้จ่ายค่ะ ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับ 1หมื่นที่เราต้องจ่ายให้บริษัทนะคะ อันนี้นายจ้างจ่ายค่าธรรมเนียมให้สำนักงานจัดหางาน จะมีค่าคำขอ 100บาท + ค่าใบอนุญาตทำงาน 2ปี 1,800บาท + เงินประกัน 1,000บาท (ถ้าทำผ่านบริษัทจัดหาแรงงานในไทยไม่ต้องเสียค่าประกัน 1,000) = รวม 2,900บาท (บัญชีปิด 4โมงเย็น ดังนั้นต้องรีบดำเนินการแต่เช้านะคะ ถ้ามารับคิวบ่าย2จะเสร็จไม่ทันจ่ายเงินตอน 4โมง และจะต้องเสียเวลาอีก1วัน เพื่อมาจ่ายเงิน) เมื่อดำเนินการยื่นเนมลิสเรียบร้อย เราจะได้ใบรับคำขอกับใบเสร็จที่ได้จ่ายเงินไป และนัดรับเอกสารเนมลิส อีก 1สัปดาห์ เหมือนเดิม
7. ไปรับเอกสารเนมลิสต์ เตรียมไปแค่ใบรับคำขอกับใบเสร็จรับเงิน 2,900 จากนั้น จนท. จะเอาเอกสารเนมลิสซึ่งมีตราประทับเรียบร้อยแล้ว ให้เราเอาไปยื่นที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวค่ะ
8. ไปยื่นเอกสารเนมลิสต์ที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน ชั้น3 (ถ.มิตรไมตรี ดินแดง) เข้าไปกดบัตรคิวสำหรับนายจ้างค่ะ แล้วพอถึงคิวก็ยื่นเอกสารแล้ว จนท.จะให้ใบรับเอกสารค่ะ ในใบนั้นจะมีบอก link website ให้ตรวจสอบว่าเอกสารของเราเสร็จรึยัง ซึ่งในใบรับเอกสารจะบอกว่าให้ไปเช็คในเวปเมื่อครบ7วัน แต่ที่จริงเร็วกว่านั้นค่ะ แค่3วัน ก็มีชื่อขึ้นในเวปให้มารับเอกสารได้แล้วค่ะ จดเลขที่ และวันที่ของเอกสารไว้ด้วยค่ะ
9. ไปรับเอกสารจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว โดยกดบัตรคิวนายจ้างเหมือนเดิม เมื่อถึงคิวก็แจ้งเลขและวันที่ ที่แสดงในเวปไซต์ จนท. ก็จะหาเอกสารให้ได้เร็วค่ะ
10. นำเอกสารที่ได้ในข้อ 9 รวมกับเอกสารที่ได้ข้อ 3 ทั้งหมด ส่งไปรษณีย์กลับไปที่บริษัทจัดหาแรงงาน
11. เมื่อบริษัทได้รับเอกสารทั้งหมดแล้วก็จะแจ้งให้ส่ง passport ตัวจริงของลูกจ้างไปให้บริษัทเพื่อดำเนินการตีวีซ่าแบบ Non L-A เพื่อทำงานได้ 2ปี ระหว่างนี้ลูกจ้างถ้าอยู่ในไทยแล้ว จะต้องเดินทางออกไปที่บ้านเกิดก่อน เพราะไม่มี passport ที่จะอยู่ในไทยได้ หรือถ้ายังอยู่ในไทยก็ต้องอยู่แบบผิดกฎหมายไประยะหนึ่ง ใช้เวลาในการดำเนินการเรื่องวีซ่าประมาณ 1สัปดาห์
12. บริษัทแจ้งให้โอนชำระค่าบริการส่วนที่เหลือ 3,000บาท แล้วบริษัทก็พาลูกจ้างพร้อม passport ที่ปั๊มวีซ่า2ปี เดินทางเข้าไทยมาอบรมที่ศูนย์แรกรับแรงงานที่สระแก้ว และเมื่อผ่านการอบรมแล้วลูกจ้างก็จะได้เอกสารเนมลิสชื่อลูกจ้างที่ผ่านการอบรม และบัตรอนุญาตทำงาน ซึ่งจะเป็นบัตรแข็งขนาดเท่าบัตรประชาชน แล้วลูกจ้างก็สามารถเดินทางกลับเข้ามาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
13. รีบดำเนินการแจ้งที่อยู่ของแรงงานต่างด้าวกับ ตม. ภายใน 24 ชม ที่ ตม. แจ้งวัฒนะ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารB หากเกินกว่า24 ชม จะมีค่าปรับค่ะ
14. พาแรงงานต่างด้าวไปตรวจโรค ที่ รพ. รัฐ เสียค่าใช้จ่าย 500 บาท ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซ์เรย์ปอด พบแพทย์ เสร็จแล้วจะได้ใบรับรองแพทย์ เพื่อไปยื่นที่สำนักงานจัดหางาน ต้องดำเนินการภายใน 15วัน นับจากวันที่แรงงานเดินทางเข้ามาในไทย
15. นำแบบฟอร์มแจ้งการเข้าทำงานของต่างด้าว (ดาวน์โหลด หรือขอที่สำนักงานจัดหางาน) ,สำเนาpassport หน้าที่มีรูป+หน้าวีซ่า, สำเนาบัตรอนุญาตทำงาน, ใบรับรองแพทย์(ตัวจริง), ใบเสร็จรับเงิน+ใบรับคำขอ ที่ได้จากข้อ6 ไปยื่นที่สำนักงานจัดหางาน เพื่อยืนยันการเข้าทำงานของแรงงาน (ปล. ถ้าลูกจ้างไม่ได้ไปด้วยต้องมีใบมอบอำนาจของลูกจ้างต่างด้าวด้วย)
16. เมื่อจบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ลูกจ้างต้องไปรายงานตัวทุก 90วัน ที่ ตม. นะคะ รายงานตัวล่วงหน้าได้ 14วัน หลังครบกำหนดได้อีก 7วัน ถ้าเกินกว่านี้มีค่าปรับอีกวันละ 500บาท รายงานตัวได้ที่ ตม. bigc สะพานใหม่ , อิมพีเรียลลาดพร้าว , bigc ราชบูรณะ
กว่าจะจบขั้นตอนเยอะ เสียเวลาแยะ คิดว่าถ้ามีลูกจ้างคนเดียว ไม่ค่อยคุ้มกับการประหยัดไป 8พันเท่าไหร่ แต่ถ้าลูกจ้างหลายคนทำเรื่องพร้อมๆกัน ก็น่าจะคุ้มค่าเสียเวลา เสียค่าน้ำมันรถ เข้าใจบริษัทจัดหาแรงงานในไทยเลยว่าทำไมแพง เพราะเค้าต้องไปดำเนินการให้เราทั้งทางฝั่งไทยและจ่ายค่าดำเนินการของบริษัทฝั่งบ้านเกิดของลูกจ้างด้วย อันนี้ไม่ได้โฆษณาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเหล่านี้นะคะ แค่จะให้นายจ้างได้ความรู้ว่าข้อดีข้อเสียมันต่างกันอย่างไร แบบจ่ายแพงแต่ไม่เสียเวลาทำมาหากินของนายจ้าง กับแบบถูกแต่ต้องเสียเวลาเยอะมาก เพราะไปแต่ละที่ก็เดินทางรถติดเป็นชั่วโมง และยังต้องรอคิวอีก เอาไว้เป็นข้อมูลตัดสินใจกันนะคะ