(พอดแคสสั้นๆอยู่ที่ท้ายบทความครับ สำหรับคนที่ไม่ต้องการอ่านยาวๆ)
สวัสดีครับ
ปีใหม่ใกล้เข้ามาอีกครั้งแล้วนะครับ ตอนนี้หลายๆคนคงกำลังคิดว่าปีหน้าเราจะทำอะไรกันดี(new year resolution) บางคนตั้งเป้าหมายว่าจะออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก หรือพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ หนึ่งในเรื่องที่คนนิยมตั้งเป้าหมายกันก็คือ การอ่านหนังสือ
ปีนี้(2018) เป็นปีที่ผมตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะอ่านหนังสือให้ได้ 52 เล่ม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมไม่เคยทำมาก่อน ตอนตั้งเป้าหมายต้องเรียนตามตรงว่า รู้สึกว่าตัวเลขที่ตั้งไว้เยอะไปซักหน่อย รวมกับเมื่อต้นปีก็มีภารกิจทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือได้เต็มที่ ก็ส่อแววว่าเป้าหมายนี้มีท่าจะล่ม
แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้(19 ธันวาคม 2018) ผมอ่านหนังสือจบไปแล้ว 71 เล่ม ซึ่งเกินเป้าหมายไปพอสมควร วันนี้ผมเลยอยากที่จะแชร์ทิปต่างๆที่ผมคิดว่าใช้ได้ผลครับ
ทิปที่1 ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
เราต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนไปเลยครับ ให้เหมือนการเดินทางที่ต้องมีจุดหมาย ซึ่งต้องเรียนตามตรงว่าทุกๆคนไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายเหมือนกันนะครับ บางคนอาจจะเริ่มต้น 12 เล่ม 20 เล่ม ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไรเลยครับ แต่การตั้งเป้าหมายไว้ที่ 52 เล่ม หรือสัปดาห์ละ 1 เล่ม ผมต้องบอกเลยว่าเป็นตัวเลขที่ใครๆก็ทำได้แน่นอนครับ
ทิปที่2 เริ่มต้นเล็กๆครับ
บางคนเริ่มต้นด้วยหนังสือเล่มใหญ่ แม้กระทั่งเป็นที่นิยมก็ตาม แต่สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเป็นประจำอาจจะทำให้เบื่อได้ พอเบื่อแล้วเล่มแรกก็อ่านไม่จบ ซึ่งก็ไม่ต้องพูดถึงเล่มต่อไปเลยครับ เพราะมีโอกาสสูงมากที่เล่มที่ 2, 3 หรือ 4 อาจจะไม่ตามมา เพราะฉะนั้น ผมแนะนำว่าให้เริ่มต้นจากหนังสือในเรื่องที่เราสนใจ มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก(ไม่เกิน200หน้าจะดีมากครับ) จะทำให้เราอ่านจบได้ง่ายขึ้นครับ
ทิปที่3 ใช้หนังสือเสียง(audio book)
ลองคิดดูนะครับว่า วันๆหนึ่งเรามีช่วงเวลามากมายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า เวลานั่งกินข้าวกลางวัน เวลาที่ใช้วิ่งออกกำลังกาย เราสามารถใช้เวลาเหล่านี้ในการฟังหนังสือเสียงพร้อมกันไปด้วยได้ครับ
สำหรับหนังสือเสียง ผมใช้บริการ Audible ซึ่งเป็นบริการหนังสือเสียงของ Amazon ซึ่งผมสมัครสมาชิกรายเดือน ทำให้ผมสามารถซื้อหนังสือเสียงได้เดือนละหนึ่งเล่ม และส่วนใหญ่ผมจะฟังจบภายในหนึ่งเดือนพอดีครับ
สำหรับคนที่ต้องการฟังภาษาไทย ผมเห็นว่ามีบริการนี้อยู่ในร้านหนังสือออนไลน์อย่าง oakbee, meb หรือแม้กระทั่งแอพพลิเคชันของห้องสมุด TK Park ก็มีให้บริการเช่นกันครับ นอกจากนี้ในร้านหนังสืออย่าง b2s ก็มีแผ่นซีดีหนังสือเสียงขายเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ผมยังคงคิดว่าหนังสือเสียงในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร จึงทำให้มีจำนวนน้อยอยู่ รวมทั้งสิ่งที่ผมค่อนข้างไม่ชอบเลยก็คือ การใช้เสียงในการอ่านของหนังสือเสียงบางเล่ม จากประสบการณ์ตรงที่ผมซื้อซีดีหนังสือเสียงเกี่ยวกับการเงินมาฟัง ปรากฎว่าคนอ่านใช้น้ำเสียงเหมือนกับที่พากษ์หนัง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเท่ากับการที่คนอ่านเหมือนไม่ได้ทำการบ้านมา ผมคิดว่าคนฟังสามารถรู้ได้นะครับว่า คนอ่านทำการบ้านมาหรือเปล่า หรือพูดอีกมุมหนึ่งก็คือ เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูดหรือเปล่า พอจับได้ว่าคนอ่านไม่ได้ทำการบ้านมาก็พลอยทำให้ไม่อยากฟังต่อไปเลยครับ
ทิปที่4 อ่านอีบุ๊ค
หลายๆคนที่ผมรู้จักรวมถึงตัวผมเองด้วยชอบอ่านหนังสือที่เป็นเล่มมากกว่า แต่ภายหลังผมพบว่าหนังสือที่เป็นเล่มเคลื่อนย้ายลำบาก(กรณีที่ต้องขนหลายๆเล่ม) บางทีหาเล่มที่ต้องการไม่เจอ(ในขณะที่อีบุ๊คพิมพ์ชื่อในแอพก็ค้นเจอเลย) และที่สำคัญที่สุดคือเราไม่ได้พกหนังสือเล่มติดตัวตลอดเวลาเหมือนกับที่เราพกโทรศัพท์
ในขณะเดียวกัน เราสามารถอ่านอีบุ๊คได้ทุกที่ที่เราไป เพราะเราสามารถเปิดอ่านได้ในโทรศัพท์หรือเท็บเล็ต ทำให้เรามีโอกาสที่จะอ่านหนังสือมากกว่าครับ
โดยส่วนตัว ผมจะซื้ออีบุ๊คจากอเมซอน(kindle store) ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมาก และเรายังสามารถอ่านหนังสือออกใหม่ได้โดยไม่ต้องรอร้านหนังสือนำเข้ามาขายในประเทศไทยอีกด้วยครับ
สำหรับหนังสือภาษาไทย ผมต้องเรียนตามตรงว่าผมจะซื้อเป็นเล่มมากกว่าที่จะซื้ออีบุ๊ค เนื่องจากหนังสือที่ผมต้องการส่วนใหญ่ไม่มีขายเป็นอีบุ๊คครับ แต่สำหรับใครที่สนใจ ผมแนะนำแอพ oakbee หรือ meb ซึ่งเป็นแอพที่ผมใช้ประจำหากต้องการซื้ออีบุ๊คครับ
ทิปที่5 ใช้บริการห้องสมุด
การอ่านหนังสือ 52 เล่มคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควรเลยครับ ถ้าคิดว่าหนังสือเล่มหนึ่งราคา250บาท เราจะต้องจ่ายเงินถึง 13,000 บาท ในขณะเดียวกัน หากเรายืมหนังสือจากห้องสมุด เราจ่ายเพียงแค่ค่าสมาชิก และค่าประกันความเสียหาย (ทั้งหมดประมาณ 400 บาท) ซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินได้เป็นหมื่นเลยทีเดียว
TK PARK เป็นห้องสมุดที่ผมใช้บริการอยู่เป็นประจำ มีหนังสือดีๆใหม่ๆ เยอะเลยทีเดียว บางทีหากต้องการยืมหนังสือที่เป็นที่นิยมในขณะนั้นอาจจะต้องต่อคิวรอสักหน่อยครับ สำหรับใครสนใจสามารถดูได้ที่
https://www.tkpark.or.th/tha/home
ทิปที่6 Goodread
มาถึงทริปสุดท้ายที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดเลยครับ GoodRead เป็นแอพโซเชี่ยลเกี่ยวกับการรีวิวหนังสือครับ ไม่ต้องกังวลว่าเป็นแอพของต่างประเทศแล้วจะไม่มีหนังสือภาษาไทยนะครับ ผมค้นพบว่ามีหนังสือภาษาไทยในระบบพอสมควร เล่มไหนที่ยังไม่มีในระบบ เราก็สามารถเข้าไปเพิ่มเองได้ครับ
ข้อดีของแอพนี้ก็ดี เราบันทึกได้ว่า หนังสือเล่มไหนที่เราอยากอ่าน กำลังอ่าน หรืออ่านจบแล้ว รวมถึงเราที่จะเห็นว่าเพื่อนคนไหนในแอพอ่านหนังสือเรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผมเจอหนังสือที่น่าสนใจเต็มไปหมดเลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น ในแอพยังมีฟังก์ชัน reading Challenge เพื่อให้เราท้าทายตัวเองว่าในปีนี้เราตั้งเป้าหมายว่าเราตะอ่านหนังสือกี่เล่ม เมื่อเราบันทึกว่าอ่านจบแล้ว หนังสือจะขึ้นไปอยู่บนรายชื่อของหนังสือในreading challenge โดยอัตโนมัติ ดังนั้น พอเราใช้แอพนี้ เราจะรู้ว่าแผนที่เราตั้งไว้เราทำไปได้แค่ไหนแล้ว
สำหรับคนที่สนใจใช้แอพนี้ อย่าลืมมาเป็นเพื่อนกันนะครับ อยากเห็นคนไทยใช้เยอะๆ (สำหรับคนที่สนใจเป็นเพื่อนในGoodread สามารถใช้ username: jessadakorn_chao ในการค้นหาได้เลยครับ
สุดท้าย ผมมั่นใจว่าไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องการอ่านหนังสือให้ได้ตามเป้าหมาย สามารถทำได้สำเร็จแน่นอน และทิปที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ สามารถทำให้เราสำเร็จตามเป้าหมายได้แน่นอนครับ
ติดตาม Stupid podcast ได้ในช่องทางต่อไปนี้ครับ
Anchor
https://anchor.fm/jessadakorn-chaolumbua
Pocketcasts
https://pca.st/jU63
Stitcher
https://www.stitcher.com/podcast/anchor-podcasts/stupid
Facebook
https://www.facebook.com/Stupidpodcast/.
Medium
https://link.medium.com/tlcKOdxyNS
และช่องทางอื่นๆกำลังตามมาครับ
ใครว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด อ่านหนังสือปีละ 52 เล่มใครๆก็ทำได้!
สวัสดีครับ
ปีใหม่ใกล้เข้ามาอีกครั้งแล้วนะครับ ตอนนี้หลายๆคนคงกำลังคิดว่าปีหน้าเราจะทำอะไรกันดี(new year resolution) บางคนตั้งเป้าหมายว่าจะออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก หรือพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ หนึ่งในเรื่องที่คนนิยมตั้งเป้าหมายกันก็คือ การอ่านหนังสือ
ปีนี้(2018) เป็นปีที่ผมตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะอ่านหนังสือให้ได้ 52 เล่ม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมไม่เคยทำมาก่อน ตอนตั้งเป้าหมายต้องเรียนตามตรงว่า รู้สึกว่าตัวเลขที่ตั้งไว้เยอะไปซักหน่อย รวมกับเมื่อต้นปีก็มีภารกิจทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือได้เต็มที่ ก็ส่อแววว่าเป้าหมายนี้มีท่าจะล่ม
แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้(19 ธันวาคม 2018) ผมอ่านหนังสือจบไปแล้ว 71 เล่ม ซึ่งเกินเป้าหมายไปพอสมควร วันนี้ผมเลยอยากที่จะแชร์ทิปต่างๆที่ผมคิดว่าใช้ได้ผลครับ
ทิปที่1 ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
เราต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนไปเลยครับ ให้เหมือนการเดินทางที่ต้องมีจุดหมาย ซึ่งต้องเรียนตามตรงว่าทุกๆคนไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายเหมือนกันนะครับ บางคนอาจจะเริ่มต้น 12 เล่ม 20 เล่ม ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไรเลยครับ แต่การตั้งเป้าหมายไว้ที่ 52 เล่ม หรือสัปดาห์ละ 1 เล่ม ผมต้องบอกเลยว่าเป็นตัวเลขที่ใครๆก็ทำได้แน่นอนครับ
ทิปที่2 เริ่มต้นเล็กๆครับ
บางคนเริ่มต้นด้วยหนังสือเล่มใหญ่ แม้กระทั่งเป็นที่นิยมก็ตาม แต่สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเป็นประจำอาจจะทำให้เบื่อได้ พอเบื่อแล้วเล่มแรกก็อ่านไม่จบ ซึ่งก็ไม่ต้องพูดถึงเล่มต่อไปเลยครับ เพราะมีโอกาสสูงมากที่เล่มที่ 2, 3 หรือ 4 อาจจะไม่ตามมา เพราะฉะนั้น ผมแนะนำว่าให้เริ่มต้นจากหนังสือในเรื่องที่เราสนใจ มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก(ไม่เกิน200หน้าจะดีมากครับ) จะทำให้เราอ่านจบได้ง่ายขึ้นครับ
ทิปที่3 ใช้หนังสือเสียง(audio book)
ลองคิดดูนะครับว่า วันๆหนึ่งเรามีช่วงเวลามากมายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า เวลานั่งกินข้าวกลางวัน เวลาที่ใช้วิ่งออกกำลังกาย เราสามารถใช้เวลาเหล่านี้ในการฟังหนังสือเสียงพร้อมกันไปด้วยได้ครับ
สำหรับหนังสือเสียง ผมใช้บริการ Audible ซึ่งเป็นบริการหนังสือเสียงของ Amazon ซึ่งผมสมัครสมาชิกรายเดือน ทำให้ผมสามารถซื้อหนังสือเสียงได้เดือนละหนึ่งเล่ม และส่วนใหญ่ผมจะฟังจบภายในหนึ่งเดือนพอดีครับ
สำหรับคนที่ต้องการฟังภาษาไทย ผมเห็นว่ามีบริการนี้อยู่ในร้านหนังสือออนไลน์อย่าง oakbee, meb หรือแม้กระทั่งแอพพลิเคชันของห้องสมุด TK Park ก็มีให้บริการเช่นกันครับ นอกจากนี้ในร้านหนังสืออย่าง b2s ก็มีแผ่นซีดีหนังสือเสียงขายเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ผมยังคงคิดว่าหนังสือเสียงในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร จึงทำให้มีจำนวนน้อยอยู่ รวมทั้งสิ่งที่ผมค่อนข้างไม่ชอบเลยก็คือ การใช้เสียงในการอ่านของหนังสือเสียงบางเล่ม จากประสบการณ์ตรงที่ผมซื้อซีดีหนังสือเสียงเกี่ยวกับการเงินมาฟัง ปรากฎว่าคนอ่านใช้น้ำเสียงเหมือนกับที่พากษ์หนัง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเท่ากับการที่คนอ่านเหมือนไม่ได้ทำการบ้านมา ผมคิดว่าคนฟังสามารถรู้ได้นะครับว่า คนอ่านทำการบ้านมาหรือเปล่า หรือพูดอีกมุมหนึ่งก็คือ เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูดหรือเปล่า พอจับได้ว่าคนอ่านไม่ได้ทำการบ้านมาก็พลอยทำให้ไม่อยากฟังต่อไปเลยครับ
ทิปที่4 อ่านอีบุ๊ค
หลายๆคนที่ผมรู้จักรวมถึงตัวผมเองด้วยชอบอ่านหนังสือที่เป็นเล่มมากกว่า แต่ภายหลังผมพบว่าหนังสือที่เป็นเล่มเคลื่อนย้ายลำบาก(กรณีที่ต้องขนหลายๆเล่ม) บางทีหาเล่มที่ต้องการไม่เจอ(ในขณะที่อีบุ๊คพิมพ์ชื่อในแอพก็ค้นเจอเลย) และที่สำคัญที่สุดคือเราไม่ได้พกหนังสือเล่มติดตัวตลอดเวลาเหมือนกับที่เราพกโทรศัพท์
ในขณะเดียวกัน เราสามารถอ่านอีบุ๊คได้ทุกที่ที่เราไป เพราะเราสามารถเปิดอ่านได้ในโทรศัพท์หรือเท็บเล็ต ทำให้เรามีโอกาสที่จะอ่านหนังสือมากกว่าครับ
โดยส่วนตัว ผมจะซื้ออีบุ๊คจากอเมซอน(kindle store) ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมาก และเรายังสามารถอ่านหนังสือออกใหม่ได้โดยไม่ต้องรอร้านหนังสือนำเข้ามาขายในประเทศไทยอีกด้วยครับ
สำหรับหนังสือภาษาไทย ผมต้องเรียนตามตรงว่าผมจะซื้อเป็นเล่มมากกว่าที่จะซื้ออีบุ๊ค เนื่องจากหนังสือที่ผมต้องการส่วนใหญ่ไม่มีขายเป็นอีบุ๊คครับ แต่สำหรับใครที่สนใจ ผมแนะนำแอพ oakbee หรือ meb ซึ่งเป็นแอพที่ผมใช้ประจำหากต้องการซื้ออีบุ๊คครับ
ทิปที่5 ใช้บริการห้องสมุด
การอ่านหนังสือ 52 เล่มคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควรเลยครับ ถ้าคิดว่าหนังสือเล่มหนึ่งราคา250บาท เราจะต้องจ่ายเงินถึง 13,000 บาท ในขณะเดียวกัน หากเรายืมหนังสือจากห้องสมุด เราจ่ายเพียงแค่ค่าสมาชิก และค่าประกันความเสียหาย (ทั้งหมดประมาณ 400 บาท) ซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินได้เป็นหมื่นเลยทีเดียว
TK PARK เป็นห้องสมุดที่ผมใช้บริการอยู่เป็นประจำ มีหนังสือดีๆใหม่ๆ เยอะเลยทีเดียว บางทีหากต้องการยืมหนังสือที่เป็นที่นิยมในขณะนั้นอาจจะต้องต่อคิวรอสักหน่อยครับ สำหรับใครสนใจสามารถดูได้ที่ https://www.tkpark.or.th/tha/home
ทิปที่6 Goodread
มาถึงทริปสุดท้ายที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดเลยครับ GoodRead เป็นแอพโซเชี่ยลเกี่ยวกับการรีวิวหนังสือครับ ไม่ต้องกังวลว่าเป็นแอพของต่างประเทศแล้วจะไม่มีหนังสือภาษาไทยนะครับ ผมค้นพบว่ามีหนังสือภาษาไทยในระบบพอสมควร เล่มไหนที่ยังไม่มีในระบบ เราก็สามารถเข้าไปเพิ่มเองได้ครับ
ข้อดีของแอพนี้ก็ดี เราบันทึกได้ว่า หนังสือเล่มไหนที่เราอยากอ่าน กำลังอ่าน หรืออ่านจบแล้ว รวมถึงเราที่จะเห็นว่าเพื่อนคนไหนในแอพอ่านหนังสือเรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผมเจอหนังสือที่น่าสนใจเต็มไปหมดเลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น ในแอพยังมีฟังก์ชัน reading Challenge เพื่อให้เราท้าทายตัวเองว่าในปีนี้เราตั้งเป้าหมายว่าเราตะอ่านหนังสือกี่เล่ม เมื่อเราบันทึกว่าอ่านจบแล้ว หนังสือจะขึ้นไปอยู่บนรายชื่อของหนังสือในreading challenge โดยอัตโนมัติ ดังนั้น พอเราใช้แอพนี้ เราจะรู้ว่าแผนที่เราตั้งไว้เราทำไปได้แค่ไหนแล้ว
สำหรับคนที่สนใจใช้แอพนี้ อย่าลืมมาเป็นเพื่อนกันนะครับ อยากเห็นคนไทยใช้เยอะๆ (สำหรับคนที่สนใจเป็นเพื่อนในGoodread สามารถใช้ username: jessadakorn_chao ในการค้นหาได้เลยครับ
สุดท้าย ผมมั่นใจว่าไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องการอ่านหนังสือให้ได้ตามเป้าหมาย สามารถทำได้สำเร็จแน่นอน และทิปที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ สามารถทำให้เราสำเร็จตามเป้าหมายได้แน่นอนครับ
ติดตาม Stupid podcast ได้ในช่องทางต่อไปนี้ครับ
Anchor
https://anchor.fm/jessadakorn-chaolumbua
Pocketcasts
https://pca.st/jU63
Stitcher
https://www.stitcher.com/podcast/anchor-podcasts/stupid
Facebook
https://www.facebook.com/Stupidpodcast/.
Medium
https://link.medium.com/tlcKOdxyNS
และช่องทางอื่นๆกำลังตามมาครับ