ควรทำความเข้าใจการปลีกวิเวกใหม่
ปลีกวิเวก (seclusion) แปลว่า ความสงัด มี ๓ อย่าง ดังนี้
๑. กายวิเวก (bodily seclusion) ความสงัดกาย ได้แก่ การไปอยู่สถานที่ ที่ใดก็ได้ที่ทำให้ใจของเราสงบได้
๒. จิตตวิเวก (mental seclusion) ความสงัดใจ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงจากการถูกครอบงำ ควบคุม บงการ ของอารมณ์ธรรมต่างๆ โดยต้องใช้ปัญญามาแก้ไข
๓. อุปธิวิเวก (seclusion from the essentials of existence) ได้แก่ เจริญภาวนาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเข้าสู่ภาวะแห่งพระไตรลักษณ์ เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นจากภาวะอัตตา ตัวตน เพื่อไปสู่เส้นทางแห่งพระนิพพาน
บุคลิกภาพของเราสันโดษ เช่น เราไปสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่เขากำลังเต้นสนุกสนานกัน แต่เราไม่เต้นกับเขา เราหยุดนิ่ง นี่แหละบุคลิก เรามีบุคลิกของเรา พร้อมที่จะเข้าสู่ธรรม ธรรมข้อไหน ธรรมข้อที่ทำให้เราสงบ เราไม่ใช่ธรรมโลดแล่น คนนี้กำลังโกรธแล้วเราควบตัวของเราได้ เราไม่ไปบ้าจี้กับเขา ถ้าเราไปบ้าจี้กับเขาเราก็เสร็จ แต่พอเราปลีกวิเวก วิเวกจากไหน วิเวกจากโทสะ เราจะมีรูปลักษณ์ของคำว่าสันโดษ เราจะนิ่ง เราไม่ไปชี้หน้าด่าเขา ทำตัวให้เข้ากับภาวะธรรมนั้นๆ ภาวะธรรมนั้นๆ เราจะไม่โกรธ เราก็ต้องมีรูปแบบของสันโดษอย่างนั้น เราก็ไม่โลดแล่นอย่างเขา จะไปชี้หน้าด่าว่าเขา
ถ้าเราจะไปร้องเพลงบนเวทีเราจะสันโดษได้หรือไม่ แล้วเราจะร้องเพลงอะไร ถ้าเราจะร้องเพลง "น้ำตาลก้นแก้ว" ถ้าเราไม่สันโดษ เราก็จะตะโกน ร้องผิดคีย์ มันไม่ตรงกับภาวะธรรมนั้นๆ เราต้องมาดูว่าภาวะธรรมนั้นๆ ควรทำอะไร อย่างไร เจตนาอย่างไร เราก็ต้องทำตามภาวะธรรมนั้นๆ ถึงจะสันโดษ เราต้องมีสัมปชัญญะ คือ รู้ว่าตรงนั้นจะทำยังไงในภาวะธรรมนั้นๆ ที่ถูกต้อง พอเรารู้ว่าในภาวะธรรมนั้นๆ ควรทำเช่นใด เราก็จะสันโดษ ถ้าเราไปตะโกนร้องเพลง แล้วใครจะไปฟังเราร้องเพลง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
ควรทำความเข้าใจการปลีกวิเวกใหม่
ปลีกวิเวก (seclusion) แปลว่า ความสงัด มี ๓ อย่าง ดังนี้
๑. กายวิเวก (bodily seclusion) ความสงัดกาย ได้แก่ การไปอยู่สถานที่ ที่ใดก็ได้ที่ทำให้ใจของเราสงบได้
๒. จิตตวิเวก (mental seclusion) ความสงัดใจ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงจากการถูกครอบงำ ควบคุม บงการ ของอารมณ์ธรรมต่างๆ โดยต้องใช้ปัญญามาแก้ไข
๓. อุปธิวิเวก (seclusion from the essentials of existence) ได้แก่ เจริญภาวนาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเข้าสู่ภาวะแห่งพระไตรลักษณ์ เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นจากภาวะอัตตา ตัวตน เพื่อไปสู่เส้นทางแห่งพระนิพพาน
บุคลิกภาพของเราสันโดษ เช่น เราไปสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่เขากำลังเต้นสนุกสนานกัน แต่เราไม่เต้นกับเขา เราหยุดนิ่ง นี่แหละบุคลิก เรามีบุคลิกของเรา พร้อมที่จะเข้าสู่ธรรม ธรรมข้อไหน ธรรมข้อที่ทำให้เราสงบ เราไม่ใช่ธรรมโลดแล่น คนนี้กำลังโกรธแล้วเราควบตัวของเราได้ เราไม่ไปบ้าจี้กับเขา ถ้าเราไปบ้าจี้กับเขาเราก็เสร็จ แต่พอเราปลีกวิเวก วิเวกจากไหน วิเวกจากโทสะ เราจะมีรูปลักษณ์ของคำว่าสันโดษ เราจะนิ่ง เราไม่ไปชี้หน้าด่าเขา ทำตัวให้เข้ากับภาวะธรรมนั้นๆ ภาวะธรรมนั้นๆ เราจะไม่โกรธ เราก็ต้องมีรูปแบบของสันโดษอย่างนั้น เราก็ไม่โลดแล่นอย่างเขา จะไปชี้หน้าด่าว่าเขา
ถ้าเราจะไปร้องเพลงบนเวทีเราจะสันโดษได้หรือไม่ แล้วเราจะร้องเพลงอะไร ถ้าเราจะร้องเพลง "น้ำตาลก้นแก้ว" ถ้าเราไม่สันโดษ เราก็จะตะโกน ร้องผิดคีย์ มันไม่ตรงกับภาวะธรรมนั้นๆ เราต้องมาดูว่าภาวะธรรมนั้นๆ ควรทำอะไร อย่างไร เจตนาอย่างไร เราก็ต้องทำตามภาวะธรรมนั้นๆ ถึงจะสันโดษ เราต้องมีสัมปชัญญะ คือ รู้ว่าตรงนั้นจะทำยังไงในภาวะธรรมนั้นๆ ที่ถูกต้อง พอเรารู้ว่าในภาวะธรรมนั้นๆ ควรทำเช่นใด เราก็จะสันโดษ ถ้าเราไปตะโกนร้องเพลง แล้วใครจะไปฟังเราร้องเพลง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์