สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบสาระความรู้กับ part การทำงานป่าไม้สุดที่รักของเรากันบ้าง หลังจากที่เล่าเรื่องอื่นๆ กันมาพอสมควรแล้ว มาฟังกันว่าหากเราโชคดีมีพะยูงขึ้นอยู่ในบ้าน (หรือโชคร้าย) เราจะสามารถตัดขายได้ราคาหลายล้านบาทอย่างที่เป็นข่าวหรือเปล่า ขั้นตอนจะยุ่งยากหรือง่ายดายเพียงใด พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ
ไม้พะยูง หรือชื่อสามัญ กระยูง กะยง(เขมร สุรินทร์) ขะยุง(อุบลราชธานี) แดงจีน(กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่แสน (ตราด) พะยูงไหม (สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน) ประดู่ตม (จันทบุรี) (อังกฤษ) Black Wood, Rose Wood, Siamese Rose Wood, Thailand Rose Wood มีชื่อทางการค้าในตลาดต่างประเทศว่า Siamese Rosewood หรือ Thailand Rosewood มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Dalbergia cochinchinensis Pierra อนุวงศ์ Papilionaceae วงศ์ Leguminosae
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพะยูงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยพบกระจัดกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้ง ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-300 เมตร
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมตาม ที่มา :
http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
พะยูงจัดได้ว่าเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สถิติป่าไม้ ปริมาณไม้ที่ทำออกจากป่า ระหว่างปี พ.ศ. 2528-2532 (ก่อนยกเลิกสัมปทาน) ปี พ.ศ. 2530 มีการทำไม้พะยูงออกสูงสุด แต่ก็มีปริมาณเพียง 662 ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับไม้สัก (37,278 ลบ.ม.) และไม้ประดู่ (51,937 ลบ.ม.) ในปัจจุบันเนื่องจากราคาในตลาดต่างประเทศได้พุ่งสูงขึ้นจากความต้องการไม้ชนิดดังกล่าวนี้ในตลาดใหญ่ดังเช่นประเทศจีน ทำให้ปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงจากป่าธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
จนกระทั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดํา ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่า จะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา”
พูดอย่างง่ายก็คือ ในปี 2557 ได้บรรจุไม้พะยูงลงไปในอยู่ในเงื่อนไขเดียวกับไม้สัก และไม้ยาง ตั้งแต่บัดนั้นมา ซึ่งการดำเนินการตัดฟันไม้พะยูงไม่ว่าขึ้นอยู่ที่ใดมาใช้ประโยชน์ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ด้านการส่งออกไม้พะยูง
สำหรับไม้พะยูงในพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้ปรับปรุงบัญชีรายชื่อพืชอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับผลการประชุมประเทศภาคอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-14 มีนาคม 2557 ณ ประเทศไทย โดยออกเป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง พืชอนุรักษ์ พ.ศ. 2557 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 กำหนดให้พืชในวงศ์ Leguminosae หรือวงศ์ Fabaceae ชนิดพันธุ์
Dalbergia cochichinensis หรือไม้พะยูงเป็นพืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ห้ามมิให้ผู้ใด นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาต CITES Permits จากอธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย และผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้าให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังมีชนิดพันธุ์ Dalbergia granadia Dalbergia retusa Dalbergia stevensonii และ Dalbergia spp. ทุกชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์เท่านั้น ทั้งนี้ ณ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรไม่มีการออกหนังสืออนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านไม้พะยูงให้กับผู้ใดเลย
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร
http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n19/v_4-may/ceaksong.html)
และที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส ครั้งที่ 17 มีมติเปลี่ยนคำอธิบายแนบท้ายข้อกำหนดไม้พะยูงที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ของไซเตส ครอบคลุมสกุลไม้ Dalbergia ตามที่ประเทศไทยเสนอ จากเดิมที่ควบคุมเฉพาะไม้ซุงพะยูง มาเป็นให้ครอบคลุมทุกส่วนของไม้พะยูงที่มีการค้าระหว่างประเทศ เช่น ไม้ท่อน ไม้แผ่น เฟอร์นิเจอร์แปรรูปทุกรูปแบบยกเว้นดอก ใบ ผล เมล็ดของพะยูง เพื่อแก้ปัญหาลักลอบตัดไม้พะยูงออกนอกประเทศที่ยังคงมีปริมาณมาก โดยเฉพาะลักลอบตัดไม้ในเขตป่าของไทยที่เป็นแหล่งไม้พะยูงแล้วแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งออกขายไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่มีใบอนุญาต เมื่อไซเตสเปลี่ยนคำอธิบายแนบท้ายข้อกำหนดไม้พะยูงจะช่วยควบคุมในส่วนนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ย้ำว่าประเทศไทย ได้รายงานความก้าวหน้าของการขึ้นบัญชีไม้พะยูง แต่กลับยังพบคดีการลักลอบตัดไม้และส่งไม้ออกนอกประเทศสูงอยู่ เนื่องจากกลุ่มขบวนการลักลอบค้าและตัดไม้พะยูงใช้ช่องว่างลักลอบกระทำความผิด เชื่อว่าหลังเปลี่ยนคำอธิบายแนบท้ายข้อกำหนดไม้พะยูงครอบคลุมทุกชนิดจะช่วยลดการลักลอบค้าและตัดไม้พะยูงลงได้มาก
ที่มา
http://www.nationtv.tv/main/content/378519205/
อีกทั้งยังมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และสิ่งประดิษฐ์ของไม้ชิงชัน และไม้กระพี้เขาควาย และสิ่งประดิษฐ์ของพะยูง เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ.2559 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 133 ตอนพิเศษที่ 249 ง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559) ทำให้ทุกสิ่งประดิษฐ์ (ตู้ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ บานประตู บานหน้าต่าง ไม้วงกบ ไม้คิ้ว และไม้บัว ไม้ประสาน ไม้ปาร์เกต์ ไม้ปูพื้นรางลิ้นรอบตัว และไม้โมเสก) ที่ทำจากไม้พะยูง เป็นสินค้าต้องห้ามผ่านราชอาณาจักร
นั่นคือเท่ากับว่าไม้พะยูงในปัจจุบันไม่สามารถส่งออกได้ทุกกรณี
มีไม้พะยูงขึ้นอยู่ในที่ดิน จะตัดขายได้เงินล้านหรือไม่ มีความผิดไหม วันนี้มีคำตอบ
สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบสาระความรู้กับ part การทำงานป่าไม้สุดที่รักของเรากันบ้าง หลังจากที่เล่าเรื่องอื่นๆ กันมาพอสมควรแล้ว มาฟังกันว่าหากเราโชคดีมีพะยูงขึ้นอยู่ในบ้าน (หรือโชคร้าย) เราจะสามารถตัดขายได้ราคาหลายล้านบาทอย่างที่เป็นข่าวหรือเปล่า ขั้นตอนจะยุ่งยากหรือง่ายดายเพียงใด พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ
ไม้พะยูง หรือชื่อสามัญ กระยูง กะยง(เขมร สุรินทร์) ขะยุง(อุบลราชธานี) แดงจีน(กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่แสน (ตราด) พะยูงไหม (สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน) ประดู่ตม (จันทบุรี) (อังกฤษ) Black Wood, Rose Wood, Siamese Rose Wood, Thailand Rose Wood มีชื่อทางการค้าในตลาดต่างประเทศว่า Siamese Rosewood หรือ Thailand Rosewood มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia cochinchinensis Pierra อนุวงศ์ Papilionaceae วงศ์ Leguminosae
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพะยูงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยพบกระจัดกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้ง ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-300 เมตร
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมตาม ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
พะยูงจัดได้ว่าเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สถิติป่าไม้ ปริมาณไม้ที่ทำออกจากป่า ระหว่างปี พ.ศ. 2528-2532 (ก่อนยกเลิกสัมปทาน) ปี พ.ศ. 2530 มีการทำไม้พะยูงออกสูงสุด แต่ก็มีปริมาณเพียง 662 ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับไม้สัก (37,278 ลบ.ม.) และไม้ประดู่ (51,937 ลบ.ม.) ในปัจจุบันเนื่องจากราคาในตลาดต่างประเทศได้พุ่งสูงขึ้นจากความต้องการไม้ชนิดดังกล่าวนี้ในตลาดใหญ่ดังเช่นประเทศจีน ทำให้ปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงจากป่าธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
จนกระทั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดํา ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่า จะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา”
พูดอย่างง่ายก็คือ ในปี 2557 ได้บรรจุไม้พะยูงลงไปในอยู่ในเงื่อนไขเดียวกับไม้สัก และไม้ยาง ตั้งแต่บัดนั้นมา ซึ่งการดำเนินการตัดฟันไม้พะยูงไม่ว่าขึ้นอยู่ที่ใดมาใช้ประโยชน์ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ด้านการส่งออกไม้พะยูง
สำหรับไม้พะยูงในพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้ปรับปรุงบัญชีรายชื่อพืชอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับผลการประชุมประเทศภาคอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-14 มีนาคม 2557 ณ ประเทศไทย โดยออกเป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง พืชอนุรักษ์ พ.ศ. 2557 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 กำหนดให้พืชในวงศ์ Leguminosae หรือวงศ์ Fabaceae ชนิดพันธุ์ Dalbergia cochichinensis หรือไม้พะยูงเป็นพืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ห้ามมิให้ผู้ใด นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาต CITES Permits จากอธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย และผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้าให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังมีชนิดพันธุ์ Dalbergia granadia Dalbergia retusa Dalbergia stevensonii และ Dalbergia spp. ทุกชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์เท่านั้น ทั้งนี้ ณ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรไม่มีการออกหนังสืออนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านไม้พะยูงให้กับผู้ใดเลย
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n19/v_4-may/ceaksong.html)
และที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส ครั้งที่ 17 มีมติเปลี่ยนคำอธิบายแนบท้ายข้อกำหนดไม้พะยูงที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ของไซเตส ครอบคลุมสกุลไม้ Dalbergia ตามที่ประเทศไทยเสนอ จากเดิมที่ควบคุมเฉพาะไม้ซุงพะยูง มาเป็นให้ครอบคลุมทุกส่วนของไม้พะยูงที่มีการค้าระหว่างประเทศ เช่น ไม้ท่อน ไม้แผ่น เฟอร์นิเจอร์แปรรูปทุกรูปแบบยกเว้นดอก ใบ ผล เมล็ดของพะยูง เพื่อแก้ปัญหาลักลอบตัดไม้พะยูงออกนอกประเทศที่ยังคงมีปริมาณมาก โดยเฉพาะลักลอบตัดไม้ในเขตป่าของไทยที่เป็นแหล่งไม้พะยูงแล้วแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งออกขายไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่มีใบอนุญาต เมื่อไซเตสเปลี่ยนคำอธิบายแนบท้ายข้อกำหนดไม้พะยูงจะช่วยควบคุมในส่วนนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ย้ำว่าประเทศไทย ได้รายงานความก้าวหน้าของการขึ้นบัญชีไม้พะยูง แต่กลับยังพบคดีการลักลอบตัดไม้และส่งไม้ออกนอกประเทศสูงอยู่ เนื่องจากกลุ่มขบวนการลักลอบค้าและตัดไม้พะยูงใช้ช่องว่างลักลอบกระทำความผิด เชื่อว่าหลังเปลี่ยนคำอธิบายแนบท้ายข้อกำหนดไม้พะยูงครอบคลุมทุกชนิดจะช่วยลดการลักลอบค้าและตัดไม้พะยูงลงได้มาก
ที่มา http://www.nationtv.tv/main/content/378519205/
อีกทั้งยังมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และสิ่งประดิษฐ์ของไม้ชิงชัน และไม้กระพี้เขาควาย และสิ่งประดิษฐ์ของพะยูง เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ.2559 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 133 ตอนพิเศษที่ 249 ง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559) ทำให้ทุกสิ่งประดิษฐ์ (ตู้ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ บานประตู บานหน้าต่าง ไม้วงกบ ไม้คิ้ว และไม้บัว ไม้ประสาน ไม้ปาร์เกต์ ไม้ปูพื้นรางลิ้นรอบตัว และไม้โมเสก) ที่ทำจากไม้พะยูง เป็นสินค้าต้องห้ามผ่านราชอาณาจักร
นั่นคือเท่ากับว่าไม้พะยูงในปัจจุบันไม่สามารถส่งออกได้ทุกกรณี