จินตนาการดูว่าบ้านของคุณถูกใครก็ไม่ทราบนำขยะที่คุณไม่ได้มีส่วนร่วมก่อเสียด้วยซ้ำมาถมทิ้งเพิ่มพูนขึ้นทุกวันๆ นี่คือความรู้สึก
ของชาวแอตแลนติส ใน “Aquaman” ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เรื่องใหม่จากวอร์เนอร์ บราเธอร์ส พิคเจอร์ส ที่นำฮีโร่จากค่าย DC พาคุณผู้ชมดำดิ่งลงไปยังโลกใต้ทะเลอันน่าตื่นตาตื่นใจ
(*บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ Aquaman)
Aquaman เล่าเรื่องราวการผจญภัยของอาเธอร์ เคอร์รี่ ลูกครึ่งมนุษย์และชาวแอตแลนติส ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามใต้น้ำอย่างไม่ตั้งใจ ทั้งยังต้องตามหาตรีศูลอันเป็นอาวุธทรงพลังอำนาจในตำนาน เพื่อใช้หยุดยั้งคิงออร์ม ราชาแห่งอาณาจักรแอตแลนติสที่ต้องการทำลายล้างมนุษย์ ดูเผินๆ เป้าหมายและการกระทำของคิงออร์มช่างไม่ต่างจากตัวร้ายทั่วไปในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ทว่าความโกรธเกรี้ยวของวายร้ายผู้นี้ที่มีต่อมนุษยชาติคือหนทางเดียวที่จะปกป้องอาณาจักรของเขาให้รอดพ้นจากขยะและมลพิษที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของชาวแอตแลนติส
ใช่! นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ธรรมดา การต่อสู้ของ Aquaman กำลังส่งสารสำคัญถึงมนุษย์ทุกคนให้หันไปมองยังปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในท้องทะเลว่าตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราทิ้งอะไรไว้บ้างกับโลกใบนี้ คิงออร์มเชื่อว่าหนทางเดียวคือการกำจัดมนุษยชาติเสียให้หมดสิ้น อุดมการณ์อันแข็งกล้านี้เริ่มต้นจากไหน? มาเรียนรู้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรกันให้มากขึ้น คุณอาจพอเข้าใจถึงความคับแค้นใจที่ราชันแห่งโลกใต้น้ำผู้นี้มีต่อมนุษย์
อาเธอร์ เคอร์รี่ หรืออควาแมน ลูกครึ่งมนุษย์และชาวแอตแลนติส นอกเหนือจากความสามารถในการหายใจใต้น้ำได้แล้ว ตัวเขายังสื่อสารกับสัตว์น้ำได้อีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก DCComics
ขยะพลาสติกท่วมโลก
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 วัสดุทุกอย่างที่มนุษย์ใช้ล้วนมาจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแก้ว ไม้ กระดาษ หรือโลหะ จนกระทั่งเมื่อ “พลาสติก” ถือกำเนิดขึ้นจากการกลั่นน้ำมันดิบและการแยกก๊าซธรรมชาติประกอบกับการทำปฏิกิริยาทางเคมีจนได้ “พอลิเมอร์” ที่ภายในประกอบด้วยห่วงโซ่โมเลกุลยาวๆ จากการเชื่อมต่อของมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นห่วงโซ่ที่แข็งแกร่ง เบา และทนทาน ต่อมาวัสดุมหัศจรรย์ที่เราใช้จนขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันนี้ถูกผลิตขึ้นอย่างล้นหลามเป็นทวีคูณในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัสดุธรรมชาติ นำไปสู่ยุคสมัยใหม่แห่งการมีวัสดุให้ใช้กันเหลือเฟือ
พลาสติกปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมเพราะความเบาแต่ทนทานของมัน ทั้งยังเอื้อต่อการสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ๆ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ช่วยให้การเดินทางท่องอวกาศประสบความสำเร็จ พลาสติกเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนเมื่ออาหารที่บรรจุใส่ถุงพกพาได้ง่ายกว่าเดิม ทั้งหีบห่อพลาสติกยังช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา หมวกนิรภัยจากพลาสติกช่วยชีวิตใครหลายคนเมื่อยานยนต์ประสบอุบัติเหตุ และยังช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยการเป็นบรรจุภัณฑ์น้ำดื่มให้แก่ผู้คนในพื้นที่ห่างไกล อันที่จริงมีคุณประโยชน์มากมายมหาศาลที่พลาสติกช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และนักวิทยาศาสตร์มากมายก็กำลังพยายามพัฒนาพลาสติกนานาประเภท เพื่อให้พวกมันทำหน้าที่ให้ดีที่สุด การผลิตพลาสติกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเสียจนครึ่งหนึ่งของจำนวนพลาสติกที่เคยมีมาในโลกถูกผลิตขึ้นในช่วง 15 ปีมานี้เท่านั้น
ภาพล้อเลียนโปสเตอร์หนัง Aquaman เมื่อมหาสมุทรในปัจจุบันกำลังเต็มไปด้วยขยะ
ขอบคุณภาพจาก
https://www.reddit.com/r/funny/comments/90c8df/aquaman/
ทว่าสิ่งที่ใครหลายคนลืมไปก็คือ เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้วพลาสติกไปลงเอยที่ไหน? มหาสมุทรคือบ่อขยะพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในจำนวนทั้งหมด 80% ของขยะพลาสติกที่ล่องลอยในทะเลถูกทิ้งลงมาจากแผ่นดิน เมื่อแม่น้ำลำคลองพัดพาเอาขยะพลาสติกออกสู่ทะเล ทุกวันนี้ในแต่ละปีผู้คนทั่วโลกทิ้งขยะพลาสติกลงมหาสมุทรเฉลี่ย 8 ล้านตัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าวัสดุสังเคราะห์เหล่านี้ต้องใช้เวลาย่อยสลายทางชีวภาพนานเท่าไหร่ จึงจะกลับไปเป็นโมเลกุลของสารประกอบตามเดิม การคาดการณ์ในปัจจุบันมีตั้งแต่ใช้เวลา 450 ปี ไปจนถึงนิรันดร์ นั่นหมายความว่าหากไม่ถูกนำมารีไซเคิล ขยะพลาสติกชิ้นแรกที่ถูกผลิตขึ้นเมื่อราว 130 ปีก่อน ยังคงอยู่ในปัจจุบัน และจะยังคงอยู่ต่อไปจนถึงช่วงเวลาที่คุณหมดลมหายใจ และหลานของคุณมีหลานเป็นของตนเอง
“ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกถูกทิ้งลงทะเลมากถึง 8 ล้านตัน ปริมาณดังกล่าวเทียบเท่ากับการทิ้งขยะเต็มหนึ่งคันรถลงมหาสมุทรทุกๆ หนึ่งนาที”
อันที่จริงปัญหาจากขยะพลาสติกไม่ใช่เพิ่งปรากฏในช่วงสิบปีมานี้ แต่เริ่มส่อแววมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบเศษขยะพลาสติกในกระเพาะอาหารของนกทะเลที่ตายแล้ว และต่อมาก็ขยายลุกลามพบในกระเพาะและลำไส้ของแพลงก์ตอน โลมา ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดอย่างวาฬ ทว่าความน่ากลัวของขยะพลาสติกไม่ได้หยุดอยู่แค่ระยะเวลาอันยาวนานกว่าจะย่อยสลายตามธรรมชาติ หากบนเส้นทางนั้นกว่าจะถึงช่วงเวลาสุดท้าย พลาสติกได้แตกกระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยด้วยคลื่นลมและแสงอาทิตย์ บางชิ้นมีขนาดเล็กเสียจนยากที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
รายงานจากปี 2015 ในจำนวนขยะ 6.9 พันล้านตันที่ถูกผลิตขึ้น มีเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล และ 12% ที่ถูกเผาทำลาย และในจำนวนนี้มีขยะมากถึง 40% ที่ถูกใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง
ขอบคุณภาพจาก Rich Carey
“ไมโครพลาสติก” คือชื่อเรียกของเศษพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และทุกวันนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ก้นมหาสมุทร ไปถึงน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในขั้วโลกเหนือ เรื่องราวของไมโครพลาสติกเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ในตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าเหตุใดพวกเขาจึงไม่พบขยะพลาสติกในทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารจาก 2.1 ล้านตันในปี 1950 เป็น 147 ล้านตันในปี 1993 ข้อมูลจากรายงานวิจัยในปี 2004 โดยริชาร์ด ทอมป์สัน นักนิเวศวิทยาทางทะเลเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่าแท้จริงแล้วขยะพลาสติกไม่ได้หายไปไหน หากแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยปริมาณมหาศาลเกินกว่าที่จะคำนวณได้ มากแค่ไหน? ในการศึกษาแอมฟิพอดชนิดหนึ่งที่พบทั่วไปตามชายฝั่งของยุโรปพบว่า พวกมันกิดกินขยะถุงพลาสติก โดยถุงพลาสติก 1 ใบสามารถถูกแทะกินจนกลายเป็นเศษพลาสติกได้มากถึง 1.75 ล้านชิ้น
เศษเล็กจิ๋วของขยะพลาสติกเหล่านี้ก่อปัญหามากกว่าขนาดตัวมันหลายเท่า เพราะไมโครพลาสติกกำลังเดินทางไปทั่วโลกและปนเปื้อนไปทุกหนแห่ง ไม่ใช่แค่ในกระเพาะอาหารของสัตว์ทะเลที่เผลอกลืนกินขยะ ทว่ารายงานข่าวล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์แห่งกรุงเวียนนา ร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อมของออสเตรียพบไมโครพลาสติกเฉลี่ย 20 อนุภาคในอุจจาระทุกๆ 10 กรัมของผู้ที่เข้าร่วมงานวิจัย และหากคุณกำลังคิดว่าถ้าหลีกเลี่ยงการทานอาหารทะเลก็จะรอดพ้น อันที่จริงในเดือนเดียวกันมหาวิทยาลัยอินซอนในเกาหลีใต้เผยว่า แม้แต่ในเกลือทะเล เกลือทะเลสาบ และเกลือหินก็พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนเช่นกัน ตอกย้ำว่าปัญหาขยะพลาสติกกำลังเป็นวิกฤตที่รุนแรงไม่น้อยไปกว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทั้งยังไม่สามารถหนีพ้นได้
“สหประชาชาติรายงานว่าปัจจุบันทุกๆ ตารางไมล์ของมหาสมุทรเต็มไปด้วยขยะเฉลี่ย 46,000 ชิ้น”
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานถึงอันตรายจากการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในอาหารที่ชัดเจน ทว่ากระบวนการผลิตพลาสติกที่ต้องใช้สารเคมีหลายชนิดสร้างความกังวลต่อนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย และในการทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการเผยให้เห็นว่าสารเคมีจากไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในร่างกายเข้าไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมน ส่วนในมนุษย์ยังคงต้องหาคำตอบกันต่อไป ข่าวดีก็คือส่วนใหญ่แล้วขยะพลาสติกจิ๋วเหล่านี้สะสมในกระเพาะอาหารและลำไส้ของสัตว์ทะเล ไม่ใช่ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ผู้คนกินกัน ทว่าไม่จำเป็นต้องรอให้งานวิจัยมาบอกว่าพลาสติกกำลังทำลายสุขภาพเราอย่างไร ที่ผ่านมาผลกระทบจากขยะพลาสติกปรากฏชัดเจนในทุกระบบ และมากพอแล้วที่เราต้องร่วมมือกันทำอะไรสักอย่าง
อุปกรณ์ประมงคือหนึ่งในขยะที่หลุดลอยสู่ทะเล และคร่าชีวิตบรรดาสัตว์น้ำเมื่อพวกมันว่ายเข้าไปติด รายงานล่าสุดที่วิจัยแพขยะแห่งแปซิฟิกพบว่า ในขยะปริมาณ 79,000 เมตริกตันของแพแห่งนี้ ส่วนใหญ่ของขยะแล้วเป็นอุปกรณ์ประมงทั้งสิ้น ไม่ใช่ขวดพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์หีบห่อแบบที่เรามักคุ้นชินจากภาพข่าว
ภาพถ่ายโดย Jordi Chias
เราจะชดเชยให้คิงออร์มได้อย่างไร?
ในภาพยนตร์ Aquaman มีฉากหนึ่งที่คิงออร์มส่งสัญญาณเตือนไปยังมนุษยชาติด้วยการสร้างคลื่นขนาดมหึมาพัดพาเอาขยะในทะเลกลับขึ้นไปบนชายฝั่ง หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงอาจมีขยะมากถึง 5.25 ล้านล้านชิ้นตีกลับขึ้นมาบนบก ตัวเลขดังกล่าวคือการคาดการณ์เท่านั้น เมื่อจำนวนจริงมากมายมหาศาลจนไม่อาจใช้เครื่องมือใดนับได้ และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภายในปี 2050 นี้ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มหาสมุทรจะมีขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาเสียอีก
ถ้าเช่นนั้นเราควรทำอะไรบ้าง? สิ่งสำคัญในการลดปัญหาขยะนอกเหนือจากการเก็บแล้ว คือความพยายามไม่สร้างขยะเพิ่ม และเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลในหลายประเทศจำเป็นต้องกระตุ้นให้ประชาชนจัดการขยะด้วยวิธีรีไซเคิล หลายประเทศในยุโรปนอกเหนือจากการออกกฎหมายแบนการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง พวกเขามีตู้รับขยะพลาสติกไปรีไซเคิล โดยประชาชนจะได้เงินคืนกลับมาในฐานะผู้ช่วยลดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีหลายประเทศในทวีปแอฟริกาที่ออกกฎหมายควบคุมปริมาณการใช้ถุงพลาสติกไม่ใช้มากเกินที่กำหนด เช่น เคนยา, แอฟริกาใต้ และรวันดา
“แพขยะแห่งแปซิฟิก คือชื่อของวงขยะขนาดยักษ์ที่ลอยตัวอยู่ ณ ผิวมหาสมุทรบนพื้นที่ระหว่างฮาวายและรัฐแคลิฟอร์เนีย มันมีขนาดใหญ่กว่ารัฐเท็กซัส และถูกตั้งให้เป็นประเทศสมมุติที่มีชื่อว่า ‘Trash Isles’ มีพลเมืองอย่างเป็นทางการแล้วหนึ่งคนคือ อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้ขับเคลื่อนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม”
นอกเหนือจากการรีไซเคิลวัสดุพลาสติกแล้ว อีกหนึ่งข้อสำคัญที่คนทั่วไปทำได้คือพยายามใช้พลาสติกให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ค่าเฉลี่ยระบุว่าถุงพลาสติกใบหนึ่งถูกใช้งานเพียงแค่ 12 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้นถุงดังกล่าวกลายไปเป็นขยะ และคงลงเอยในท้องของวาฬสักตัว ในจำนวนขยะพลาสติกทั้งหมดที่ลอยเคว้งคว้างในมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากว่าครึ่งล้วนเป็นขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถุงพลาสติก, หลอด, ขวดน้ำ, ช้อน, ส้อม และอื่นๆ อีกมากมาย เหล่านี้คือความสะดวกสบายที่กลายมาเป็นนิสัย แต่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อโลกของเรา ในหลายประเทศมีกลไกกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่นเดนมาร์กที่กำหนดภาษีถุงพลาสติกเป็นประเทศแรกมาตั้งแต่ปี 1993 ปัจจุบันชาวเดนมาร์กใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยเพียง 4 ใบต่อปีเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกาค่าเฉลี่ยการใช้ถุงพลาสติกตกอยู่ที่ครอบครัวละ 1,500 ใบต่อปี ส่วนในไทยตัวเลขเฉลี่ยรายบุคคลยังไม่แน่ชัด แต่ที่แน่ๆ ประเทศเราคือผู้ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะลมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก อันดับหนึ่งคือจีนตามมาด้วยอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม รายงานจาก Ocean Conservancy เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา
(ดูรายงานจาก Ocean Conservancy ได้ ที่นี่)
ซากวาฬเกยตื้นที่สร้างจากขยะพลาสติกชิ้นนี้ คือผลงานศิลปะของกรีนพีชในฟิลิปปินส์ ที่ต้องการสร้างความตระหนักถึงวิกฤตขยะพลาสติก
ขอบคุณภาพจาก
https://www.onegreenplanet.org/news/whale-filled-with-plastic-trash/
NGTHAI
โลกของ Aquaman กำลังจมขยะพลาสติก
(*บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ Aquaman)
Aquaman เล่าเรื่องราวการผจญภัยของอาเธอร์ เคอร์รี่ ลูกครึ่งมนุษย์และชาวแอตแลนติส ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามใต้น้ำอย่างไม่ตั้งใจ ทั้งยังต้องตามหาตรีศูลอันเป็นอาวุธทรงพลังอำนาจในตำนาน เพื่อใช้หยุดยั้งคิงออร์ม ราชาแห่งอาณาจักรแอตแลนติสที่ต้องการทำลายล้างมนุษย์ ดูเผินๆ เป้าหมายและการกระทำของคิงออร์มช่างไม่ต่างจากตัวร้ายทั่วไปในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ทว่าความโกรธเกรี้ยวของวายร้ายผู้นี้ที่มีต่อมนุษยชาติคือหนทางเดียวที่จะปกป้องอาณาจักรของเขาให้รอดพ้นจากขยะและมลพิษที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของชาวแอตแลนติส
ใช่! นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ธรรมดา การต่อสู้ของ Aquaman กำลังส่งสารสำคัญถึงมนุษย์ทุกคนให้หันไปมองยังปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในท้องทะเลว่าตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราทิ้งอะไรไว้บ้างกับโลกใบนี้ คิงออร์มเชื่อว่าหนทางเดียวคือการกำจัดมนุษยชาติเสียให้หมดสิ้น อุดมการณ์อันแข็งกล้านี้เริ่มต้นจากไหน? มาเรียนรู้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรกันให้มากขึ้น คุณอาจพอเข้าใจถึงความคับแค้นใจที่ราชันแห่งโลกใต้น้ำผู้นี้มีต่อมนุษย์
อาเธอร์ เคอร์รี่ หรืออควาแมน ลูกครึ่งมนุษย์และชาวแอตแลนติส นอกเหนือจากความสามารถในการหายใจใต้น้ำได้แล้ว ตัวเขายังสื่อสารกับสัตว์น้ำได้อีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก DCComics
ขยะพลาสติกท่วมโลก
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 วัสดุทุกอย่างที่มนุษย์ใช้ล้วนมาจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแก้ว ไม้ กระดาษ หรือโลหะ จนกระทั่งเมื่อ “พลาสติก” ถือกำเนิดขึ้นจากการกลั่นน้ำมันดิบและการแยกก๊าซธรรมชาติประกอบกับการทำปฏิกิริยาทางเคมีจนได้ “พอลิเมอร์” ที่ภายในประกอบด้วยห่วงโซ่โมเลกุลยาวๆ จากการเชื่อมต่อของมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นห่วงโซ่ที่แข็งแกร่ง เบา และทนทาน ต่อมาวัสดุมหัศจรรย์ที่เราใช้จนขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันนี้ถูกผลิตขึ้นอย่างล้นหลามเป็นทวีคูณในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัสดุธรรมชาติ นำไปสู่ยุคสมัยใหม่แห่งการมีวัสดุให้ใช้กันเหลือเฟือ
พลาสติกปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมเพราะความเบาแต่ทนทานของมัน ทั้งยังเอื้อต่อการสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ๆ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ช่วยให้การเดินทางท่องอวกาศประสบความสำเร็จ พลาสติกเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนเมื่ออาหารที่บรรจุใส่ถุงพกพาได้ง่ายกว่าเดิม ทั้งหีบห่อพลาสติกยังช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา หมวกนิรภัยจากพลาสติกช่วยชีวิตใครหลายคนเมื่อยานยนต์ประสบอุบัติเหตุ และยังช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยการเป็นบรรจุภัณฑ์น้ำดื่มให้แก่ผู้คนในพื้นที่ห่างไกล อันที่จริงมีคุณประโยชน์มากมายมหาศาลที่พลาสติกช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และนักวิทยาศาสตร์มากมายก็กำลังพยายามพัฒนาพลาสติกนานาประเภท เพื่อให้พวกมันทำหน้าที่ให้ดีที่สุด การผลิตพลาสติกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเสียจนครึ่งหนึ่งของจำนวนพลาสติกที่เคยมีมาในโลกถูกผลิตขึ้นในช่วง 15 ปีมานี้เท่านั้น
ภาพล้อเลียนโปสเตอร์หนัง Aquaman เมื่อมหาสมุทรในปัจจุบันกำลังเต็มไปด้วยขยะ
ขอบคุณภาพจาก https://www.reddit.com/r/funny/comments/90c8df/aquaman/
ทว่าสิ่งที่ใครหลายคนลืมไปก็คือ เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้วพลาสติกไปลงเอยที่ไหน? มหาสมุทรคือบ่อขยะพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในจำนวนทั้งหมด 80% ของขยะพลาสติกที่ล่องลอยในทะเลถูกทิ้งลงมาจากแผ่นดิน เมื่อแม่น้ำลำคลองพัดพาเอาขยะพลาสติกออกสู่ทะเล ทุกวันนี้ในแต่ละปีผู้คนทั่วโลกทิ้งขยะพลาสติกลงมหาสมุทรเฉลี่ย 8 ล้านตัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าวัสดุสังเคราะห์เหล่านี้ต้องใช้เวลาย่อยสลายทางชีวภาพนานเท่าไหร่ จึงจะกลับไปเป็นโมเลกุลของสารประกอบตามเดิม การคาดการณ์ในปัจจุบันมีตั้งแต่ใช้เวลา 450 ปี ไปจนถึงนิรันดร์ นั่นหมายความว่าหากไม่ถูกนำมารีไซเคิล ขยะพลาสติกชิ้นแรกที่ถูกผลิตขึ้นเมื่อราว 130 ปีก่อน ยังคงอยู่ในปัจจุบัน และจะยังคงอยู่ต่อไปจนถึงช่วงเวลาที่คุณหมดลมหายใจ และหลานของคุณมีหลานเป็นของตนเอง
“ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกถูกทิ้งลงทะเลมากถึง 8 ล้านตัน ปริมาณดังกล่าวเทียบเท่ากับการทิ้งขยะเต็มหนึ่งคันรถลงมหาสมุทรทุกๆ หนึ่งนาที”
อันที่จริงปัญหาจากขยะพลาสติกไม่ใช่เพิ่งปรากฏในช่วงสิบปีมานี้ แต่เริ่มส่อแววมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบเศษขยะพลาสติกในกระเพาะอาหารของนกทะเลที่ตายแล้ว และต่อมาก็ขยายลุกลามพบในกระเพาะและลำไส้ของแพลงก์ตอน โลมา ไปจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดอย่างวาฬ ทว่าความน่ากลัวของขยะพลาสติกไม่ได้หยุดอยู่แค่ระยะเวลาอันยาวนานกว่าจะย่อยสลายตามธรรมชาติ หากบนเส้นทางนั้นกว่าจะถึงช่วงเวลาสุดท้าย พลาสติกได้แตกกระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยด้วยคลื่นลมและแสงอาทิตย์ บางชิ้นมีขนาดเล็กเสียจนยากที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
รายงานจากปี 2015 ในจำนวนขยะ 6.9 พันล้านตันที่ถูกผลิตขึ้น มีเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล และ 12% ที่ถูกเผาทำลาย และในจำนวนนี้มีขยะมากถึง 40% ที่ถูกใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง
ขอบคุณภาพจาก Rich Carey
“ไมโครพลาสติก” คือชื่อเรียกของเศษพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และทุกวันนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ก้นมหาสมุทร ไปถึงน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในขั้วโลกเหนือ เรื่องราวของไมโครพลาสติกเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ในตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าเหตุใดพวกเขาจึงไม่พบขยะพลาสติกในทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารจาก 2.1 ล้านตันในปี 1950 เป็น 147 ล้านตันในปี 1993 ข้อมูลจากรายงานวิจัยในปี 2004 โดยริชาร์ด ทอมป์สัน นักนิเวศวิทยาทางทะเลเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่าแท้จริงแล้วขยะพลาสติกไม่ได้หายไปไหน หากแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยปริมาณมหาศาลเกินกว่าที่จะคำนวณได้ มากแค่ไหน? ในการศึกษาแอมฟิพอดชนิดหนึ่งที่พบทั่วไปตามชายฝั่งของยุโรปพบว่า พวกมันกิดกินขยะถุงพลาสติก โดยถุงพลาสติก 1 ใบสามารถถูกแทะกินจนกลายเป็นเศษพลาสติกได้มากถึง 1.75 ล้านชิ้น
เศษเล็กจิ๋วของขยะพลาสติกเหล่านี้ก่อปัญหามากกว่าขนาดตัวมันหลายเท่า เพราะไมโครพลาสติกกำลังเดินทางไปทั่วโลกและปนเปื้อนไปทุกหนแห่ง ไม่ใช่แค่ในกระเพาะอาหารของสัตว์ทะเลที่เผลอกลืนกินขยะ ทว่ารายงานข่าวล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์แห่งกรุงเวียนนา ร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อมของออสเตรียพบไมโครพลาสติกเฉลี่ย 20 อนุภาคในอุจจาระทุกๆ 10 กรัมของผู้ที่เข้าร่วมงานวิจัย และหากคุณกำลังคิดว่าถ้าหลีกเลี่ยงการทานอาหารทะเลก็จะรอดพ้น อันที่จริงในเดือนเดียวกันมหาวิทยาลัยอินซอนในเกาหลีใต้เผยว่า แม้แต่ในเกลือทะเล เกลือทะเลสาบ และเกลือหินก็พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนเช่นกัน ตอกย้ำว่าปัญหาขยะพลาสติกกำลังเป็นวิกฤตที่รุนแรงไม่น้อยไปกว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทั้งยังไม่สามารถหนีพ้นได้
“สหประชาชาติรายงานว่าปัจจุบันทุกๆ ตารางไมล์ของมหาสมุทรเต็มไปด้วยขยะเฉลี่ย 46,000 ชิ้น”
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานถึงอันตรายจากการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในอาหารที่ชัดเจน ทว่ากระบวนการผลิตพลาสติกที่ต้องใช้สารเคมีหลายชนิดสร้างความกังวลต่อนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย และในการทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการเผยให้เห็นว่าสารเคมีจากไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในร่างกายเข้าไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมน ส่วนในมนุษย์ยังคงต้องหาคำตอบกันต่อไป ข่าวดีก็คือส่วนใหญ่แล้วขยะพลาสติกจิ๋วเหล่านี้สะสมในกระเพาะอาหารและลำไส้ของสัตว์ทะเล ไม่ใช่ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ผู้คนกินกัน ทว่าไม่จำเป็นต้องรอให้งานวิจัยมาบอกว่าพลาสติกกำลังทำลายสุขภาพเราอย่างไร ที่ผ่านมาผลกระทบจากขยะพลาสติกปรากฏชัดเจนในทุกระบบ และมากพอแล้วที่เราต้องร่วมมือกันทำอะไรสักอย่าง
อุปกรณ์ประมงคือหนึ่งในขยะที่หลุดลอยสู่ทะเล และคร่าชีวิตบรรดาสัตว์น้ำเมื่อพวกมันว่ายเข้าไปติด รายงานล่าสุดที่วิจัยแพขยะแห่งแปซิฟิกพบว่า ในขยะปริมาณ 79,000 เมตริกตันของแพแห่งนี้ ส่วนใหญ่ของขยะแล้วเป็นอุปกรณ์ประมงทั้งสิ้น ไม่ใช่ขวดพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์หีบห่อแบบที่เรามักคุ้นชินจากภาพข่าว
ภาพถ่ายโดย Jordi Chias
เราจะชดเชยให้คิงออร์มได้อย่างไร?
ในภาพยนตร์ Aquaman มีฉากหนึ่งที่คิงออร์มส่งสัญญาณเตือนไปยังมนุษยชาติด้วยการสร้างคลื่นขนาดมหึมาพัดพาเอาขยะในทะเลกลับขึ้นไปบนชายฝั่ง หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงอาจมีขยะมากถึง 5.25 ล้านล้านชิ้นตีกลับขึ้นมาบนบก ตัวเลขดังกล่าวคือการคาดการณ์เท่านั้น เมื่อจำนวนจริงมากมายมหาศาลจนไม่อาจใช้เครื่องมือใดนับได้ และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภายในปี 2050 นี้ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มหาสมุทรจะมีขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาเสียอีก
ถ้าเช่นนั้นเราควรทำอะไรบ้าง? สิ่งสำคัญในการลดปัญหาขยะนอกเหนือจากการเก็บแล้ว คือความพยายามไม่สร้างขยะเพิ่ม และเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลในหลายประเทศจำเป็นต้องกระตุ้นให้ประชาชนจัดการขยะด้วยวิธีรีไซเคิล หลายประเทศในยุโรปนอกเหนือจากการออกกฎหมายแบนการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง พวกเขามีตู้รับขยะพลาสติกไปรีไซเคิล โดยประชาชนจะได้เงินคืนกลับมาในฐานะผู้ช่วยลดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีหลายประเทศในทวีปแอฟริกาที่ออกกฎหมายควบคุมปริมาณการใช้ถุงพลาสติกไม่ใช้มากเกินที่กำหนด เช่น เคนยา, แอฟริกาใต้ และรวันดา
“แพขยะแห่งแปซิฟิก คือชื่อของวงขยะขนาดยักษ์ที่ลอยตัวอยู่ ณ ผิวมหาสมุทรบนพื้นที่ระหว่างฮาวายและรัฐแคลิฟอร์เนีย มันมีขนาดใหญ่กว่ารัฐเท็กซัส และถูกตั้งให้เป็นประเทศสมมุติที่มีชื่อว่า ‘Trash Isles’ มีพลเมืองอย่างเป็นทางการแล้วหนึ่งคนคือ อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้ขับเคลื่อนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม”
นอกเหนือจากการรีไซเคิลวัสดุพลาสติกแล้ว อีกหนึ่งข้อสำคัญที่คนทั่วไปทำได้คือพยายามใช้พลาสติกให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ค่าเฉลี่ยระบุว่าถุงพลาสติกใบหนึ่งถูกใช้งานเพียงแค่ 12 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้นถุงดังกล่าวกลายไปเป็นขยะ และคงลงเอยในท้องของวาฬสักตัว ในจำนวนขยะพลาสติกทั้งหมดที่ลอยเคว้งคว้างในมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากว่าครึ่งล้วนเป็นขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถุงพลาสติก, หลอด, ขวดน้ำ, ช้อน, ส้อม และอื่นๆ อีกมากมาย เหล่านี้คือความสะดวกสบายที่กลายมาเป็นนิสัย แต่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อโลกของเรา ในหลายประเทศมีกลไกกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่นเดนมาร์กที่กำหนดภาษีถุงพลาสติกเป็นประเทศแรกมาตั้งแต่ปี 1993 ปัจจุบันชาวเดนมาร์กใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยเพียง 4 ใบต่อปีเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกาค่าเฉลี่ยการใช้ถุงพลาสติกตกอยู่ที่ครอบครัวละ 1,500 ใบต่อปี ส่วนในไทยตัวเลขเฉลี่ยรายบุคคลยังไม่แน่ชัด แต่ที่แน่ๆ ประเทศเราคือผู้ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะลมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก อันดับหนึ่งคือจีนตามมาด้วยอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม รายงานจาก Ocean Conservancy เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา
(ดูรายงานจาก Ocean Conservancy ได้ ที่นี่)
ซากวาฬเกยตื้นที่สร้างจากขยะพลาสติกชิ้นนี้ คือผลงานศิลปะของกรีนพีชในฟิลิปปินส์ ที่ต้องการสร้างความตระหนักถึงวิกฤตขยะพลาสติก
ขอบคุณภาพจาก https://www.onegreenplanet.org/news/whale-filled-with-plastic-trash/
NGTHAI