ด้วยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 หนังสือพิมพ์ Myanmar Times รายงานข่าวเรื่องกฎระเบียบใหม่เพื่อให้สินค้านำเข้าต้องมีป้ายภาษาเมียนมา โดยกรมกิจการผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ เมียนมา จะออกกฎระเบียบใหม่ภายใน 1 เดือน เพื่อให้สินค้านำเข้าต้องมีป้าย (label) และคู่มือ (instruction manual) ภาษาเมียนมา ภายใน 5 เดือน มิเช่นนั้น สินค้าอาจถูกถอนออกจากตลาดเมียนมา
นาย Myint Lwin อธิบดีกรมกิจการผู้บริโภคฯ แถลงข่าวว่า พร้อมออกกฎระเบียบ อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่ต้องหารือ และเมื่อกฎระเบียบใหม่ออกแล้ว จะมีผลบังคับใช้ภายใน 5 เดือน ในเวลา 5 เดือนgrace period นั้น ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องประสานงานกับผู้จำหน่ายสินค้า (supplier) เรื่องการนำกฎระเบียบไปสู่การปฏิบัติ
กฎระเบียบใหม่สอดคล้องกับกฎหมายป้องกันผู้บริโภคปี 2557 โดยการมีภาษาเมียนมาในสินค้านำเข้าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบเกี่ยวกับอาการแพ้ยาและผลข้างเคียงอื่น ๆ
ในระยะแรก กระทรวงพาณิชย์ เมียนมา จะอนุญาตให้สินค้านำแสดงข้อมูลวิธีใช้ (instructions) ในรูปแบบ sticker อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นป้ายที่พรินต์ลงบนสินค้า (printed Label)
หากผู้นำเข้าสินค้าไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ได้ภายใน 5 เดือน กรมกิจการผู้บริโภคจะมีมาตรการ อาทิ การถอนใบอนุญาตนำเข้าสินค้า การปรับลดเวลาจำหน่ายสินค้า หรือการถอนสินค้าออกจากตลาด นอกจากนี้ บริษัทจะต้องจ่ายค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าส่งผลกระทบต่อลูกค้า (pay compensation if their products harm anyone)
เครดิตที่มาของข่าว
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง
http://globthailand.com/myanmar_0031/
เมียนมาเตรียมออกกฎใหม่ บังคับสินค้านำเข้าต้องมีภาษาท้องถิ่น
นาย Myint Lwin อธิบดีกรมกิจการผู้บริโภคฯ แถลงข่าวว่า พร้อมออกกฎระเบียบ อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่ต้องหารือ และเมื่อกฎระเบียบใหม่ออกแล้ว จะมีผลบังคับใช้ภายใน 5 เดือน ในเวลา 5 เดือนgrace period นั้น ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องประสานงานกับผู้จำหน่ายสินค้า (supplier) เรื่องการนำกฎระเบียบไปสู่การปฏิบัติ
กฎระเบียบใหม่สอดคล้องกับกฎหมายป้องกันผู้บริโภคปี 2557 โดยการมีภาษาเมียนมาในสินค้านำเข้าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบเกี่ยวกับอาการแพ้ยาและผลข้างเคียงอื่น ๆ
ในระยะแรก กระทรวงพาณิชย์ เมียนมา จะอนุญาตให้สินค้านำแสดงข้อมูลวิธีใช้ (instructions) ในรูปแบบ sticker อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นป้ายที่พรินต์ลงบนสินค้า (printed Label)
หากผู้นำเข้าสินค้าไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ได้ภายใน 5 เดือน กรมกิจการผู้บริโภคจะมีมาตรการ อาทิ การถอนใบอนุญาตนำเข้าสินค้า การปรับลดเวลาจำหน่ายสินค้า หรือการถอนสินค้าออกจากตลาด นอกจากนี้ บริษัทจะต้องจ่ายค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าส่งผลกระทบต่อลูกค้า (pay compensation if their products harm anyone)
เครดิตที่มาของข่าว
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง
http://globthailand.com/myanmar_0031/