ในปี 2006 ที่สวนสัตว์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มังกรโคโมโดเพศเมียตัวหนึ่งชื่อ Sungai ออกไข่มา 22 ฟองซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกที่สัตว์เพศเมียจะวางไข่โดยไม่ได้รับการผสมจากเพศผู้ ทว่าไข่ 4 ฟองกลับฟักตัวออกมา ลูกมังกรทั้งสี่นั้นเป็นเพศผู้ทั้งหมด เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้กับเจ้าหน้าสวนสัตว์อย่างมากเพราะ Sungai เป็นโคโมโดเพียงตัวเดียวในสวนสัตว์ มันอยู่ที่สวนสัตว์ลอนดอนมากว่าสองปีครึ่งโดยไม่ได้เจอโคโมโดตัวอื่นเลย แม้ว่าสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดจะสามารถเก็บสเปิร์มของเพศผู้ไว้ได้หลายปีหลังผสมพันธุ์ แต่ลูกๆของ Sungai กลับมีพันธุกรรมที่เหมือนแม่แบบเป๊ะๆ
ในปีเดียวกันนี้เองมังกรโคโมโดเพศเมียอีกตัวหนึ่งชื่อ Flora ที่สวนสัตว์เชสเตอร์ก็วางไข่ออกมา 11 ฟองโดยไม่ได้รับการผสมเช่นกัน และ 8 ฟองในนั้นก็มีการพัฒนาแล้วฟักออกมาเป็นตัวผู้ จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่ามังกรโคโมโดเพศเมียสามารถสืบพันธุ์ได้โดยไม่ต้องรับการผสมจากเพศผู้ หรือที่เรียกกันว่า Parthenogenesis
Flora แม่มังกรจากสวนสัตว์เชสเตอร์ ไม่เคยเจอตัวผู้ แต่มีลูกชายถึงแปดตัว
Parthenogenesis: การตั้งครรภ์บริสุทธิ์
การที่สัตว์จะมีลูกหลานสืบทอดพันธุ์นั้น เราจะคุ้นเคยกันดีว่าจะต้องมีเพศผู้และเมียมาเล่นกิจกรรมเข้าจังหวะกัน ก่อนที่เพศเมียจะตั้งท้องและให้กำเนิดลูกในเวลาต่อมา เรารู้จักกันในชื่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproductive) แต่ถ้าสัตว์ชนิดนั้นมีแต่เพศเมียล่ะ หากไม่มีเพศผู้อยู่หรือมีสัตว์เพศเมียเพียงตัวเดียวอยู่บนเกาะอันห่างไกล สัตว์ชนิดนั้นจะไร้ทายาทและสูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิงหรือไม่ ในบางสายพันธุ์ก็ไม่
สัตว์เพศเมียบางชนิดมีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproductive) โดยการพัฒนาเอมบริโอหรือตัวอ่อนขึ้นมาจากเซลล์ไข่ที่ไม่ได้ปฏิสนธิ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า Parthenogenesis
Parthenogenesis มีที่มาจากศัพท์ในภาษากรีกสองคำ คือ “parthenos” ที่แปลว่าพรหมจรรย์ และ “genesis” ที่แปลว่าการกำเนิดหรือการสร้างสรรค์ (Parthenon ยังเป็นชื่อวิหารประจำตัวของเทพีอธีนาของกรีก เทพีแห่งสติปัญญา การศึกและเป็นเทพีพรหมจรรย์อีกด้วย)
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้พบได้บ่อยในสัตว์จำพวกแมลง เช่น เพลี้ยอ่อน ตั๊กแตนกิ่งไม้ ผึ้งบางชนิด แมลงสาบ! แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังเองก็สามารถพบได้ใน ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน แม้กระทั้งในนก (ไก่งวง) ในสัตว์ปกติจะได้รับโครโมโซมมาจากพ่อและอย่างละครึ่ง แต่ในสัตว์ที่เกิดจาก parthenogenesis นี้จะได้รับโครโมโซมจากแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจมีจำนวนโครโมโซมเท่ากับของแม่ (full clone) หรือครึ่งหนึ่งของแม่ (half clone)
ปลาฉนากก็สามารถให้กำเนิดลูกได้โดยไมาต้องผสมพันธุ์
ปรากฏการณ์นี้พบได้ไม่บ่อยในสัตว์ชั้นสูง มีรายงานว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังประมาณ 70 ชนิดสามารถให้กำเนิดลูกด้วยวิธี parthenogenesis ได้ แต่จะทำก็ต่อเมื่อขาดแคลนเพศตรงข้ามอย่างรุนแรง เพื่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์เพศเมียจึงจำเป็นต้องสืบพันธุ์โดยไม่พึ่งเพศผู้
ในกรณีของมังกรโคโมโดนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะประชากรของมังกรโคโมโดนั้นมีจำนวนลดน้อยลงมาก ประมาณกันว่ามีเพียงสามพันกว่าตัวในธรรมชาติ หากบนเกาะใดเกาะหนึ่งมีเพศเมียเพียงตัวเดียว ลูกที่ออกมาเป็นเพศผู้ทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์เพราะโครโมโซมที่กำหนดเพศของโคโมโดนั้นคือ WZ ในเพศเมียมีทั้ง W และ Z ขณะที่เพศผู้มีเพียง ZZ แม่มังกรจึงสามารถวางไข่ให้เป็นทั้งเพศผู้และเพศเมีย เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ไม่มีเพศผู้จากภายนอกเพิ่มเข้ามา ตัวแม่ก็จะผสมพันธุ์กับลูกๆเพศผู้ที่มันให้กำเนิดและสืบทายาทต่อๆไป
ลูกมังกรที่เกิดจากครรภ์บริสุทธิ์กำลังฟักออกจากไข่
ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติมครับ
https://www.scientificamerican.com/article/strange-but-true-komodo-d/
https://www.nature.com/articles/4441021a
https://www.britannica.com/science/parthenogenesis
https://www.livescience.com/9460-female-komodo-dragon-virgin-births.html
http://www.bbc.com/earth/story/20151216-virgin-births-are-happening-everywhere?fbclid=IwAR12VOQ8B6zI_gUHMl71wM1FfxGcU5pThGxsV9T50g0NEQv7ekmamp6Q6hY
หาผู้ไม่ได้เหรอ ก็ท้องเองซะสิ: Parthenogenesis การตั้งครรภ์แบบเวอร์จิ้น
ในปีเดียวกันนี้เองมังกรโคโมโดเพศเมียอีกตัวหนึ่งชื่อ Flora ที่สวนสัตว์เชสเตอร์ก็วางไข่ออกมา 11 ฟองโดยไม่ได้รับการผสมเช่นกัน และ 8 ฟองในนั้นก็มีการพัฒนาแล้วฟักออกมาเป็นตัวผู้ จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่ามังกรโคโมโดเพศเมียสามารถสืบพันธุ์ได้โดยไม่ต้องรับการผสมจากเพศผู้ หรือที่เรียกกันว่า Parthenogenesis
Flora แม่มังกรจากสวนสัตว์เชสเตอร์ ไม่เคยเจอตัวผู้ แต่มีลูกชายถึงแปดตัว
Parthenogenesis: การตั้งครรภ์บริสุทธิ์
การที่สัตว์จะมีลูกหลานสืบทอดพันธุ์นั้น เราจะคุ้นเคยกันดีว่าจะต้องมีเพศผู้และเมียมาเล่นกิจกรรมเข้าจังหวะกัน ก่อนที่เพศเมียจะตั้งท้องและให้กำเนิดลูกในเวลาต่อมา เรารู้จักกันในชื่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproductive) แต่ถ้าสัตว์ชนิดนั้นมีแต่เพศเมียล่ะ หากไม่มีเพศผู้อยู่หรือมีสัตว์เพศเมียเพียงตัวเดียวอยู่บนเกาะอันห่างไกล สัตว์ชนิดนั้นจะไร้ทายาทและสูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิงหรือไม่ ในบางสายพันธุ์ก็ไม่
สัตว์เพศเมียบางชนิดมีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproductive) โดยการพัฒนาเอมบริโอหรือตัวอ่อนขึ้นมาจากเซลล์ไข่ที่ไม่ได้ปฏิสนธิ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า Parthenogenesis
Parthenogenesis มีที่มาจากศัพท์ในภาษากรีกสองคำ คือ “parthenos” ที่แปลว่าพรหมจรรย์ และ “genesis” ที่แปลว่าการกำเนิดหรือการสร้างสรรค์ (Parthenon ยังเป็นชื่อวิหารประจำตัวของเทพีอธีนาของกรีก เทพีแห่งสติปัญญา การศึกและเป็นเทพีพรหมจรรย์อีกด้วย)
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้พบได้บ่อยในสัตว์จำพวกแมลง เช่น เพลี้ยอ่อน ตั๊กแตนกิ่งไม้ ผึ้งบางชนิด แมลงสาบ! แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังเองก็สามารถพบได้ใน ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน แม้กระทั้งในนก (ไก่งวง) ในสัตว์ปกติจะได้รับโครโมโซมมาจากพ่อและอย่างละครึ่ง แต่ในสัตว์ที่เกิดจาก parthenogenesis นี้จะได้รับโครโมโซมจากแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจมีจำนวนโครโมโซมเท่ากับของแม่ (full clone) หรือครึ่งหนึ่งของแม่ (half clone)
ปลาฉนากก็สามารถให้กำเนิดลูกได้โดยไมาต้องผสมพันธุ์
ปรากฏการณ์นี้พบได้ไม่บ่อยในสัตว์ชั้นสูง มีรายงานว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังประมาณ 70 ชนิดสามารถให้กำเนิดลูกด้วยวิธี parthenogenesis ได้ แต่จะทำก็ต่อเมื่อขาดแคลนเพศตรงข้ามอย่างรุนแรง เพื่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์เพศเมียจึงจำเป็นต้องสืบพันธุ์โดยไม่พึ่งเพศผู้
ในกรณีของมังกรโคโมโดนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะประชากรของมังกรโคโมโดนั้นมีจำนวนลดน้อยลงมาก ประมาณกันว่ามีเพียงสามพันกว่าตัวในธรรมชาติ หากบนเกาะใดเกาะหนึ่งมีเพศเมียเพียงตัวเดียว ลูกที่ออกมาเป็นเพศผู้ทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์เพราะโครโมโซมที่กำหนดเพศของโคโมโดนั้นคือ WZ ในเพศเมียมีทั้ง W และ Z ขณะที่เพศผู้มีเพียง ZZ แม่มังกรจึงสามารถวางไข่ให้เป็นทั้งเพศผู้และเพศเมีย เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ไม่มีเพศผู้จากภายนอกเพิ่มเข้ามา ตัวแม่ก็จะผสมพันธุ์กับลูกๆเพศผู้ที่มันให้กำเนิดและสืบทายาทต่อๆไป
ลูกมังกรที่เกิดจากครรภ์บริสุทธิ์กำลังฟักออกจากไข่
ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติมครับ
https://www.scientificamerican.com/article/strange-but-true-komodo-d/
https://www.nature.com/articles/4441021a
https://www.britannica.com/science/parthenogenesis
https://www.livescience.com/9460-female-komodo-dragon-virgin-births.html
http://www.bbc.com/earth/story/20151216-virgin-births-are-happening-everywhere?fbclid=IwAR12VOQ8B6zI_gUHMl71wM1FfxGcU5pThGxsV9T50g0NEQv7ekmamp6Q6hY