สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นกับมนุษย์เกือบทุกคนครับ ทางจิตวิทยามีชื่อเรียกเฉพาะเลย
คนได้เรียนจิตวิทยา 101 โดยทฤษฎีของ Sigmund Freud (บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์) จะเคยผ่านตา
https://www.google.co.th/search?q=Sigmund+Freud+กลไกการป้องกันตนเอง+defense+mechanism
https://semsikkha.org/tha/tips/600-defense-mechanism
เกร็ดความรู้
กลไกการป้องกันตัวเอง
ที่มา : http://www.novabizz.com/
กลไกการป้องกันตัวเอง ( Defense Mechanism) ไม่ใช่ความผิดปกติ เพราะ เป็นการปรับตัวของ Ego ( 1 ในโครงสร้างทางจิตใจ มีหน้าที่จัดการ ประนีประนอมแรงผลักดัน ความต้องการต่างๆ กับ ระเบียบ ความถูก-ผิด ข้อจำกัดจากสภาพข้อเท็จจริงภายนอก) เพื่อให้จิตใจกลับสู่ภาวะสมดุล
แต่ ถ้าใช้กลไกทางจิตแบบเดิมๆอยู่เสมอ วนเวียนจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ไม่มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ หรือไม่เหมาะสมตามวัย ก็มักจะก่อให้เกิดปัญหา หรือจิตพยาธิสภาพตามมาได้ค่ะ
ถึงเวลามารู้จักกลไกการป้องกันตัวเองกันแล้วนะคะ ว่ามีกี่แบบ อะไรบ้าง…พิมพ์นิยมของกลไกการป้องกันตัวเองมีดังนี้ค่ะ
1. กลไกการป้องกันตัวเองที่มีวุฒิภาวะ ( Mature Defenses ) เป็นระดับสูงที่สุด ถือว่าถ้าใช้กลไกกลุ่มนี้แล้วจะนำไปสู่การปรับตัว และมีสุขภาพจิตดี ซึ่งตามความเป็นจริงกลไกเหล่านี้ ก็มีส่วนเปลี่ยนแปลง หรือบิดเบือน ความรู้สึกอยู่บ้างเหมือนกัน แต่เมื่อใช้แล้วผลที่ได้มัก ก่อให้เกิดศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจแห่งตน ก็เลยหยวนๆว่า เป็นกลไกการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดในทั้งหมด มีอยู่ 9 อย่าง แต่จะยกมาเป็นน้ำจิ้มแค่ 3 คือ
ก. การทดเทิด ( Sublimation ) หมายถึง เปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันให้เป็นรูปแบบที่สังคมยอมรับ เช่น นายดำชอบความรุนแรง ก้าวร้าวเลยไปเรียนชกมวย หรือกระเทยมักมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่โดดเด่น เพราะรู้สึกว่าไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคม
ข. การกดระงับ ( Suppression ) หมายถึง จัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยการใช้วิธีเก็บปัญหาเอาไว้ก่อน ฝากไว้ในระดับจิตสำนึก เช่น กังวลใจหลังสอบ เพราะรู้สึกว่าทำไม่ได้ แต่บอกกับตัวเองว่าถึงกังวลไปก็ทำอะไรไม่ได้ รอผลสอบออกมาแล้วค่อยมาว่ากันอีกที
ค. อารมณ์ขัน ( Humor ) หมายถึง การใช้อารมณ์ขันเพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดออกมา โดยที่ตนก็ไม่รู้สึกอึดอัด และเป็นผลดีต่อผู้อื่น บางครั้งความตลกขบขันก็ช่วยผ่อนคลายสถานการณ์และทนต่อสภาพที่น่าหวาดกลัวได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างก็เช่นพี่ฑูร อัยการชาวเกาะผู้น่ารัก หรือพี่ตึ๋งจอมป่วนของเราไงคะ
ที่เหลือก็มี การคาดการณ์ ( Anticipation ) , การเห็นประโยชน์ผู้อื่น ( Altruism ) , การยืนหยัดด้วยตัวเอง ( Self - Assertion ) , การบำเพ็ญตบะ ( Ascetism ) , การเป็นสมาชิก ( Affilliation ) , และ การสังเกตตัวเอง ( Self - Observation )
2. กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคประสาท ( Neurotic Defenses ) เป็นกลไกทางจิตที่ปรับตัวไม่ดีเท่ากลุ่มแรกและมักทำให้เกิดความไม่สบายใจบางอย่าง โดยเฉพาะอาการของโรคประสาท มีอยู่ 14 ชนิด ยกมาเสริฟแค่ 3 พอค่ะ
ก. การเก็บกด ( Repression ) หมายถึง เก็บกดความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการที่ตนเองยอมรับไม่ได้ไว้ในระดับจิตไร้สำนึก ผลของการเก็บกดคือ “ลืม” เช่น ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเคยถูกข่มขืนตอนอยู่ชั้นประถมฯ จนกระทั่งได้อ่านไดอารี่ของแม่
ข. การเคลื่อนย้าย ( Displacement ) หมายถึง การเปลี่ยนเป้าหมายที่ีตนเองเกิดความรู้สึกไปยังที่อื่น ซึ่งมีผลเสียน้อยกว่า เช่น ถูกหัวหน้าตำหนิรู้สึกโกรธแต่ทำอะไรไม่ได้ กลับมาฉุนเฉียวกับคนที่บ้าน
ค. การใช้เชาวน์ปัญญา ( Intellectualization ) หมายถึง หันเหความสนใจไปสู่การใช้ความคิด ปรัชญาต่างๆ เพื่อเลี่ยงการเผชิญกับสิ่งที่ไม่สบายใจ เช่น ศูนย์หน้าทีมฟุตบอลที่แพ้ หลีกเลี่ยงความรู้สึกว่าตนเองแย่ โดยการหันมาสนใจรายละเอียดเรื่องการวางแผนและขั้นตอนที่บกพร่อง กลไกอันนี้ความจริงเป็นสิ่งดี แต่มีทางแพร่งที่อาจทำให้เป๋ค่อนข้างเยอะเลยถูกจัดให้เป็นกลุ่มรองลงมา ไม่ใช่ดี 1 ประเภท 1 55555555555
ที่เหลือก็เช่น การกระทำที่ตรงกันข้าม ( Reaction - Formation ) , การปลดเปลื้อง ( Undoing ) , การกำหนดรู้ภายนอก ( Externalization ) , การยับยั้งจุดหมาย ( Aim Inhibition ) , การแตกแยก ( Dissociation ) , การแยกอารมณ์ ( Isolation of Affect ) , การควบคุม ( Controlling ) , การให้ความสำคัญทางเพศ ( Sexualization ) การแปรเปลี่ยน ( Conversion ) , การเลียนแบบ ( Identification ) และ การทำให้เป็นสัญลักษณ์ ( Symbolization )
3. กลไกป้องกันตนเองแบบไม่บรรลุวุฒิภาวะ ( Immature Defenses ) เป็นกลไกที่นำไปสู่ความไม่สบายใจอย่างรุนแรงและมักก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่นด้วยสิคะ มีประมาณ 19 ชนิด ยกมา 3 เหมือนกัน อิอิอิ
ก. การปฏิเสธ ( Denial ) หมายถึง หลีกเลี่ยงการรับรู้ความเป็นจริงที่ทนรับไม่ได้โดยปฏิเสธการรับรู้ เช่น แพทย์แจ้งว่าเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยไม่เชื่อและไม่สนใจในสิ่งที่แพทย์แนะนำ
ข. การโทษผู้อื่น ( Projection ) หมายถึง การโยนความรู้สึกหรือความต้องการที่ตนเองรับไม่ได้ให้เป็นของผู้อื่น เช่น ไม่ชอบหัวหน้างาน แต่เกิดความรู้สึกว่าหัวหน้างานกลั่นแกล้ง ไ่ม่ไว้ใจตนเอง หรือนักเลงสนุ้กเกอร์เล่นแพ้บอกว่าเป็นเพราะสักหลาดชื้นและฝืดเกินไปทำให้ลูกไม่วิ่ง
ค. การหาเหตุผลเข้าข้างตน ( Rationalization ) หมายถึง การหาสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลมาอธิบายความคิด หรือการกระทำของตนเองที่จิตใจยอมรับไม่ได้ บางครั้งก็เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนเอาไว้ไม่ให้เสียหน้าหรืออับอาย เช่น ผู้หญิงที่ไม่ยอมแต่งงาน บอกกับเพื่อนว่า อยู่คนเดียวสบายใจกว่า ชีวิตแต่งงานไม่เห็นมีความสุขอะไรเลย ^ ^ … กลไกการป้องกันตัวข้อนี้มีชื่อเล่นว่า”แถ” ค่ะ เพราะบางทีฟังแล้วข้างๆคูๆชอบกล
อย่างอื่นก็เช่น การทำให้คุณค่าลดลง ( Devaluation ) , ความยิ่งใหญ่ ( Omnipotence ) , เพ้อฝัน ( Fantasy ) , การแบ่งแยก ( Spiltting ) , การพุ่งเข้าหาตัวเอง ( Introjection ) , การถดถอย ( Regression ) , การบ่นว่าไม่มีใครยอมช่วยเหลือ ( Help - Prejecting Complaining หุหุหุ ) ฯลฯ
4. กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคจิต ( Psychotic Defenses ) หึหึหึ เป็นกลไกแบบต่ำสุด เมื่อใช้แล้วมักทำให้เกิดการปฏิเสธ และบิดเบือนความจริง มี 3 แบบ คือ การโทษผู้อื่นแบบหลงผิด ( Delusional Projection ), การปฏิเสธแบบโรคจิต ( Psychotic Denial ) และการบิดเบือนแบบโรคจิต ( Psychotic Distortion ) แต่ยกมาอธิบายเพียง 1 คือ….
การโทษผู้อื่นแบบหลงผิด ( Delusional Projection ) หมายถึง การใช้กลไกแบบโทษผู้อื่น อย่างรุนแรงจนเกิดการสูญเสียการทดสอบความจริง และมีอาการหลงผิดร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองเป็นบุคคลสำคัญยิ่งใหญ่จนมีคนลอบสังหาร และติดตามตัวเขาได้เนื่องจากมีผู้กระจายข่าวอยู่ในปาก …
ตัวอย่างการใช้กลไกการป้องกันตัวเองจนเป็นนิสัยและอาจเกิดปัญหา
Repression เก็บกด…ใช้บ่อยๆจะกลายเป็นคนขี้ลืม และไม่รู้จักการแก้ไขปัญหา
Fantasy เพ้อฝัน…ใช้บ่อยๆจะทำให้เป็นคนเฉื่อยชา ไม่ขวนขวาย
Rationalization …การอ้างเหตุผล (แถ) ถ้าใช้บ่อยๆจนชินมีโอกาสพัฒนาเป็น Projection (โทษผู้อื่น) ได้ง่ายดายมากค่ะ
Displacement …การเปลี่ยนเป้าหมายไปสู่สิ่งที่มีผลเสียน้อยกว่า กลไกชนิดนี้มักพบบ่อยในผู้ป่วย Phobic Neurosis( โรคประสาทกลัวที่รุนแรงเกินกว่าเหตุและไม่สมเหตุผล)
Projection… โทษผู้อื่น ใช้บ่อยๆจะก้าวร้าว ไม่รู้จักแก้ไขปัญหา ขาดความรับผิดชอบ สุกเอาเผากิน
จะเห็นว่ากลไกการป้องกันตัวเองมีทั้งด้านบวกและด้านลบ และบางครั้งก็ใช้ร่วมกันได้มากกว่า 1 แบบ / 1 สถานการณ์
ด้านบวก คือ…ทำให้จิตใจหายวิตกกังวล
ด้านลบ คือ…ส่วนใหญ่ ไม่ได้ช่วย แก้ไขปัญหา…แถมถ้าใช้บ่อยๆจนเป็นนิสัย จะกลายเป็นปัญหาอย่างมากตามมาได้
ดังนั้น รู้ทันมันนะคะ ถ้าสำรวจพบว่าใช้กลไกการป้องกันตัวเองที่ไม่ค่อยเหมาะสมบ่อยๆก็พยายามลด ละ เลิก เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาวค่ะ
กลไกการป้องกันตนเองทางจิตของมนุษย์ Defence mechanism
Defence mechanism คือกลไกการป้องกันตนเองทางจิตของมนุษย์ เป็นการหา ทางออกให้ กับจิตใจ เมื่อมนุษย์เผชิญสถานการณ์ที่เลวร้าย หรือเป็นข้อแก้ตัว ให้ตนเองเพื่อแก้ไข ความสับสนในจิตใจ หรือการต่อต้านความเจ็บปวดของจิต มีหลายลักษณะ ดังนี้
Repression คือ การเก็บกด (ระดับจิตไร้สำนึก) เป็นการลืมเรื่องที่กระทบ กระเทือนจิตใจที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเคยปัสสาวะราดในห้องเรียนตอนอยู่ชั้นประถมจนกระทั่งได้ รับการบอกเล่าจากแม่ ข้อดีของการเก็บกด คือ ทำให้ลืมความวิตกกังวลได้ แต่ข้อเสีย ทำให้ไม่รู้จักแก้ปัญหาและ ego จะอ่อนแอลงไม่อาจทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็น
Suppression คือ การเก็บกด (ระดับจิตสำนึก) หรือการลืมบางสิ่งบางอย่างโดยเจตนา ตัวอย่างเช่น กังวลใจหลังสอบแล้วพยายามลืมไปก่อน
Rationalization คือ การหาเหตุผลเข้าข้างตนเองเมื่อทำพฤติกรรมหรือมีความคิดอย่างใด อย่างหนึ่งที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอ้วนมาก แต่กินอาหารในงานเลี้ยง คืนสู่เหย้าเข้าไปมาก แล้วบอกว่า ของดีๆแบบนี้หากินที่อื่นไม่ได้ หรือนักเรียนหญิง ที่ไปขายตัวช่วยแฟนจ่ายพนันบอล อาจบอกตนเองว่า “ก็แค่นอนกับถุงยาง”
Sublimation คือ การทดแทนเปลี่ยนแรงผลักดันภายในจิตใจไปสู่การกระทำที่สังคมยอมรับ ตัวอย่างเช่น คนที่ก้าวร้าวจะเลือกอาชีพเป็นนักมวย หรือศัลยแพทย์
Projection คือ การโยนความรู้สึก ความคิด ความปรารถนาของตนที่ไม่เป็นที่ยอมรับให้กับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไม่ชอบเพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าเพื่อน ไม่ชอบ ไม่ไว้ใจตนเอง
Displacement คือ การแทนที่โดยเมื่อมีความรู้สึก นึกคิดที่ไม่เหมาะสม ego จะเปลี่ยนให้ไปยังสิ่งอื่นๆแทน ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่เกลียดพ่อที่ดื่มสุราจะกลายเป็นความรู้สึกเกลียดผู้ชายทุกคนที่ ดื่มสุรา
Identification คือ การเลียนแบบหรือการเอาอย่างซึ่งเกิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดมีความศรัทธาในคนใดคนหนึ่ง
Regression คือ การถดถอยไปสู่ระดับของบุคลิกภาพซึ่งมีพฤติกรรมแบบเด็กๆ เกิดเมื่อมีความขัดแย้งในจิตใจ เช่น เถียงสู้เพื่อนๆไม่ได้ เลยร้องไห้เหมือนเด็กๆ
Introjection คือ การนำเข้ามาสู่ตนเอง เป็นการลงโทษตัวเอง
Isolation คือ การแยกอารมณ์ออกจากความคิดและความปรารถนา
Reaction formation คือ การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริงโดยเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีความเป็น homosexual ในจิตไร้สำนึกจะแสดงอาการรังเกียจเกย์อย่างมาก
Substitution เกิดเมื่อต้องการสิ่งใดอย่างมากแต่ไม่สามารถมีได้ จึงใช้สิ่งอื่นมาทดแทนที่คล้ายคลึงกันในระดับจิตไร้สำนึก
Restitution เป็นการทดแทนโดยใช้สิ่งที่คล้ายกันมาแทน เช่น สุนัขตายไป จึงซื้อตัวใหม่
Resistance เป็นการที่จิตไร้สำนึกหลีกลี่ยงหรือต่อต้านกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยที่บุคคลนั้นไม่รับรู้โดยจิตสำนึก
Fantasy เป็นการสร้างเรื่องราวที่ไม่เป็นจริงขึ้นมาในใจเพื่อให้สมปรารถนา เป็นการหลบหนีจากโลกความเป็นจริงที่ไม่น่าอยู่
Symbolization ใช้สิ่งหนึ่งเป็นตัวแทนอีกสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่เป็นที่ยอมรับ ของสังคม สิ่งที่ทดแทนนี้เป็นสัญลักษณ์ที่รู้กันทั่วไป เช่น ศาลพระภูมิแทนพ่อ
Conversion คือการเปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกายเช่น ปวดหลัง ปวดท้อง เพื่อดึงความสนใจของจิตสำนึกไปสู่อาการทาง ร่างกายแทน
Compensation คือการทดแทนความไม่สมบูรณ์ในตนเองโดยการชดเชยด้วยสิ่งอื่นๆ
Denial คือการปฏิเสธความเป็นจริงที่ไม่สามารถยอมรับได้โดยง่าย
Undoing เป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับแรงขับที่ไม่ดีเพื่อลบล้างสิ่งเหล่านั้น เช่น ที่พบในอาการย้ำคิดย้ำทำ
Sigmund Freud (1856-1939) บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ได้กล่าวว่า มนุษย์มิได้เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ดังเช่นที่พวกเขาเชื่อหรืออยากเป็น หากแต่ความคิดของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังแห่งจิตไร้สำนึกที่ซ่อนเร้น และหลุดรอดจากความเข้าใจของมนุษย์ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย". ฟรอยด์พบว่าการกระทำ, ความคิด, ความเชื่อ, หรือเรื่องเกี่ยวกับตัวตนนั้น ถ
คนได้เรียนจิตวิทยา 101 โดยทฤษฎีของ Sigmund Freud (บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์) จะเคยผ่านตา
https://www.google.co.th/search?q=Sigmund+Freud+กลไกการป้องกันตนเอง+defense+mechanism
https://semsikkha.org/tha/tips/600-defense-mechanism
เกร็ดความรู้
กลไกการป้องกันตัวเอง
ที่มา : http://www.novabizz.com/
กลไกการป้องกันตัวเอง ( Defense Mechanism) ไม่ใช่ความผิดปกติ เพราะ เป็นการปรับตัวของ Ego ( 1 ในโครงสร้างทางจิตใจ มีหน้าที่จัดการ ประนีประนอมแรงผลักดัน ความต้องการต่างๆ กับ ระเบียบ ความถูก-ผิด ข้อจำกัดจากสภาพข้อเท็จจริงภายนอก) เพื่อให้จิตใจกลับสู่ภาวะสมดุล
แต่ ถ้าใช้กลไกทางจิตแบบเดิมๆอยู่เสมอ วนเวียนจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ไม่มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ หรือไม่เหมาะสมตามวัย ก็มักจะก่อให้เกิดปัญหา หรือจิตพยาธิสภาพตามมาได้ค่ะ
ถึงเวลามารู้จักกลไกการป้องกันตัวเองกันแล้วนะคะ ว่ามีกี่แบบ อะไรบ้าง…พิมพ์นิยมของกลไกการป้องกันตัวเองมีดังนี้ค่ะ
1. กลไกการป้องกันตัวเองที่มีวุฒิภาวะ ( Mature Defenses ) เป็นระดับสูงที่สุด ถือว่าถ้าใช้กลไกกลุ่มนี้แล้วจะนำไปสู่การปรับตัว และมีสุขภาพจิตดี ซึ่งตามความเป็นจริงกลไกเหล่านี้ ก็มีส่วนเปลี่ยนแปลง หรือบิดเบือน ความรู้สึกอยู่บ้างเหมือนกัน แต่เมื่อใช้แล้วผลที่ได้มัก ก่อให้เกิดศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจแห่งตน ก็เลยหยวนๆว่า เป็นกลไกการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดในทั้งหมด มีอยู่ 9 อย่าง แต่จะยกมาเป็นน้ำจิ้มแค่ 3 คือ
ก. การทดเทิด ( Sublimation ) หมายถึง เปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันให้เป็นรูปแบบที่สังคมยอมรับ เช่น นายดำชอบความรุนแรง ก้าวร้าวเลยไปเรียนชกมวย หรือกระเทยมักมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่โดดเด่น เพราะรู้สึกว่าไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคม
ข. การกดระงับ ( Suppression ) หมายถึง จัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยการใช้วิธีเก็บปัญหาเอาไว้ก่อน ฝากไว้ในระดับจิตสำนึก เช่น กังวลใจหลังสอบ เพราะรู้สึกว่าทำไม่ได้ แต่บอกกับตัวเองว่าถึงกังวลไปก็ทำอะไรไม่ได้ รอผลสอบออกมาแล้วค่อยมาว่ากันอีกที
ค. อารมณ์ขัน ( Humor ) หมายถึง การใช้อารมณ์ขันเพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดออกมา โดยที่ตนก็ไม่รู้สึกอึดอัด และเป็นผลดีต่อผู้อื่น บางครั้งความตลกขบขันก็ช่วยผ่อนคลายสถานการณ์และทนต่อสภาพที่น่าหวาดกลัวได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างก็เช่นพี่ฑูร อัยการชาวเกาะผู้น่ารัก หรือพี่ตึ๋งจอมป่วนของเราไงคะ
ที่เหลือก็มี การคาดการณ์ ( Anticipation ) , การเห็นประโยชน์ผู้อื่น ( Altruism ) , การยืนหยัดด้วยตัวเอง ( Self - Assertion ) , การบำเพ็ญตบะ ( Ascetism ) , การเป็นสมาชิก ( Affilliation ) , และ การสังเกตตัวเอง ( Self - Observation )
2. กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคประสาท ( Neurotic Defenses ) เป็นกลไกทางจิตที่ปรับตัวไม่ดีเท่ากลุ่มแรกและมักทำให้เกิดความไม่สบายใจบางอย่าง โดยเฉพาะอาการของโรคประสาท มีอยู่ 14 ชนิด ยกมาเสริฟแค่ 3 พอค่ะ
ก. การเก็บกด ( Repression ) หมายถึง เก็บกดความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการที่ตนเองยอมรับไม่ได้ไว้ในระดับจิตไร้สำนึก ผลของการเก็บกดคือ “ลืม” เช่น ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเคยถูกข่มขืนตอนอยู่ชั้นประถมฯ จนกระทั่งได้อ่านไดอารี่ของแม่
ข. การเคลื่อนย้าย ( Displacement ) หมายถึง การเปลี่ยนเป้าหมายที่ีตนเองเกิดความรู้สึกไปยังที่อื่น ซึ่งมีผลเสียน้อยกว่า เช่น ถูกหัวหน้าตำหนิรู้สึกโกรธแต่ทำอะไรไม่ได้ กลับมาฉุนเฉียวกับคนที่บ้าน
ค. การใช้เชาวน์ปัญญา ( Intellectualization ) หมายถึง หันเหความสนใจไปสู่การใช้ความคิด ปรัชญาต่างๆ เพื่อเลี่ยงการเผชิญกับสิ่งที่ไม่สบายใจ เช่น ศูนย์หน้าทีมฟุตบอลที่แพ้ หลีกเลี่ยงความรู้สึกว่าตนเองแย่ โดยการหันมาสนใจรายละเอียดเรื่องการวางแผนและขั้นตอนที่บกพร่อง กลไกอันนี้ความจริงเป็นสิ่งดี แต่มีทางแพร่งที่อาจทำให้เป๋ค่อนข้างเยอะเลยถูกจัดให้เป็นกลุ่มรองลงมา ไม่ใช่ดี 1 ประเภท 1 55555555555
ที่เหลือก็เช่น การกระทำที่ตรงกันข้าม ( Reaction - Formation ) , การปลดเปลื้อง ( Undoing ) , การกำหนดรู้ภายนอก ( Externalization ) , การยับยั้งจุดหมาย ( Aim Inhibition ) , การแตกแยก ( Dissociation ) , การแยกอารมณ์ ( Isolation of Affect ) , การควบคุม ( Controlling ) , การให้ความสำคัญทางเพศ ( Sexualization ) การแปรเปลี่ยน ( Conversion ) , การเลียนแบบ ( Identification ) และ การทำให้เป็นสัญลักษณ์ ( Symbolization )
3. กลไกป้องกันตนเองแบบไม่บรรลุวุฒิภาวะ ( Immature Defenses ) เป็นกลไกที่นำไปสู่ความไม่สบายใจอย่างรุนแรงและมักก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่นด้วยสิคะ มีประมาณ 19 ชนิด ยกมา 3 เหมือนกัน อิอิอิ
ก. การปฏิเสธ ( Denial ) หมายถึง หลีกเลี่ยงการรับรู้ความเป็นจริงที่ทนรับไม่ได้โดยปฏิเสธการรับรู้ เช่น แพทย์แจ้งว่าเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยไม่เชื่อและไม่สนใจในสิ่งที่แพทย์แนะนำ
ข. การโทษผู้อื่น ( Projection ) หมายถึง การโยนความรู้สึกหรือความต้องการที่ตนเองรับไม่ได้ให้เป็นของผู้อื่น เช่น ไม่ชอบหัวหน้างาน แต่เกิดความรู้สึกว่าหัวหน้างานกลั่นแกล้ง ไ่ม่ไว้ใจตนเอง หรือนักเลงสนุ้กเกอร์เล่นแพ้บอกว่าเป็นเพราะสักหลาดชื้นและฝืดเกินไปทำให้ลูกไม่วิ่ง
ค. การหาเหตุผลเข้าข้างตน ( Rationalization ) หมายถึง การหาสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลมาอธิบายความคิด หรือการกระทำของตนเองที่จิตใจยอมรับไม่ได้ บางครั้งก็เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนเอาไว้ไม่ให้เสียหน้าหรืออับอาย เช่น ผู้หญิงที่ไม่ยอมแต่งงาน บอกกับเพื่อนว่า อยู่คนเดียวสบายใจกว่า ชีวิตแต่งงานไม่เห็นมีความสุขอะไรเลย ^ ^ … กลไกการป้องกันตัวข้อนี้มีชื่อเล่นว่า”แถ” ค่ะ เพราะบางทีฟังแล้วข้างๆคูๆชอบกล
อย่างอื่นก็เช่น การทำให้คุณค่าลดลง ( Devaluation ) , ความยิ่งใหญ่ ( Omnipotence ) , เพ้อฝัน ( Fantasy ) , การแบ่งแยก ( Spiltting ) , การพุ่งเข้าหาตัวเอง ( Introjection ) , การถดถอย ( Regression ) , การบ่นว่าไม่มีใครยอมช่วยเหลือ ( Help - Prejecting Complaining หุหุหุ ) ฯลฯ
4. กลไกการป้องกันตัวเองแบบโรคจิต ( Psychotic Defenses ) หึหึหึ เป็นกลไกแบบต่ำสุด เมื่อใช้แล้วมักทำให้เกิดการปฏิเสธ และบิดเบือนความจริง มี 3 แบบ คือ การโทษผู้อื่นแบบหลงผิด ( Delusional Projection ), การปฏิเสธแบบโรคจิต ( Psychotic Denial ) และการบิดเบือนแบบโรคจิต ( Psychotic Distortion ) แต่ยกมาอธิบายเพียง 1 คือ….
การโทษผู้อื่นแบบหลงผิด ( Delusional Projection ) หมายถึง การใช้กลไกแบบโทษผู้อื่น อย่างรุนแรงจนเกิดการสูญเสียการทดสอบความจริง และมีอาการหลงผิดร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองเป็นบุคคลสำคัญยิ่งใหญ่จนมีคนลอบสังหาร และติดตามตัวเขาได้เนื่องจากมีผู้กระจายข่าวอยู่ในปาก …
ตัวอย่างการใช้กลไกการป้องกันตัวเองจนเป็นนิสัยและอาจเกิดปัญหา
Repression เก็บกด…ใช้บ่อยๆจะกลายเป็นคนขี้ลืม และไม่รู้จักการแก้ไขปัญหา
Fantasy เพ้อฝัน…ใช้บ่อยๆจะทำให้เป็นคนเฉื่อยชา ไม่ขวนขวาย
Rationalization …การอ้างเหตุผล (แถ) ถ้าใช้บ่อยๆจนชินมีโอกาสพัฒนาเป็น Projection (โทษผู้อื่น) ได้ง่ายดายมากค่ะ
Displacement …การเปลี่ยนเป้าหมายไปสู่สิ่งที่มีผลเสียน้อยกว่า กลไกชนิดนี้มักพบบ่อยในผู้ป่วย Phobic Neurosis( โรคประสาทกลัวที่รุนแรงเกินกว่าเหตุและไม่สมเหตุผล)
Projection… โทษผู้อื่น ใช้บ่อยๆจะก้าวร้าว ไม่รู้จักแก้ไขปัญหา ขาดความรับผิดชอบ สุกเอาเผากิน
จะเห็นว่ากลไกการป้องกันตัวเองมีทั้งด้านบวกและด้านลบ และบางครั้งก็ใช้ร่วมกันได้มากกว่า 1 แบบ / 1 สถานการณ์
ด้านบวก คือ…ทำให้จิตใจหายวิตกกังวล
ด้านลบ คือ…ส่วนใหญ่ ไม่ได้ช่วย แก้ไขปัญหา…แถมถ้าใช้บ่อยๆจนเป็นนิสัย จะกลายเป็นปัญหาอย่างมากตามมาได้
ดังนั้น รู้ทันมันนะคะ ถ้าสำรวจพบว่าใช้กลไกการป้องกันตัวเองที่ไม่ค่อยเหมาะสมบ่อยๆก็พยายามลด ละ เลิก เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาวค่ะ
กลไกการป้องกันตนเองทางจิตของมนุษย์ Defence mechanism
Defence mechanism คือกลไกการป้องกันตนเองทางจิตของมนุษย์ เป็นการหา ทางออกให้ กับจิตใจ เมื่อมนุษย์เผชิญสถานการณ์ที่เลวร้าย หรือเป็นข้อแก้ตัว ให้ตนเองเพื่อแก้ไข ความสับสนในจิตใจ หรือการต่อต้านความเจ็บปวดของจิต มีหลายลักษณะ ดังนี้
Repression คือ การเก็บกด (ระดับจิตไร้สำนึก) เป็นการลืมเรื่องที่กระทบ กระเทือนจิตใจที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเคยปัสสาวะราดในห้องเรียนตอนอยู่ชั้นประถมจนกระทั่งได้ รับการบอกเล่าจากแม่ ข้อดีของการเก็บกด คือ ทำให้ลืมความวิตกกังวลได้ แต่ข้อเสีย ทำให้ไม่รู้จักแก้ปัญหาและ ego จะอ่อนแอลงไม่อาจทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็น
Suppression คือ การเก็บกด (ระดับจิตสำนึก) หรือการลืมบางสิ่งบางอย่างโดยเจตนา ตัวอย่างเช่น กังวลใจหลังสอบแล้วพยายามลืมไปก่อน
Rationalization คือ การหาเหตุผลเข้าข้างตนเองเมื่อทำพฤติกรรมหรือมีความคิดอย่างใด อย่างหนึ่งที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอ้วนมาก แต่กินอาหารในงานเลี้ยง คืนสู่เหย้าเข้าไปมาก แล้วบอกว่า ของดีๆแบบนี้หากินที่อื่นไม่ได้ หรือนักเรียนหญิง ที่ไปขายตัวช่วยแฟนจ่ายพนันบอล อาจบอกตนเองว่า “ก็แค่นอนกับถุงยาง”
Sublimation คือ การทดแทนเปลี่ยนแรงผลักดันภายในจิตใจไปสู่การกระทำที่สังคมยอมรับ ตัวอย่างเช่น คนที่ก้าวร้าวจะเลือกอาชีพเป็นนักมวย หรือศัลยแพทย์
Projection คือ การโยนความรู้สึก ความคิด ความปรารถนาของตนที่ไม่เป็นที่ยอมรับให้กับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไม่ชอบเพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าเพื่อน ไม่ชอบ ไม่ไว้ใจตนเอง
Displacement คือ การแทนที่โดยเมื่อมีความรู้สึก นึกคิดที่ไม่เหมาะสม ego จะเปลี่ยนให้ไปยังสิ่งอื่นๆแทน ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่เกลียดพ่อที่ดื่มสุราจะกลายเป็นความรู้สึกเกลียดผู้ชายทุกคนที่ ดื่มสุรา
Identification คือ การเลียนแบบหรือการเอาอย่างซึ่งเกิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดมีความศรัทธาในคนใดคนหนึ่ง
Regression คือ การถดถอยไปสู่ระดับของบุคลิกภาพซึ่งมีพฤติกรรมแบบเด็กๆ เกิดเมื่อมีความขัดแย้งในจิตใจ เช่น เถียงสู้เพื่อนๆไม่ได้ เลยร้องไห้เหมือนเด็กๆ
Introjection คือ การนำเข้ามาสู่ตนเอง เป็นการลงโทษตัวเอง
Isolation คือ การแยกอารมณ์ออกจากความคิดและความปรารถนา
Reaction formation คือ การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริงโดยเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีความเป็น homosexual ในจิตไร้สำนึกจะแสดงอาการรังเกียจเกย์อย่างมาก
Substitution เกิดเมื่อต้องการสิ่งใดอย่างมากแต่ไม่สามารถมีได้ จึงใช้สิ่งอื่นมาทดแทนที่คล้ายคลึงกันในระดับจิตไร้สำนึก
Restitution เป็นการทดแทนโดยใช้สิ่งที่คล้ายกันมาแทน เช่น สุนัขตายไป จึงซื้อตัวใหม่
Resistance เป็นการที่จิตไร้สำนึกหลีกลี่ยงหรือต่อต้านกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยที่บุคคลนั้นไม่รับรู้โดยจิตสำนึก
Fantasy เป็นการสร้างเรื่องราวที่ไม่เป็นจริงขึ้นมาในใจเพื่อให้สมปรารถนา เป็นการหลบหนีจากโลกความเป็นจริงที่ไม่น่าอยู่
Symbolization ใช้สิ่งหนึ่งเป็นตัวแทนอีกสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่เป็นที่ยอมรับ ของสังคม สิ่งที่ทดแทนนี้เป็นสัญลักษณ์ที่รู้กันทั่วไป เช่น ศาลพระภูมิแทนพ่อ
Conversion คือการเปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกายเช่น ปวดหลัง ปวดท้อง เพื่อดึงความสนใจของจิตสำนึกไปสู่อาการทาง ร่างกายแทน
Compensation คือการทดแทนความไม่สมบูรณ์ในตนเองโดยการชดเชยด้วยสิ่งอื่นๆ
Denial คือการปฏิเสธความเป็นจริงที่ไม่สามารถยอมรับได้โดยง่าย
Undoing เป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับแรงขับที่ไม่ดีเพื่อลบล้างสิ่งเหล่านั้น เช่น ที่พบในอาการย้ำคิดย้ำทำ
Sigmund Freud (1856-1939) บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ได้กล่าวว่า มนุษย์มิได้เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ดังเช่นที่พวกเขาเชื่อหรืออยากเป็น หากแต่ความคิดของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังแห่งจิตไร้สำนึกที่ซ่อนเร้น และหลุดรอดจากความเข้าใจของมนุษย์ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย". ฟรอยด์พบว่าการกระทำ, ความคิด, ความเชื่อ, หรือเรื่องเกี่ยวกับตัวตนนั้น ถ
แสดงความคิดเห็น
คุณเคยโกหกอะไรที่ทำให้ตัวเองสบายใจไหมคะ?
วันนี้นั่งทบทวนความคิดตัวเอง เรื่องที่ผ่านมา เรื่องในอดีต และอนาคตที่จะเกิดขึ้น ก็เลยเกิดคำถามนี้ขึ้นมา อยากทราบประสบการณ์ เหตุผล หลักการที่เกี่ยวข้อง แล้วแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไปอย่างไรคะ
ขอบคุณคะ
ต้องขอบคุณทุกๆ ความเห็นนะคะ (_/\_)