รื้อเกณฑ์ "บัตรคนจน" เตรียมรับลงทะเบียนรอบ 2 ตอบโจทย์ 100%
คลังเตรียมประเมินผลบัตรคนจน 17 ธ.ค. นี้ พร้อมปรับเกณฑ์ลงทะเบียนรอบใหม่ หลังพบคนรวยได้บัตรคนจน เตรียมลงทะเบียนเป็นรายครอบครัว สะท้อนรายได้แท้จริง ยํ้า! เน้นเป้าหมาย มีรายได้มากกว่า 3 หมื่นต่อปี พ้นเส้นความยากจน
การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบว่า มีผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น 11.4 ล้านคน และมีการเก็บตกในรอบ 2 สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง เพิ่มอีก 3.1 ล้านคน รวมเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งล่าสุด รัฐบาลได้ใส่เงินเข้าไปในบัตรรวมเกือบ 5 หมื่นล้านบาท นับจากเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2560
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา อนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้มีบัตรคนจนเพิ่มเติมอีก 4 มาตรการ ระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ก.ย. 2562 โดยกรมบัญชีกลางจะเริ่มจ่ายเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค. นี้
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะประเมินผลการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในวันที่ 17 ธ.ค. นี้ โดยเบื้องต้นพบว่า ใช้ได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในบางจุด เช่น การลงทะเบียนรายบุคคลอาจไม่ตอบโจทย์ 100% เพราะบางครอบครัวรวย แต่เมื่อลงทะเบียนรายบุคคล เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติรายบุคคลแล้วจะผ่านคุณสมบัติ เพราะไม่มีรายได้ ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอะไร จึงมีเหตุการณ์ว่า ทำไมรวยแล้วยังได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ดังนั้น ถ้าจะมีการลงทะเบียนรอบใหม่ในปี 2562 ต้องแก้ปัญหานี้ สิ่งที่ดู คือ ต้องเป็นการลงทะเบียนรายบุคคลและรายครอบครัวด้วย เพื่อจะทำให้เห็นว่า ครอบครัวไหนรายได้ดีหรือไม่ดี เพราะการช่วยเหลือบ้านเราอยู่กันเป็นครอบครัวอยู่แล้ว หากทำเช่นนั้นจะเข้าเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทำ คือ ลงทะเบียนเป็นครอบครัวเป็น GPS Map ในบ้าน ซึ่งมีรายได้น้อย แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์
"เรายังไม่ได้สรุปว่าจะใช้เกณฑ์ไหนเป็นตัววัดรายได้ครอบครัว เพียงแต่ได้บอกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ถึงจุดอ่อนของบัตรสวัสดิการรัฐที่ต้องแก้ไขว่า หากจะลงทะเบียนรอบใหม่แล้วจะต้องใช้แนวคิดนี้ เพราะเชื่อว่ารัฐบาลนี้คงไม่ทัน ต้องรอรัฐบาลใหม่ หากรัฐบาลใหม่เข้ามา แล้วเห็นผลดีจะเดินหน้าต่อ น่าจะทำตามเกณฑ์นี้ เพียงแต่ยังไม่สะเด็ดนํ้า ถ้าจะทำต้องลงรายละเอียดอีกทีว่า จะลงทะเบียนอย่างไร เกณฑ์วัดอะไรบ้าง"
สำหรับผลสำเร็จของบัตรคนจน นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า จะเน้นทั้งให้ผู้ถือบัตรมีรายได้เพิ่มจากปีละ 3 หมื่นบาท และมากกว่า 1 แสนบาทต่อปี ซึ่งยังไม่เห็นตัวเลขว่าออกมาอย่างไร แต่ที่ยํ้ามาก คือ ผู้ที่มีรายได้ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาท ต้องทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อาจจะยังไม่พ้น 1 แสนบาทต่อปี ก็ไม่เป็นไร แต่ต้องทำให้รายได้เพิ่มขึ้น เพราะ 3 หมื่นบาทต่อปี คือ ความจน เพราะตํ่ากว่าเส้นความยากจน 3 หมื่นบาท อยู่ไม่ได้ แต่ความแตกต่างของบ้านเรา คือ มีวัด คนซึ่งอยู่ในไทยยังไม่เห็นต้องอดตาย เพราะถ้าลำบากจริงไปที่วัด เพราะมีคนทำบุญตลอดถือเป็นความดีของประเทศไทย
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า สำหรับมาตรการเติมเงินบัตรสวัสดิการเพิ่มเติม 4 มาตรการ 2 กลุ่มนั้น เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 2 มาตรการ คือ ช่วยเหลือค่าเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีอายุครบ 65 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อคน เป็นการจ่ายครั้งเดียว แต่เฉพาะคนที่อายุครบ 65 ปี โดยจะเริ่มจ่ายวันที่ 21 ธ.ค. นี้ ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนเพิ่มเติมจะเริ่มจ่ายวันที่ 5 ม.ค. - 1 ก.พ. 2562 ที่เหลือผู้ถือบัตรรายใดมีอายุครบ 65 ปี ในระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ก.ย. 2562 จะได้รับเงินวันที่ 21 ของเดือนเกิด
และมาตรการช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือ 400 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 10 เดือน โดยจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 12 ของเดือน เริ่มจ่ายครั้งแรกวันที่ 12 ธ.ค. สำหรับคนที่อายุครบ 60 ปี และวันที่ 5 ม.ค. - 1 ก.พ. 2562 สำหรับผู้ลงทะเบียนเพิ่มเติม หากผู้มีบัตรอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ก.ย. 2562 จะได้รับเงินในเดือนเกิดเป็นครั้งแรกจนสิ้นสุดมาตรการ
ส่วนอีก 2 มาตรการไม่ได้กำหนดอายุ คือ สนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี 500 บาทต่อคน จ่ายครั้งเดียวทั้ง 14.5 ล้านคน โดยจะทยอยนำจ่ายเงินเข้ากระเป๋า e-Money ให้กับผู้มีบัตร 11.4 ล้านคน ในวันที่ 8-10 ธ.ค. และจ่ายให้กับผู้ลงทะเบียนเพิ่มเติม 3.1 ล้านคน ในวันที่ 5 ม.ค. - 1 ก.พ. 2562
และมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่านํ้าประปา จะช่วยเหลือกรณีใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อครัวเรือน จะช่วยเหลือไม่เกิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน และค่านํ้าประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยจะจ่ายทุกวันที่ 18 ของเดือน เริ่มจ่ายเดือนแรกวันที่ 18 ก.พ.
"เรายังไม่ได้ประเมินผลการใช้บัตรเป็นเรื่องเป็นราว แต่ดูจากตัวเลข จะเห็นว่ายังแรงดีไม่มีตก มีการใช้จ่าย 3,500 ล้านบาททุกเดือน ขณะนี้ทุกคนเข้าใจดีทั้งคนใช้และร้านธงฟ้า"
หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,424 วันที่ 6 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561
http://www.thansettakij.com/content/357401
เห็นด้วยค่ะ ที่มีการประเมินผลทุกปี
และการรื้อเกณฑ์การสำรวจข้อมูลใหม่ให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงค่ะ
🖊🖊🖊~มาลาริน~คลังเตรียมประเมินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมรื้อเกณฑ์ "บัตรคนจน" เตรียมรับลงทะเบียนรอบ 2 ตอบโจทย์ 100%
รื้อเกณฑ์ "บัตรคนจน" เตรียมรับลงทะเบียนรอบ 2 ตอบโจทย์ 100%
คลังเตรียมประเมินผลบัตรคนจน 17 ธ.ค. นี้ พร้อมปรับเกณฑ์ลงทะเบียนรอบใหม่ หลังพบคนรวยได้บัตรคนจน เตรียมลงทะเบียนเป็นรายครอบครัว สะท้อนรายได้แท้จริง ยํ้า! เน้นเป้าหมาย มีรายได้มากกว่า 3 หมื่นต่อปี พ้นเส้นความยากจน
การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบว่า มีผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น 11.4 ล้านคน และมีการเก็บตกในรอบ 2 สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง เพิ่มอีก 3.1 ล้านคน รวมเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งล่าสุด รัฐบาลได้ใส่เงินเข้าไปในบัตรรวมเกือบ 5 หมื่นล้านบาท นับจากเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2560
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา อนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้มีบัตรคนจนเพิ่มเติมอีก 4 มาตรการ ระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ก.ย. 2562 โดยกรมบัญชีกลางจะเริ่มจ่ายเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค. นี้
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะประเมินผลการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในวันที่ 17 ธ.ค. นี้ โดยเบื้องต้นพบว่า ใช้ได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในบางจุด เช่น การลงทะเบียนรายบุคคลอาจไม่ตอบโจทย์ 100% เพราะบางครอบครัวรวย แต่เมื่อลงทะเบียนรายบุคคล เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติรายบุคคลแล้วจะผ่านคุณสมบัติ เพราะไม่มีรายได้ ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอะไร จึงมีเหตุการณ์ว่า ทำไมรวยแล้วยังได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ดังนั้น ถ้าจะมีการลงทะเบียนรอบใหม่ในปี 2562 ต้องแก้ปัญหานี้ สิ่งที่ดู คือ ต้องเป็นการลงทะเบียนรายบุคคลและรายครอบครัวด้วย เพื่อจะทำให้เห็นว่า ครอบครัวไหนรายได้ดีหรือไม่ดี เพราะการช่วยเหลือบ้านเราอยู่กันเป็นครอบครัวอยู่แล้ว หากทำเช่นนั้นจะเข้าเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทำ คือ ลงทะเบียนเป็นครอบครัวเป็น GPS Map ในบ้าน ซึ่งมีรายได้น้อย แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์
"เรายังไม่ได้สรุปว่าจะใช้เกณฑ์ไหนเป็นตัววัดรายได้ครอบครัว เพียงแต่ได้บอกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ถึงจุดอ่อนของบัตรสวัสดิการรัฐที่ต้องแก้ไขว่า หากจะลงทะเบียนรอบใหม่แล้วจะต้องใช้แนวคิดนี้ เพราะเชื่อว่ารัฐบาลนี้คงไม่ทัน ต้องรอรัฐบาลใหม่ หากรัฐบาลใหม่เข้ามา แล้วเห็นผลดีจะเดินหน้าต่อ น่าจะทำตามเกณฑ์นี้ เพียงแต่ยังไม่สะเด็ดนํ้า ถ้าจะทำต้องลงรายละเอียดอีกทีว่า จะลงทะเบียนอย่างไร เกณฑ์วัดอะไรบ้าง"
สำหรับผลสำเร็จของบัตรคนจน นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า จะเน้นทั้งให้ผู้ถือบัตรมีรายได้เพิ่มจากปีละ 3 หมื่นบาท และมากกว่า 1 แสนบาทต่อปี ซึ่งยังไม่เห็นตัวเลขว่าออกมาอย่างไร แต่ที่ยํ้ามาก คือ ผู้ที่มีรายได้ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาท ต้องทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อาจจะยังไม่พ้น 1 แสนบาทต่อปี ก็ไม่เป็นไร แต่ต้องทำให้รายได้เพิ่มขึ้น เพราะ 3 หมื่นบาทต่อปี คือ ความจน เพราะตํ่ากว่าเส้นความยากจน 3 หมื่นบาท อยู่ไม่ได้ แต่ความแตกต่างของบ้านเรา คือ มีวัด คนซึ่งอยู่ในไทยยังไม่เห็นต้องอดตาย เพราะถ้าลำบากจริงไปที่วัด เพราะมีคนทำบุญตลอดถือเป็นความดีของประเทศไทย
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า สำหรับมาตรการเติมเงินบัตรสวัสดิการเพิ่มเติม 4 มาตรการ 2 กลุ่มนั้น เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 2 มาตรการ คือ ช่วยเหลือค่าเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีอายุครบ 65 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อคน เป็นการจ่ายครั้งเดียว แต่เฉพาะคนที่อายุครบ 65 ปี โดยจะเริ่มจ่ายวันที่ 21 ธ.ค. นี้ ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนเพิ่มเติมจะเริ่มจ่ายวันที่ 5 ม.ค. - 1 ก.พ. 2562 ที่เหลือผู้ถือบัตรรายใดมีอายุครบ 65 ปี ในระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ก.ย. 2562 จะได้รับเงินวันที่ 21 ของเดือนเกิด
และมาตรการช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือ 400 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 10 เดือน โดยจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 12 ของเดือน เริ่มจ่ายครั้งแรกวันที่ 12 ธ.ค. สำหรับคนที่อายุครบ 60 ปี และวันที่ 5 ม.ค. - 1 ก.พ. 2562 สำหรับผู้ลงทะเบียนเพิ่มเติม หากผู้มีบัตรอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ระหว่างเดือน ธ.ค. 2561 - ก.ย. 2562 จะได้รับเงินในเดือนเกิดเป็นครั้งแรกจนสิ้นสุดมาตรการ
ส่วนอีก 2 มาตรการไม่ได้กำหนดอายุ คือ สนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี 500 บาทต่อคน จ่ายครั้งเดียวทั้ง 14.5 ล้านคน โดยจะทยอยนำจ่ายเงินเข้ากระเป๋า e-Money ให้กับผู้มีบัตร 11.4 ล้านคน ในวันที่ 8-10 ธ.ค. และจ่ายให้กับผู้ลงทะเบียนเพิ่มเติม 3.1 ล้านคน ในวันที่ 5 ม.ค. - 1 ก.พ. 2562
และมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่านํ้าประปา จะช่วยเหลือกรณีใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อครัวเรือน จะช่วยเหลือไม่เกิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน และค่านํ้าประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยจะจ่ายทุกวันที่ 18 ของเดือน เริ่มจ่ายเดือนแรกวันที่ 18 ก.พ.
"เรายังไม่ได้ประเมินผลการใช้บัตรเป็นเรื่องเป็นราว แต่ดูจากตัวเลข จะเห็นว่ายังแรงดีไม่มีตก มีการใช้จ่าย 3,500 ล้านบาททุกเดือน ขณะนี้ทุกคนเข้าใจดีทั้งคนใช้และร้านธงฟ้า"
หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,424 วันที่ 6 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561
http://www.thansettakij.com/content/357401
เห็นด้วยค่ะ ที่มีการประเมินผลทุกปี
และการรื้อเกณฑ์การสำรวจข้อมูลใหม่ให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงค่ะ