สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
แปลกใจนะครับที่ความหวังเป็นเรื่องหดหู่ และน่าสมเพชสำหรับคนบางคน
ผมไม่เห็นรู้สึกว่ามันจะแย่อะไรขนาดนั้น เพราะเขาไม่ได้หวังอะไรขนาดนั้น
ไม่เห็นจะมีใครหวังอะไรขนาดนั้น หวังว่าจะเดินกลางแดดโดยไม่แสบตัวก็พอล่ะ
ไม่ได้มีคนผิดหวังจนขนาดอากาศร้อนแล้วไปฆ่าตัวตาย ไปประท้วง
เขาก็บ่นในพื้นที่ของเขา บางคนก็เห็นพูดเพราะเป็นประเด็นเฉยๆ
พวกเพจในเฟสโพสต์เพื่อเรียกกระแส คนสนใจ คนมาเม้นต์ตามสนุกๆ
ผมว่าอากาศมันก็ร้อน คิดบวกบ้างก็ดีนะครับ ไม่งั้นชีวิต จขกท จะมีแต่พลังงานด้านลบ
ฝากไว้ให้คิดครับ
ผมไม่เห็นรู้สึกว่ามันจะแย่อะไรขนาดนั้น เพราะเขาไม่ได้หวังอะไรขนาดนั้น
ไม่เห็นจะมีใครหวังอะไรขนาดนั้น หวังว่าจะเดินกลางแดดโดยไม่แสบตัวก็พอล่ะ
ไม่ได้มีคนผิดหวังจนขนาดอากาศร้อนแล้วไปฆ่าตัวตาย ไปประท้วง
เขาก็บ่นในพื้นที่ของเขา บางคนก็เห็นพูดเพราะเป็นประเด็นเฉยๆ
พวกเพจในเฟสโพสต์เพื่อเรียกกระแส คนสนใจ คนมาเม้นต์ตามสนุกๆ
ผมว่าอากาศมันก็ร้อน คิดบวกบ้างก็ดีนะครับ ไม่งั้นชีวิต จขกท จะมีแต่พลังงานด้านลบ
ฝากไว้ให้คิดครับ
ความคิดเห็นที่ 5
เห็นด้วยในแง่ของความอ่อนไหวของคนกรุงเทพฯ หรือแม้แต่คนต่างจังหวัดก็เถอะ ต่อคำที่สื่อชอบเอามาลง โดยไม่ลองเข้าไปอ่านเลยว่า หนาวที่สื่อมันเล่นคำ มันคือกี่องศาเซลเซียส วันไหน จะลงมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อไหร่ ก่อนหนาวต้องเจอฝนก่อนไหม คนไม่อ่านกันเลยอะ แล้วก็โทษกรมอุตุฯ สื่อเหล่านั้นก็ลอยนวล แถมได้ยอดไลก์ ยอดแชร์กระจาย
เห็นด้วยอีกข้อคือ กรุงเทพฯ หนาวยาก และหนาวแค่ตอนเช้านี่แหละถ้าบทจะมาจริง ๆ แต่ผมว่าแค่ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส คนกรุงเทพฯ ก็พอใจแล้วนะ รวมถึงตัวผมด้วย ลงได้มากกว่านี้ก็เป็นโบนัสไป ส่วนตอนกลางวันก็ต้องอุ่นขึ้นอยู่แล้ว ถ้ามีแสงแดด อันนี้ก็ปกติ
สถิติเป็นตัวบอกครับว่าโอกาสที่เมืองนั้น ๆ จะมีอุณหภูมิต่ำสุด จะมีได้เท่าไหร่ อย่างกทม. ที่ต่ำสุดตามสถิติที่กรมอุตุฯ วัดไว้คือ 9.9 องศาเซลเซียส ตั้งแต่สมัยรุ่นอากง อาม่า และที่จัดว่าหนาวจริง ๆ และใกล้กับยุคปัจจุบันมากที่สุด ก็คือวัดได้ 11.7 องศาเซลเซียส เมื่อพ.ศ. 2542 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้เร็ว ๆ นี้มากสุดก็ประมาณ 15-16 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 26 ม.ค. 2559 และ 18 ธ.ค. 2560 ตามลำดับ (วันอาจจะ บวกลบนิดหน่อย) ถ้าคนที่เข้าใจตัวเลขพวกนี้ก็จะตั้งความหวังที่มันเป็นไปได้ ไม่ใช่ตั้งความหวังว่ากรุงเทพฯ จะต้องหิมะตก จะต้องหนาวเลขตัวเดียวตลอดทั้งวัน คนที่คิดแบบนี้ได้ก็แปลว่าไม่เคยสนใจภูมิศาสตร์ของเมืองที่ตัวเองอยู่เลย ว่ามันทำได้ไหม และถ้ามันเกิดขึ้นได้ แปลว่ากรุงเทพฯ คงต้องย้ายที่ตั้งไปอยู่ละติจูด 35 องศาเหนือหรืออยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 5,000 เมตรแล้วหละ ซึ่งต่อให้เสกให้เป็นแบบนั้นได้ ก็ต้องมาดูปัจจัยอื่น ๆ อีก อันนี้ออกแนวเพ้อฝันนิยายมากไป
ที่ไม่เห็นด้วยคือคำว่ากรมอุตุฯ เล่นกับจิตใจคนนะ เขาไม่เคยใช้คำที่ดูตื่นตระหนกตกใจแม้แต่น้อย เขาเพียงแต่ทำหน้าที่บอกว่าช่วงนี้จะมีความกดอากาศสูงลงมานะ แล้วจะมีฝนระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อเทียบจากเดิมก็ไม่ได้อยู่เยอะเลย จากอุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส เหลือ 23-24 องศาเซลเซียสในช่วงสัปดาห์หน้า (12-14 ธ.ค.) แต่เอาตรง ๆ จะให้คนมานั่งอ่านคำบรรยาย ผมว่าในทางปฏิบัติก็ทำได้ยากแหละ ดูจากคำที่คนพิมพ์ในเฟซบุ๊กแล้วผมปวดหัวเลยแต่ละคน กรมอุตุฯ อาจจะลองหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะเอาชนะสื่อพวกนั้นให้ได้ ผมก็จะรอดูการพัฒนาทางกราฟิกและโซเชียลของเขาต่อไป ซึ่งผมเองก็เห็นว่าพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ นะ จากที่ดูเว็บกรมอุตุฯ มาตั้งแต่ตอนผมอยู่ประถมต้น จนบัดนี้ผมอยู่มหาวิทยาลัยละ หลายอย่างทำเนียนขึ้น กราฟิกสวยขึ้น คำอธิบายยาว ๆ เข้าใจยากลดลง 👍🏻
เห็นด้วยอีกข้อคือ กรุงเทพฯ หนาวยาก และหนาวแค่ตอนเช้านี่แหละถ้าบทจะมาจริง ๆ แต่ผมว่าแค่ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส คนกรุงเทพฯ ก็พอใจแล้วนะ รวมถึงตัวผมด้วย ลงได้มากกว่านี้ก็เป็นโบนัสไป ส่วนตอนกลางวันก็ต้องอุ่นขึ้นอยู่แล้ว ถ้ามีแสงแดด อันนี้ก็ปกติ
สถิติเป็นตัวบอกครับว่าโอกาสที่เมืองนั้น ๆ จะมีอุณหภูมิต่ำสุด จะมีได้เท่าไหร่ อย่างกทม. ที่ต่ำสุดตามสถิติที่กรมอุตุฯ วัดไว้คือ 9.9 องศาเซลเซียส ตั้งแต่สมัยรุ่นอากง อาม่า และที่จัดว่าหนาวจริง ๆ และใกล้กับยุคปัจจุบันมากที่สุด ก็คือวัดได้ 11.7 องศาเซลเซียส เมื่อพ.ศ. 2542 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้เร็ว ๆ นี้มากสุดก็ประมาณ 15-16 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 26 ม.ค. 2559 และ 18 ธ.ค. 2560 ตามลำดับ (วันอาจจะ บวกลบนิดหน่อย) ถ้าคนที่เข้าใจตัวเลขพวกนี้ก็จะตั้งความหวังที่มันเป็นไปได้ ไม่ใช่ตั้งความหวังว่ากรุงเทพฯ จะต้องหิมะตก จะต้องหนาวเลขตัวเดียวตลอดทั้งวัน คนที่คิดแบบนี้ได้ก็แปลว่าไม่เคยสนใจภูมิศาสตร์ของเมืองที่ตัวเองอยู่เลย ว่ามันทำได้ไหม และถ้ามันเกิดขึ้นได้ แปลว่ากรุงเทพฯ คงต้องย้ายที่ตั้งไปอยู่ละติจูด 35 องศาเหนือหรืออยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 5,000 เมตรแล้วหละ ซึ่งต่อให้เสกให้เป็นแบบนั้นได้ ก็ต้องมาดูปัจจัยอื่น ๆ อีก อันนี้ออกแนวเพ้อฝันนิยายมากไป
ที่ไม่เห็นด้วยคือคำว่ากรมอุตุฯ เล่นกับจิตใจคนนะ เขาไม่เคยใช้คำที่ดูตื่นตระหนกตกใจแม้แต่น้อย เขาเพียงแต่ทำหน้าที่บอกว่าช่วงนี้จะมีความกดอากาศสูงลงมานะ แล้วจะมีฝนระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อเทียบจากเดิมก็ไม่ได้อยู่เยอะเลย จากอุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส เหลือ 23-24 องศาเซลเซียสในช่วงสัปดาห์หน้า (12-14 ธ.ค.) แต่เอาตรง ๆ จะให้คนมานั่งอ่านคำบรรยาย ผมว่าในทางปฏิบัติก็ทำได้ยากแหละ ดูจากคำที่คนพิมพ์ในเฟซบุ๊กแล้วผมปวดหัวเลยแต่ละคน กรมอุตุฯ อาจจะลองหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะเอาชนะสื่อพวกนั้นให้ได้ ผมก็จะรอดูการพัฒนาทางกราฟิกและโซเชียลของเขาต่อไป ซึ่งผมเองก็เห็นว่าพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ นะ จากที่ดูเว็บกรมอุตุฯ มาตั้งแต่ตอนผมอยู่ประถมต้น จนบัดนี้ผมอยู่มหาวิทยาลัยละ หลายอย่างทำเนียนขึ้น กราฟิกสวยขึ้น คำอธิบายยาว ๆ เข้าใจยากลดลง 👍🏻
แสดงความคิดเห็น
เมื่อไหร่คนกรุงเทพจะยอมรับความจริงสักทีว่ากรุงเทพไม่มีทางหนาวได้
เอาเท่าที่จำความได้กรุงเทพหนาวสุดๆในชีวิตคือ 16 องศา แค่ไม่กี่ชั่วโมงในตอนเช้าเองด้วยซ้ำ พอถึงกลางวันแดดออกก็ 20+ เผลอๆแตะ 30+ มันคือแค่ระดับเย็นเองนะ คนกรุงเทพต้องการความหนาวระดับไหนเหรอครับ ติดลบ? หรือเลขตัวเดียว?มันยากมากๆเลยนะ ผมเองพอเห็นคนบ่นมันรู้สึกหดหู่ปนสมเพช ทั้งบนโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก ทั้งคนที่อยู่รอบๆตัว อยากให้ยอมรับความจริงเถอะว่ากรุงเทพไม่มีทางหนาว! ถ้าแบบอยากใส่เสื้อโคชเท่ๆสวยๆเดินข้ามถนนกอดอกหรือเอามาล้วงกระเป๋าส่วนอีกมือถือถ้วยกาแฟอย่างหนังเกาหลี ญี่ปุ่น ยุโรป บอกเลยว่า ยาก ถ้าวันหนึ่งมันหนาวก็เตรียมตัวเผ่นเลย โลกคงแตก #ฝากไว้ให้คิด