@@@@@ สภาพัฒน์ รายงานข้อเท็จจริงเรื่องความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย @@@@

เท่าที่ฟัง ถอดเทปได้ประมาณนี้ (ถ้ามีเวลาจะถอดเทปเพิ่ม) คือ ค่าความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีค่า gini ไม่แตกต่างจากประเทศที่เจริญมากนัก ซึ่งส่วนใหญ่เขาดูที่ gini รายได้

ใครฟังและมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ เพิ่มเติมข้อมูลได้ค่ะ
-------------------------------------

การวัดความเหลื่อมล้ำ ใช้มาตรฐานของธนาคารโลก ใช้วัด 110 ประเทศทั่วโลก ใช้ค่า Gini  ค่าสัมประสิทธ์การกระจายรายได้ มีค่าตั้งแต่ 0-1 มากยิ่งไม่ดี ค่าเหลื่อมล้ำสูง
โดยทั่วไปมีค่า gini   0.2-0.5 มีสองลักษณะคือ
gini ฝั่งรายได้   วัดการกระจายรายได้
และ gini ค่าใช้จ่าย วัดความสามารถในการใช้จ่าย

สำนักงานสถิติแห่งชาติจะเป็นผู้สำรวจสำหรับทำ gini  ประมาณ 52000 กว่าตัวอย่าง มีการกระจายกลุ่มรายได้ในระดับต่างๆกัน

ปัจจุบันไทย มี gini รายได้ 0.453 ในปี 2560 เปรียบเทียบในช่วง 10 ปีที่ป่านมา  ปรับตัวดีขึ้น ปี 2550 อยู่ที่ 0.499
gini ค่าใช้จ่าย ปี 2560 มีค่า 0.364  ปี 2550 อยู่ที่   0.398

นั่นหมายถึงการกระจายด้านความเหลือมล้ำปรับตัวดีขึ้น  ไม่ได้ดูเฉพาะสองตัวนี้เท่านั้น ยังใช้
Income gap ช่องว่างระหว่างรายได้   ช่องว่างระหว่างรายได้สูงกับรายได้ต่ำแคบลงเรื่อยๆ ดีขึ้น

จากรายงาน world bank  ปี 255ุ6 จากรายงานประเทศไทยอยู่อันดับที่ 46 จาก 73 ประเทศ  ปัจจุบัน 2558 อยู่อันดับ 40 จาก  67 ประเทศ  ใช้ประเทศที่มีข้อมูลสมบูรณ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 25
คลิปการแถลงข่าวของสภาพัฒน์
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่