ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร : มาเรียนรู้ความ "เป็นมานุษย์" แบบครบจบในที่เดียว ! #มนุษย์ทุกคนต้องมา


สวัสดีค่าาา หายไปนานนนน วันนี้เราอยากมาแชร์สถานที่ลึกลับแห่งนึง แถวๆตลิ่งชัน
เราเดินหลงเข้าไปแบไม่รู้ตัว จริงๆตั้งใจจะไปหาน้องที่ศิลปากร แต่เค้ามีจัดนิทรรศการอยู่พอดี
ที่แห่งนี้ก็คืออออ >> ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร  <<


(เอาจริงๆชื่อดูมีสาระมากกก ปกติเราคงจะเดินผ่านไป) แต่เหลือบไปเห็นว่าเค้ามีจัดนิทรรศการ " เป็นมานุษย์ "
ชื่อน่าสนใจ เราเลยลองเดินไปดู ปรากฏว่า เกินคาดดดดดดด !!!
ที่นี่มีอะไรที่สนใจอยู่เพียบไปหมด

(สำหรับนิทรรศการ " เป็นมานุษย์ " จัดขึ้นวันที่ 23-26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
(แต่ถ้าเดินไปบอกหน้าเคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ว่ามาชนนิทรศการ ชั้น2 เค้าก็ยังให้เข้าไปนะคะ ฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

แทรกสาระนิดนึง สำหรับ ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) หรือ SAC เป็นแหล่งรวบรวมและจัดการความรู้ด้านมานุษยวิทยา เพื่อสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข โดยจัดตั้งศูนย์ขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานวิชาการที่ทันสมัย มีระบจัดการฐานข้อมูลความรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย โดยมุ่งหวังให้เกิดผลัพธ์สำคัญ 4 ประการ คือ เรียนรู้ เข้าใจ พัฒนา สงบสุข  ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถต่อยอดกลายเป็นพลังในการพัฒนาประเทศได้ โดยคนทั่วไปก็สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ โดยจะเปิดตั้งแต่ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 17.00 น. และวันเสาร์ 09.00 - 16.00 น. โทร 02-880-9429 หรือ www.sac.or.th จ้าาาาาาาาา

โดยห้องแรกที่เราเข้าไปชมที่ชั้น2 คือ ห้องพระราชประวัติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นห้องที่เราว้าวว มากกกก คือมีความน่ารัก และเราก็เพิ่งรู้ว่าท่านนี่แหละ คือนักมนุษยวิทยาตัวจริง













โดยห้องนี้ จะแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนถึงการปฎิบัติพระราชกาณียกิจด้านสังคมและวัฒนธรรม พระราชนิพนธ์ และภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นห้องที่เรารู้สึกอบอวลไปด้วยเรื่องราวน่ารักของท่านจริงๆ














ต่อมาเราไปที่ห้องพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา นี่ก็ว้าวอีกกกก ห้องใหญ่มากกก จัดแสดงได้สวยมากกกก ถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์โน้นนน สะท้อนให้เห็นถึงความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมชุมชนในอดีตและเมืองสมัยโบราณของไทยเรา















ต่อไปขึ้นไปที่ชั้น 8 เป็นห้องที่ว้าวที่สุด (ดูที่กดลิฟต์ดิ ทันสมัยสุดๆ)

ห้องนี้คือห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร คือมีหนังสือเยอะมากกกกกก เหมือนเค้ารวบรวมหนังสือ เอกสาร โสตทัศนวัสดุ ที่เกี่ยวกับมานุษยวิทยาเอาไว้ที่นี่หมดเลย ครบ จบในที่เดียวจริงๆ แถมยังมีระบบงานฐานข้อมูลที่ทันสมัย คนทั่งไปก็สามารถเข้ามาใช้ได้ด้วย













จัดได้แบบ น่านั่งอ่านหนังสือสุดๆ

พอเดินออกมาข้างหน้า ก็จะเจออีก1ห้องสมุดดีๆ ชื่อว่า >> ห้องสมุดสุข กาย ใจ << คนทั่วไปก็เข้ามาใช้บริการได้อีกแล้ววว







มีคาเฟ่เปิดบริการให้สั่งน้ำสั่งขนมกินระหว่างที่อ่านหนังสือแล้วเกิดหิวขึ้นมาด้วย
รสชาติก็อร่อยยยย

(ตรงนี้จะปิดไวกว่าข้างในนะคะ น่าจะปิด 4โมงถ้าจำไม่ผิด)

จริงๆมีอีกเยอะมากกกก ให้เรียนรู้เพิ่มเติม หรือบางทีก็จะมีเวทีทางวิชาการด้วย เพื่อให้เสนอผลงานวิชาการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
รวมถึงงานวิจัย งานเครือข่าย สื่อวิชาการ ที่เกี่ยวกับด้านมานุษยวิทยาทั้งหมด

ปัจจุบันศูนย์ฯ ได้มีฐานข้อมูลออนไลน์ ทั้งหมด 24 ฐานข้อมูล ดังนี้

1. กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
2. งานวิจัยทางชาติพันธุ์
3. ภาพยนตร์ชาติพันธุ์
4. พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
5. ของเล่นพื้นบ้านในประเทศไทย
6. ประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
7. จดหมายเหตุมานุษยวิทยา
8. คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา
9. นามานุกรมวรรณคดีไทย
10. เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
11. จารึกในประเทศไทย
12. แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
13. ศิลปกรรมในประเทศไทย
14. ศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
15. สังคม–วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
16. หนังสือเก่าชาวสยาม
17. ข่าวมานุษยวิทยา
18. เครื่องเครื่องใช้พื้นบ้าน
19. จารึกวัดโพธิ์
20. เรือนพื้นถิ่นในประเทศไทย
21. ภาชนะดินเผาในประเทศไทย
22. มานุษยวิทยากายภาพ
23. ฐานข้อมูลนิทาน ตำนาน เรื่องเล่าพื้นบ้าน
24. The Humans

(อิจฉาเด็กๆสมัยนี้เลยยยย น่าจะค้นคว้าหาข้อมูลกันได้ง่ายขึ้นเยอะ)

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น "Smart SAC" ได้แล้ววันนี้
ทั้งระบบปฏิบัติการ ANDROID และ IOS หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (ทันสมัยไปอีกกกก)

เราเอามาเขียนเพราะคนน่าจะยังไม่รู้จัก อยากให้ไปกันเยอะๆ
จะไปเดินชมงานหรือไปนั่งอ่านหนังสือก็ดี เลือกเอาตามสะดวกเลยจ้าาา ^^
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่