ไปกินข้าวมาเมื่อวานกับวงญาติสนิทมิตรสหาย เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นร้อนฮะ แทบไม่น่าเชื่อว่า ร้อยละ 80% ของวงที่ผมกินข้าวด้วย หนีภาษีเกือบหมด
ในฐานะมนุษย์เงินเดือน ชูจักแร้ เชียร์กฏหมายนี้ฮะ
https://www.thaipost.net/main/detail/23537
“สรรพากร” ตั้งแทนลุยรีดภาษีออนไลน์ หลัง สนช.ผ่านกฎหมายวาระ 3 ยอมแก้เกณฑ์โอน-ฝากเกิน 200 ครั้งต่อปีเป็น 400 ครั้ง ต่อปี ต้องถูกตรวจสอบข้อมูล
นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. … เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (อีเพย์เมนต์) วาระ 3 แล้วเรียบร้อยแล้ว จากนี้ก็เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมายเพื่อให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีถูกต้องมากขึ้น
ทั้งนี้ สนช.มีการอภิปรายกฎหมายกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสาระสำคัญของกฎหมาย ที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องแจ้งข้อมูลที่เข้าข่ายเป็น ธุรกรรมพิเศษ ประกอบด้วย 1.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี และ 2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้งต่อปี แก้ไขเป็นทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี ขณะที่ยอดรวมของการรับฝากโอนยังคงไว้ที่ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปเหมือนเดิม
ก่อนหน้านี้ สรรพากรระบุว่า กฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรสามารถกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่วนสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องรายงานการทำธุรกรรมการเงินพิเศษให้กรมสรรพากรรับทราบ หากไม่ปฏิบัติตามปรับ 1 แสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท
อย่างไรก็ดี การผลักดันกฎหมายเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี จากเดิมที่ต้องมีต้นทุน และค่าเสียเวลา ในการยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อกรมสรรพากร จากกฎหมายมีผลบังคับใช้ สถาบันการเงินก็จะรายงานข้อมูลให้กรมรับทราบ และเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เสียภาษีถูกต้อง โดยกรมไม่ได้เข้าไปตรวจสอบ หรือจับผิดใคร และไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ ไม่ต้องกลัวว่ากรมจะไปไล่บี้ หากเสียภาษีถูกต้องอยู่แล้วก็จะไม่มีผลกระทบ
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย คือ ร้านค้าออนไลน์ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ข้าราชการที่ทุจริตมีโอนเงินเข้าบัญชีของตัวเอง และธุรกิจสีเทาผิดกฎหมาย ซึ่งจะเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวไม่กระทบกับผู้เสียภาษีที่ถูกต้อง แต่การออกกฎหมายนี้จะทำให้ประเทศดีขึ้น เพราะจะมีการเสียภาษีให้ถูกต้องมากขึ้น ป้องกันการทุจริตของข้าราชการ และการค้าขายของผิดกฎหมายได้
กม.รีดภาษีออนไลน์ผ่านสนช.แล้ว ธุรกิจสีเทา-นอกระบบเตรียมตัวถูกไล่บี้
ในฐานะมนุษย์เงินเดือน ชูจักแร้ เชียร์กฏหมายนี้ฮะ
https://www.thaipost.net/main/detail/23537
“สรรพากร” ตั้งแทนลุยรีดภาษีออนไลน์ หลัง สนช.ผ่านกฎหมายวาระ 3 ยอมแก้เกณฑ์โอน-ฝากเกิน 200 ครั้งต่อปีเป็น 400 ครั้ง ต่อปี ต้องถูกตรวจสอบข้อมูล
นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. … เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (อีเพย์เมนต์) วาระ 3 แล้วเรียบร้อยแล้ว จากนี้ก็เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมายเพื่อให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีถูกต้องมากขึ้น
ทั้งนี้ สนช.มีการอภิปรายกฎหมายกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสาระสำคัญของกฎหมาย ที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องแจ้งข้อมูลที่เข้าข่ายเป็น ธุรกรรมพิเศษ ประกอบด้วย 1.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี และ 2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้งต่อปี แก้ไขเป็นทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี ขณะที่ยอดรวมของการรับฝากโอนยังคงไว้ที่ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปเหมือนเดิม
ก่อนหน้านี้ สรรพากรระบุว่า กฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรสามารถกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่วนสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องรายงานการทำธุรกรรมการเงินพิเศษให้กรมสรรพากรรับทราบ หากไม่ปฏิบัติตามปรับ 1 แสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท
อย่างไรก็ดี การผลักดันกฎหมายเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี จากเดิมที่ต้องมีต้นทุน และค่าเสียเวลา ในการยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อกรมสรรพากร จากกฎหมายมีผลบังคับใช้ สถาบันการเงินก็จะรายงานข้อมูลให้กรมรับทราบ และเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เสียภาษีถูกต้อง โดยกรมไม่ได้เข้าไปตรวจสอบ หรือจับผิดใคร และไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ ไม่ต้องกลัวว่ากรมจะไปไล่บี้ หากเสียภาษีถูกต้องอยู่แล้วก็จะไม่มีผลกระทบ
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย คือ ร้านค้าออนไลน์ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ข้าราชการที่ทุจริตมีโอนเงินเข้าบัญชีของตัวเอง และธุรกิจสีเทาผิดกฎหมาย ซึ่งจะเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวไม่กระทบกับผู้เสียภาษีที่ถูกต้อง แต่การออกกฎหมายนี้จะทำให้ประเทศดีขึ้น เพราะจะมีการเสียภาษีให้ถูกต้องมากขึ้น ป้องกันการทุจริตของข้าราชการ และการค้าขายของผิดกฎหมายได้