แถลงข่าวความคิดเห็น”มวยเด็ก” ของหน่วยงานต่างๆในต่างประเทศ ( 03 ธ.ค.2561 )
3 ธันวาคม, 2018
แถลงข่าวความคิดเห็นของหน่วยงานต่างๆในต่างประเทศในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ต่อปัญหา talk of the town เรื่องนักมวยไทยเด็กอายุเพียง 13 ปีที่เริ่มชกมาตั้งแต่ 8 ปี ชกเฉลี่ยทุก 10 วันมา 5 ปี ท้ายสุดเสียชีวิตจากการถูกชกนอกเอ๊าท์ กับ การแก้ไขพ.ร.บ. กฎหมายนักมวยเด็ก
วันนี้ 3 ธันวาคม 2561 ณ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แถลงข่าวความคิดเห็นของหน่วยงานต่างๆในต่างประเทศในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาต่อปัญหา talk of the town เรื่องนักมวยไทยเด็กอายุเพียง 13 ปีที่เริ่มชกมาตั้งแต่ 8 ปี ชกเฉลี่ยทุก 10 วันมา 5 ปี ท้ายสุดเสียชีวิตจากการถูกชกนอกเอ๊าท์ กับ การแก้ไขพ.ร.บ.กฎหมายนักมวยเด็ก
เรื่องที่ 1 (เอกสาร1) สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีสาส์นถึงประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย โดยได้แสดงความเห็นสนับสนุนการแก้ไขพ.ร.บ.มวย พ.ศ. 2542 ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องชกมวยเนื่องจากทางสมาคมกุมารแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ต่อต้านเรื่องการชกมวยเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกามานานจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายห้ามจัดการแข่งขันเด็กชกมวยในประเทศสหรัฐอเมริกาและขอให้กลุ่มแพทย์ในประเทศไทยช่วยกันผลักดันเรื่องนี้เพื่อความปลอดภัยของเด็กต่อไป
เอกสาร 1 ฉบับแปล
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-1-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5.pdf
เอกสาร 1 ฉบับอังกฤษ
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-1-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9.pdf
ประเด็นที่2 (เอกสาร2) ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ดร.ลิวิว วิดราสโค ให้ความเห็นว่านักมวยเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องมาชกหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว และมีการพนันร่วมด้วยเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ นับเป็นการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด และมีผลทำให้เด็กเสียสุขภาพ อาจเกิดความพิการ และมีผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้
เอกสาร2 who แสดงความเห็นต่อมวยเด็ก
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A32%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99who%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2.pdf
ประเด็นที่3 (เอกสาร3) กระทรวงแรงงานและสหรัฐอเมริกายังคงรายงานประจำปี 2017 ให้การชกมวยไทยของเด็กเพื่อหาเงิน (muaythai paid fighter)เป็นหนึ่งในเรื่องการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายและได้มีความเห็นว่าเรื่องดังกล่าวขัดแย้งกับกฎหมายอื่นในประเทศอีกหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ.แรงงาน แต่รัฐบาลและสังคมไทยก็ยังคงยอมรับและปล่อยให้การใช้แรงงานที่เลวร้ายนี้ยังปรากฎอยู่ในสังคมไทยได้
เอกสาร3 จากกระทรวงแรงงานและสหรัฐอเมริกา
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A33Thailand.pdf
เอกสาร3 แปลเอกสารจากกระทรวงแรงงานและสหรัฐอเมริกา
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A33ThailandTranslation.pdf
( 26 พ.ย.2561 ) รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ให้สัมภาษณ์ กับทีมนักข่าวหนังสือพิมพ์ The HOKKAIDO SHIMBUN PRESS –
รศ นพ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์กล่าวว่า นอกจากนั้นในระเบียบการชกมวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) ยังกำหนดให้เด็กอายุน้อยกว่า 11 ปีไม่มีการชกแข่งขันแบบปะทะแต่จัดให้มีการแข่งขันรำมวยไทย ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ชาวต่างประเทศหลากหลายสำนักทั้งประเทศตะวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน ต่างสนใจในเรื่องนี้และให้ความเห็นในเชิงถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องยกระดับบรรทัดฐานการคุ้มครองดูแลเด็ก ไม่เห็นด้วยที่สังคมไทยจะยังคงให้มีการแข่งขันมวยเด็กอายุน้อยๆเช่นรายที่เสียชีวิตชกมาตั้งแต่อายุ 8 ปี ชกถึง 170 ครั้งใน 5 ปี ชกกันในกติกาที่คล้ายผู้ใหญ่ชก เพราะเหตุความยากจน เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมโลก
สำหรับประเทศไทยจะแก้ไขเรื่องนี้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ส่งความคิดเห็นกลับมายังรัฐบาลอย่างไร และรัฐบาลจะแสดงความเห็นส่งต่อให้สนช.อย่างไร รวมทั้งการลงมติของสภาจะออกมาอย่างไร และเรื่องทั้งหมดจะเข้าสู่สภาได้ก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2561 หรือไม่ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่จะรับร่างกฎหมายเพื่อลงมติ
หากเรื่องนี้ผ่านเลยไปในรัฐบาลชุดนี้คงจะยากที่จะได้กลับมาทบทวนกันอีกรอบในรัฐบาลชุดต่อไป
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี
(มีช่องทางติดต่อใน link ที่มา)
http://csip.org/wordpress/2018/12/03/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2/?fbclid=IwAR0FMgwMhESNODz0PuNg5Zr92KCGiSaQHfwHcW8gjwbbRHkuiFfslpsqOjo
แถลงข่าวความคิดเห็น”มวยเด็ก” ของหน่วยงานต่างๆในต่างประเทศ ( 03 ธ.ค.2561 )
3 ธันวาคม, 2018
แถลงข่าวความคิดเห็นของหน่วยงานต่างๆในต่างประเทศในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ต่อปัญหา talk of the town เรื่องนักมวยไทยเด็กอายุเพียง 13 ปีที่เริ่มชกมาตั้งแต่ 8 ปี ชกเฉลี่ยทุก 10 วันมา 5 ปี ท้ายสุดเสียชีวิตจากการถูกชกนอกเอ๊าท์ กับ การแก้ไขพ.ร.บ. กฎหมายนักมวยเด็ก
วันนี้ 3 ธันวาคม 2561 ณ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แถลงข่าวความคิดเห็นของหน่วยงานต่างๆในต่างประเทศในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาต่อปัญหา talk of the town เรื่องนักมวยไทยเด็กอายุเพียง 13 ปีที่เริ่มชกมาตั้งแต่ 8 ปี ชกเฉลี่ยทุก 10 วันมา 5 ปี ท้ายสุดเสียชีวิตจากการถูกชกนอกเอ๊าท์ กับ การแก้ไขพ.ร.บ.กฎหมายนักมวยเด็ก
เรื่องที่ 1 (เอกสาร1) สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีสาส์นถึงประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย โดยได้แสดงความเห็นสนับสนุนการแก้ไขพ.ร.บ.มวย พ.ศ. 2542 ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องชกมวยเนื่องจากทางสมาคมกุมารแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ต่อต้านเรื่องการชกมวยเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกามานานจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายห้ามจัดการแข่งขันเด็กชกมวยในประเทศสหรัฐอเมริกาและขอให้กลุ่มแพทย์ในประเทศไทยช่วยกันผลักดันเรื่องนี้เพื่อความปลอดภัยของเด็กต่อไป
เอกสาร 1 ฉบับแปล
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-1-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5.pdf
เอกสาร 1 ฉบับอังกฤษ
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-1-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9.pdf
ประเด็นที่2 (เอกสาร2) ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ดร.ลิวิว วิดราสโค ให้ความเห็นว่านักมวยเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องมาชกหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว และมีการพนันร่วมด้วยเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ นับเป็นการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด และมีผลทำให้เด็กเสียสุขภาพ อาจเกิดความพิการ และมีผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้
เอกสาร2 who แสดงความเห็นต่อมวยเด็ก
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A32%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99who%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2.pdf
ประเด็นที่3 (เอกสาร3) กระทรวงแรงงานและสหรัฐอเมริกายังคงรายงานประจำปี 2017 ให้การชกมวยไทยของเด็กเพื่อหาเงิน (muaythai paid fighter)เป็นหนึ่งในเรื่องการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายและได้มีความเห็นว่าเรื่องดังกล่าวขัดแย้งกับกฎหมายอื่นในประเทศอีกหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ.แรงงาน แต่รัฐบาลและสังคมไทยก็ยังคงยอมรับและปล่อยให้การใช้แรงงานที่เลวร้ายนี้ยังปรากฎอยู่ในสังคมไทยได้
เอกสาร3 จากกระทรวงแรงงานและสหรัฐอเมริกา
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A33Thailand.pdf
เอกสาร3 แปลเอกสารจากกระทรวงแรงงานและสหรัฐอเมริกา
http://csip.org/wordpress/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A33ThailandTranslation.pdf
( 26 พ.ย.2561 ) รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ให้สัมภาษณ์ กับทีมนักข่าวหนังสือพิมพ์ The HOKKAIDO SHIMBUN PRESS –
รศ นพ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์กล่าวว่า นอกจากนั้นในระเบียบการชกมวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) ยังกำหนดให้เด็กอายุน้อยกว่า 11 ปีไม่มีการชกแข่งขันแบบปะทะแต่จัดให้มีการแข่งขันรำมวยไทย ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ชาวต่างประเทศหลากหลายสำนักทั้งประเทศตะวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน ต่างสนใจในเรื่องนี้และให้ความเห็นในเชิงถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องยกระดับบรรทัดฐานการคุ้มครองดูแลเด็ก ไม่เห็นด้วยที่สังคมไทยจะยังคงให้มีการแข่งขันมวยเด็กอายุน้อยๆเช่นรายที่เสียชีวิตชกมาตั้งแต่อายุ 8 ปี ชกถึง 170 ครั้งใน 5 ปี ชกกันในกติกาที่คล้ายผู้ใหญ่ชก เพราะเหตุความยากจน เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมโลก
สำหรับประเทศไทยจะแก้ไขเรื่องนี้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ส่งความคิดเห็นกลับมายังรัฐบาลอย่างไร และรัฐบาลจะแสดงความเห็นส่งต่อให้สนช.อย่างไร รวมทั้งการลงมติของสภาจะออกมาอย่างไร และเรื่องทั้งหมดจะเข้าสู่สภาได้ก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2561 หรือไม่ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่จะรับร่างกฎหมายเพื่อลงมติ
หากเรื่องนี้ผ่านเลยไปในรัฐบาลชุดนี้คงจะยากที่จะได้กลับมาทบทวนกันอีกรอบในรัฐบาลชุดต่อไป
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี
(มีช่องทางติดต่อใน link ที่มา)
http://csip.org/wordpress/2018/12/03/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2/?fbclid=IwAR0FMgwMhESNODz0PuNg5Zr92KCGiSaQHfwHcW8gjwbbRHkuiFfslpsqOjo