อัตรายจากแสงสีฟ้าที่อยู่กับรถอยู่กับท้องถนน
แสงสีฟ้า(หรือสีน้ำเงิน) ตัวการร้ายทำลายสายตา เรามักรุ้กันอย่างแพร่หลายถึงเรื่องนี้ในโลกยุค Digital วันๆ เราอยู่กับหน้าจอคอมฯ smartphone และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ดวงตาต้องอยู่กับแสงสีฟ้าจากหน้าจอของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้ได้รับผลกระทบมากกว่าที่คิด
แล้วลองคิดดูนะครับว่าเรายังต้องมาเจอแสงนี้บนท้องถนนอีก ผมจึงคิดว่าผมคงต้องเขียนหรือบอกเล่าเรื่องบางเรื่องแล้ว หลังจากที่ผมต้องเจอรถแต่งไฟหน้า-ไฟท้ายเป็นไฟแสงสีฟ้า แบบสีฟ้ามาเต็ม ทั้งแรงและสว่างมากส่องตามหลังรถผมจนผมต้องหลบจอดปั๊มเพื่อให้รถแต่ง(แต่งซะมั่วมาก)คันนั้นขับเลยผมไปไกลๆ ก่อน ผมขับรถกลางคืนมากกว่ากลางวันจะเจอรถแบบนี้เยอะมาก ผลที่ได้จากแสงสีฟ้านี้คือ (หาข้อมูลจาก internet ได้ทั่วไป)
ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) ได้แก่
ปวดตา ตาแห้ง ตาพร่า น้ำตาไหล วิจัยทางการแพทย์พบว่า
ถ้าเผชิญหน้ากับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ในดวงตาตาย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลงส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
เจ้าแสงสีฟ้า(แสงสีน้ำเงิน) ที่ว่านี้ไม่ได้เจอแค่แสงที่เห็นเป็นสีฟ้านะครับ มาทำความเข้าใจกันก่อน
แสงสีฟ้า (Blue Light) คือ แสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง (HEV) ใกล้เคียงรังสียูวี (Near UV) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 500 นาโนเมตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เช่น แสงอาทิตย์ แสงไฟ แสงจากหน้าจอต่างๆ เป็นต้น โดยแสงสีฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ แสงสีม่วงในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร และ
แสงสีน้ำเงินในช่วงความยาวคลื่น 450 – 500 นาโนเมตร แต่ช่วงแสงสีฟ้าที่ทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกมากที่สุดและเรามักเพ่งมองบ่อยๆ จากการใช้งานหน้าจอ จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร (อ้างอิงจาก www.focusshield.com)
ขอบคุณภาพจาก Internet
แสงสีฟ้า เราไม่ได้เห็นเป็นสีฟ้าเสมอไปหรอกครับ ถ้าเทียบกับไฟ้รถตามภาพ (อ้างอิง : densho-led.blogspot.com)
ขอบคุณภาพจาก Internet
จะเห็นว่ามันหลอดไฟรถยนต์จะเริ่มมีแสงสีฟ้าออกมาตั้งแต่ที่ 4800K เป็นต้นไป เพราะฉนั้นแสงที่คุณเห็นสีข่าวสว่างจ้ามากจึงมีแสงสีฟ้าแฝงมาด้วย
ที่จริงคนขับรถทั่วไปอย่างผมจะไม่ค่อยเจอปัญหานี้หรอก เพราะถ้าเจอผมก็หลบยอมโดนแป๊ปเดียว แต่คนที่โดนตลอดไม่ใช่ใครที่ไหนก็คือคนขับรถที่เป็นเจ้าของไฟแต่งรถเองนะแหละ 5555 ถ้ามีคนนั่งในรถอีกก็คงโดนไปด้วยโดยเฉพาะคนที่รักของเขา
อย่าเข้าใจผิดนะครับว่าคนที่ใช้ไฟแย่ๆ แบบนี้ส่องไฟใส่คนอื่นแล้วตัวเองจะไม่เป็นอะไร คุณเข้าใจผิดอย่างแรง!!! เพราะแสงที่ส่องไปนั้นเมื่อตกกระทบวัตถุจะสะท้อนกลับมาที่สายตาคุณเต็มๆ ตามหลักการการมองเห็นทางวิทยาศาสตร์ระดับประถม สะสมไปเรื่อยๆโดยที่คุณไม่รู้ตัว ผมถึงบอกไงครับว่าคนแต่งรถด้วยไฟแบบนี้คุณแต่งมั่วมาก มั่วแบบไม่ศึกษาอะไรเลย ร้านขายก็ขายได้ ได้เงินไปเรื่อยๆ 5555
ไฟที่คุณคิดว่าสว่างจ้ามากๆ นี้จะช่วยทำให้คุณมองเห็นได้ดีขึ้น นั้นก็จริงแค่ครึ่งนึง อุณหภูมิแสงที่สว่างมากๆ นั้น ส่งผลเสียข้อนึงคือ จะมองเห็นมิติของวัตถุผิดเพี้ยนไปหรือสายตาตอบสนองต่อภาพที่เห็นช้าลงระหว่างขับขี่ เพราะสายตามนุษย์ไวต่อแสงย่านสีเหลืองส้มมากกว่าย่านอื่นนั้นเอง จึงรับรู้ถึงวัตถุต่างๆ บนถนนได้ดีกว่าแถมถนอมสายตามากกว่าหากใช้แสงย่านสีเหลืองส้ม ดังนั้นไฟทางไฟถนนจึงควรต้องใช้แสงสีเหลืองหรือส้ม
คุณรู้หรือไม่ว่า การผลิตหลอด LED ผลิตหลอดโดยการปรับจูนแสงของหลอด LED ออกมาใกล้เคียงกับค่า wave lenght ที่ย่าน 505 nm หรือได้แสงสีขาวที่ซ้อนแสงสีฟ้าไว้ด้วย เนื่องจากเป็นจุดสูงสุดที่ Cone cell ในตามนุษย์จะสามารถรับภาพในยามที่มีแสงน้อยได้ดี แต่ไม่ได้เกี่ยวกับการไวต่อแสงของสายตามนุษย์ที่จำเป็นอย่างมากในการขับขี่ในช่วงเวลากลางคืน แต่ทำไงได้คนชอบนิยมกันนิ 55555
ผมไม่ได้บอกว่า LED ไม่ดี แค่ต้องเลือกใช้ให้เป็นด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่งรถไม่ได้ดูแค่สวยแต่ควรแต่งรถแบบว่าใช้ความรู้อื่น ความรู้จริงๆ ไม่ใช่ตามคำบอกเล่าต่อกันมา แต่งแล้วให้ดูมี Class ขึ้น เห็นแต่งกันซิ่งมากแต่ควันดำปิดท้ายนี้ก็ดูแล้วแต่งไม่เป็นจริงๆ 5555 นอกเรื่องละ ต้องขออภัยครับหากใส่เรื่องอื่นเข้าไปแทรก
การเลือกใช้หลอดไฟมีการเลือกที่หลากหลาย แต่หนึ่งในนั้นคือต้องเลือกที่ถนอมสายตาเราจริงๆ ด้วย เมื่อถนอมสายตาเราแล้ว จะช่วยถนอมสายเพื่อนร่วมทางด้วย ฝากไว้พิจารณากันด้วยนะครับ
อัตรายจากแสงสีฟ้าที่อยู่กับรถอยู่กับท้องถนน(ทำไมต้องไฟแสงสีเหลืองด้วย?)
แสงสีฟ้า(หรือสีน้ำเงิน) ตัวการร้ายทำลายสายตา เรามักรุ้กันอย่างแพร่หลายถึงเรื่องนี้ในโลกยุค Digital วันๆ เราอยู่กับหน้าจอคอมฯ smartphone และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ดวงตาต้องอยู่กับแสงสีฟ้าจากหน้าจอของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้ได้รับผลกระทบมากกว่าที่คิด
แล้วลองคิดดูนะครับว่าเรายังต้องมาเจอแสงนี้บนท้องถนนอีก ผมจึงคิดว่าผมคงต้องเขียนหรือบอกเล่าเรื่องบางเรื่องแล้ว หลังจากที่ผมต้องเจอรถแต่งไฟหน้า-ไฟท้ายเป็นไฟแสงสีฟ้า แบบสีฟ้ามาเต็ม ทั้งแรงและสว่างมากส่องตามหลังรถผมจนผมต้องหลบจอดปั๊มเพื่อให้รถแต่ง(แต่งซะมั่วมาก)คันนั้นขับเลยผมไปไกลๆ ก่อน ผมขับรถกลางคืนมากกว่ากลางวันจะเจอรถแบบนี้เยอะมาก ผลที่ได้จากแสงสีฟ้านี้คือ (หาข้อมูลจาก internet ได้ทั่วไป)
ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) ได้แก่ ปวดตา ตาแห้ง ตาพร่า น้ำตาไหล วิจัยทางการแพทย์พบว่า ถ้าเผชิญหน้ากับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ในดวงตาตาย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลงส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
เจ้าแสงสีฟ้า(แสงสีน้ำเงิน) ที่ว่านี้ไม่ได้เจอแค่แสงที่เห็นเป็นสีฟ้านะครับ มาทำความเข้าใจกันก่อน
แสงสีฟ้า (Blue Light) คือ แสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง (HEV) ใกล้เคียงรังสียูวี (Near UV) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 500 นาโนเมตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เช่น แสงอาทิตย์ แสงไฟ แสงจากหน้าจอต่างๆ เป็นต้น โดยแสงสีฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ แสงสีม่วงในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร และ แสงสีน้ำเงินในช่วงความยาวคลื่น 450 – 500 นาโนเมตร แต่ช่วงแสงสีฟ้าที่ทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกมากที่สุดและเรามักเพ่งมองบ่อยๆ จากการใช้งานหน้าจอ จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร (อ้างอิงจาก www.focusshield.com)
แสงสีฟ้า เราไม่ได้เห็นเป็นสีฟ้าเสมอไปหรอกครับ ถ้าเทียบกับไฟ้รถตามภาพ (อ้างอิง : densho-led.blogspot.com)
จะเห็นว่ามันหลอดไฟรถยนต์จะเริ่มมีแสงสีฟ้าออกมาตั้งแต่ที่ 4800K เป็นต้นไป เพราะฉนั้นแสงที่คุณเห็นสีข่าวสว่างจ้ามากจึงมีแสงสีฟ้าแฝงมาด้วย
ที่จริงคนขับรถทั่วไปอย่างผมจะไม่ค่อยเจอปัญหานี้หรอก เพราะถ้าเจอผมก็หลบยอมโดนแป๊ปเดียว แต่คนที่โดนตลอดไม่ใช่ใครที่ไหนก็คือคนขับรถที่เป็นเจ้าของไฟแต่งรถเองนะแหละ 5555 ถ้ามีคนนั่งในรถอีกก็คงโดนไปด้วยโดยเฉพาะคนที่รักของเขา อย่าเข้าใจผิดนะครับว่าคนที่ใช้ไฟแย่ๆ แบบนี้ส่องไฟใส่คนอื่นแล้วตัวเองจะไม่เป็นอะไร คุณเข้าใจผิดอย่างแรง!!! เพราะแสงที่ส่องไปนั้นเมื่อตกกระทบวัตถุจะสะท้อนกลับมาที่สายตาคุณเต็มๆ ตามหลักการการมองเห็นทางวิทยาศาสตร์ระดับประถม สะสมไปเรื่อยๆโดยที่คุณไม่รู้ตัว ผมถึงบอกไงครับว่าคนแต่งรถด้วยไฟแบบนี้คุณแต่งมั่วมาก มั่วแบบไม่ศึกษาอะไรเลย ร้านขายก็ขายได้ ได้เงินไปเรื่อยๆ 5555
ไฟที่คุณคิดว่าสว่างจ้ามากๆ นี้จะช่วยทำให้คุณมองเห็นได้ดีขึ้น นั้นก็จริงแค่ครึ่งนึง อุณหภูมิแสงที่สว่างมากๆ นั้น ส่งผลเสียข้อนึงคือ จะมองเห็นมิติของวัตถุผิดเพี้ยนไปหรือสายตาตอบสนองต่อภาพที่เห็นช้าลงระหว่างขับขี่ เพราะสายตามนุษย์ไวต่อแสงย่านสีเหลืองส้มมากกว่าย่านอื่นนั้นเอง จึงรับรู้ถึงวัตถุต่างๆ บนถนนได้ดีกว่าแถมถนอมสายตามากกว่าหากใช้แสงย่านสีเหลืองส้ม ดังนั้นไฟทางไฟถนนจึงควรต้องใช้แสงสีเหลืองหรือส้ม
คุณรู้หรือไม่ว่า การผลิตหลอด LED ผลิตหลอดโดยการปรับจูนแสงของหลอด LED ออกมาใกล้เคียงกับค่า wave lenght ที่ย่าน 505 nm หรือได้แสงสีขาวที่ซ้อนแสงสีฟ้าไว้ด้วย เนื่องจากเป็นจุดสูงสุดที่ Cone cell ในตามนุษย์จะสามารถรับภาพในยามที่มีแสงน้อยได้ดี แต่ไม่ได้เกี่ยวกับการไวต่อแสงของสายตามนุษย์ที่จำเป็นอย่างมากในการขับขี่ในช่วงเวลากลางคืน แต่ทำไงได้คนชอบนิยมกันนิ 55555
ผมไม่ได้บอกว่า LED ไม่ดี แค่ต้องเลือกใช้ให้เป็นด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเลือกใช้หลอดไฟมีการเลือกที่หลากหลาย แต่หนึ่งในนั้นคือต้องเลือกที่ถนอมสายตาเราจริงๆ ด้วย เมื่อถนอมสายตาเราแล้ว จะช่วยถนอมสายเพื่อนร่วมทางด้วย ฝากไว้พิจารณากันด้วยนะครับ