https://www.bbc.com/thai/thailand-46389041?ocid=socialflow_facebook
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรับรองให้ "โขน" ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ
นับเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติครั้งแรกของไทย นับตั้งแต่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้โดยสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2559
การประกาศครั้งนี้มีขึ้นในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-1 ธ.ค. 2561 ที่เมืองพอร์ตหลุยส์ สาธารณรัฐมอริเชียส ซึ่งมีผู้แทนจาก 181 ประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกเข้าร่วมประชุม
ในปีนี้ที่ประชุมพิจารณาและประกาศให้ขึ้นทะเบียนศิลปะการแสดงโขนในประเทศไทย (Khon, masked dance drama in Thailand) อยู่ในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity)
ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรม ระบุว่า โขน เป็นนาฏศิลป์และศิลปะชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเอกลักษณ์โดดเด่น รวมศาสตร์และศิลป์หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนาฏศิลป์ ดนตรี วรรณกรรม พิธีกรรม และงานช่างฝีมือต่าง ๆ
โขนยังถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมกันในอาเซียนที่ปรากฏในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เมียนมา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชาและไทย โดยรับเอาวัฒนธรรมมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งดัดแปลงจากวรรณกรรมเรื่องรามายณะและมีการพัฒนารูปแบบของการแสดงโขนในแบบฉบับของตนเองจนเป็นเอกลักษณ์
ในปีนี้ยูเนสโกยังได้ประกาศรับรอง "ละครโขน" (Lkhon Khol Wat Svay Andet) ซึ่งเป็นการแสดงโขนรูปแบบหนึ่งจากประเทศกัมพูชา เป็นมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน (Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding)
ส่วนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้รวมถึง "ดนตรีเร็กเก" ของจาเมกา, "ดอนดัง ซายัง" ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีและบทกวีในมาเลเซีย, พิธีกรรมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "ไรโฮชิน" ซึ่งเป็นการสวมหน้ากากและแต่งกายเลียนแบบเทพเจ้าที่ไปเยือนบ้านเรือนผู้คนในช่วงต้นปีหรือช่วงเปลี่ยนฤดูกาล, ศาสตร์การทำน้ำหอมในชุมชน Pays de Grasse ของฝรั่งเศส, ศาสตร์การอาบสมุนไพรตามตำราแพทย์แผนโบราณของชาวทิเบตในจีน และศาสตร์การจัดการความเสี่ยงการเกิดหิมะถล่มในสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย เป็นต้น
นวดแผนไทยปี62 โนราปี63 ที่จะส่งขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ กลัวโดนตัดหน้า
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรับรองให้ "โขน" ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ
นับเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติครั้งแรกของไทย นับตั้งแต่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้โดยสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2559
การประกาศครั้งนี้มีขึ้นในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-1 ธ.ค. 2561 ที่เมืองพอร์ตหลุยส์ สาธารณรัฐมอริเชียส ซึ่งมีผู้แทนจาก 181 ประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกเข้าร่วมประชุม
ในปีนี้ที่ประชุมพิจารณาและประกาศให้ขึ้นทะเบียนศิลปะการแสดงโขนในประเทศไทย (Khon, masked dance drama in Thailand) อยู่ในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity)
ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรม ระบุว่า โขน เป็นนาฏศิลป์และศิลปะชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเอกลักษณ์โดดเด่น รวมศาสตร์และศิลป์หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนาฏศิลป์ ดนตรี วรรณกรรม พิธีกรรม และงานช่างฝีมือต่าง ๆ
โขนยังถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมกันในอาเซียนที่ปรากฏในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เมียนมา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชาและไทย โดยรับเอาวัฒนธรรมมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งดัดแปลงจากวรรณกรรมเรื่องรามายณะและมีการพัฒนารูปแบบของการแสดงโขนในแบบฉบับของตนเองจนเป็นเอกลักษณ์
ในปีนี้ยูเนสโกยังได้ประกาศรับรอง "ละครโขน" (Lkhon Khol Wat Svay Andet) ซึ่งเป็นการแสดงโขนรูปแบบหนึ่งจากประเทศกัมพูชา เป็นมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน (Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding)
ส่วนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้รวมถึง "ดนตรีเร็กเก" ของจาเมกา, "ดอนดัง ซายัง" ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีและบทกวีในมาเลเซีย, พิธีกรรมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "ไรโฮชิน" ซึ่งเป็นการสวมหน้ากากและแต่งกายเลียนแบบเทพเจ้าที่ไปเยือนบ้านเรือนผู้คนในช่วงต้นปีหรือช่วงเปลี่ยนฤดูกาล, ศาสตร์การทำน้ำหอมในชุมชน Pays de Grasse ของฝรั่งเศส, ศาสตร์การอาบสมุนไพรตามตำราแพทย์แผนโบราณของชาวทิเบตในจีน และศาสตร์การจัดการความเสี่ยงการเกิดหิมะถล่มในสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย เป็นต้น