https://www.thaipost.net/main/detail/22878
คิกออฟ8.8หมื่นหมู่บ้าน ผุดถนนดินซีเมนท์ผสมยางพารา
วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, 12.43 น.
ถนนดิน คิกออฟ ยางพารา กระทรวงเกษตรฯ ถนนดินซีเมนท์ผสมยางพารา
“กฤษฏา”คิกออฟทุกหมู่บ้านกว่า 8.8 หมื่นแห่ง ทำถนนดินซีเมนท์ผสมยางพาราทั่วประเทศ สั่งปลัด กษ.เร่งกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ปูพรมซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกร
25 พ.ย.61 นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หลายจังหวัด ได้ดำเนินการทำถนนดินซีเมนท์ผสมยางพารา ซึ่งมีจังหวัดที่เป็นต้นแบบ คือ หนองบัวลำภู สงขลา อุทัยธานี สุราษฏร์ธานี ตรัง และชุมพร กำลังเริ่มดำเนินการ ตนขอชื่นชมในความร่วมมือของหน่วยงาน หากใช้น้ำยางทำถนน ทำทุกหมู่บ้าน-ชุมชนทั่วประเทศกว่า 8.8 หมื่นแห่งๆละ 1 กิโลเมตร จะสามารถยกระดับราคายางได้ และเป็นกำลังใจข้าราชการทุกคนทุ่มเทช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่ประสบความความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงทุกพื้นที่
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ตนได้สั่งการด่วนที่สุดให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ผู้บริหารหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯทุกพื้นที่ เรื่องการตรวจสอบติดตามปัญหาการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ โดยแจ้งผู้รับทราบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทุกจังหวัด ว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐใช้ยางพารา และขณะนี้ อปท.หลายแห่งได้เริ่มสนองนโยบายดังกล่าว โดยได้ใช้งบประมาณของ อปท.ไปจัดทำโครงการทำถนนด้วยยางพารา ขณะเดียวกันมีรายงานว่าการใช้เงินประมาณของ อปท.บางแห่งยังมีปัญหาการอนุมัติหรือการใช้จ่ายตามระเบียบว่าด้วยการงบประมาณของ อปท.นั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้น เป็นไปด้วยความเรียนร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯและผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้เกษตรจังหวัด และ ผอ.กยท.จังหวัด ไปประสานงานกับท้องถิ่นจังหวัดเพื่อสอบถามผู้บริหาร อปท.หรือเจ้าหน้าที่ อปท.ในพื้นที่ว่าการจัดทำโครงการใช้ยางพาราของ อปท.ที่กำลังจะเริ่มดำเนินการหรือดำเนินการไปแล้วนั้น มีปัญหา อุปสรรคเรื่องการอนุมัติ การใช้งบประมาณตามระเบียบกฎหมายในประเด็นเรื่องใดหรือไม่ เช่น การใช้งบประมาณเหลือจ่าย การใช้งบประมาณเงินสะสมหรืองบประมาณอื่นๆของ อปท.หรือเงื่อนไขตามประกาศกำหนดราคากลาง ฯลฯ
พร้อมทั้งให้ลงไปตรวจสอบติดตามการทำถนน หรือโครงการใช้ยางพาราในโครงการอื่นๆในพื้นที่ว่ามีปัญหาในการจัดซื้อน้ำยางจากเกษตรกรหรือไม่รวมทั้งมีความก้าวหน้าอย่างไร พร้อมทั้งให้รายงานปัญหา อุปสรรค และความก้าวหน้าให้ กษ.ส่วนกลางทราบทุกระยะด้วย เมื่อกระทรวงเกษตรฯได้รับรายงานเรื่องปัญหาอุปสรรค ให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และ รก.ผู้ว่า กยท.ได้ประสานกับปลัดกระทรวงมหาดไทย และ/หรืออธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และอธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อหารือในแนวทางการแก้ไขปัญหาให้หน่วยปฎิบัติในพื้นที่โดยเร็วอย่าชักช้าอย่างเด็ดขาด
“ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ยังต้องเร่งประสานงานกับปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทหรือหน่วยรัฐอื่นๆเพื่อหารือให้พิจารณาสนับสนุนการใช้ยางพาราในถนนสายรองต่างๆทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 2561 หรือปี2562 หรืองบประมาณกลางปี(หากมี) ด้วย รวมทั้งเกษตรและสหกรณ์จังหวัดประสานงานกับหัวหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อขอให้พิจารณาเสนอผวจ.และคณะกรรมการพัฒนาเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนับสนุนให้ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดมาใช้ในโครงการการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐตามนโยบายของรัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย” นายกฤษฏา กล่าว
นอกจากนี้ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯทุกเขตได้ออกไปตรวจติดตามการดำเนินงานตามโครงการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดตามรายละเอียดดังกล่าวโดยใกล้ชิดทั้งนี้ให้ถือว่าการตรวจราชการตามโครงการนี้เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษด้วย จึงขอให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯวางระบบการตรวจและติดตามผลการตรวจราชการครั้งนี้ให้เป็นระบบเพื่อให้รัฐบาลและรมว.เกษตรฯ ได้ทราบความก้าวหน้าหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ และสามารถสั่งการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนมากที่สุด
นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า ได้รับรายงานจากเกษตรและสหกรณ์(กษ.) จังหวัดหนองบัวลำภูว่า ได้ประสานงานกับองค์การบริหารงานส่วนจังหวัด(อบจ.) ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ทางอบจ. อนุมัติงบประมาณสร้างถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราเป็นแห่งแรก เป็นถนนสาธิต ตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐ โดย อบจ.หนองบัวลำภู ซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรห้วยเดื่อ 1,200 กิโลกรัมและจากสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนทันยางทอง จำกัด 1,200 กิโลกรัม มาทำถนนยางพาราที่หมู่ 4 บ้านหินลับ ตำบลหนองสวรรค์ อ. เมืองหนองบัวลำภูแล้ว
ทั้งนี้ ตามรายงานระบุว่า จากราคาซื้อขายที่กรุงเทพฯ อยู่ที่กิโลกรัมละ 36 บาทนั้น กลุ่มเกษตรกรต้องมีค่าใช้จ่ายในการนำแอมโมเนียและสารกันกอกเพื่อป้องกันยางจับตัวเป็นก้อนมาใส่ในน้ำยางสด รวมทั้งค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 10.23 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทางอบจ. รับซื้อน้ำยางสดในพื้นที่โดยเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวที่กิโลกรัมละ 26.67 บาท
ด้านนายแพทย์ศราวุธ สันตินันตะรักษ์ นายกอบจ. หนองบัวลำภู กล่าวว่า ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการก่อสร้างถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราแก่ผู้บริหารอบต. เทศบาล และพนักงานด้านช่างถึงการนำน้ำยางพาราสดและน้ำยางพาราข้นมาทำถนนตามมาตรฐานงานดินซีเมนต์ของกรมทางหลวงชนบทตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อผลักดันราคายางพาราที่ตกต่ำให้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งได้ทำถนนสาธิตไว้ที่สาย นภ. ถ. 10009 สายบ้านเก๋าโกใต้-บ้านโนนงาม ตำบลหนองสวรรค์ อำเภอเมืองหนองบัวลำภูสำหรับถนนสายแรกนี้ยาว 200 เมตร ผิวการจราจรกว้าง 6 เมตร คิดเป็น 1,200 ตารางเมตร ใช้ซีเมนต์ 240 ถุงผสมดินลูกรัง คลุกเคล้าให้เข้ากัน ต่อมาใช้น้ำยางพาราสดพ่นให้ทั่วผิวถนน แล้วใช้เครื่องจักรกลเกลี่ยและคลุกเคล้าถึง 4 รอบ แล้วจึงบดอัดให้แน่น
นายกอบจ. หนองบัวลำภู กล่าวอีกว่า ยังมีอบต. 43 แห่งและเทศบาล 24 แห่งแสดงความจำนงที่จะร่วมโครงการเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางในจังหวัด ทั้งนี้ถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราความยาว 1 กิโลเมตร ผิวการจราจรกว้าง 6 เมตร คิดเป็น 6,000 ตารางเมตร ใช้น้ำยางสด 12,000 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 26.67 บาท คิดเป็นค่าน้ำยางสด 320,040 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมค่าวัสดุอื่นๆ จะใช้งบประมาณ 1,130,040 บาทในการสร้างถนนงานดินซีเมนต์ยางพาราความยาว 1 กิโลเมตร โดยทางจังหวัดหนองบัวลำภูจะรับซื้อน้ำยางสดจากสถาบันเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และช่วยยกระดับราคายางให้สูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล
https://www.naewna.com/local/379048
สร้างภาพหาเสียง สไตล์นักการเมือง
ไม่ต้องอายกันแล้วค่ะ แสดงเต็มที่
4 ปี ผ่านมายังไม่เห็นลุงตู่ไปกรีดยาง หรือไปเกี่ยวข้าวเลย
โถ....ทำไปได้นะคะ....
💕💕💕~มาลาริน~ภาพแบบนี้ประชาชนไม่เบื่อบ้างหรือคะ..เวลารัฐบาลแก้ปัญหายางพาราหรือสร้างถนนยางพาราก็ว่าหาเสียงเลือกตั้ง
https://www.thaipost.net/main/detail/22878
คิกออฟ8.8หมื่นหมู่บ้าน ผุดถนนดินซีเมนท์ผสมยางพารา
วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, 12.43 น.
ถนนดิน คิกออฟ ยางพารา กระทรวงเกษตรฯ ถนนดินซีเมนท์ผสมยางพารา
“กฤษฏา”คิกออฟทุกหมู่บ้านกว่า 8.8 หมื่นแห่ง ทำถนนดินซีเมนท์ผสมยางพาราทั่วประเทศ สั่งปลัด กษ.เร่งกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ปูพรมซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกร
25 พ.ย.61 นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หลายจังหวัด ได้ดำเนินการทำถนนดินซีเมนท์ผสมยางพารา ซึ่งมีจังหวัดที่เป็นต้นแบบ คือ หนองบัวลำภู สงขลา อุทัยธานี สุราษฏร์ธานี ตรัง และชุมพร กำลังเริ่มดำเนินการ ตนขอชื่นชมในความร่วมมือของหน่วยงาน หากใช้น้ำยางทำถนน ทำทุกหมู่บ้าน-ชุมชนทั่วประเทศกว่า 8.8 หมื่นแห่งๆละ 1 กิโลเมตร จะสามารถยกระดับราคายางได้ และเป็นกำลังใจข้าราชการทุกคนทุ่มเทช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่ประสบความความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงทุกพื้นที่
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ตนได้สั่งการด่วนที่สุดให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ผู้บริหารหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯทุกพื้นที่ เรื่องการตรวจสอบติดตามปัญหาการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ โดยแจ้งผู้รับทราบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทุกจังหวัด ว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐใช้ยางพารา และขณะนี้ อปท.หลายแห่งได้เริ่มสนองนโยบายดังกล่าว โดยได้ใช้งบประมาณของ อปท.ไปจัดทำโครงการทำถนนด้วยยางพารา ขณะเดียวกันมีรายงานว่าการใช้เงินประมาณของ อปท.บางแห่งยังมีปัญหาการอนุมัติหรือการใช้จ่ายตามระเบียบว่าด้วยการงบประมาณของ อปท.นั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้น เป็นไปด้วยความเรียนร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯและผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้เกษตรจังหวัด และ ผอ.กยท.จังหวัด ไปประสานงานกับท้องถิ่นจังหวัดเพื่อสอบถามผู้บริหาร อปท.หรือเจ้าหน้าที่ อปท.ในพื้นที่ว่าการจัดทำโครงการใช้ยางพาราของ อปท.ที่กำลังจะเริ่มดำเนินการหรือดำเนินการไปแล้วนั้น มีปัญหา อุปสรรคเรื่องการอนุมัติ การใช้งบประมาณตามระเบียบกฎหมายในประเด็นเรื่องใดหรือไม่ เช่น การใช้งบประมาณเหลือจ่าย การใช้งบประมาณเงินสะสมหรืองบประมาณอื่นๆของ อปท.หรือเงื่อนไขตามประกาศกำหนดราคากลาง ฯลฯ
พร้อมทั้งให้ลงไปตรวจสอบติดตามการทำถนน หรือโครงการใช้ยางพาราในโครงการอื่นๆในพื้นที่ว่ามีปัญหาในการจัดซื้อน้ำยางจากเกษตรกรหรือไม่รวมทั้งมีความก้าวหน้าอย่างไร พร้อมทั้งให้รายงานปัญหา อุปสรรค และความก้าวหน้าให้ กษ.ส่วนกลางทราบทุกระยะด้วย เมื่อกระทรวงเกษตรฯได้รับรายงานเรื่องปัญหาอุปสรรค ให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และ รก.ผู้ว่า กยท.ได้ประสานกับปลัดกระทรวงมหาดไทย และ/หรืออธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และอธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อหารือในแนวทางการแก้ไขปัญหาให้หน่วยปฎิบัติในพื้นที่โดยเร็วอย่าชักช้าอย่างเด็ดขาด
“ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ยังต้องเร่งประสานงานกับปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทหรือหน่วยรัฐอื่นๆเพื่อหารือให้พิจารณาสนับสนุนการใช้ยางพาราในถนนสายรองต่างๆทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 2561 หรือปี2562 หรืองบประมาณกลางปี(หากมี) ด้วย รวมทั้งเกษตรและสหกรณ์จังหวัดประสานงานกับหัวหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อขอให้พิจารณาเสนอผวจ.และคณะกรรมการพัฒนาเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนับสนุนให้ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดมาใช้ในโครงการการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐตามนโยบายของรัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย” นายกฤษฏา กล่าว
นอกจากนี้ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯทุกเขตได้ออกไปตรวจติดตามการดำเนินงานตามโครงการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดตามรายละเอียดดังกล่าวโดยใกล้ชิดทั้งนี้ให้ถือว่าการตรวจราชการตามโครงการนี้เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษด้วย จึงขอให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯวางระบบการตรวจและติดตามผลการตรวจราชการครั้งนี้ให้เป็นระบบเพื่อให้รัฐบาลและรมว.เกษตรฯ ได้ทราบความก้าวหน้าหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ และสามารถสั่งการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนมากที่สุด
นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า ได้รับรายงานจากเกษตรและสหกรณ์(กษ.) จังหวัดหนองบัวลำภูว่า ได้ประสานงานกับองค์การบริหารงานส่วนจังหวัด(อบจ.) ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ทางอบจ. อนุมัติงบประมาณสร้างถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราเป็นแห่งแรก เป็นถนนสาธิต ตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐ โดย อบจ.หนองบัวลำภู ซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรห้วยเดื่อ 1,200 กิโลกรัมและจากสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนทันยางทอง จำกัด 1,200 กิโลกรัม มาทำถนนยางพาราที่หมู่ 4 บ้านหินลับ ตำบลหนองสวรรค์ อ. เมืองหนองบัวลำภูแล้ว
ทั้งนี้ ตามรายงานระบุว่า จากราคาซื้อขายที่กรุงเทพฯ อยู่ที่กิโลกรัมละ 36 บาทนั้น กลุ่มเกษตรกรต้องมีค่าใช้จ่ายในการนำแอมโมเนียและสารกันกอกเพื่อป้องกันยางจับตัวเป็นก้อนมาใส่ในน้ำยางสด รวมทั้งค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 10.23 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทางอบจ. รับซื้อน้ำยางสดในพื้นที่โดยเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวที่กิโลกรัมละ 26.67 บาท
ด้านนายแพทย์ศราวุธ สันตินันตะรักษ์ นายกอบจ. หนองบัวลำภู กล่าวว่า ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการก่อสร้างถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราแก่ผู้บริหารอบต. เทศบาล และพนักงานด้านช่างถึงการนำน้ำยางพาราสดและน้ำยางพาราข้นมาทำถนนตามมาตรฐานงานดินซีเมนต์ของกรมทางหลวงชนบทตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อผลักดันราคายางพาราที่ตกต่ำให้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งได้ทำถนนสาธิตไว้ที่สาย นภ. ถ. 10009 สายบ้านเก๋าโกใต้-บ้านโนนงาม ตำบลหนองสวรรค์ อำเภอเมืองหนองบัวลำภูสำหรับถนนสายแรกนี้ยาว 200 เมตร ผิวการจราจรกว้าง 6 เมตร คิดเป็น 1,200 ตารางเมตร ใช้ซีเมนต์ 240 ถุงผสมดินลูกรัง คลุกเคล้าให้เข้ากัน ต่อมาใช้น้ำยางพาราสดพ่นให้ทั่วผิวถนน แล้วใช้เครื่องจักรกลเกลี่ยและคลุกเคล้าถึง 4 รอบ แล้วจึงบดอัดให้แน่น
นายกอบจ. หนองบัวลำภู กล่าวอีกว่า ยังมีอบต. 43 แห่งและเทศบาล 24 แห่งแสดงความจำนงที่จะร่วมโครงการเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางในจังหวัด ทั้งนี้ถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราความยาว 1 กิโลเมตร ผิวการจราจรกว้าง 6 เมตร คิดเป็น 6,000 ตารางเมตร ใช้น้ำยางสด 12,000 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 26.67 บาท คิดเป็นค่าน้ำยางสด 320,040 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมค่าวัสดุอื่นๆ จะใช้งบประมาณ 1,130,040 บาทในการสร้างถนนงานดินซีเมนต์ยางพาราความยาว 1 กิโลเมตร โดยทางจังหวัดหนองบัวลำภูจะรับซื้อน้ำยางสดจากสถาบันเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และช่วยยกระดับราคายางให้สูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล
https://www.naewna.com/local/379048
สร้างภาพหาเสียง สไตล์นักการเมือง
ไม่ต้องอายกันแล้วค่ะ แสดงเต็มที่
4 ปี ผ่านมายังไม่เห็นลุงตู่ไปกรีดยาง หรือไปเกี่ยวข้าวเลย
โถ....ทำไปได้นะคะ....