สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
พลเอกสุจินดา ลาออก พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะเลือก พล.อ.อ สมบุญ ระหงษ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนฯ ในขณะนั้น ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายก ฯ
นายอานันท์ ประกาศจัดการเลือกตั้งในวันที่ 13 กันยายน 2535 ไม่กี่เดือนจากเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ
ขณะนั้นกระแสพรรคเทพ พรรคมาร แรงมาก พรรคชาติไทยที่เป็นฝ่ายพรรคมารก็เตรียมการเลือกตั้งปกติ
โดยหวังให้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มานำทัพ แต่จู่ๆพลเอกชาติชาย กลับหนีจากพรรคชาติไทย
พรรคที่เหมือนกับเป็นพรรคครอบครัวตนเอง มาอยู่พรรคชาติพัฒนา ท่ามกลางความแปลกใจของคอการเมืองยุคนั้น
นี่ระดับหัวหน้าพรรค แคนนิเดตนายกรัฐมนตรีย้ายพรรค คนยุคนั้นยังเห็นเป็นเรื่องปกติ อาจจะแปลกใจเล็กน้อย แค่นั้น !!!
แต่สองวันนี้ แค่ส.ส ธรรมดาย้ายพรรค บางพวกถึงกับฟินน้ำลายไหล ดีใจสุดขีด
เอ...ทำไมคนสมัยนี้อารมณ์อ่อนไหวขนาดนี้ หรือ พวกนั้นมันไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์การเมือง จึงเห็นเป็นเรื่องแปลก ?
cnck
พลเอกสุจินดา ลาออก พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะเลือก พล.อ.อ สมบุญ ระหงษ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนฯ ในขณะนั้น ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายก ฯ
นายอานันท์ ประกาศจัดการเลือกตั้งในวันที่ 13 กันยายน 2535 ไม่กี่เดือนจากเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ
ขณะนั้นกระแสพรรคเทพ พรรคมาร แรงมาก พรรคชาติไทยที่เป็นฝ่ายพรรคมารก็เตรียมการเลือกตั้งปกติ
โดยหวังให้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มานำทัพ แต่จู่ๆพลเอกชาติชาย กลับหนีจากพรรคชาติไทย
พรรคที่เหมือนกับเป็นพรรคครอบครัวตนเอง มาอยู่พรรคชาติพัฒนา ท่ามกลางความแปลกใจของคอการเมืองยุคนั้น
นี่ระดับหัวหน้าพรรค แคนนิเดตนายกรัฐมนตรีย้ายพรรค คนยุคนั้นยังเห็นเป็นเรื่องปกติ อาจจะแปลกใจเล็กน้อย แค่นั้น !!!
แต่สองวันนี้ แค่ส.ส ธรรมดาย้ายพรรค บางพวกถึงกับฟินน้ำลายไหล ดีใจสุดขีด
เอ...ทำไมคนสมัยนี้อารมณ์อ่อนไหวขนาดนี้ หรือ พวกนั้นมันไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์การเมือง จึงเห็นเป็นเรื่องแปลก ?
cnck
ความคิดเห็นที่ 13
อย่าว่าแต่ย้ายพรรคก่อนการเลือกตั้งเลย !!!
ในการเลือกตั้งครั้งที่ 15 ของไทยในวันที่ 18 เมษายน 2526
รัฐธรรมนูญฉบับนั้นอนุญาตให้ย้ายพรรคหลังการเลือกตั้งได้ แต่ต้องทำภายใน 4 วัน
ผลการเลือกตั้งครั้งแรก พรรคกิจสังคมได้ 92 ที่นั่ง พรรคชาติไทยได้เพียง 73 ที่นั่ง
แต่ด้วยความอยากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคชาติไทยลงมือดูด ส.ส ทันที สุดท้ายกลับมามี ส.ส มากกว่า พรรคกิจสังคม
แต่บั้นปลายพรรคชาติไทยก็แห้ว... เพราะทหารที่มี พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็น ผบ.ทบ ไม่เอาพรรคชาติไทยเป็นรัฐบาล
ทำให้ต้องไปเป็นฝ่ายค้านตลอดสมัยนั้น
ป.ล ถามว่าดูด ส.ส ที่ได้รับการเลือกตั้งแล้ว ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ?
ป.ล 2 ผู้จัดการรัฐบาลยุคนั้นคือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งขณะนั้นมียศพลโท
cnck
ในการเลือกตั้งครั้งที่ 15 ของไทยในวันที่ 18 เมษายน 2526
รัฐธรรมนูญฉบับนั้นอนุญาตให้ย้ายพรรคหลังการเลือกตั้งได้ แต่ต้องทำภายใน 4 วัน
ผลการเลือกตั้งครั้งแรก พรรคกิจสังคมได้ 92 ที่นั่ง พรรคชาติไทยได้เพียง 73 ที่นั่ง
แต่ด้วยความอยากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคชาติไทยลงมือดูด ส.ส ทันที สุดท้ายกลับมามี ส.ส มากกว่า พรรคกิจสังคม
แต่บั้นปลายพรรคชาติไทยก็แห้ว... เพราะทหารที่มี พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็น ผบ.ทบ ไม่เอาพรรคชาติไทยเป็นรัฐบาล
ทำให้ต้องไปเป็นฝ่ายค้านตลอดสมัยนั้น
ป.ล ถามว่าดูด ส.ส ที่ได้รับการเลือกตั้งแล้ว ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ?
ป.ล 2 ผู้จัดการรัฐบาลยุคนั้นคือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งขณะนั้นมียศพลโท
cnck
ความคิดเห็นที่ 7
สองวันนี้อ่านเรื่องการย้ายพรรค เห็นบางพวกฟินกันใหญ่ ก็นึกแปลกใจ เอ๊ะ !!! มันแปลกตรงไหนหว่า ?...
การเมืองไทยนับหลังจากการเลือกตั้งครั้งที่ 1 เมื่อ 15 พ.ย 2476 มาถึงครั้งล่าสุด ครั้งที่ 26 3 ก.ค 2554
มีครั้งไหนบ้างที่ไม่มี ส.ส ย้ายพรรค !!!
(การเลือกตั้งครั้งที่ 27 2 กพ 2557 นกหวีดขัดขวางการเลือกตั้ง)
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ คุณทักษิณ ชินวัตร คุณสมัคร สุนทรเวช
ระดับนายกรัฐมนตรียังเคยย้ายพรรคมาแล้ว นับประสาอะไรกับพวกเป็นแค่รัฐมนตรี หรือ ส.ส บิ๊กเนม
cnck
การเมืองไทยนับหลังจากการเลือกตั้งครั้งที่ 1 เมื่อ 15 พ.ย 2476 มาถึงครั้งล่าสุด ครั้งที่ 26 3 ก.ค 2554
มีครั้งไหนบ้างที่ไม่มี ส.ส ย้ายพรรค !!!
(การเลือกตั้งครั้งที่ 27 2 กพ 2557 นกหวีดขัดขวางการเลือกตั้ง)
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ คุณทักษิณ ชินวัตร คุณสมัคร สุนทรเวช
ระดับนายกรัฐมนตรียังเคยย้ายพรรคมาแล้ว นับประสาอะไรกับพวกเป็นแค่รัฐมนตรี หรือ ส.ส บิ๊กเนม
cnck
ความคิดเห็นที่ 6
น้องคิดว่า เป็นพฤติกรรมการเอาตัวรอด ของคนที่มองตัวเองแล้วว่าไม่น่าจะรอด หรือหวังผลประโยชน์
เปรียบกับคนที่ว่ายน้ำไม่แข็ง (คือว่ายน้ำไม่ค่อยเป็นเน้อ ไม่ใช่ว่ายแล้ว..ไม่แข็ง 555+ //นุ้งคิดไปเองอะเปล่าคะเนี่ย)
โอ๊ย เปลี่ยนใหม่ๆ ค่ะ
เปรียบเหมือนกลุ่มคน ที่อยากจะข้ามไปฝั่งฝันได้ไว พอเห็นเรือลำหนึ่ง ที่ภายนอกสังสรรค์เฮฮากันเจื้อยแจ้ว
เลยกระโดดจากเรือที่ตัวเองอยู่ปัจจุบัน ว่ายไปเกาะ
ว่าแต่.. พวกเค้าจะคาดการณ์ชะตาตัวเองไหมคะว่า พอถึงฝั่งแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง
จะโดนยันหัวเรือส่ง หรือ จะได้รับการอุ้มชู อย่างดีรึเปล่า
เปรียบกับคนที่ว่ายน้ำไม่แข็ง (คือว่ายน้ำไม่ค่อยเป็นเน้อ ไม่ใช่ว่ายแล้ว..ไม่แข็ง 555+ //นุ้งคิดไปเองอะเปล่าคะเนี่ย)
โอ๊ย เปลี่ยนใหม่ๆ ค่ะ
เปรียบเหมือนกลุ่มคน ที่อยากจะข้ามไปฝั่งฝันได้ไว พอเห็นเรือลำหนึ่ง ที่ภายนอกสังสรรค์เฮฮากันเจื้อยแจ้ว
เลยกระโดดจากเรือที่ตัวเองอยู่ปัจจุบัน ว่ายไปเกาะ
ว่าแต่.. พวกเค้าจะคาดการณ์ชะตาตัวเองไหมคะว่า พอถึงฝั่งแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง
จะโดนยันหัวเรือส่ง หรือ จะได้รับการอุ้มชู อย่างดีรึเปล่า
แสดงความคิดเห็น
++...นักการเมืองมีการย้ายพรรคก่อนเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องปกติ...++(ริมคันนา)
การย้ายพรรคของนักการเมืองก่อนการเลือกตั้ง ยิ่งเป็นการดี แฟร์ๆ ที่ทำกันก่อนการเลือกตั้ง เพราะสุดท้ายแล้วประชาชนต่างหากที่จะเป็นคนตัดสินว่า นักการเมืองคนไหนที่ประชาชนจะฝากความหวังให้เข้าไปทำหน้าที่แทนได้ แบบนี้ประชาชนจะได้เห็นตัวตนชัดเจนของนักการเมืองแต่ละคน ส่วนต่อจากนี้ไปก็คือผลแห่งการกระทำของนักการเมืองวัดกันที่คูหา
ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่า สมัยอดีตที่มีนักการเมืองบางคนที่ตอนหาเสียง เดินเข้าหาประชาชน อาศัยนโยบายของพรรคนึงหาเสียง พอประชาชนเทคะแนนให้เพราะหวังว่าจะเป็นปากเสียงในเรื่องต่างๆ และยอมรับในนโยบายที่นำมาเร่ขาย จนได้รับคะแนนไว้วางใจไป แต่พอเข้าไปเป็นสส.ในสภา ซึ่งนักการเมืองคนนั้นประชาชนก็รู้อยู่ว่ามีคดีความติดตัว แต่พอมีการโหวตนายก กลับย้ายขั้วไปกอดกับพรรคแมลงสาป ซึ่งเป็นคนละฝั่ง คนละอุดมการณ์ กับพรรคที่สังกัดก่อนได้ตำแหน่ง แบบตรงกันข้าม จนเป็นเหตุให้นายกที่ได้ กลับกลายเป็นฟากฝั่งที่ประชาชนไม่ได้ต้องการ บอกตรงๆแบบนั้นมันประเภท หักหลังประชาชนชัดๆค่ะ ประชาชนรับไม่ได้หรอก
แต่หลังจากนั้นนักการเมืองคนนั้นก็ต้อง ดับสูญไปจากวงการการเมืองไทย หันไปทำอาชีพอื่น เพราะถ้ายังหนาอยู่ ก็คงไม่ต่างอะไรกับแมลงสาปที่ค่อยๆสูญพันธุ์ไปทีละน้อยทีละน้อย ถึงยังอยู่ก็หาราคาไม่ได้ ลอยไปลอยมาไร้หลักการณ์ไปวันๆ
เพราะฉะนั้น การย้ายพรรคของนักการเมืองก่อนการเลือกตั้ง ใครอยากไปไหน ก็ไปเถอะค่ะ สุดท้าย ก็ไปรอดูกันที่ผลของเลือกตั้ง จะออกมาอย่างไรนั้นประชาชนจะเป็นคนตัดสินเอง
แต่ที่น่าแปลกใจอยู่อย่างคือ เมื่อก่อนที่มีนักการเมืองเข้ามาไทยรักไทย ซึ่งย้ายก่อนการเลือกตั้ง เราจะได้ยินคำประณาม หยามเหยียดว่า เป็นพวกสส.ขายตัว ถูกซื้อ เห็นแก่เงิน ซึ่งเป็นคำด่าทอ จากฟากฝั่งของคนดีที่ชอบเหยียดหยามคนที่คิดต่างกับตัวเอง
แต่ตอนนี้ มีการย้ายพรรคกันมากมายแต่เป็นการย้ายเข้าไปสู่พรรคที่พวกสลิ่มคนดีเชียร์ กลับมีวาทกรรมใหม่ว่า "ฝ่ายประชาธิปไตยเลือดไหลไม่หยุด" ตกลงว่า การย้ายพรรคไม่ใช่สส.ขายตัวแล้วใช่มั้ยคะ? เป็นสลิ่มคนดีนี่ ใช้วาทกรรมอย่างไรก็ได้ใช่มั้ยคะ จะดีจะชั่ว ดูแค่เป็นฝ่ายไหนทำ อืม สลิ่มนี่มันประเทศกรูมีจริงๆเลยเชียว อิอิ
...ริมคันนา...