การข้ามเพศในสังคมไทย

เพศที่สาม” ถือว่าเป็นคำที่คนไทยแทบทุกคนคุ้นเคย และอาจใช้กันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่ออธิบายคนกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากชายจริงหญิงแท้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเพศที่สามในสังคมไทย มีอิสระในการแสดงออกความเป็นตัวของตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าสิทธิเสรีภาพทางด้านกฏหมายของไทยยังไม่เทียบเท่าประเทศพัฒนาบางประเทศก็ตาม ในปัจจุบันคนไทยบางส่วนอาจได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์เพศจิปาถะ ศัพท์วิชาการ ศัพท์ใหม่ ศัพท์วัยรุ่น ที่นอกเหนือไปจาก กะเทย ทอม ตุ๊ด สาวประเภทสอง เช่น เชอร์รี่ อดัม ทอมเกย์ กะเทยเลสเบี้ยน ไปจนถึง ผู้หญิงข้ามเพศ และ ผู้ชายข้ามเพศ ถึงแม้ว่าบ่อยครั้งคำศัพท์เหล่านี้ยังคงถูกใช้ปะปนกันอยู่ เช่นในกรณีของ ตุ๊ดกับกะเทย หรือ ทอมกับผู้ชายข้ามเพศ แต่คำเรียกเพศแต่ละคำนั้น ต่างมีนัยยะสำคัญของตนเอง
ประเด็นของที่มาของการเป็นเพศที่สาม กะเทย ตุ๊ด ทอม และเพศอื่นๆ ยังคงเป็นที่ถกเถียงและพูดคุยอยู่ว่า มันเกิดจากธรรมชาติ การขัดเกลาทางสังคม หรือ เวรกรรมในอดีตชาติ ซึ่งบทความของผมไม่ได้ต้องการจะหาคำตอบและชี้เจาะจงว่า ท้ายที่สุดแล้ว “การข้ามเพศ” มีที่มาจากปัจจัยอะไร เชื่อว่าตัวตนของแต่ละคนนั้นมีองค์ประกอบและปัจจัยที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นไปได้ว่า ธรรมชาติ การขัดเกลาทางสังคม หรือแม้แต่เวรกรรม ก็อาจจะมีส่วนที่ทำให้เราเป็นสิ่งที่เราเป็นในทุกวันนี้ จุดที่น่าสนใจในบทความนี้มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของความรู้ ค่านิยม และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการข้ามเพศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านจิตวิทยา และปรัชญาสังคมศาสตร์ทำให้ การข้ามเพศ ไม่ใช่หยุดอยู่ที่การกบฏต่อค่านิยมชายจริงหญิงแท้ แต่พัฒนาสู้การปรับเปลี่ยนตนเองเพื่ออยู่ในสังคมร่วมกับสังคมชายจริงหญิงแท้ได้มากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ผมยกกรณีศึกษาของบุคคลข้ามเพศในไทยและญี่ปุ่น เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการข้ามเพศในบริบทของสังคมที่แตกต่าง แต่กลับมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าสนใจ
ทางความรัก สังคมไทยได้ตีตราว่าเพศที่สามเป็นแค่ตัวสำรอง ท้ายที่สุดชายจริงหญิงแท้ที่เป็นคู่ของพวกเขา จะตัดสินใจเดินทางไปเพื่อสร้างครอบครัว มีลูก เช่นเดียวกับที่ชายหญิง “ปกติ” ทำกัน สังคมยังสร้างอคติว่าเพศที่สาม จะสามารถรักษาความรักได้ก็ต่อเมื่อมีเงินไว้เปย์คู่ของตัวเองเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้เงินซื้อความสุขทางเพศชั่วครั้งชั่วคราว แต่จะไม่มีวันตามหารักแท้ได้เหมือนชายจริงหญิงแท้
ข้อจำกัดทางด้านสิทธิ และการถูกตีกรอบให้มีตัวตนในฐานะประชากรชั้นสอง ทำให้คนที่ถูกจัดประเภทให้เป็นเพศที่สามเข้าใจว่าทางออกเดียวที่พวกเขาจะมีชีวิตที่ดีในสังคมได้ คือ ความพยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับบทบาทของชายจริงหญิงแท้ เช่นในกรณีของ กะเทย สาวประเภทสอง และผู้หญิงข้ามเพศ ความงามถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อรองเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม
เพศทีสามได้เรียกร้องเสนอข้อต่อรองต่างๆเพื่อความเท่าเทียมกันในกลุ่มของตนจึงน่าสนใจเลยไม่น้อยถ้าวันนึงจะมีการเคลื่อนไหวที่เป็นจริงขึ้นมาในทางการเมือง

คิดเห็นกันยังไงบ้างครับ ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่