[CR] HOUSE VISION CHINA 2018 : นิทรรศการบ้านแห่งอนาคต ณ กรุงปักกิ่ง

ช่วงเดือน กันยายน-พฤศจิกายน ที่ผ่านมาที่ปักกิ่งมีงานนิทรรศการทางสถาปัตย์ ที่น่าสนใจมาก ระหว่างที่นั่งสเก็ตช์แบบร่างอยู่ ก็ได้ยินเพื่อนคนจีนที่นั่งข้างๆ มากระซิบบอกว่ามี "展览"(Zhǎnlǎn)ภาษาจีนแปลว่า นิทรรศการ ที่จัดอยู่ที่ Bird nest stadium จริงๆแค่ได้รู้ว่ามีนิทรรศการชั่วคราวมาจัดที่นี่ก็น่าสนใจแล้ว นี่แถมเป็นงานดีไซน์ในบริเวณที่เป็นงานออกแบบระดับโลกอีก เท่านั้นยังไม่พอ เขบ็ตอีกขั้นด้วยการไป ฟีเจอริ่งกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้าที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของจีนอีก OMG! นี่มันคือสุดยอดนิทรรศการดีไซน์ยกกำลังสาม ชื่อเต็มของนิทรรศการคือ House vision China 2018 ตัวงานจัดอยู่ที่พื้นที่ว่างบริเวณข้างๆของสนามกีฬารังนก Concept หลักของงานคือการตั้งคำถามเกี่ยวกับทิศทางของที่อยู่อาศัยในอนาคต ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างสถาปนิก, ดีไซน์เนอร์หลากหลายชาติกับบริษัทที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของจีน ผลงานจัดแสดงออกมาในรูปแบบของ Pavilion 10 หลัง จริงๆในงานเค้าเรียกว่า "Futuristic homes" ซึ่งแต่ละหลังก็มี แนวความคิดและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
Concrete Vessel by Haier x Atelier FCJZ
อาคารนี้มุ่งประเด็นไปที่ "device" (เครื่องมือ) ที่ปราศจากเครื่องใช้ภายในบ้านต่างๆ ที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบัน ผู้ออกแบบตีความคำว่า "砼"(Tóng) ที่แปลว่าคอนกรีต ออกแบบมาในรูปแบบของคอนกรีตที่มาจากวัสดุรีไซเคิลเป็น Module มาประกอบกันเป็นตัวบ้าน
พื้นที่ภายในมีช่องเปิดตรงกลางที่ถูกห่อหุ้มด้วยพื้นที่อยู่อาศัยรอบๆ โดยที่พื้นที่ตรงกลาง ผู้ออกแบบเรียก green core คิดให้เป็นพื้นที่สีเขียว             เฟอร์นิเจอร์รอบๆ เค้าออกแบบโดยใช้เทคโนโลยี interactive ตอบสนองกับผู้ใช้งาน โดยไม่ต้องมีส่วนประกอบมากมายเทอะทะอย่างเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน
HouseATO by Atelier Deshaus
ต่อกันที่หลังที่สอง ดีไซน์มาจากคำว่า "亼"(Jí) แปลว่า รวบรวม,ด้วยกัน โดยการเปืดพื้นที่ภายในให้เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอก
สถาปนิกออกแบบให้มีการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายนอก, ภายใน, และสภาพแวดล้อม รอบๆ อาคาร เฟอร์นิเจอร์ที่นำมาใช้ในอาคารสามารปรับการใช้สอยได้ตามความเหมาะสม
Green House by Yang Mingjie, YANG DESlGN
บ้านหลังนี้ก็ตามชื่อเลย เน้นเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน มีการนำพืชพันธุ์และน้ำ มาเป็นพลังงานสำหรับใช้สอยในบ้าน ภายในก็มีนวัตกรรมที่น่าสนใจหลายชิ้นมาโชว์ เช่นการนำน้ำฝนมารดน้ำต้นไม้ภายใน
น้ำฝนจะไหลลงมาจากท่อด้านบนแล้วผ่านท่อเล็กๆ ไปสู่กระถางต้นไม้บริเวณกลางอาคาร และมีการให้แสงไฟจากหลอดไฟ อันนี้ก็เป็นนวัตกรรมการปลูกพืชในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ
วิวข้างหลังระดับหมื่นล้าน(หมื่นล้านจริงๆ เพราะคือค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง)
MARS Case by OPEN Architecture, Xiaomi
ลองจินตนาการว่าถ้าโลกของเราไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป ดาวดวงต่อไปของพวกเราที่มนุษย์จะอพยพไปอยู่อาศัยคือดาวอังคารนี่แหล่ะ Pavilion หลังนี้เสนอความคิดของการออกแบบบ้านสำหรับอยู่อาศัยบนดาวอังคาร
concept คือลดการอุปโภคและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้น้อยที่สุดเพื่อประหยัดพลังงาน มีระบบการ Recycle ภายในอาคาร และไม่ลืมผู้สนับสนุนหลัก 55+ อุปกรณ์ ของ Xiaomi สามารถนำมาใช้ที่นี่ได้ โดยผ่านระบบ wireless และควบคุมโดย smartphone ฮั่นแน่! พี่แกกะจะเอาของไปขายถึงดาวอังคารเลยนะน่ะ
400 Boxes House by Qingshan Zhou Ping, BLUE Architecture
มีแนวความคิดคือการทำลายขอบเขตของสถาปัตยกรรมและเฟอร์นิเจอร์
ให้นิยามว่าเป็น semi-architecture กับ semi-furniture โดยตีความถึง lifestyle ของคนในอนาคตที่จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ยึดติดกับการอยู่กับที่
ตัวงานแบ่งออกเป็น Modular ที่แต่ละชิ้นจะมี living space ภายในที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อเนกประสงค์ และแต่ละชิ้นสามารถเคลื่อนย้ายได้(มีล้อติดอยู่บริเวณฐาน)
จริงๆแนวคิดพื้นฐานเค้าก็มาจากบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เรียกว่า "胡同"(hú tòng) ที่มีขอบเขตระหว่างแต่ละพื้นที่ใช้สอยภายใยอาคารไม่ชัดเจน ซึ่งรูปแบบนี้ก็มีความคลับคล้ายคลับคลากับบ้านไทย โบราณที่พื้นที่ส่วนต่างๆของบ้าน ก็มีความยืดหยุ่นเหมือนกัน
Zero Boundary by Japan Design Center
แนวคิดคือ zero boundary คือการลบขอบเขตระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอก แสงสว่างสามารถลอดผ่านหน้าต่างเข้ามาภายในตัวบ้านผ่านช่องแสงรอบๆ และสามารถชมวิวภายนอกได้จากทุกพื้นที่ภายในบ้าน
ห้องน้ำถูกออกแบบให้อยู่ตรงกลางบ้านและมีวัสดุเป็นกระจกใสเพื่อให้พื้นที่ในตัวบ้านสามารถเชื่อมถึงกันได้ทั้งหมด ใช้การยกระดับพื้นเป็นการแยกพื้นที่ภายในตัวบ้าน
MUJI Staff Housing by MUJI, Hasegawa
มาถึงผลงานที่ส่วนตัวแล้วค่อนข้างสนใจ เพราะตัวสถาปนิกที่เคยเข้าไปฟังบรรยายแล้วก็ตัวของ MUJI เองก็เป็นที่รู้จักกันดี
เป็นการนำบ้านแบบจีน " 四合院"(Sìhéyuàn) มาทำให้พื้นที่ใช้สอยเกิดประโยชน์ที่สุด พื้นที่ส่วนอยู่อาศัยอยู่ชั้นบนในรูปแบบของ Modular ตัว L กับพื้นที่ส่วนกลางที่อยู่ด้านล่าง และเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ก็... แน่นอน เป็นผลิตภัณฑ์ของ MUJI ทั้งหมดที่มาในรูปแบบชั้นวางของที่แบ่งเป็นกริด 4 เหลี่ยมจัตุรัส เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อันนี้เป็นตัว Mock-up Modular รูปตัว L ที่ออกแบบเพื่อให้สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
Infinite Living by TCL, Crossboundaries
ส่วนชิ้นนี้แนวความคิดหลัก ได้รับอิทธิพลมาจาตัว Product อย่างชัดเจน เนื่องจากบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้านี้โดดเด่นเรื่องทีวี เค้าจึงตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ทีวี ที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ยุคอดีต,ปัจจุบัน, และอนาคต ที่ในอนาคตโทรทัศน์จะเป็นมากกว่าการดูเพื่อความบันเทิง แต่จะเข้ามามีส่วนร่วมในทุกๆส่วนของกิจกรรมภายในบ้าน
ทีวีจะถูกออกแบบให้ฝังอยู่กับผนังภายใน และสามารถเลื่อนปรับได้ตามความต้องการใช้สอยภายในบ้าน
Living Garden by Hanergy, MAD Architects
มาถึงงานของบริษัทสถาปนิกที่น่าจะมีชื่อเสียงที่สุดของจีน ด้วยแนวความคิด "Living Garden" ที่ไม่ใช่แค่ศาลาในสวนหลังบ้านแบบทั่วๆ ไป ตัวผู้ออกแบบ ดีไซน์บนหลังคามีแผง Solar cell เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้
เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Life(ชีวิต), Solar energy(พลังงานแสงอาทิตย์), และNature(ธรรมชาติ) เพื่อสร้าง Architectural Living Landscape หรือ สถาปัตยกรรมที่มีชีวิต
ScopeHome by MINI LIVING Urban Cabin, Penda
เป็นการร่วมมือกับบริษัท MINI ผู้นำด้านยนตกรรมแถวหน้าของอังกฤษ Designer ตีความคำว่า Reflection(การสะท้อน)ใน 2 ระดับ 1.Physical level(ด้านกายภาพ) เป็นการสะท้อนกับสภาพแวดล้อมข้างๆ 2.Spiritual level(ด้านจิตวิญญาน) เชื่อมโยงกับความรู้สึกและความทรงจำ เป็นการนำบ้านแบบจีน มาจัดวางใหม่โดยใช้กระจกเงาด้านบนเพดาน ที่สามารถมองออกไปภายนอกบ้านได้ คล้ายๆกับกล้อง periscope ในเรือดำน้ำ
ปิดท้ายด้วยสนามกีฬารังนกยามค่ำคืน เค้าเล่น Lighting กับผนังอาคารสีแดงทำให้ดูโดดเด่น เหมาะสมกับการเป็น Landmark ของเมืองปักกิ่งสมัยใหม่จริงๆ

ฝากติดตาม Page ด้วยนะครับ ยิ้ม)
https://www.facebook.com/Archsuji-293862624802259/
ชื่อสินค้า:   HOUSE VISION CHINA 2018
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่