ผลประกอบการย้อนหลัง 16 ปี การบินไทย

ผมเป็นคนนึงที่สงสัยมานานว่าการบินไทยขาดทุนหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีสาเหตุอะไร?
สงสัยมานานแต่ก็ไม่มีเวลาหาข้อมูลซักที วันนี้ก็หาข้อมูลแบบคร่าวๆ เบื้องต้นมาวิธี ในส่วนเชิงลึกอย่างไร ต้องออกตัวว่าไม่ได้ไปตามข้อมูลลึกๆ ขนาดนั้นเพราะไม่มีเวลา และไม่อยากจะเขียนกระทู้ยาวๆ เสียเวลาหาข้อมูล
                       ผมขอเริ่มที่ผลประกอบในช่วงปี 2546-2550 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลประกอบการยังมีกำไรบวกๆ สวยงาม ก่อนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในปี 2551 ที่เริ่มขาดทุน จะเห็นได้จากตารางที่แนบมาว่า
                       
                     - รายได้เพิ่มขึ้นทุกปี
                     - ราคาน้ำมันในตลาดโลกเฉลี่ยของปีนั้นก็เพิ่มขึ้นทุกปี จากระดับ 28 USD/Barrel จนถึงเกือบ 70 USD/Barrel
                        และทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน
                     -  กำไรสุทธิลดลง จาก 12,000 บาท ลงสู่ระดับ 4,400 ล้าน แต่การบินไทยยังสามารถทำกำไรได้

                   มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญคือปี 2551 จนถึงบัจุบัน 2561 เป็นเวลากว่า 10 ปีที่การบินไทยเริ่มขาดทุน จะเห็นได้จากตารางที่แนบด้านล่างมีจุดที่น่าสนใจ คือ
                                                                   - จากปี 2551-2560 การบินไทยขาดทุน 6 ปี และได้กำไร 4 ปี
                       - ราคาน้ำมันในตลาดโลกเฉลี่ยของปีนั้นอยู่ในระดับสูงมากว่า 70 USD/Barrel – 109.45 USD/Barrel จำนวน 6 ปี
                       - รายได้ของการบินไทยจากปี 2551-2555 เพิ่มขึ้นทุกปีจนสูงสุดที่ 213,530 ล้านบาท ในปี 2555 จากนั้นรายลดลงทุกปี
                       - น่าสนใจคือปี 2553 กับปี 2555 ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกเฉลี่ยของปีนั้นอยู่ในระดับสูง 77.38 USD/Barrel และ 109.45 USD/Barrel ตามลำดับ แต่การบินไทยมีกำไร 7,415 และ 4,428 ล้านบาท ตามลำดับ

                       วิเคราะห์จากที่มองเห็นเบื้องต้น โดยไม่ได้ลงรายละเอียดลึกๆ
1. รายได้ของการบินไทย ไม่สัมพันธ์กับ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
                 จะเห็นได้จากข้อมูลในตารางพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาไทย เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนในปี 2546 จนถึงบัจจุบันมีปริมาณนักท่องเที่ยวจากต่างชาติรวมกว่า 35 ล้านคนต่อปี แต่รายได้ของการบินไทย กลับไม่แปรผันตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นในระยะหลังปี 2555 มีรายรับที่ลดลง ทำให้ผลการดำเนินงานมีปัญหา ในส่วนนี้ผมมองเรื่องของการแข่งขันในตลาดการบินที่การบินไทยซึ่งเกิดคำถามว่าสามารถแข่งขันกับสายการบินอื่นได้หรือไม่ทั้งต่างประเทศและในประเทศ โดยในประเทศการบินไทย อาศัย Thai Smile หรือ Nok Air ไปสู้กับสายการบินอื่นแต่ผลที่ออกมายังไม่เป็นได้ดังหวัง
2. ราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลต่อต้นทุน
                    จากข้อมูลในตารางจะเห็นว่า เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นต้นทุนสำคัญที่มีผลต่อกำไร ต่อธุรกิจการบิน โดยเฉพาะเมื่อราคาน้ามันขึ้นไปสูงมากกว่า 90 USD/Barrel แต่น่าสนใจว่า ในปี 2555 ราคาน้ำมันตลาดโลกอยู่ที่เฉลี่ย 109 USD/Barrel แต่การบินไทยยังสามารถทำกำไรได้ เนื่องจากว่ารายรับที่เป็นจุดสูงสุดในปีนั้น หลังจากปี 2555 จะพบว่าถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับลงมาอย่างมากมาอยู่ในระดับ 40-60 USD/Barrel แต่ผลประกอบการยังไม่ฟื้น
3. ความผิดพลาดในอดีตส่งผลต่อต้นทุน
                   หลายท่านคงจะทราบในข่าวเกี่ยวกับเครื่องบิน Airbus A340-500 จำนวน 4 ลำ และ Airbus A340-600 จำนวน 6-7 ลำ ที่มีการซื้อระหว่างปี 2547-2551 ในส่วนนี้มีรายละเอียดที่ซับซ้อน ซ่อนเงื่อนต่างฝ่ายก็โทษกันไปมา มีการดึงเอาการเมืองเข้ามาพ่วงกันมั่วไปหมด ซึ่งผมคงจะนำเสนอข้อมูลคร่าวๆ จากที่อ่านมาในหลายแหล่งข้อมูล
                   -  Airbus A340-500 จำนวน 4 ลำ ราคารวมกันประมาณ 16,000 ล้านบาท (บางข้อมูลบอกว่า ลำละ 200 ล้านดอลล่าห์ ก็อาจจะประมาณ 7,000 ล้านบาทต่อลำ หรือรวมทั้งหมด 28,000 ล้านบาท) นำมาบินตรงกรุงเทพไปนิวยอร์ค แบบไม่แวะพัก 17 ชั่วโมง ในการทำวิเคราะห์แผนธุรกิจในปี 2545 นั้นทำการประเมินราคาต้นทุนของน้ำมันไว้ต่ำ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะราวๆ ไม่เกิน 30 USD/Barrel เพราะในปีนั้นราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่แถวๆ 24-25 USD/Barrel แต่เมื่อมาบินจริงในปี 2548 ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับขึ้นไปมากกว่า 50 USD/Barrel จึงเกิดการขาดทุนในเส้นทางการบินดังกล่าว เพราะ Airbus A340-500 มีอัตราการบรรทุกน้ำมันสูง 280 ตัน จึงต้องลดจำนวนที่นั่งผู้โดยสารลงเหลือจำนวน 215 ที่นั่ง เมื่อมาบินจึงขาดทุนปีละ 2,000-2,500 ล้าน เมื่อถึงปี 2551 ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นไปกว่า 90 USD/Barrel จึงตัดสินใจหยุดบิน รวมระยะเวลาบิน 38 เดือน
                      - Airbus A340-500 จำนวน 4 ลำ หลังจากหยุดบินจอดไว้เฉยๆ ก็ขายให้กับกองทัพอากาศไป 1 ลำในปี 2559 ในส่วนนี้ผมไม่ได้ลงรายละเอียดว่าเป็นสาเหตุให้ในปี 2559 การบินไทยผลกำไรกลับมาบวกนิดๆ ใช่หรือไม่
                     - Airbus A340-600 จากข้อมูลพบว่า ใช้บินจนถึงปี 2558 จึงปลดระวาง ทั้งนี้ตัว A340-600 มีที่นั่งผู้โดยสาร 260-310 ที่นั่ง ซึ่งผมเองไม่ลงรายละเอียดในส่วนนี้เพราะคิดว่าคงจะบินแล้วไม่ขาดทุนละครับ  
                    - แต่ในส่วนการบันทึกการขาดทุนความด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์ ได้บันทึกมาตั้งแต่ 2551 เพียงแต่ในตารางที่ผมทำไม่ได้แยก ความด้อยค่าของเครื่องบินกับสินทรัพย์ออกจากกัน เพราะผมขี้เกียจ และความด้อยค่าของสินทรัพย์เป็นตัวเลขที่น้อยกว่า 1,000 ล้านต่อปี จึงใส่มารวมๆ แต่ถ้าดูจากตัวเลขมันทีการบันทึกการขาดทุนความด้อยค่าของเครื่องบินกับสินทรัพย์ไปกว่า 40,000 ล้านแล้ว แต่ในส่วน Airbus A340-500 มูลค่าที่หาๆข้อมูลมา มันประมาณ 16,000-28,000 ล้านบาท ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ามันมีรายละเอียดส่วนอื่นที่เพิ่มเติมยังไง
   4.   บทส่งท้าย
                      -  มุมมองส่วนตัวของผมคิดว่า การบินไทย ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องของรายได้ คือ  ไม่สามารถแบ่ง Market Share จากการเติบโตของการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมาได้
                     -  การปรับตัวเพื่อควบคุมต้นทุนที่สำคัญต่อธุรกิจ เห็นได้ชัดว่า ต้นทุนของการบินไทยนั้นสูงมาก ยิ่งปัจจัยน้ำมันยิ่งส่งผลมากๆ ถึงแม้น้ำมันราคาจะลดลง ก็ยังมีต้นทุนอย่างอื่นที่แก้ไม่ตก            
                     -  ผมมองประเด็นในส่วนของการแก้ปัญหามากกว่า ในส่วนของ Airbus A340-500 ที่ทำให้ต้นทุนที่บันทึกเข้ามาสูง แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักทั้งหมด เพราะเมื่อดูการขาดทุน มูลค่ามันสูงทะลุมูลค่าของเครื่องบินไปแล้ว แต่ผมมองในเรื่องของการวิเคราะห์การดำเนินงานทางธุรกิจ ที่ผิดพลาดตั้งแต่แผนธุรกิจ และที่สำคัญการประเมินเพื่อหยุดบินในปี 2551 แล้วจะทำอย่างไรต่อ เพราะถ้าหยุดบินแล้วขายเครื่องได้ก็จะตัดปัญหาต้นทุนเรื้อรัง ทั้งนี้สิงคโปร์เองก็ซื้อAirbus A340-500  จำนวน 9-10 ลำ และก็หยุดบินขายคืนให้ Airbus โดยอาจจะมีเงื่อนไขต้องซื้อเครื่องบินรุ่นอื่นของ Airbus แทน แต่สิงคโปร์ก็ไม่เจ็บตัวมาก ในส่วนของการหยุดบินของ Airbus A340-500 นั้นผมเองได้อ่านบทความในปี 2551 ว่าทางการบินไทยประเมินว่าการหยุดบินแล้วจอดหาผู้มาซื้อต่อเป็นทางที่ดีที่สุดและจะทำให้การบินไทยกลับมามีกำไรอีกครั้งหลังจากนั้น โดยไม่เลือกที่จะปรับปรุงเพิ่มที่นั่งเพราะคิดว่าไม่คุ้มแต่สุดท้ายก็ประเมินผิดอีกเพราะไม่ได้ขายอยู่ดี

                  " ทั้งนี้กระทู้นี่เป็นมุมมองส่วนตัวซึ่งประเมินจากข้อมูลที่หาได้ทางเน็ต อาจจะมีบางอย่างผิดพลาดต้องขออภัยนะครับ "
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่