อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยยังไม่ชัดเจนหลักเกณฑ์อภัยโทษปีนี้ ยันเข้าออกเรือนจำต้องตามระเบียบราชการ “บุญทรง” ยังรักษาตัว รพ. เพราะสภาพไม่สามารถอยู่ในคุกได้ มองสื่อวิจารณ์เองแลกกับข้อมูลทุจริต ห่วงคนตายในเรือนจำปีละ 1,000 คน อยากลดความสูญเสีย
วันนี้ (20 พ.ย.) พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงการเตรียมออกพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในโอกาสมหามงคล ว่าอยู่ในขั้นเตรียมการขอทราบนโยบาย ในแต่ละครั้งก็จะมีการเสนอให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษมากกว่าผู้พ้นโทษตามปกติ ประมาณ 5-6 พันราย แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะวางหลักเกณฑ์ผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างไร แต่ที่ผ่านมาจะครอบคลุมนักโทษชั้นกลางขึ้นไป ให้เป็นผู้ได้รับประโยชน์ แต่บางครั้งก็จะเสนอตั้งแต่ชั้นดีขึ้นไป ทั้งนี้การขอพระราชทานอภัยโทษมีหลายลักษณะ เช่น ชั้นเยี่ยม อาจได้ลดโทษถึง 1 ใน 3 ชั้นดีรองลงมา อาจได้ลดโทษ 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยังกล่าวถึงกรณีที่นายนรวิทย์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมาระบุว่า ป.ป.ช.บางคนเดินเข้าออกเรือนจำเพื่อเข้าพบกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ผู้ต้องโทษคดีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ว่าการเข้าพบผู้ต้องขังเป็นไปตามระเบียบทางราชการ ไม่สามารถเข้าออกโดยปกติได้ เพราะเขตเรือนจำเป็นสถานที่ราชการ ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือใครก็ตามที่ขอเข้าไปสอบปากคำ หรือพบผู้ต้องขัง ต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายบุญทรงได้ออกมารักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพราะมีข้อแลกเปลี่ยนเรื่องผู้บงการในคดีทุจริตระบายข้าวแบบจีทูจีนั้น เห็นว่าเป็นการวิจารณ์ของสื่อมวลชน ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบราชการทุกประการ เพราะผู้ต้องขังเป็นเพื่อมนุษย์และเพื่อนร่วมชาติ เมื่อเจ็บป่วยก็สมควรได้รับการรักษา แต่ถ้าข้างในเรือนจำไม่สามารถรักษาได้ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญทำการรักษาอย่างดีที่สุด โดยในขณะนี้นายบุญทรงยังทำการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะสภาพของนายบุญทรงไม่สามารถอยู่ในห้องควบคุมทั่วไปที่มีผู้ต้องขัง 40-50 คนนอนกับพื้นได้เนื่องจากเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และยังไม่ทราบว่าจะออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับเข้าสู่เรือนจำได้เมื่อไหร่ เพราะตนไม่ใช่แพทย์ คงต้องรักษากันไปตามอาการ
“ผมมีความเป็นห่วงในเรื่องตัวเลขที่แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 รายในเรือนจำ อยากลดความสูญเสียเหล่านี้ให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้คนเหล่านี้ออกไปอยู่ร่วมกันคนในสังคมอย่างมีคุณภาพ”
ข่าว ดี้ดี 4.0 ราชทัณฑ์แจง “บุญทรง” สภาพอยู่คุกไม่ไหวต้องส่ง รพ. ปัดแลกคายข้อมูลทุจริต ห่วงคนตายในเรือนจำปีละพัน
วันนี้ (20 พ.ย.) พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงการเตรียมออกพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในโอกาสมหามงคล ว่าอยู่ในขั้นเตรียมการขอทราบนโยบาย ในแต่ละครั้งก็จะมีการเสนอให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษมากกว่าผู้พ้นโทษตามปกติ ประมาณ 5-6 พันราย แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะวางหลักเกณฑ์ผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างไร แต่ที่ผ่านมาจะครอบคลุมนักโทษชั้นกลางขึ้นไป ให้เป็นผู้ได้รับประโยชน์ แต่บางครั้งก็จะเสนอตั้งแต่ชั้นดีขึ้นไป ทั้งนี้การขอพระราชทานอภัยโทษมีหลายลักษณะ เช่น ชั้นเยี่ยม อาจได้ลดโทษถึง 1 ใน 3 ชั้นดีรองลงมา อาจได้ลดโทษ 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยังกล่าวถึงกรณีที่นายนรวิทย์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมาระบุว่า ป.ป.ช.บางคนเดินเข้าออกเรือนจำเพื่อเข้าพบกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ผู้ต้องโทษคดีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ว่าการเข้าพบผู้ต้องขังเป็นไปตามระเบียบทางราชการ ไม่สามารถเข้าออกโดยปกติได้ เพราะเขตเรือนจำเป็นสถานที่ราชการ ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือใครก็ตามที่ขอเข้าไปสอบปากคำ หรือพบผู้ต้องขัง ต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายบุญทรงได้ออกมารักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพราะมีข้อแลกเปลี่ยนเรื่องผู้บงการในคดีทุจริตระบายข้าวแบบจีทูจีนั้น เห็นว่าเป็นการวิจารณ์ของสื่อมวลชน ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบราชการทุกประการ เพราะผู้ต้องขังเป็นเพื่อมนุษย์และเพื่อนร่วมชาติ เมื่อเจ็บป่วยก็สมควรได้รับการรักษา แต่ถ้าข้างในเรือนจำไม่สามารถรักษาได้ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญทำการรักษาอย่างดีที่สุด โดยในขณะนี้นายบุญทรงยังทำการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะสภาพของนายบุญทรงไม่สามารถอยู่ในห้องควบคุมทั่วไปที่มีผู้ต้องขัง 40-50 คนนอนกับพื้นได้เนื่องจากเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และยังไม่ทราบว่าจะออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับเข้าสู่เรือนจำได้เมื่อไหร่ เพราะตนไม่ใช่แพทย์ คงต้องรักษากันไปตามอาการ
“ผมมีความเป็นห่วงในเรื่องตัวเลขที่แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 รายในเรือนจำ อยากลดความสูญเสียเหล่านี้ให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้คนเหล่านี้ออกไปอยู่ร่วมกันคนในสังคมอย่างมีคุณภาพ”