บทความตามใจฉัน “ประวัติศาสตร์ป่วยเรือ”
Part 1/4: Kantai Collection “ต้นกำเนิด ป่วยเรือ”
Kantai Collection หรือในชื่อย่อว่า KanColle (เคน-คอ-เลค) คือ web browser game (ต่อจากนี้จะเรียก KanColle เวอร์ชั่น web browser game ว่า KanColle web) แนวบริหารจัดการ พัฒนาโดย Kadokawa Game เปิดให้เล่นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2013 โดยไม่คิดค่าเล่นแต่จำกัดว่า IP ที่สามารถเข้าเล่นได้ต้องเป็น IP เฉพาะในเขตประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
รูปแบบของ Game play คือแนว Fleet Manager ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นผู้บัญชาการกองเรือ จัดตั้งกองเรือแล้วส่งกองเรือดังกล่าวออกไปทำภารกิจต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการที่จะต้องบริการจัดการกองเรือ เช่น บริหารการใช้ทรัพยากร, ติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ที่เหมาะสมตามภารกิจให้กับเรือ, สลับสับเปลี่ยนเรือในกองเรือที่เสียหาย, ส่งซ่อมเรือที่เสียหาย เป็นต้น โดยสิ่งที่เป็นจุดเด่นก็คือเรือในเกมนั้นอยู่ในรูปแบบตัวละครสาวสวยแทนเรือจริง ๆ
ตัวเกมนั้น Kadokawa ได้ร่วมมือกับ DMM ในการพัฒนาเกมโดย Kadokawa Games จะเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาทั้งหมด โดยได้ Kensuke Tanaka ที่เคยมีส่วนร่วมในการสร้าง FF 10, 11 และ 13 ซึ่งกำลังอยากสร้างเกมที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยู่พอดีมาเป็นผู้ออกแบบเกมให้ ส่วน DMM นั้นจะรับหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่าย, ดูแล Game hosting, in-game purchase และระบบการยืนยันตัวตน
ถึงแม้ว่าเกมจะถูกพัฒนาโดยฝั่ง Kadokawa แต่ทว่าในสัญญาแบ่งผลประโยชน์ระหว่าง Kadokawa กับ DMM Group นั้นพบข้อมูลว่าผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเกมนั้นจะไม่ใช่ Kadokawa นั้นก็หมายความว่า DMM เป็นคนจ่ายค่าพัฒนาเกมให้กับ Kadokawa เอง
มีแนวคิดหนึ่งที่เป็นไปได้สูงคือ แทนจริงแล้ว DMM เป็นผู้ว่าจ้างหรือไม่ก็ออกทุนให้ Kadokawa ทำเกม KanColle Web ให้แล้วแชร์สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของเกมเช่น ชื่อเกม, ตัวละคร กับ Kadokawa บางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่าแชร์กันสามกลุ่มคือ DMM, Kadokawa และ ทีมพัฒนาเกมของ Kensuke Tanaka
เมื่อเกมเปิดให้เล่น ความนิยมของเกมส่งผลให้หุ้นของ Kadokawa เพิ่มสูงขึ้นอีก 1000 เยน ในเดือนมิถุนายน 2013
ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เกิดปรากฏการณ์จำนวนผู้เล่นเพิ่มขึ้น 1 แสนคนในสัปดาห์เดียว ทำให้จำนวนผู้เล่นทั้งหมดแตะระดับ 6 แสนคนในเดือนนั้นและสามารถแตะระดับ 1 ล้านคนได้ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
จนกระทั้งเดือนเมษายน 2015 เกมจำนวนผู้เล่นแตะระดับ 3 ล้านคนในที่สุด
ความนิยมยังสามารถวัดได้อีกทางจากงาน Comiket (Comic market) ซึ่งเป็นงานที่นักเขียนจะเอา “ผลงาน” ที่ตนเองสร้างมาขาย ส่วนใหญ่จะเป็น Parody จากการ์ตูนหรือเกมที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น ผลงานประเภทนี้มักถูกเรียกว่า “โดจิน” จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง
ใน Comiket ครั้งที่ 84 ปี 2013 มีผู้เขียนโดจิน Kancolle ราว 100 ราย แต่ในครั้งที่ 85 ปีเดียวกัน ผู้เขียนโดจิน Kancolle เพิ่มขึ้นเกิน 1000 รายและในครั้งที่ 86 ปี 2014 ก็ทะลุ 2000 ราย แสดงให้เห็นความนิยมใน Kancolle ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง
ความสำเร็จของตัวเกมนั้นคาดกันว่ามาจากกลยุทธ Free to Play และรูปแบบการเล่นที่ “การจ่ายเงินเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น” ไม่เหมือนเกมอื่น ๆ ในตลาดช่วงนั้นเช่น Idol master หรือ Love Live ทำให้เกมเป็นมิตรต่อกระเป๋าสตางค์ของผู้เล่นมากกว่า
ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าอีกส่วนของความสำเร็จคือการแปลงเรือรบญี่ปุ่นช่วง WW2 เป็นตัวละครสาวน้อยน่ารักนั้นเป็นอะไรที่แปลกใหม่มากในตอนนั้น
ความสำเร็จของเกมทำให้มีความพยายามที่จะต่อยอดตัวเกมฉบับ Web browser game
ในเดือน กันยายน 2013 ในงาน Kadokawa Games' 2013 Autumn ได้มีประกาศว่าจะสร้างเกม KanColle Kai, KanColle เวอร์ชั่น PS Vista
แต่การพัฒนาล่าช้ากว่ากำหนดไปมาก มีการประกาศเลื่อนวันวางจำหน่ายถึง 2 ครั้ง กว่าตัวเกมจะวางจำหน่ายได้จริงก็ล่วงเข้าปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2016
โดยตัวเกมนั้นได้เพิ่มความซับซ้อนในการบริหารจัดการขึ้น การเดินทางใน Map อยู่ในรูปแบบตารางหกเหลี่ยม ต้องมีการจัดกองเรือส่งเสบียงไปส่งยุทธปัจจัย ต้องมีการจัดกองเรือคุ้มกันเรือเสบียง ศัตรูสามารถเข้าโจมตีฐานทัพได้รวมถึง interface ใหม่และ Live2D Charter (ในเกมผู้เล่นสามารถเลือกเรือลำหนึ่งมาเป็นเลขาให้ผู้เล่นได้ Live2D ทำให้เลขาจากเดิมเป็นรูปนิ่งมาเป็น animation ขยับท่าทางได้) และการเปิดตัวครั้งแรกของ USS Iowa เรือของฝั่งพันธมิตรลำแรกในซีรีย์ Kantai อีกด้วย
แต่ตัวเกมก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรนัก นิตยสาร Famitsu ให้คะแนน 29/40
ผู้ที่สงสัยว่าตัวเกมเป็นยังไงสามารถไปดูวิดีโอใน Link ข้างล่างนี้ได้
Kancolle Kai Gameplay:
https://www.youtube.com/watch?v=skUN2-aB-EE
เกมสามารถจำหน่ายไปได้ถึง 140,757 แผ่นในสัปดาห์แรกของการวางขาย(ไม่รวมเวอร์ชั่น Download ที่ขายบน PlayStation store) โดยฝ่ายวิเคราะห์ทางการเงินของ Citigroup Global Markets Japan คาดว่าเกมจะสามารถขายได้ถึง 5 แสน copy และสร้างรายได้แก่ Kadokawa ราว ๆ 1 พันล้านเยน ไม่มีข้อมูลว่าเกมสามารถขายได้ตามเป้ารึไม่
KanColle Kai ถูกยกเลิกการวางจำหน่ายบน PlayStation store และแบบ Hard copy เมื่อสิ้นเดือนมกราคม 2017
เมษายน 2016 KanColle Arcade ได้เปิดให้บริการตามร้านเกม Arcade ต่าง ๆ ตัวเกมถูกพัฒนาโดย SEGA เปิดให้เล่นในรูปแบบตู้เกมอาเขต เกมเปลี่ยนจากแนวบริหารจัดการมาเน้น Action เป็นหลัก ผู้เล่นจะจัดกองเรือได้ตามการ์ดเรือที่มี จากวิดีโอของ SpeedsonCH ทำให้ทราบว่าเมื่อผู้เล่นสร้างเรือได้สำเร็จตู้เกมจะพิมพ์การ์ดให้กับผู้เล่นเก็บไว้ใช้ การเล่นเกมผู้เล่นจะต้องยอดเหรียญเพื่อแลกค่า GP โดยค่า GP จะลดลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ใช้เล่น ในการรบนั้นผู้เล่นสามารถควบคุมกองเรือได้มากขึ้นจากเดิมจากเดิมที่พึ่งดวงอย่างเดียว ผู้เล่นสามารถบังคับทิศทางและความเร็วของเรือรวมถึงเลือกอาวุธที่จะใช้ยิงได้
วิดีโอของ SpeedsonCH (ภาษาไทย) สาธิตวิธีเล่น
https://www.youtube.com/watch?v=mYkjUEUmkNo
ในเรื่องของรายได้นั้น ช่วงกันยายน 2013 ผู้บริหาร Kadokawa ยอมรับว่าความนิยมของเกมนั้นแทบไม่ได้ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ Kadokawa มากนัก แต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2014 เพียง 1 ปีกว่า ๆ หลังจากเกมเปิดให้เล่น ข่าวจาก Nikkei รายงานว่าเกมสร้างรายได้แก่ DMM เป็นจำนวน 7 พันล้านเยนซึ่งมากกว่าค่าพัฒนาเกมถึง 140 เท่าและมากกว่ายอดประมาณการรายได้จากการขาย KanColle Kai ถึง 7 เท่า
ผมคาดว่านี่เป็นสาเหตุที่ Kadokawa ถึงได้พยายามเข็น KanColle Kai ที่เป็น KanColle เวอร์ชั่นของตัวเองเต็มตัวออกมาเพื่อดึงผู้เล่นจาก KanColle Web มาเล่น KanColle Kai ที่รายได้ค่าเกมและ in-game purchase เข้ากระเป๋า Kadokawa เต็ม ๆ แทน แต่เท่าที่ค้นข้อมูลมา KanColle Kai ไม่มี in-game purchase น่าจะเพราะข้อจำกัดอะไรบางอย่าง
ส่วน KanColle Arcade น่าจะเป็นรูปแบบการให้สิทธิ์ของ KanColle แก่ SEGA ไปพัฒนาและทำตลาดเอง ช่วง 2016 มีรายงานว่า KanColle Arcade ประสบความสำเร็จอย่างสูงถึงกับสร้างปรากฎการณ์ให้ร้านเกม Arcade กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง สร้างรายได้ถึง 3 หมื่นล้านเยน(แหล่งจาก Reddit ไม่พบแหล่งข่าวยืนยัน)ให้แก่ SEGA ไม่มีข้อมูลว่ารายได้ดังกล่าวถูกแบ่งกับทางผู้ถือสิทธิ์ของ KanColle ในสัดส่วนเท่าไหร่
ส่วนการสร้างรายได้จากขายลิขสิทธิ์, สินค้า, การ์ตูนหรืออนิเมชั่นจาก KanColle ของ Kadokawa นั้น ผมไม่มีข้อมูลว่า Kadokawa ได้ไปเท่าไหร่แต่ดูจากกรณีของ KanColle Arcade, จำนวนสินค้าและสื่อสิ่งพิมพ์ของ KanColle ในตลาดแล้วแล้วคาดว่ากำไรน่าจะมากพอที่จะอยู่ได้ด้วยการขายสิทธิ์และสินค้าเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องไปดิ้นรนสร้างเกมแข่งอีกแล้ว
ความดังของ KanColle นั้นกระจายออกไปนอกประเทศญี่ปุ่น มีความต้องการเล่นเกมจากผู้เล่นชาวต่างชาติเกิดขึ้นมากมาย
หลายคนคาดหวังว่าที่จะมีการเปิด Server ให้บริการนอกประเทศญี่ปุ่น
แต่ DMM กลับเห็นต่างออกไป
To be continued in Part 2
NO Kantai For Gaijin
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจในขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
Part 2:
https://ppantip.com/topic/38293266
บทความตามใจฉัน “ประวัติศาสตร์ป่วยเรือ” Part 1/4: Kantai Collection “ต้นกำเนิด ป่วยเรือ”
Part 1/4: Kantai Collection “ต้นกำเนิด ป่วยเรือ”
Kantai Collection หรือในชื่อย่อว่า KanColle (เคน-คอ-เลค) คือ web browser game (ต่อจากนี้จะเรียก KanColle เวอร์ชั่น web browser game ว่า KanColle web) แนวบริหารจัดการ พัฒนาโดย Kadokawa Game เปิดให้เล่นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2013 โดยไม่คิดค่าเล่นแต่จำกัดว่า IP ที่สามารถเข้าเล่นได้ต้องเป็น IP เฉพาะในเขตประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
รูปแบบของ Game play คือแนว Fleet Manager ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นผู้บัญชาการกองเรือ จัดตั้งกองเรือแล้วส่งกองเรือดังกล่าวออกไปทำภารกิจต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการที่จะต้องบริการจัดการกองเรือ เช่น บริหารการใช้ทรัพยากร, ติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ที่เหมาะสมตามภารกิจให้กับเรือ, สลับสับเปลี่ยนเรือในกองเรือที่เสียหาย, ส่งซ่อมเรือที่เสียหาย เป็นต้น โดยสิ่งที่เป็นจุดเด่นก็คือเรือในเกมนั้นอยู่ในรูปแบบตัวละครสาวสวยแทนเรือจริง ๆ
ตัวเกมนั้น Kadokawa ได้ร่วมมือกับ DMM ในการพัฒนาเกมโดย Kadokawa Games จะเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาทั้งหมด โดยได้ Kensuke Tanaka ที่เคยมีส่วนร่วมในการสร้าง FF 10, 11 และ 13 ซึ่งกำลังอยากสร้างเกมที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยู่พอดีมาเป็นผู้ออกแบบเกมให้ ส่วน DMM นั้นจะรับหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่าย, ดูแล Game hosting, in-game purchase และระบบการยืนยันตัวตน
ถึงแม้ว่าเกมจะถูกพัฒนาโดยฝั่ง Kadokawa แต่ทว่าในสัญญาแบ่งผลประโยชน์ระหว่าง Kadokawa กับ DMM Group นั้นพบข้อมูลว่าผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเกมนั้นจะไม่ใช่ Kadokawa นั้นก็หมายความว่า DMM เป็นคนจ่ายค่าพัฒนาเกมให้กับ Kadokawa เอง
มีแนวคิดหนึ่งที่เป็นไปได้สูงคือ แทนจริงแล้ว DMM เป็นผู้ว่าจ้างหรือไม่ก็ออกทุนให้ Kadokawa ทำเกม KanColle Web ให้แล้วแชร์สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของเกมเช่น ชื่อเกม, ตัวละคร กับ Kadokawa บางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่าแชร์กันสามกลุ่มคือ DMM, Kadokawa และ ทีมพัฒนาเกมของ Kensuke Tanaka
เมื่อเกมเปิดให้เล่น ความนิยมของเกมส่งผลให้หุ้นของ Kadokawa เพิ่มสูงขึ้นอีก 1000 เยน ในเดือนมิถุนายน 2013
ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เกิดปรากฏการณ์จำนวนผู้เล่นเพิ่มขึ้น 1 แสนคนในสัปดาห์เดียว ทำให้จำนวนผู้เล่นทั้งหมดแตะระดับ 6 แสนคนในเดือนนั้นและสามารถแตะระดับ 1 ล้านคนได้ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
จนกระทั้งเดือนเมษายน 2015 เกมจำนวนผู้เล่นแตะระดับ 3 ล้านคนในที่สุด
ความนิยมยังสามารถวัดได้อีกทางจากงาน Comiket (Comic market) ซึ่งเป็นงานที่นักเขียนจะเอา “ผลงาน” ที่ตนเองสร้างมาขาย ส่วนใหญ่จะเป็น Parody จากการ์ตูนหรือเกมที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น ผลงานประเภทนี้มักถูกเรียกว่า “โดจิน” จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง
ใน Comiket ครั้งที่ 84 ปี 2013 มีผู้เขียนโดจิน Kancolle ราว 100 ราย แต่ในครั้งที่ 85 ปีเดียวกัน ผู้เขียนโดจิน Kancolle เพิ่มขึ้นเกิน 1000 รายและในครั้งที่ 86 ปี 2014 ก็ทะลุ 2000 ราย แสดงให้เห็นความนิยมใน Kancolle ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง
ความสำเร็จของตัวเกมนั้นคาดกันว่ามาจากกลยุทธ Free to Play และรูปแบบการเล่นที่ “การจ่ายเงินเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น” ไม่เหมือนเกมอื่น ๆ ในตลาดช่วงนั้นเช่น Idol master หรือ Love Live ทำให้เกมเป็นมิตรต่อกระเป๋าสตางค์ของผู้เล่นมากกว่า
ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าอีกส่วนของความสำเร็จคือการแปลงเรือรบญี่ปุ่นช่วง WW2 เป็นตัวละครสาวน้อยน่ารักนั้นเป็นอะไรที่แปลกใหม่มากในตอนนั้น
ความสำเร็จของเกมทำให้มีความพยายามที่จะต่อยอดตัวเกมฉบับ Web browser game
ในเดือน กันยายน 2013 ในงาน Kadokawa Games' 2013 Autumn ได้มีประกาศว่าจะสร้างเกม KanColle Kai, KanColle เวอร์ชั่น PS Vista
แต่การพัฒนาล่าช้ากว่ากำหนดไปมาก มีการประกาศเลื่อนวันวางจำหน่ายถึง 2 ครั้ง กว่าตัวเกมจะวางจำหน่ายได้จริงก็ล่วงเข้าปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2016
โดยตัวเกมนั้นได้เพิ่มความซับซ้อนในการบริหารจัดการขึ้น การเดินทางใน Map อยู่ในรูปแบบตารางหกเหลี่ยม ต้องมีการจัดกองเรือส่งเสบียงไปส่งยุทธปัจจัย ต้องมีการจัดกองเรือคุ้มกันเรือเสบียง ศัตรูสามารถเข้าโจมตีฐานทัพได้รวมถึง interface ใหม่และ Live2D Charter (ในเกมผู้เล่นสามารถเลือกเรือลำหนึ่งมาเป็นเลขาให้ผู้เล่นได้ Live2D ทำให้เลขาจากเดิมเป็นรูปนิ่งมาเป็น animation ขยับท่าทางได้) และการเปิดตัวครั้งแรกของ USS Iowa เรือของฝั่งพันธมิตรลำแรกในซีรีย์ Kantai อีกด้วย
แต่ตัวเกมก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรนัก นิตยสาร Famitsu ให้คะแนน 29/40
ผู้ที่สงสัยว่าตัวเกมเป็นยังไงสามารถไปดูวิดีโอใน Link ข้างล่างนี้ได้
Kancolle Kai Gameplay: https://www.youtube.com/watch?v=skUN2-aB-EE
เกมสามารถจำหน่ายไปได้ถึง 140,757 แผ่นในสัปดาห์แรกของการวางขาย(ไม่รวมเวอร์ชั่น Download ที่ขายบน PlayStation store) โดยฝ่ายวิเคราะห์ทางการเงินของ Citigroup Global Markets Japan คาดว่าเกมจะสามารถขายได้ถึง 5 แสน copy และสร้างรายได้แก่ Kadokawa ราว ๆ 1 พันล้านเยน ไม่มีข้อมูลว่าเกมสามารถขายได้ตามเป้ารึไม่
KanColle Kai ถูกยกเลิกการวางจำหน่ายบน PlayStation store และแบบ Hard copy เมื่อสิ้นเดือนมกราคม 2017
เมษายน 2016 KanColle Arcade ได้เปิดให้บริการตามร้านเกม Arcade ต่าง ๆ ตัวเกมถูกพัฒนาโดย SEGA เปิดให้เล่นในรูปแบบตู้เกมอาเขต เกมเปลี่ยนจากแนวบริหารจัดการมาเน้น Action เป็นหลัก ผู้เล่นจะจัดกองเรือได้ตามการ์ดเรือที่มี จากวิดีโอของ SpeedsonCH ทำให้ทราบว่าเมื่อผู้เล่นสร้างเรือได้สำเร็จตู้เกมจะพิมพ์การ์ดให้กับผู้เล่นเก็บไว้ใช้ การเล่นเกมผู้เล่นจะต้องยอดเหรียญเพื่อแลกค่า GP โดยค่า GP จะลดลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ใช้เล่น ในการรบนั้นผู้เล่นสามารถควบคุมกองเรือได้มากขึ้นจากเดิมจากเดิมที่พึ่งดวงอย่างเดียว ผู้เล่นสามารถบังคับทิศทางและความเร็วของเรือรวมถึงเลือกอาวุธที่จะใช้ยิงได้
วิดีโอของ SpeedsonCH (ภาษาไทย) สาธิตวิธีเล่น https://www.youtube.com/watch?v=mYkjUEUmkNo
ในเรื่องของรายได้นั้น ช่วงกันยายน 2013 ผู้บริหาร Kadokawa ยอมรับว่าความนิยมของเกมนั้นแทบไม่ได้ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ Kadokawa มากนัก แต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2014 เพียง 1 ปีกว่า ๆ หลังจากเกมเปิดให้เล่น ข่าวจาก Nikkei รายงานว่าเกมสร้างรายได้แก่ DMM เป็นจำนวน 7 พันล้านเยนซึ่งมากกว่าค่าพัฒนาเกมถึง 140 เท่าและมากกว่ายอดประมาณการรายได้จากการขาย KanColle Kai ถึง 7 เท่า
ผมคาดว่านี่เป็นสาเหตุที่ Kadokawa ถึงได้พยายามเข็น KanColle Kai ที่เป็น KanColle เวอร์ชั่นของตัวเองเต็มตัวออกมาเพื่อดึงผู้เล่นจาก KanColle Web มาเล่น KanColle Kai ที่รายได้ค่าเกมและ in-game purchase เข้ากระเป๋า Kadokawa เต็ม ๆ แทน แต่เท่าที่ค้นข้อมูลมา KanColle Kai ไม่มี in-game purchase น่าจะเพราะข้อจำกัดอะไรบางอย่าง
ส่วน KanColle Arcade น่าจะเป็นรูปแบบการให้สิทธิ์ของ KanColle แก่ SEGA ไปพัฒนาและทำตลาดเอง ช่วง 2016 มีรายงานว่า KanColle Arcade ประสบความสำเร็จอย่างสูงถึงกับสร้างปรากฎการณ์ให้ร้านเกม Arcade กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง สร้างรายได้ถึง 3 หมื่นล้านเยน(แหล่งจาก Reddit ไม่พบแหล่งข่าวยืนยัน)ให้แก่ SEGA ไม่มีข้อมูลว่ารายได้ดังกล่าวถูกแบ่งกับทางผู้ถือสิทธิ์ของ KanColle ในสัดส่วนเท่าไหร่
ส่วนการสร้างรายได้จากขายลิขสิทธิ์, สินค้า, การ์ตูนหรืออนิเมชั่นจาก KanColle ของ Kadokawa นั้น ผมไม่มีข้อมูลว่า Kadokawa ได้ไปเท่าไหร่แต่ดูจากกรณีของ KanColle Arcade, จำนวนสินค้าและสื่อสิ่งพิมพ์ของ KanColle ในตลาดแล้วแล้วคาดว่ากำไรน่าจะมากพอที่จะอยู่ได้ด้วยการขายสิทธิ์และสินค้าเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องไปดิ้นรนสร้างเกมแข่งอีกแล้ว
ความดังของ KanColle นั้นกระจายออกไปนอกประเทศญี่ปุ่น มีความต้องการเล่นเกมจากผู้เล่นชาวต่างชาติเกิดขึ้นมากมาย
หลายคนคาดหวังว่าที่จะมีการเปิด Server ให้บริการนอกประเทศญี่ปุ่น
แต่ DMM กลับเห็นต่างออกไป
To be continued in Part 2
NO Kantai For Gaijin
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจในขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
Part 2: https://ppantip.com/topic/38293266