แนะนำคณะใหม่ GSSE อินเตอร์ ธรรมศาสตร์ ใครสนใจธุรกิจ หรืออยากทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ ลองเข้ามาดู!

วิทยาลัยโลกคดีศึกษา SGS = School of Global Studies (อันนี้เป็นชื่อวิทยาลัย เหมือนกับคณะ หรือ faculty) / ส่วน GSSE = Global Studies and Social Entreperneurship (โลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม) อันนี้เป็นชื่อหลักสูตร หรือ programme ที่เรียน (เวลาบอกใครว่าเรียนอะไรก็จะบอกอันนี้ ซึ่งต้องอธิบายเหนื่อยเลยทีเดียว)

1. เรียนเกี่ยวกับอะไร ? โบราณคดี ฟอสสิล ศึกษาโลก ประวัติศาสตร์ คดีในโลก ไม่ใช่ๆ
ตอบ หลักสูตรเป็น international programme เรียนโดยผนวกศาสตร์ของ จิตวิทยา บริหาร และรัฐศาสตร์ (โดยเฉพาะเกี่ยวกับระหว่างประเทศ) ภาพรวมจะได้เรียน 2 sphere หลักๆคือ GS = Global Studies ตรงนี้จะได้เรียนพวกเหตุการณ์ต่างๆในโลก มีความเชื่อมโยงกันยังไง globalization (โลกาภิวัฒน์) ยังไง , governance policy นโยบายระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึง human security, protocol หรือมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในองค์กรหรือหน่วยงานระหว่างประเทศ, refugee, global issue ต่างๆ (เฮ้อ ถอนหายใจแต่ยังไม่จบ) อันนี้จะเน้นเป็นปี 1 2
SE = Social Enterpreneurship อันนี้คือการประกอบการเพื่อสังคม จะได้เรียนเกี่ยวกับการบริหาร บัญชี เศรษฐศาสตร์ด้วย เรียนเกี่ยวกับการทำธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจเพื่อสังคม เป็นธุรกิจที่คนทำได้กำไร และคืนผลประโยชน์ให้กับสังคม ทำยังไงให้ธุรกิจแบบนี้ยั่งยืน แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจบไปแล้วจะต้องไปทำด้านนี้เสมอไป อันนี้ส่วนใหญ่เริ่มเป็นปี 3 4

2.บรรยากาศการเรียน
ตอบ เป็น active learning เน้น discussion มากๆ บางคลาสถึงขนาดถามตอบรายคนว่าคิดยังไง / อาจารย์(เป็นต่างชาติเกือบทั้งหมด)ค่อนข้างopen และรับฟังความคิดเห็น / เน้นการทำงานกลุ่ม project ต่างๆ / เน้น skill ที่สามารถเอาไปใช้ เช่น พวก 21 century skill (creativity, leadership, communication, so on)
ปล. มีฝึกงานทุกปีตั้งแต่ปี 1 ซึ่งจะมี theme เช่น ปี1 เน้นลง community / ปี2 พวกinternational organization / ปี 3 เน้นเป็นพวก cooperates บริษัทต่างๆ สามารถเลือกฝึกได้ตามความสนใจ ลองในสิ่งที่ชอบ ถ้าลองแล้วไม่ชอบก็ตัดช้อยไป
ปล. essay report paper เยอะ / เรียนเป็น eng ล้วนมีเพื่อนต่างชาติด้วย / project เยอะ โดยเฉพาะงานกลุ่ม

3.จบไปแล้วทำอะไร
ตอบ จบไปแล้วทำได้อย่าง อยู่ที่ว่าจะเลือกเป็นอะไร (cliche แต่จริง) ตอนเรียนในคณะมันเรียนหลากหลายวิชา อยู่ที่ว่าอยากลงอะไรให้ลงลึกเฉพาะทาง เพราะโดยตัวหลักสูตรออกแบบมาให้นศ รู้แนวกว้าง มากกว่าแนวลึกอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเราไปเรียนต่อแนวลึกในด้านที่เราสนใจ เราจะเป็นคนที่เป็นลักษณะตัว T นั่นคือรู้หลายด้าน และรู้ด้านเฉพาะทางด้วย เพื่อจะเอาความรู้ในศาสตร์ต่างๆมาผนวกรวมกัน แต่ถ้าให้ลองแบ่งจริงๆ ว่าจบแล้วทำอะไรได้ มันก็จะได้ประมาณนี้
1. cooperates บริษัทเอกชน ต่างๆ : เมื่อก่อนมันจะมีหน่วย CSR แต่ตอนนี้นโยบายตลาดหลักทรัพย์กำหนด ทุกบริษัทจดทะเบียน "ต้องมี" หน่วย sustainable development ตรงนี้เข้าไปทำได้ เพราะต้องการคนที่มีความรู้ด้าน สังคม + ธุรกิจ (ไม่สังคมจ๋า และไม่ธุรกิจจ๋า) แต่ถ้าอยากไปทำหน่วยอื่นที่เป็นเบนไปทางธุรกิจหน่อยก็ได้ หรือเป็น track แบบ consultant ก็ดี
2. พวกองค์กรระหว่างประเทศ UN Unicef ... , NGO, NPO, IGO องค์กรทางสังคมทั้งไทยและต่างชาติ : ตรงนี้ได้ในเรื่องของภาษาเพราะเรียนเป็นอังกฤษล้วนอยู่แล้ว technical terms ต่างๆ แล้วก็เข้าใจใน context ของโลก (ตรงนี้จะเน้น GS หน่อยคือ global studies)
3. SE : Social Enterpreneurship ตรงนี้สามารถเป็นได้ทั้งสร้างธุรกิจเพื่อสังคมของตัวเองไปเลย หรืออาจเป็น consult ให้ SE ต่างๆก็ได้ เพราะด้วยความที่เป็น concept ใหม่แต่มันมีมาระยะนึงแล้ว ผู้ประกอบการก็ยังขาดความ expertise หรือชำนาญไม่ว่าจะเป็นส่วนของธุรกิจของสังคมเองก็ตาม ดังนั้นการที่เรามีความรู้ตรงนี้จะช่วยให้เราทำธุรกิจเราเองแล้ว sustain ก็ได้หรือจะเป็นที่ปรึกษาก็ได้
4.ธุรกิจของตัวเอง (แบบไม่ต้องเพื่อสังคม) อันนี้ก็ย่อมได้
5.scholars, researchers เป็นนักวิชาการ นักวิจัย ศึกษาต่อเป็นอาจารย์ ก็ได้
6. อื่นๆที่สนใจ

4.คิดว่ามีอะไรที่ดีอีก ?
ตอบ สังคมค่อนข้างดีทั้งเพื่อนทั้งอาจารย์ค่อนข้างเปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็น respectซึ่งกันและกัน และสามารถเป็นตัวเองได้เต็มที่ อยากทำอะไรทำไม่ discourge แต่ encourage กันและกัน อะไรที่สนใจอาจารย์พร้อมช่วยเหลือ + support เสมอ อาจารย์ประสบการณ์โชกโชน ทำงานในองค์กรต่างๆแล้วก็ตัวพ่อตัวแม่มาเองทั้งนั้น รวมอาจารย์จากหลายศาสตร์หลากหลายแขนง ดังนั้นอยากรู้ไรอาจารย์ในคณะตอบได้หมด

ใครสนใจติดตามข่าวสารได้ในเพจ GSSE Thammasat ตอนนี้กำลังเปิดรับสมัครอยู่นะ
http://sgs.tu.ac.th
https://www.facebook.com/SGSThammasat/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่