ถามสนุกๆ นะครับ ไม่ได้จริงจังวิชาการอะไร >>
เดี๋ยวนี้ (ความจริงก็หลายปีมาแล้ว) ภาษาไทยที่พูดกัน มีการเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ออกสำเนียงเหน่อๆ กันเยอะ
แม้แต่คนอ่านข่าวบางคนก็ยังใช้สำเนียงวัยรุ่นอย่างนี้ มาอ่านข่าวกันแล้ว
ผมพยายามจับหลักการเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ที่นิยมกันอยู่นี้ ก็ยังจับหลักไม่ได้แน่นอนซักที
เท่าที่สะดุดชัดๆ หน่อย ก็คือ
1. มีการแผลงเสียง จัตวา เป็นเสียงคล้าย ไม้เอก หรือ ไม้โท
เช่น
ไปถึง >> ไปถึ่ง ไปถึ้ง
เห็นว่า >> เห่นว่า เห้นว่า
สูง >> สู่ง สู้ง
2. เสียง เอก เพี้ยนเป็นคล้ายเสียง ไม้โท
เช่น
แกงป่า >> แกงป้า
แต่ก็ยังไม่แน่ใจนักว่าใช่หรือเปล่า
แล้วก็รู้สึกว่า ยังมีการเพี้ยนเสียงอื่นๆ อีกซึ่งไม่ค่อยชัด
เลยขอถาม วัยรุ่น/คนที่อยู่ใกล้ชิดกับวัยรุ่นที่พูดจาแบบนี้
ช่วยสรุปให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ว่า มันมีอะไรบ้าง
ขอบคุณมากสำหรับทุกความเห็นครับ
ถามวัยรุ่น/คนที่ใกล้ชิดวัยรุ่นที่เก่งภาษาไทยหน่อยครับ
เดี๋ยวนี้ (ความจริงก็หลายปีมาแล้ว) ภาษาไทยที่พูดกัน มีการเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ออกสำเนียงเหน่อๆ กันเยอะ
แม้แต่คนอ่านข่าวบางคนก็ยังใช้สำเนียงวัยรุ่นอย่างนี้ มาอ่านข่าวกันแล้ว
ผมพยายามจับหลักการเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ที่นิยมกันอยู่นี้ ก็ยังจับหลักไม่ได้แน่นอนซักที
เท่าที่สะดุดชัดๆ หน่อย ก็คือ
1. มีการแผลงเสียง จัตวา เป็นเสียงคล้าย ไม้เอก หรือ ไม้โท
เช่น
ไปถึง >> ไปถึ่ง ไปถึ้ง
เห็นว่า >> เห่นว่า เห้นว่า
สูง >> สู่ง สู้ง
2. เสียง เอก เพี้ยนเป็นคล้ายเสียง ไม้โท
เช่น
แกงป่า >> แกงป้า
แต่ก็ยังไม่แน่ใจนักว่าใช่หรือเปล่า
แล้วก็รู้สึกว่า ยังมีการเพี้ยนเสียงอื่นๆ อีกซึ่งไม่ค่อยชัด
เลยขอถาม วัยรุ่น/คนที่อยู่ใกล้ชิดกับวัยรุ่นที่พูดจาแบบนี้
ช่วยสรุปให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ว่า มันมีอะไรบ้าง
ขอบคุณมากสำหรับทุกความเห็นครับ