รวบยอดคติความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า

รวบยอดคติความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า

    นักปรัชญาต่างๆ พยายามสืบค้นหาความแท้จริงเกี่ยวกับพระผู้เป็นเเจ้า สรุปแล้วมี ๔ แบบ ผศ.ปานทิพย์ ประเสริฐสุข ในหนังสือปรัชญาเบื้องต้น น. ๔๕ คือ

    ๑. เทวนิยม (Deism) คือ มีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นมหาเทพที่สูงสุดอยู่เพียงพระองค์เดียว ซึ่งอยู่นอกโลก พระองค์สร้างโลกขึ้นมาจากความว่างเปล่า แล้วทรงมอบพลังต่างๆ ให้แก่โลก และให้พลังเหล่านั้นควบคุมโลกให้ดำเนินไป เมื่อโลกมีแนวโน้มจะเสื่อม พระผู้เป็นเจ้าก็จะอวตารมาช่วยแก้ไขโลกให้ดำเนินไปตามปกติ

    สรุปคือ ในเอกภพก็คือว่า เทพมีองค์เดียว เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทำทุกอย่างเลย เช่น ทางศาสนาคริสต์จะพยายามดันขึ้นมาว่า พระเจ้าอยู่ในข้อที่ ๑ นี้


    ๒. สกลเทพนิยม (Pantheism) คือ มีความเชื่อตรงกันข้ามกับแบบที่หนึ่ง กล่าวคือ เทพนิยม มีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นเทพที่อยู่เหนือโลก ส่วนประเภทที่ ๒ นี้ เป็นพระผู้เป็นเจ้าที่อยู่ในโลก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับโลก หลักสำคัญของเทพประเภทที่ ๒ นี้ก็คือ "พระผู้เป็นเจ้าคือสิ่งทั้งปวง และสิ่งทั้งปวงคือพระผู้เป็นเจ้า"

    สรุปคือ จะเป็นลักษณะทั่วไปที่มีแต่โบราณกาลมา ถือว่า ธรรมชาติเป็นเทวดา มีเทพหลากหลาย

ธาตุดิน
    สายฮินดู คือ พระแม่ธรณี ผู้ดูแลผืนแผ่นดิน
    สายพระพุทธ คือ ท้าวธตรฐ เทวดาผู้ดูแลโลก ประจำทิศตะวันออก ปกครองเหล่าคนธรรพ์ และวิทยาธร นางไม้ นางอัปสรทั้งหลาย ภูเขา
    สายจีน คือ แปะกง (伯公)เทพเจ้าแห่งขุนเขา ดูแลภูเขา
    เทพอียิปต์ คือ เกบ (Geb) เป็นเทพแห่งแผ่นดิน
    เทพกรีก คือ เทพไกอา (Gaia) เทพพื้นแผ่นดิน หรือพื้นโลก นามในภาษาละตินของนางคือ เทอร์รา (Terra)

ธาตุน้ำ
    สายฮินดู คือ พระแม่คงคา ดูแลรักษาน้ำ
    พระพิรุณ เทวดาดูแลรักษาฝน ผิวสีขาว ถือบ่วงบาศ
    สายพระพุทธ คือ พญานาค ผู้ดูแลรักษาน้ำ
    สายจีน คือ เทียงโหวเซี่ยบ้อ (天后聖母) หรือเจ้าแม่ทับทิม เทพประจำอาชีพประมงและเดินทะเล เจ้าแม่ทับทิม
    เทพอียิปต์ คือ เทพนู (Nu) เทพเจ้าแห่งน้ำ เทพที่อาวุโสที่สุดและสร้างการก่อเกิดแห่งสรรพสิ่ง
    เทพกรีก คือ เทพโปเซดอน (Poseidon) หรือ เป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ที่ปกครองพื้นที่แห่งท้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งน้ำจืด แม่น้ำ คลอง รวมไปจนถึง ทะเล มหาสมุทร และเมืองใต้บาดาล

ธาตุลม
    สายฮินดู  คือ พระพาย เทพเจ้าดูแลรักษาลมและพายุ
    สายญี่ปุ่น คือ ซุซะโนะโอะ (Susanowo) เป็นเทพเจ้าแห่งทะเลและพายุในศาสนาชินโต สามารถสร้างลมพายุที่กรรโชกแรงได้ด้วยการตวัดพัดเพียงครั้งเดียว
    เทพกรีก ซุส (Zeus) เทพเจ้าแห่งพายุ อากาศและท้องฟ้า มีสายฟ้าเป็นอาวุธ

ธาตุไฟ
    สายฮินดู คือ พระอัคนี หรือ พระเพลิง เทวดาดูแลรักษาไฟ
    วิทยุต เทวดาดูแลรักษาสายฟ้า
    สุริยเทพ เทวดาดูแลรักษาดวงอาทิตย์
    สายกรีก คือ ฮิฟีสตัส (Hephaestus) เทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟ
    สายญี่ปุ่น คือ ฟุสึโนะจิ เทพแห่งไฟและฟ้าแลบ เป็นสัญลักษณ์ ของผู้ทำลายสิ่งลวงตาและปกป้องพุทธศาสนา ปราบสิ่งชั่วร้าย
    สายอียิปต์ คือ ฟินิกซ์ (Phoenix) (นกเพลิงสัตว์มายาอียิปต์) สัตว์มายาในตำนานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดและไฟ สัญลักษณ์แห่งความเป็นอมตะ


    ๓. สรรพเทวนิยม (Theism) คือ เป็นความเชื่อที่ปรับปรุงมาจากอย่างที่ ๑ และอย่างที่ ๒ กล่าวคือ แนวความคิดนี้เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นสภาวะทั้งที่อยู่เหนือโลกและอยู่ในโลก แต่อยู่เหนือวิญญาณมนุษย์ โดยประการทั้งปวง

    สรุปคือ ทางประเทศจีนก็จะมี เช่น เทพเจ้ากวนอู (闗羽) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ก็จะมาจากชีวิตคนจริงๆ ที่ขึ้นมาเป็นเทพเจ้า

    ฮัวโต๋ (華佗) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวตำบลเจากุ๋น เมืองไพก๊ก มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่าเหยียนหัวะ มีอาชีพเป็นหมอ ฮัวโต๋เป็นผู้ที่มีฝีมือในด้านการรักษาโรคอันยอดเยี่ยม วิธีการรักษาคนไข้ด้วยการให้กินยาและผ่าตัด

    แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็มาจากคนจริงๆ

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มาจากคนจริงๆ

    ข้อที่ ๓ นี้จะรวมข้อที่ ๑ กับ ๒


    ๔. สากลเทพนิยม (Panentheism) คือ เป็นความเชื่อที่ประนอมความขัดแย้งระหว่าง ๓ ลัทธิข้างต้น กล่าวคือ พระผู้เป็นเจ้าทั้งอยู่เหนือโลก และอยู่ในโลก ทั้งอยู่เหนือวิญญาณมนุษย์ และอยู่ในวิญญาณมนุษย์

    สรุปคือ รวมทั้งข้อที่ ๑-๒-๓ เป็นข้อ ๔

    ข้อนี้จึงเป็นที่มาแห่ง ณ ปัจจุบันนี้คือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านเป็นมนุษย์ และยังสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นพระพุทธเจ้าได้ เป็นศาสดาได้ แม้แต่จะเป็นพระเจ้าก็ยังได้ เพราะมีภูมิความรู้ เทียบเท่ากับธรรม

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่