ใครที่เคยชมภาพยนตร์หลายเรื่อง อาจคุ้นหูกับคำว่า “ชิลลิ่ง” ในฐานะหน่วยเงินหนึ่งของอังกฤษ ก่อนจะพบว่าในปัจจุบันไม่มีการพูดถึงชิลลิ่งเลย
ปัจจุบันนี้ ค่าเงิน ปอนด์สเตอร์ลิง (£) แบ่งเป็นหน่วยย่อยคือ เพนนี (เอกพจน์) หรือ เพนซ์ (พหูพจน์) (ใช้ตัวย่อว่า p) 100 หน่วย ซึ่งนี่เพิ่งจะถูกใช้ หลังปี 1971 เท่านั้นเอง
ต้องอธิบายย้อนกลับไปก่อนปี 1971 ที่มีการเปลี่ยนระบบเงินครั้งใหญ่ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ซึ่งการเปลี่ยนระบบครั้งนั้นเรียกว่า Decimalisation หรือ Decimalization ตามการสะกดแบบอเมริกัน
แต่เดิมนั้น
1 ปอนด์สเตอร์ลิง (£) แบ่งได้เป็น 20 ชิลลิ่ง (s,/)**
1 ชิลลิ่ง (s,/) แบ่งได้เป็น 12 เพนซ์(เพนนี) (ใช้ตัวย่อว่า d)*
และหน่วยเพนนีที่เล็กที่สุดนั้น จะสามารถแบ่งได้อีกเป็น 1/4 เพนนี เรียกว่า ฟาธธิง (Farthing)
*เพนนีเก่า ใช้ตัวย่อว่า d มาจาก denarius ซึ่งเป็นเหรียญย่อยที่สุดของโรมัน มีค่า 1/240 ปอนด์ ส่วนเพนนีใหม่ ใช้ตัวย่อว่า p จากคำว่า penny มีค่า 1/100 ปอนด์*
**ชิลลิ่ง (shilling) ใช้ตัวย่อว่า s หรือ / ( / ในกรณีนี้เพี้ยนมาจาก s ตัวยาวแบบโบราณ (ß) ) ย่อมาจากคำว่า solidus ซึ่งเป็นเหรียญย่อยอีกราคาหนึ่งของโรมันเช่นกัน**
***ส่วนปอนด์ (£) มาจาก Libra ที่สื่อถึงตาชั่งและน้ำหนักปอนด์***
หากเราพบเห็นการตั้งราคาเชิงจิตวิทยาในปัจจุบัน
เช่น สินค้าราคา £1.99 แท้จริงก็คือราคา £2 ที่หย่อนลง 1 เพนนี
แต่หากเป็นเช่นนี้ในสมัยก่อน การตั้งราคาอาจเป็น
£1 19/11 3/4 หรืออ่านว่า 1 ปอนด์ 19 ชิลลิ่ง 11 เพนซ์ 3 ฟาธธิง ซึ่งคือราคา £2 หย่อนลง 1 ฟาธธิงนั่นเอง
ส่วนระบบเหรียญกษาปณ์ในอังกฤษปัจจุบัน เราจะพบว่ามีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้งสิ้น 8* ชนิดราคา ได้แก่ 1p 2p 5p 10p 20p 50p £1 และ £2 ซึ่งเหรียญเหล่านี้เรียกว่า decimal coin ซึ่งมีมูลค่าเป็นเพนนีที่เป็นส่วนร้อยของ 1 ปอนด์ และเป็นเหรียญที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (legal tender) อันร้านค้าทั่วไปรับ (กฎหมายอังกฤษมิได้บังคับให้ร้านค้าต้องรับเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อและผู้ขายที่จะทำข้อตกลงกันเอง)
*เมื่อมีการปรับระบบเงินในปี 1971 เคยมีการออกใช้เหรียญ 1/2p แต่ภายหลังยกเลิกในปี 1984 เนื่องจากเงินเฟ้อจนทำให้มูลค่าของเหรียญไม่อาจใช้ซื้อสินค้าได้อีก*
เหรียญพิกัดราคาปัจจุบัน (รูปแบบเก่า)
เหรียญครึ่งเพนนี
ส่วนเหรียญกษาปณ์อื่นๆ เช่น เหรียญ £5 (เดิมระบุให้มีมูลค่า 25p) ซึ่งถูกเรียกว่า เหรียญ Crown อันเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ระลึก และเหรียญชนิดอื่นๆที่ประกาศให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายนั้น มักจะไม่รับโดยร้านค้าทั่วไป ธนาคาร หรือแม้แต่โรงกษาปณ์เองก็เช่นกัน (จึงมีคดีความเกิดขึ้นบ่อยๆ เวลามีคนใช้เหรียญ £5 ไปชำระแล้วถูกปฏิเสธ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ผู้ขายต้องรับ)
ลักษณะเหรียญ £5 ปัจจุบัน
แต่ในอดีต (ก่อนปี 1971)
ระบบเหรียญกษาปณ์ของอังกฤษนั้นซับซ้อนกว่าปัจจุบันมาก จึงขออธิบายเพียงแค่เหรียญที่มีการผลิตในช่วงศตวรรษที่ 20 เท่านั้น (เหรียญระบบเดิม เรียกว่า Pre-decimal coin)
ขอแบ่งเป็น 3 ประเภทคร่าวๆ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง
1. เหรียญทองคำ คือกลุ่มเหรียญที่มีมูลค่าสูงที่สุด ทำจากทองคำ 22 กะรัต (91.7%)
1.1 เหรียญ Sovereign คือเหรียญ £1 มีขนาด 22.05 มิลลิเมตร น้ำหนัก 7.98 กรัม ซึ่งเป็นเหรียญที่มีมูลค่ามากที่สุด ที่เคยถูกใช้โดยทั่วไป
1.2 เหรียญ Half Sovereign มีมูลค่า 10s (10/-) หรือครึ่งปอนด์ มีขนาด 19.33 มิลลิเมตร น้ำหนัก 3.99 กรัม
เหรียญ Sovereign ปี 2018
ส่วนเหรียญทองคำกลุ่ม sovereign อื่นๆ ได้แก่เหรียญ Double Sovereign มูลค่า £2 และเหรียญที่มีการผลิตเพิ่มเข้ามาในยุคหลังคือ Five-sovereign มูลค่า £5 และ Quarter-sovereign มูลค่า 1/4 ปอนด์นั้น ไม่เคยมีการใช้หมุนเวียนในระบบ
(นับตั้งแต่เริ่มมีการผลิต เหรียญ sovereign และ half sovereign นั้น เดิมเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป ตั้งแต่เริ่มมีการผลิตในปี 1817 จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914 รัฐบาลประกาศให้ประชาชนนำเหรียญทองคำเหล่านี้ มาซื้อพันธบัตรของรัฐบาล มูลค่า 1 ปอนด์ และ 10 ชิลลิ่ง ซึ่งพันธบัตรนี้ สามารถนำไปใช้จ่ายแทนเงินสดได้ (คล้ายกับธนบัตร) เพื่อที่รัฐบาลจะได้นำทองคำ ไปใช้ชำระหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ และป้องกันทองคำไหลออกนอกประเทศจนอาจตกไปอยู่ในมือประเทศศัตรู แต่ภายหลังสิ้นสุดสงคราม ก็ไม่มีการนำเหรียญทองคำกลับมาใช้หมุนเวียนอีก และผลิตเพียงเพื่อเป็นที่ระลึกในปีสำคัญเช่นปีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 6 (1937) และพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 (1953) ทว่าต่อมามีความต้องการของนักลงทุนและนักสะสมจำนวนมาก จึงมีการผลิตเหรียญทองคำกลุ่ม Sovereign ขึ้นมาทุกปี นับตั้งแต่ปี 1957-1959, 1962-1968 และ 1974 จนถึงปัจจุบัน รวมถึงยังคงสถานะชำระหนี้ได้ตามกฎหมายที่มูลค่าดั้งเดิม £1 และ 50p)
โปสเตอร์พันธบัตรสงคราม
ชุดเหรียญ sovereign ทองคำขัดเงาในปัจจุบัน
2. เหรียญเงิน
เดิมทำจากเงินสเตอร์ลิง (92.5%) แต่ได้มีการปรับสัดส่วนเงินลง เหลือ 50% ในปี 1920 และเปลี่ยนเป็นคิวโปรนิกเกิลในปี 1946 เป็นต้นไป
2.1 เหรียญ Crown มูลค่า 5s (5/-) หรือ 1/4 ปอนด์ มีขนาดใหญ่ถึง 38 มิลลิเมตรและมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งในภายหลังไม่นิยมผลิตใช้หมุนเวียนทั่วไปอีก และผลิตเพื่อเป็นเหรียญที่ระลึกมากกว่า
(ภายหลังการปรับระบบเงิน เหรียญ Crown ที่ถูกผลิตหลังจากนั้นจะถูกระบุว่ามีราคา 25p หรือยังคงเป็น 1/4 ปอนด์ แต่เหรียญที่ผลิตหลังจากปี 1990 จะถูกเปลี่ยนมูลค่าเป็น £5 เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของเหรียญ แต่ยังคงเป็นที่นิยมเรียกเหรียญนี้ว่า Crown และถูกผลิตเป็นเหรียญที่ระลึกมาจนถึงปัจจุบัน)
เหรียญ Crown พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 6 ปี 1937
เหรียญ Crown พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ปี 1953
2.2 เหรียญ Half Crown มีมูลค่าครึ่งหนึ่งของเหรียญ Crown คือ 2s6d (2/6) คิดเป็น 1/8 ปอนด์ มีขนาด 32.31 มิลลิเมตร
เหรียญ Half Crown พระเจ้าจอร์จที่ 6
เหรียญ Half Crown ราชินีอลิซาเบธ
2.3 เหรียญ Florin มูลค่า 2s (2/-) มีขนาด 28.5 มิลลิเมตร
(เหรียญนี้มีมูลค่าเป็น 1/10 ของปอนด์ เป็นเหรียญที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อเริ่มต้นการปรับระบบค่าเงิน (decimalisation) ตั้งแต่ยุควิคตอเรียน โดยในสมัยนั้นตั้งใจจะยกเลิกระบบเงินปอนด์ ชิลลิ่ง เพนนี แล้วเปลี่ยนมาใช้ชื่อ ดอลลาร์ และ เซนต์ แทน แต่ปรากฎว่าไม่สามารถจะทำได้ จึงต้องคงระบบเงินไว้เช่นเดิมจนถึงปี 1971 เหรียญนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของความพยายามเปลี่ยนแปลงระบบเงินที่เหลืออยู่ และเดิมระบุราคา one florin แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น two shillings ในปี 1937)
เหรียญ Florin พระเจ้าจอร์จที่ 6
เหรียญ Florin ราชินีอลิซาเบธ
2.4 เหรียญ Shilling มูลค่า 1s (1/-) มีขนาด 23.6 มิลลิเมตร
(ตั้งแต่สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 6 และ พระราชินีอลิซาเบตที่ 2 จะผลิตขึ้น 2 แบบ คือ เหรียญชิลลิ่งอังกฤษ และ เหรียญชิลลิ่งสกอต ซึ่ง 2 แบบนี้ไม่มีความแตกต่างในมูลค่า ขนาด หรือน้ำหนัก และผลิตจากโรงกษาปณ์เดียวกัน)
ชิลลิ่งอังกฤษพระเจ้าจอร์จที่ 6
ชิลลิ่งสกอตพระเจ้าจอร์จที่ 6
ชิลลิ่งอังกฤษราชินีอลิซาเบธ
ชิลลิ่งสกอตราชินีอลิซาเบธ
2.5 เหรียญ Sixpence มูลค่า 6d หรือครึ่งชิลลิ่ง มีขนาด 19.41 มิลลิเมตร
Sixpence พระเจ้าจอร์จที่ 6 ขณะยังทรงเป็นจักรพรรดิแห่งอินเดีย
Sixpence พระเจ้าจอร์จที่ 6 หลังอินเดียได้รับเอกราช (IND IMP ถูกนำออกจากเหรียญทุกชนิดราคา)
Sixpence ราชินีอลิซาเบธ
***เหรียญ 6 เพนซ์นี้ เป็นเหรียญที่มีความเชื่อต่างๆมากมายว่าเป็นเหรียญนำโชค ได้แก่
1. เมื่อจะมีการย้ายบ้าน ย้ายที่ทำงาน ย้ายโรงเรียน หรือต้องเดินทางไกล ก็มักจะมีการให้ของขวัญเป็นเหรียญ 6 เพนซ์นี้เป็นเครื่องรางติดตัว และอวยพรให้พบเจอแต่สิ่งดีๆ ปราศจากอุปสรรค
2. เมื่อเจ้าสาวจะแต่งงาน (ย้ายครอบครัว) ก็จะให้นำเหรียญ 6 เพนซ์ (ควรเป็นเหรียญปีที่แต่งงาน) ใส่ไว้ที่รองเท้าข้างซ้าย เพื่อให้ชีวิตแต่งงานราบรื่น แล้วจึงเก็บเหรียญนั้นไว้ (มีคำโบราณว่า เมื่อจะแต่งงาน ให้พกของ 5 สิ่ง บางสิ่งเก่า บางสิ่งใหม่ บางสิ่งสีฟ้า บางสิ่งยืมมา และเหรียญ 6 เพนซ์ในรองเท้า; something old, something new, something borrowed, something blue and a silver sixpence in her shoe)
3. เมื่อเด็กเกิดใหม่ ให้นำเหรียญ 6 เพนซ์ (ควรเป็นเหรียญปีที่เด็กเกิด) ลูบผ่านฝ่ามือของเด็กทั้ง 2 ข้าง เพื่ออวยพรให้เด็กคนนั้นเติบโตขึ้นโดยพบแต่สิ่งที่ดี และให้เหรียญนั้นไว้กับเด็กคนนั้น
4. ในการทำ Christmas Pudding ให้ใส่เหรียญ 6 เพนซ์ (หรือ 3 เพนซ์เงิน) ลงไปก่อนนำไปอบ และเมื่อนำมาตัดแบ่งรับประทาน ใครที่พบเหรียญ 6 เพนซ์ในส่วนที่ตัวเองได้รับและเก็บเหรียญไว้ จะมีโชคดีไปตลอดปีต่อไป
5. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแจกเหรียญ 6 เพนซ์ให้แก่นักบินรบที่ได้บินออกปฏิบัติการเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องรางคุ้มครอง
6. การมอบของขวัญวันเกิดหรือวันครบรอบแต่งงานเป็นเหรียญ 6 เพนซ์ที่ผลิตในปีเกิดหรือปีที่แต่งงาน แก่คนชรา หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่ออวยพรให้สุขภาพแข็งแรง มีความสุข
เพราะเหตุผลและความสำคัญเหล่านี้ ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ทางโรงกษาปณ์อังกฤษจึงได้กลับมาผลิตเหรียญ 6 เพนซ์ขึ้นอีกครั้งด้วยเงิน 92.5% ออกจำหน่ายเพื่ออนุรักษ์ประเพณีโบราณ โดยยังระบุให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย (แต่ย่อมไม่มีร้านค้ารับ)***
เหรียญ Sixpence ที่ถูกผลิตปัจจุบัน
2.6 เหรียญ Threepence มูลค่า 3d
(ซึ่งเมื่อครั้งยังผลิตจากเงิน มีขนาดเล็กมากเพียง 16.2 มิลลิเมตร จึงมีการเพิ่มเหรียญ Threepence ที่ผลิตจากทองเหลือง ให้มีขนาดใหญ่กว่า 21 มิลลิเมตร เป็นเหรียญ 12 เหลี่ยม ผลิตควบคู่กันตั้งแต่ปี 1937 จนถึง 1970 ส่วนเหรียญกลมขนาดเล็ก เลิกผลิตในปี 1946 เป็นต้นไป)
Threepence เงินพระเจ้าจอร์จที่ 6
Threepence ทองเหลืองพระเจ้าจอร์จที่ 6
Threepence ทองเหลืองราชินีอลิซาเบธ
(ต่อในคอมเม้นนะครับ)
ปอนด์ ชิลลิ่ง เพนนี £sd ++ เรื่องราวของระบบค่าเงินและเหรียญชวนมึนหัวของอังกฤษสมัยก่อน ถึง Decimalisation และปัจจุบัน ++
ปัจจุบันนี้ ค่าเงิน ปอนด์สเตอร์ลิง (£) แบ่งเป็นหน่วยย่อยคือ เพนนี (เอกพจน์) หรือ เพนซ์ (พหูพจน์) (ใช้ตัวย่อว่า p) 100 หน่วย ซึ่งนี่เพิ่งจะถูกใช้ หลังปี 1971 เท่านั้นเอง
ต้องอธิบายย้อนกลับไปก่อนปี 1971 ที่มีการเปลี่ยนระบบเงินครั้งใหญ่ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ซึ่งการเปลี่ยนระบบครั้งนั้นเรียกว่า Decimalisation หรือ Decimalization ตามการสะกดแบบอเมริกัน
แต่เดิมนั้น
1 ปอนด์สเตอร์ลิง (£) แบ่งได้เป็น 20 ชิลลิ่ง (s,/)**
1 ชิลลิ่ง (s,/) แบ่งได้เป็น 12 เพนซ์(เพนนี) (ใช้ตัวย่อว่า d)*
และหน่วยเพนนีที่เล็กที่สุดนั้น จะสามารถแบ่งได้อีกเป็น 1/4 เพนนี เรียกว่า ฟาธธิง (Farthing)
*เพนนีเก่า ใช้ตัวย่อว่า d มาจาก denarius ซึ่งเป็นเหรียญย่อยที่สุดของโรมัน มีค่า 1/240 ปอนด์ ส่วนเพนนีใหม่ ใช้ตัวย่อว่า p จากคำว่า penny มีค่า 1/100 ปอนด์*
**ชิลลิ่ง (shilling) ใช้ตัวย่อว่า s หรือ / ( / ในกรณีนี้เพี้ยนมาจาก s ตัวยาวแบบโบราณ (ß) ) ย่อมาจากคำว่า solidus ซึ่งเป็นเหรียญย่อยอีกราคาหนึ่งของโรมันเช่นกัน**
***ส่วนปอนด์ (£) มาจาก Libra ที่สื่อถึงตาชั่งและน้ำหนักปอนด์***
หากเราพบเห็นการตั้งราคาเชิงจิตวิทยาในปัจจุบัน
เช่น สินค้าราคา £1.99 แท้จริงก็คือราคา £2 ที่หย่อนลง 1 เพนนี
แต่หากเป็นเช่นนี้ในสมัยก่อน การตั้งราคาอาจเป็น
£1 19/11 3/4 หรืออ่านว่า 1 ปอนด์ 19 ชิลลิ่ง 11 เพนซ์ 3 ฟาธธิง ซึ่งคือราคา £2 หย่อนลง 1 ฟาธธิงนั่นเอง
ส่วนระบบเหรียญกษาปณ์ในอังกฤษปัจจุบัน เราจะพบว่ามีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้งสิ้น 8* ชนิดราคา ได้แก่ 1p 2p 5p 10p 20p 50p £1 และ £2 ซึ่งเหรียญเหล่านี้เรียกว่า decimal coin ซึ่งมีมูลค่าเป็นเพนนีที่เป็นส่วนร้อยของ 1 ปอนด์ และเป็นเหรียญที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (legal tender) อันร้านค้าทั่วไปรับ (กฎหมายอังกฤษมิได้บังคับให้ร้านค้าต้องรับเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อและผู้ขายที่จะทำข้อตกลงกันเอง)
*เมื่อมีการปรับระบบเงินในปี 1971 เคยมีการออกใช้เหรียญ 1/2p แต่ภายหลังยกเลิกในปี 1984 เนื่องจากเงินเฟ้อจนทำให้มูลค่าของเหรียญไม่อาจใช้ซื้อสินค้าได้อีก*
เหรียญพิกัดราคาปัจจุบัน (รูปแบบเก่า)
เหรียญครึ่งเพนนี
ส่วนเหรียญกษาปณ์อื่นๆ เช่น เหรียญ £5 (เดิมระบุให้มีมูลค่า 25p) ซึ่งถูกเรียกว่า เหรียญ Crown อันเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ระลึก และเหรียญชนิดอื่นๆที่ประกาศให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายนั้น มักจะไม่รับโดยร้านค้าทั่วไป ธนาคาร หรือแม้แต่โรงกษาปณ์เองก็เช่นกัน (จึงมีคดีความเกิดขึ้นบ่อยๆ เวลามีคนใช้เหรียญ £5 ไปชำระแล้วถูกปฏิเสธ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ผู้ขายต้องรับ)
ลักษณะเหรียญ £5 ปัจจุบัน
แต่ในอดีต (ก่อนปี 1971)
ระบบเหรียญกษาปณ์ของอังกฤษนั้นซับซ้อนกว่าปัจจุบันมาก จึงขออธิบายเพียงแค่เหรียญที่มีการผลิตในช่วงศตวรรษที่ 20 เท่านั้น (เหรียญระบบเดิม เรียกว่า Pre-decimal coin)
ขอแบ่งเป็น 3 ประเภทคร่าวๆ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง
1. เหรียญทองคำ คือกลุ่มเหรียญที่มีมูลค่าสูงที่สุด ทำจากทองคำ 22 กะรัต (91.7%)
1.1 เหรียญ Sovereign คือเหรียญ £1 มีขนาด 22.05 มิลลิเมตร น้ำหนัก 7.98 กรัม ซึ่งเป็นเหรียญที่มีมูลค่ามากที่สุด ที่เคยถูกใช้โดยทั่วไป
1.2 เหรียญ Half Sovereign มีมูลค่า 10s (10/-) หรือครึ่งปอนด์ มีขนาด 19.33 มิลลิเมตร น้ำหนัก 3.99 กรัม
เหรียญ Sovereign ปี 2018
ส่วนเหรียญทองคำกลุ่ม sovereign อื่นๆ ได้แก่เหรียญ Double Sovereign มูลค่า £2 และเหรียญที่มีการผลิตเพิ่มเข้ามาในยุคหลังคือ Five-sovereign มูลค่า £5 และ Quarter-sovereign มูลค่า 1/4 ปอนด์นั้น ไม่เคยมีการใช้หมุนเวียนในระบบ
(นับตั้งแต่เริ่มมีการผลิต เหรียญ sovereign และ half sovereign นั้น เดิมเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป ตั้งแต่เริ่มมีการผลิตในปี 1817 จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914 รัฐบาลประกาศให้ประชาชนนำเหรียญทองคำเหล่านี้ มาซื้อพันธบัตรของรัฐบาล มูลค่า 1 ปอนด์ และ 10 ชิลลิ่ง ซึ่งพันธบัตรนี้ สามารถนำไปใช้จ่ายแทนเงินสดได้ (คล้ายกับธนบัตร) เพื่อที่รัฐบาลจะได้นำทองคำ ไปใช้ชำระหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ และป้องกันทองคำไหลออกนอกประเทศจนอาจตกไปอยู่ในมือประเทศศัตรู แต่ภายหลังสิ้นสุดสงคราม ก็ไม่มีการนำเหรียญทองคำกลับมาใช้หมุนเวียนอีก และผลิตเพียงเพื่อเป็นที่ระลึกในปีสำคัญเช่นปีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 6 (1937) และพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 (1953) ทว่าต่อมามีความต้องการของนักลงทุนและนักสะสมจำนวนมาก จึงมีการผลิตเหรียญทองคำกลุ่ม Sovereign ขึ้นมาทุกปี นับตั้งแต่ปี 1957-1959, 1962-1968 และ 1974 จนถึงปัจจุบัน รวมถึงยังคงสถานะชำระหนี้ได้ตามกฎหมายที่มูลค่าดั้งเดิม £1 และ 50p)
โปสเตอร์พันธบัตรสงคราม
ชุดเหรียญ sovereign ทองคำขัดเงาในปัจจุบัน
2. เหรียญเงิน
เดิมทำจากเงินสเตอร์ลิง (92.5%) แต่ได้มีการปรับสัดส่วนเงินลง เหลือ 50% ในปี 1920 และเปลี่ยนเป็นคิวโปรนิกเกิลในปี 1946 เป็นต้นไป
2.1 เหรียญ Crown มูลค่า 5s (5/-) หรือ 1/4 ปอนด์ มีขนาดใหญ่ถึง 38 มิลลิเมตรและมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งในภายหลังไม่นิยมผลิตใช้หมุนเวียนทั่วไปอีก และผลิตเพื่อเป็นเหรียญที่ระลึกมากกว่า
(ภายหลังการปรับระบบเงิน เหรียญ Crown ที่ถูกผลิตหลังจากนั้นจะถูกระบุว่ามีราคา 25p หรือยังคงเป็น 1/4 ปอนด์ แต่เหรียญที่ผลิตหลังจากปี 1990 จะถูกเปลี่ยนมูลค่าเป็น £5 เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของเหรียญ แต่ยังคงเป็นที่นิยมเรียกเหรียญนี้ว่า Crown และถูกผลิตเป็นเหรียญที่ระลึกมาจนถึงปัจจุบัน)
เหรียญ Crown พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 6 ปี 1937
เหรียญ Crown พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ปี 1953
2.2 เหรียญ Half Crown มีมูลค่าครึ่งหนึ่งของเหรียญ Crown คือ 2s6d (2/6) คิดเป็น 1/8 ปอนด์ มีขนาด 32.31 มิลลิเมตร
เหรียญ Half Crown พระเจ้าจอร์จที่ 6
เหรียญ Half Crown ราชินีอลิซาเบธ
2.3 เหรียญ Florin มูลค่า 2s (2/-) มีขนาด 28.5 มิลลิเมตร
(เหรียญนี้มีมูลค่าเป็น 1/10 ของปอนด์ เป็นเหรียญที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อเริ่มต้นการปรับระบบค่าเงิน (decimalisation) ตั้งแต่ยุควิคตอเรียน โดยในสมัยนั้นตั้งใจจะยกเลิกระบบเงินปอนด์ ชิลลิ่ง เพนนี แล้วเปลี่ยนมาใช้ชื่อ ดอลลาร์ และ เซนต์ แทน แต่ปรากฎว่าไม่สามารถจะทำได้ จึงต้องคงระบบเงินไว้เช่นเดิมจนถึงปี 1971 เหรียญนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของความพยายามเปลี่ยนแปลงระบบเงินที่เหลืออยู่ และเดิมระบุราคา one florin แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น two shillings ในปี 1937)
เหรียญ Florin พระเจ้าจอร์จที่ 6
เหรียญ Florin ราชินีอลิซาเบธ
2.4 เหรียญ Shilling มูลค่า 1s (1/-) มีขนาด 23.6 มิลลิเมตร
(ตั้งแต่สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 6 และ พระราชินีอลิซาเบตที่ 2 จะผลิตขึ้น 2 แบบ คือ เหรียญชิลลิ่งอังกฤษ และ เหรียญชิลลิ่งสกอต ซึ่ง 2 แบบนี้ไม่มีความแตกต่างในมูลค่า ขนาด หรือน้ำหนัก และผลิตจากโรงกษาปณ์เดียวกัน)
ชิลลิ่งอังกฤษพระเจ้าจอร์จที่ 6
ชิลลิ่งสกอตพระเจ้าจอร์จที่ 6
ชิลลิ่งอังกฤษราชินีอลิซาเบธ
ชิลลิ่งสกอตราชินีอลิซาเบธ
2.5 เหรียญ Sixpence มูลค่า 6d หรือครึ่งชิลลิ่ง มีขนาด 19.41 มิลลิเมตร
Sixpence พระเจ้าจอร์จที่ 6 ขณะยังทรงเป็นจักรพรรดิแห่งอินเดีย
Sixpence พระเจ้าจอร์จที่ 6 หลังอินเดียได้รับเอกราช (IND IMP ถูกนำออกจากเหรียญทุกชนิดราคา)
Sixpence ราชินีอลิซาเบธ
***เหรียญ 6 เพนซ์นี้ เป็นเหรียญที่มีความเชื่อต่างๆมากมายว่าเป็นเหรียญนำโชค ได้แก่
1. เมื่อจะมีการย้ายบ้าน ย้ายที่ทำงาน ย้ายโรงเรียน หรือต้องเดินทางไกล ก็มักจะมีการให้ของขวัญเป็นเหรียญ 6 เพนซ์นี้เป็นเครื่องรางติดตัว และอวยพรให้พบเจอแต่สิ่งดีๆ ปราศจากอุปสรรค
2. เมื่อเจ้าสาวจะแต่งงาน (ย้ายครอบครัว) ก็จะให้นำเหรียญ 6 เพนซ์ (ควรเป็นเหรียญปีที่แต่งงาน) ใส่ไว้ที่รองเท้าข้างซ้าย เพื่อให้ชีวิตแต่งงานราบรื่น แล้วจึงเก็บเหรียญนั้นไว้ (มีคำโบราณว่า เมื่อจะแต่งงาน ให้พกของ 5 สิ่ง บางสิ่งเก่า บางสิ่งใหม่ บางสิ่งสีฟ้า บางสิ่งยืมมา และเหรียญ 6 เพนซ์ในรองเท้า; something old, something new, something borrowed, something blue and a silver sixpence in her shoe)
3. เมื่อเด็กเกิดใหม่ ให้นำเหรียญ 6 เพนซ์ (ควรเป็นเหรียญปีที่เด็กเกิด) ลูบผ่านฝ่ามือของเด็กทั้ง 2 ข้าง เพื่ออวยพรให้เด็กคนนั้นเติบโตขึ้นโดยพบแต่สิ่งที่ดี และให้เหรียญนั้นไว้กับเด็กคนนั้น
4. ในการทำ Christmas Pudding ให้ใส่เหรียญ 6 เพนซ์ (หรือ 3 เพนซ์เงิน) ลงไปก่อนนำไปอบ และเมื่อนำมาตัดแบ่งรับประทาน ใครที่พบเหรียญ 6 เพนซ์ในส่วนที่ตัวเองได้รับและเก็บเหรียญไว้ จะมีโชคดีไปตลอดปีต่อไป
5. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแจกเหรียญ 6 เพนซ์ให้แก่นักบินรบที่ได้บินออกปฏิบัติการเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องรางคุ้มครอง
6. การมอบของขวัญวันเกิดหรือวันครบรอบแต่งงานเป็นเหรียญ 6 เพนซ์ที่ผลิตในปีเกิดหรือปีที่แต่งงาน แก่คนชรา หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่ออวยพรให้สุขภาพแข็งแรง มีความสุข
เพราะเหตุผลและความสำคัญเหล่านี้ ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ทางโรงกษาปณ์อังกฤษจึงได้กลับมาผลิตเหรียญ 6 เพนซ์ขึ้นอีกครั้งด้วยเงิน 92.5% ออกจำหน่ายเพื่ออนุรักษ์ประเพณีโบราณ โดยยังระบุให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย (แต่ย่อมไม่มีร้านค้ารับ)***
เหรียญ Sixpence ที่ถูกผลิตปัจจุบัน
2.6 เหรียญ Threepence มูลค่า 3d
(ซึ่งเมื่อครั้งยังผลิตจากเงิน มีขนาดเล็กมากเพียง 16.2 มิลลิเมตร จึงมีการเพิ่มเหรียญ Threepence ที่ผลิตจากทองเหลือง ให้มีขนาดใหญ่กว่า 21 มิลลิเมตร เป็นเหรียญ 12 เหลี่ยม ผลิตควบคู่กันตั้งแต่ปี 1937 จนถึง 1970 ส่วนเหรียญกลมขนาดเล็ก เลิกผลิตในปี 1946 เป็นต้นไป)
Threepence เงินพระเจ้าจอร์จที่ 6
Threepence ทองเหลืองพระเจ้าจอร์จที่ 6
Threepence ทองเหลืองราชินีอลิซาเบธ
(ต่อในคอมเม้นนะครับ)