บทเรียน : พนักงานสอบสวน กับ ข้อกฎหมาย ผู้เสียหายซวยซ้ำ และ โจทก์กลายเป็นจำเลย ............. โดย ตระกองขวัญ

กระทู้คำถาม
ปกติ  พนักงานสอบสวนจะแม่นในข้อกฎหมาย
อะไรที่ไม่เข้าข้อกฎหาย  พนักงานสอบสวนจะแนะนำและชี้แจงแนวทางที่ถูกต้องให้

เช่น   โดนลักทรัพย์  ผู้เสียหาย "คิดว่า" "เชื่อว่า" "รู้สึกว่า"  คน ๆ นั้นแน่ ๆ เป็นผู้ลัก
ก็เดินฉับ ๆ ขึ้นโรงพักแจ้งความ

อย่างนี้  พนักงานสอบสวนไม่แค่รับแจ้งตามที่แจ้งนะครับ  แต่ต้องไถ่ถาม สอบปากคำให้ชัด
อาจสอบปากคำว่า  มีหลักฐานอะไร  กล้องวงจรปิดมีไหม  มีคนเห็นขโมยไหม  ฯลฯ
จนมีพยานหลักฐาน "น่าเชื่อว่า" ผู้ถูกแจ้งความได้กระทำความผิดจริง ๆ
หากไม่มีหลักฐานอะไรเลย  หรือหลักฐานอ่อน  พนักงานสอบสวนมักจะชี้แจงว่า อย่าแจ้งความเลย
เพราะโอกาสสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลยกฟ้องมีสูงมาก  แล้วจะโดนฟ้องกลับ

นี่คือคุณสมบัติของพนักงานสอบสวนที่ดีครับ

แต่ที่แย่ ๆ ก็มี
ประเภท  อยากโชว์พาว  อยากอวดเก่ง  หรือมีนอกมีในปั้นคดีให้
พอไม่เข้าข้อกฎหมาย  ไม่มีหลักฐานเอาผิด   คนซวยก็คือคนแจ้งความ  โดนฟ้องกลับข้อหาแจ้งความเท็จ
โจทก์ก็กลายเป็นจำเลยเอาง่าย ๆ

แจ้งความเท็จนี่   ความผิดสำเร็จตั้งแต่พนักงานสอบสวนรับแจ้งแล้วครับ
การแจ้งความเอาผิดใคร  จึงต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัด  มีหลักฐานที่แน่นหนา  เข้าข้อกฎหมาย
ไม่ใช่แจ้งตามความรู้สึก  ตามความเชื่อ  หรือด้วยเหตุอื่นใด แบบว่า โดนแจ้งความเลยแจ้งความคืน  ซวยซ้ำเลยครับ

หลายคดี  พนักงานสอบสวนก็พลาด  พลาดแบบไม่น่าเชื่อ
เคราะห์กรรมก็ไปตกกับผู้เสียหาย  ที่เสียหายแล้วไม่ได้อะไรเยียวยา  

อย่างคดีรถตู่คอนเทนเนอร์ล้มทับฟอร์จูนเนอร์  ที่ผู้เสียหายได้แต่กลอกตา


คือ  พอเกิดเหตุ  พนักงานสอบสวนก็ตรวจหาหลักฐาน
พบว่า  คนขับรถตู้คอนเทนเนอร์เมา  เลยแจ้งข้อหาเมาแล้วขับส่งฟ้องศาลไปก่อน
ศาลก็พิพากษาลงโทษไปตามที่ฟ้อง   จบข้อหาไป

แล้วพนักงานสอบสวนก็ฟ้องในข้อหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายทั้งทรัพย์สินและร่างกาย
ผลก็คือ   ศาลยกฟ้อง  เพราะถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ   ก็ฟ้องไปแล้วในข้อหาเมาแล้วขับ จะมาฟ้องซ้ำไม่ได้

กฎหมายบอกว่า  ความผิดกรรมเดียว  จะกี่ข้อหา  ก็ต้องฟ้องพร้อมกันทีเดียว  จะแยกฟ้องทีละข้อหาหลายครั้งไม่ได้
เมื่อฟ้องข้อหาเมาแล้วขับ  คดีจบไปแล้ว  พิพากษาไปแล้ว  ถือว่าความผิดกรรมนั้นสิ้นสุดไปแล้ว
จะมาฟ้องข้อหาอื่น ๆ อีกไม่ได้  ถือว่าฟ้องซ้ำ   ศาลจึงยกฟ้อง  ผู้เสียหายก็ได้แต่กลอกตา  

นี่เรียกว่า  พนักงานสอบสวนก็พลาด  ผู้เสียหายก็พลาด  ที่อาจได้นักกฎหมายเห่ย ๆ มาเป็นผู้ช่วยเหลือทางคดี




จึงเป็นบทเรียนครับ   ว่าทุกคนต้องรู้กฎหมาย  อย่านึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว

นึกว่าตัวเองเป็นโจทก์  ได้เปรียบ  เจอพนักงานสอบสวนเห่ย ๆ  ก็ซวยเอาง่าย ๆ
ตัวเองเสียหาย  ไว้วางใจให้พนักงานสอบสวนทำคดี  เกิดการฟ้องซ้ำ  ก็ทำอะไรไม่ได้

การจะแจ้งความใคร  ในเรื่องใด ๆ   อย่าทำไปแบบไม่รู้กฎหมาย
เพราะโทษของการแจ้งความเท็จนั้น   มักไม่ได้รับการรอลงอาญา   ก็มุ่งเอาคนอื่นเข้าคุก ศาลท่านเลยให้คุกเป็นรางวัล




ความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดินนั้น  ยอมความไม่ได้
อย่างการหมิ่นประมาท  หากผู้แจ้งความถอนแจ้งความ  ถอนฟ้อง  คดีก็จบไป  เพราะเป็นคดีที่ยอมความได้
แต่แจ้งความเท็จ  เมื่อเกิดความผิดแล้ว  ยังไงคดีก็ต้องเดินไปจนสิ้นสุดกระบวนการ

ความผิดฐานแจ้งความเท็จ  ไม่ใช่แค่ต้องแจ้งความเท็จแล้วถึงผิด
แต่การตอบคำถาม  ให้ปากคำ  การมอบเอกสาร  กรอกเอกสารที่เป็นเท็จ  ก็ถือเป็นการแจ้งความเท็จ




ฉะนั้น   อย่านอนใจ  ว่าแจ้งความแล้ว ตำรวจรับแจ้งแล้ว  ก็สบายใจ
เพราะหากเรื่องที่แจ้งไม่มีองค์ประกอบทางกฎหมายที่เพียงพอ  ก็กลายเป็นแจ้งความเท็จ  
แทนที่คนอื่นจะโดน  กลับเป็นคนแจ้งความโดนซะเอง




ใครจะแจ้งความเรื่องอะไร  ปรึกษาพนักงานสอบสวนให้ดี  ดูพนักงานสอบสวนให้ดี
เพราะหากเจอพนักงานสอบสวนมั่ว ๆ   แทนที่คนอื่นจะเข้าคุก ก็กลายเป็นเราเข้าคุกแทน
หรือยิ่งประเภท  คิดว่ามีนอกมีในกับพนักงานสอบสวนแล้ว  สบายแล้ว  ยิ่งต้องระวังให้มาก
เพราะไม่แค่ข้อหาแจ้งความเท็จจะเกิด  แต่ข้อหาหนักหนาสาหัสอื่น ๆ จะตามมาเป็นพรวน






เมื่อย  จบ
เมา ๆ ยาดองเขียนทู้นี้   อาจยาวเฟ้อไปบ้าง  แต่รับรองไม่มั่วในข้อกฎหมาย

ทู้หน้า  จะมาร่ายเรื่องว่า  แล้วอย่างไร หากไม่สั่งฟ้อง หรือศาลยกฟ้อง  จึงไม่เป็นการแจ้งความเท็จ
เพื่อดับฝันของตัวกร่างที่ขู่ฟ่อ ๆ ว่าจะฟ้องกลับคนนั้นคนนี้แบบไม่รู้ประสาทางกฎหมาย
ฮ่าฮ่าฮ่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
สงสัยอีตาหล่อคงเมาตอนตั้งกระทู้นี้
ลุงอ่านแล้วงงไปหมด

ฟ้องซ้ำหมายถึงฟ้องคดี ที่โจทก์และจำเลย เป็นโจทก์จำเลยในคดีก่อน และฟ้องในข้อหาเดียวกัน จากข้อเท็จจริงเดียวกัน หลักฐานเดียวกัน

ถ้า 1.) โจทก์เป็นคนละคน หรือจำเลยเป็นคนละคน หรือ 2.) จำเลยในคดีก่อน กลับมาเป็นโจทก์ในคดีหลัง หรือโจทก์ในคดีก่อนกลับมาเป็นจำเลยในคดีหลัง หรือ 3.) โจทก์และจำเลยในคดีก่อน เป็นโจทก์และจำเลยในคดีหลัง แต่เป็นการฟ้องคนละฐานความผิด เช่นนี้ การฟ้องคดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้ำ

บางครั้งการแจ้งความของคนบางคน ก็เป็นการแก้เกี้ยว โดยเจตนาให้ฝ่ายตรงข้ามถอนคดีที่ฟ้องไว้ก่อน หรือที่เรียกว่าดึงเข้ามาสู้การไกล่เกลี่ย

ในบางเคสที่ลุงเคยเห็น สาวบางคนไปแจ้งความซะโพ้นฟ้า โดยคิดว่าตัวเองจะถือแต้มต่อ แต่เอาเข้าท้ายสุด ก็กลายเป็นการทิ่มตัวเองแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว แถมจะพาร้อยเวรโดนทิ่มไปด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่