หอพักของเพื่อนเป็นห้องนํ้ารวม เห็นแมวพเนจรไปกินนํ้าในถังที่เขาใช้ล้างส้วมและก้นน่ะ

กระทู้สนทนา
พอดีผมไปหอพักเพื่อน  หอนั้นเป็นห้องนํ้ารวม แล้วเห็นแมวพเนจรไปกินนํ้าในถังที่เขาใช้ล้างส้วมและก้นน่ะ แมวกินนํ้าจากขันนํ้าที่วางไว้ขอบถังเลย

น่ากลัวเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามากๆ  

ผมสงสัยว่าถ้าแมวและสุนัขติดเชื้อพิษสุนัขบ้า (โรคกลัวนํ้า) ก็คงจะไม่ดื่มนํ้าและหนีห่างนํ้าด้วยใช่ไหม  (เอาจากที่พี่ๆเคยเจอหรือพอทราบมานะครับ)  

ดังนั้นถ้าแมวไปดื่มนํ้าก็แสดงว่าคงจะไม่มีเชื่อพิษสุนัขบ้าใช่ไหมครับ


..................................................

ทราบมาว่าถ้าแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า  (โรคกลัวนํ้า) ก็จะมีอาการดังนี้

มีไข้
ชักกระตุก
มีภาวะอัมพาต เดินไม่ได้
กลัวน้ำ
อ้าปากค้าง กรามล่างห้อย
กลืนน้ำหรืออาหารลำบาก
นิสัยเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีความดุร้าย พร้อมโจมตีมนุษย์
กล่องเสียงหรือกรามล่างเป็นอัมพาต
น้ำลายไหลยืด บางตัวอาจพบว่าน้ำลายฟูมปาก

โรคกลัวน้ำ (hydrophobia) เป็นชื่อเดิมของโรคพิษสุนัขบ้า หมายถึง กลุ่มอาการในระยะท้าย ๆ ของการติดเชื้อที่บุคคลกลืนลำบาก แสดงอาการตื่นตระหนกเมื่อเสนอของเหลวให้ดื่ม และไม่สามารถดับความกระหายของผู้นั้นได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดที่ติดเชื้อไวรัสนี้อาจแสดงอาการกลัวน้ำทั้งนั้น

การผลิตน้ำลายเพิ่มขึ้นมาก และความพยายามดื่ม หรือแม้แต่เจตนาหรือการแนะนำให้ดื่ม อาจทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในลำคอและกล่องเสียงที่เจ็บอย่างยิ่ง อาการนี้สามารถอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าไวรัสเพิ่มจำนวนและอยู่ในต่อมน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อโดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งผ่านเพิ่มผ่านการกัด ความสามารถส่งผ่านไวรัสของสัตว์ที่ติดเชื้อจะลดลงอย่างสำคัญหากสัตว์นั้นสามารถกลืนน้ำลายและน้ำได้

โรคกลัวน้ำโดยทั่วไปสัมพันธ์กับโรคพิษสุนัขบ้าดุร้าย (furious rabies) ซึ่งเกิดใน 80% ของผู้ที่ติดเชื้อ อีก 20% ที่เหลืออาจประสบโรคพิษสุนัขบ้าแบบอัมพาตซึ่งมีลักษณะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการรู้สึกและอัมพาต โรคพิษสุนัขบ้าแบบนี้ปกติไม่ทำให้เกิดความกลัวน้ำ




............................
โรคพิษสุนัขบ้าในแมว: ถึงจะชื่อว่าเป็นโรคสุนัขบ้า แต่แมวก็เป็นได้เหมือนกันนะ
https://www.honestdocs.co/rabies-in-cat

..............................

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่