บทที่ 3 ซาฟารี ทะเลทราย และชนเผ่าตัวแดง
การเดินทาง 1 คน 1 เดือน 1 แสนนิดๆ มาถึงประเทศที่ 4 ประเทศนี้จะลบล้างความคิดว่าแอฟริการ้อนไหม้ไปหมดสิ้น
กางเตนท์นอนในพายุทรายใต้ทะเลดาวกับอุณหภูมิ 1 องศา อากาศแห้งจนมองเห็นประกายสีฟ้าๆแล่บออกมาจากมือ
0. intro to africa :
https://ppantip.com/topic/38139119
1. zimbabwe & zambia :
https://ppantip.com/topic/38158156
2. botswana :
https://ppantip.com/topic/38183649
3. namibia
4. south africa :
https://ppantip.com/topic/38271153
พอเข้านามิเบีย ก็ผจญอยู่กับพายุทรายตลอด จึงต้องใช้กล้อง 2 ตัว คือ olympus tough tg5 และ omd em10 mark3
ตอนแรกมีคนทักว่ากล้องรุ่นเล็กอย่าง em10 ไม่น่าจะทนสภาพฝุ่นทรายในแอฟริกาได้ แต่จากที่เคยใช้ em10 รุ่นเก่ามา เอาไปสมบุกสมบัน เปียกฝน เปียกหิมะ อุณหภูมิติดลบ มันก็ยังรอด จึงเชื่อในกล้องตัวเล็กนี้มาก ยอมรับว่ารุ่นเก่าพริมใช้ฝืนสเปคมาตลอดแต่มันก็รอด ส่วน em10 mark3 นี่รุ่นใหม่ ถ้าใช้งานกันตามสเปคคงอยู่ได้ยาว วันไหนมีลงน้ำหรือเจอพายุทรายค่อยพึ่ง tg5
Etosha National Park
อีโตชา เป็นจุดหมายซาฟารีที่ใหญ่สุดในนามิเบีย ใหญ่ประมาณ 14 เท่าของกรุงเทพ ประกอบด้วยทุ่งสะวันน่าและทุ่งเกลือ salt pan ไม่รู้จะเรียกชื่อไทยว่าอะไรดี เดี๋ยวก่อนออกจากอุทยานจะพาไปดู the great white place ความหมายของชื่ออีโตชา สัตว์ป่าที่นี่อยู่กันหนาแน่น ทางอุทยานจะคอยสำรวจว่าตอนนี้ประชากรผู้ล่าและผู้ถูกล่าอยู่ในสัดส่วนที่พอดีกันรึเปล่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไปจนขาดสมดุล ก็อาจมีการพิจารณาซื้อขายสัตว์ป่าจากพื้นที่อื่นได้

อีโตชาไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเพียงบ่อน้ำตื้นๆให้สัตว์ดื่มกิน ในเมื่อไม่มีแม่น้ำหนองบึง จึงไม่มีฮิปโปและควาย ควายแอฟริกาจะใช้ชีวิตติดกับน้ำตลอดเวลา แต่เห็นว่าที่นี่กำลังพัฒนาให้มีควายในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เพราะสำหรับแอฟริกาแล้ว ควายเป็น 1 ใน big 5 ที่นักท่องต่างใฝ่ฝันจะเห็นให้ครบ ถ้าอุทยานแห่งนี้มี big 5 ก็น่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก ส่วนตัวพริมไม่ค่อยสนใจ big 5 เท่าไหร่ คิดว่าเจออะไรก็ดีหมด
พุงป่อง บั้นท้ายอวบ คุณสมบัติของม้าลาย ตอนแรกคิดว่ามันท้อง แต่มองไปก็เห็นว่าท้องทุกตัวคงไม่ใช่ ที่แท้ระบบย่อยไม่ค่อยดีนั่นเอง
ยีราฟตัวผู้ยิ่งแก่ สีขนตรงลายยิ่งเข้ม ซึ่งแปลกมาก ขัดกับสัตว์อื่นที่แก่ลงแล้วผมหรือขนจะยิ่งซีดอ่อน
ส่งยิ้มให้ด้วย กินจนดอก acacia สีเหลืองติดหน้าเลย
อุณหภูมิตอนเช้าๆจะ 10 องศา แต่บ่ายก็ร้อนอย่างรวดเร็ว การสะบัดหู 2 ทีของช้าง ช่วยให้อุณหภูมิในตัวมันลดลงได้ถึง 2 องศา เคยคุยเรื่องความต่างของช้างแอฟริกันและช้างไทยไปแล้วในกระทู้บอตสวานา คราวนี้จะพูดเรื่องความต่างของช้างแอฟริกันตามทุ่งสะวันนาและช้างทะเลทรายบ้าง ซึ่งนามิเบียเป็นเพียงไม่กี่แห่งบนโลกที่มีช้างทะเลทราย
เข้าใจว่าสัตว์ที่จะอยู่รอดในทะเลทรายน่าจะต้องอึดและอดน้ำได้ประมาณนึง ภาพในหัวจึงมีแต่พวกอูฐ สัตว์เลื้อยคลานและแมลงบางชนิด ไม่คิดว่าสัตว์ตัวใหญ่ๆที่มักใช้ชีวิตอยู่กับน้ำจะปรับตัวได้สำเร็จ ไม่มีรูปให้ดูเลย ตอนผ่านทะเลทรายหาไม่เจอ
ช้างทะเลทรายจะมีรูปร่างที่เปรียวกว่า เท้าก็โตกว่าเพื่อที่จะสามารถเดินบนทรายได้ง่ายๆ ลองนึกภาพคนใส่รองเท้าผ้าใบกับใส่ส้นเข็มเดินบนทราย เนื่องจากมันอาจต้องเดินไกลเป็นร้อยๆโลเพื่อให้มีน้ำดื่มซักครั้งในรอบหลายวัน งวงก็ยาวกว่า เพราะบางทีอาจต้องขุดลงไปใต้ทรายเพื่อเสาะหาน้ำ
ก้อนขนสีน้ำตาลเพิ่งลุกจากการหมอบกินน้ำ สัตว์ตัวอื่นๆรอบบึงมีขยับตัวบ้างเล็กน้อย แต่ไม่มีตัวไหนวิ่งเตลิด เหมือนว่าสิงโตจะแค่ออกมากินน้ำดับร้อน ปกติแล้วสิงโตตัวผู้จะไม่ล่าเหยื่อ หน้าที่หุงหาอาหารเป็นหน้าที่ของตัวเมีย ในขณะที่ตัวผู้จะทำหน้าที่รักษาอาณาเขตปกป้องฝูง เฝ้ารอกินอาหารที่ตัวเมียล่ามาให้ จากที่ยืมเลนส์เทเลโอลิมปัส m.zuiko 40-150mm f2.8 มาใช้ บวกกับ 1.4x converter และปุ่มซูมขยายที่มากับตัวกล้อง omd em10 mark3 นึกว่าจะได้เห็นหน้าสิงโตใกล้ๆ สรุปที่ระยะเลนส์ประมาณ 800mm ของกล้องฟูลเฟรม ก็ยังได้สิงโตออกมาตัวนิดเดียวเอง ส่วนใต้ต้นไม้นั่นน่าจะเป็นแรด ตอนกลางวันเจอได้ยากพอๆกับสิงโต
แอนทีโลพตัวนี้ชื่อ hartebeest
wildebeest วิ่งกวด oryx จนฝุ่นตลบ คงแกล้งเล่นแก้เบื่อ เห็นมันวิ่งไล่มาหลายตัวแล้ว พวกสปริงบ็อกก็โดน
ฝูง blue wildebeest

พืชที่เติบโตที่นี่มีหญ้าและต้นไม้โปร่งๆสไตล์สะวันนา โดยส่วนมากเป็นพุ่มไม้ที่มีใบน้อยกว่าหนาม หนามสีขาวทำให้มองไกลๆเหมือนเป็นพุ่มไม้เงิน ออกดอกเล็กเป็นปุย สัตว์ชอบกินโดยไม่สนใจความแหลมคมของหนาม แต่พุ่มหนามตระกูล acacia พวกนี้พริมเข็ดมากหลังโดนเกี่ยวเลือดซิบมาหลายที

Etosha National Park : Etosha Salt Pan
ทุ่งเกลือที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าให้เทียบกับกรุงเทพอีกครั้งก็ประมาณ 3 เท่าของกรุงเทพ ที่นี่เคยเป็นทะเลสาบมาก่อน โดยผิวหน้าสีขาวเขียวคือโคลนที่ถูกลมพัดจนแห้ง ตอนย่ำเท้าลงไปมันจะแตกดังกร๊อบๆ

หลายๆปีอาจจะมีฝนซักหน ถ้าตกหนักๆ น้ำฝนจะท่วมทุ่มเกลือเป็นชั้นบางๆ แล้ว etosha salt pan จะกลายเป็นแหล่งอาหารให้ฝูงฟลามิงโก

ชอบวิวที่ว่างเปล่า แต่ในความเวิ้งว้างมันควรมีคนบ้าง เลยตั้งกล้องกับพื้นแล้วเชื่อม wifi เข้ามือถือ เพื่อให้มือถือเป็นเหมือนรีโมทที่ดูภาพสดๆจากกล้องได้เลย ตั้งค่าได้ทุกอย่าง จิ้มโฟกัสก็ได้ กดถ่ายได้เองเมื่อพอใจ หมดยุคตั้งเวลาที่กล้อง 12 วิ แล้ววิ่งหน้าตั้งกลับมาเข้าเฟรมแล้ว จริงๆถ้าทำเนียนซ่อนมือถือดีๆ คงได้รูปตัวเองยิ้มมองกล้อง ไม่ใช่ออกมาเหมือนคนเดินเล่นมือถือแบบนี้ เราว่านี่เป็นอีกจุดแข็งของ olympus omd em10 mark3 สำหรับคนที่ชอบเที่ยวคนเดียว ชอบที่มีตัวเองปะปนไปกับวิวมากกว่าเป็นสายเซลฟี่

คาราคาล ตระกูลแมวตระกูลเสือ
พริมจำเสือดาวกับชีตาร์สลับกันอยู่เรื่อย ตอนซาฟารีก็เรียกเหมารวมว่าเจ้าพวก big cats ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชอบเรียกแบบนี้
ต้องขอบคุณคนอ่านที่มาเตือนว่าโพสผิดตัว ตอนนี้แยกออกแล้วว่า ตัวซ้าย:ชีต้าร์เพรียวกว่า ตัวขวา:เสือดาวบึ้กกว่า
แล้วคุณว่าสิงโตหรือเสือดาวน่ากลัวกว่ากัน
ถ้าเจอสิงโต แล้วทำเป็นวางท่ากล้าแกร่ง มันจะไม่ค่อยยุ่งด้วย จะสังเกตได้ว่าสิงโตชอบยืนจ้องอยู่นานเพื่อหาว่าสัตว์ตัวไหนดูอ่อนแรงที่สุดในฝูง จ้องจนเหยื่อรู้ตัว แล้วถึงจู่โจมจากด้านหน้า นั่นแสดงว่าคุณจะมีโอกาสจ้องตาต่อรองกับมันก่อน
ในขณะที่เสือดาว คุณจะไม่มีโอกาสใดๆเลย เพราะเวลาออกล่า มันจะรอเหยื่อเผลอแล้วกระโจนใส่จากด้านหลัง ไม่เปิดโอกาสให้จ้องตาด้วยซ้ำ เสือดาวขี้อาย ไม่ชอบจ้องตา ดังนั้นถ้าเจอเสือดาวด้านหน้าถือว่าโชคดี จ้องมันไว้ มันจะไม่จู่โจม หันหลังให้เมื่อไหร่ โดนขย้ำแน่
ไม่ไกลจากลานกางเตนท์มีบ่อน้ำ ที่ไหนมีน้ำ ที่นั่นย่อมมีสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวันที่ร้อนๆ สัตว์จะรุมกันหนาแน่น ถ้าเมื่อไหร่เห็นบ่อน้ำแต่ไม่เห็นสัตว์ นั่นเป็นสถานการณ์ที่แปลก ถ้าเฝ้ารอต่อซักพัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเจอพวกผู้ล่าอย่างเสือสิง หลังจากกางเตนท์เสร็จ เราก็เดินออกมานั่งเฝ้าบ่อน้ำแห่งนี้ มีสปอตไลท์สีเหลืองของอุทยานส่องให้พร้อม นักท่องเที่ยวทุกคนนั่งรอในความเงียบ ไม่มีเสียงพูดคุย เราเข้าไปนั่งบนท่อนไม้ว่างๆที่แถวหลังสุด ถึงไฟจะส่องสว่างไปยังบ่อน้ำ แต่แสงดาวและทางช้างเผือกก็ยังสวย จัดการวางกล้องลงบนท่อนไม้อีกท่อนข้างตัวโดยหันเลนส์หันขึ้นไปทางท้องฟ้า เชื่อมไวไฟกับมือถือเพื่อให้เป็นรีโมทควบคุมกล้อง การถ่ายดาวแบบไม่มีฉากหน้าทำให้เราโฟกัสไม่ค่อยถูก พูดไม่ออกว่าชอบกว่าเดิมมั้ยที่ดาวเบลอช่วยให้ดูดวงใหญ่และสว่างกว่าเดิม เรากระซิบคุยเรื่องสัตว์กับคนข้างๆเพลินจนลืมไปเลยว่ากล้องที่วางคั่นตรงกลางกำลังเก็บภาพอยู่ เลยได้รูปดาวเบลอๆกับคนเบลอๆ

นั่งซักพักก็เจอไฮยีน่า ตามด้วย black-backed jackel สัตว์ที่หน้าตาคล้ายค้างคาวในคราบหมาจิ้งจอก แล้วก็ไม่มีตัวไหนโผล่มาอีกนาน กำลังคิดจะเดินกลับ ก็ได้ยินเสียงเหมือนวัวร้องจากที่ไกลๆ เสียงนั้นใกล้เข้ามาเรื่อยๆ แล้วแรดดำก็โผล่ออกมา พาลูกมากินน้ำด้วย แรดดำเจอง่ายกว่าแต่ก็ยังหายากอยู่ดี โครงหน้าต่างกันนิดหน่อย แต่สีของทั้งคู่คือสีเทาเหมือนกัน ไม่มีดำมีขาวอย่างชื่อพันธุ์ที่ใช้เรียก แรดจะมีอาณาเขตเดิมๆของตัวเอง วนเวียนอยู่แค่ที่นั้นๆ ทำให้มันถูกมนุษย์ล่าได้ง่าย

พริมถ่ายรูปนี้โดยไม่มีขาตั้ง speedshutter 1/30 กับ iso 10000 นอยซ์ไม่แย่ แถมเลนส์เทเลที่หนักและยาวเกือบศอกก็ทำอะไรระบบกันสั่น 5 แกนในกล้องไม่ได้ แรดแม่ลูกหายเข้าไปในความมืดแล้ว นั่งเฝ้าต่ออีกซักพักจนง่วงจึงเดินกลับเตนท์ นักท่องเที่ยวที่เดินสวนมาถามว่าเจออะไรบ้าง เลยบอกเจอแรด เค้าตื่นเต้นรีบวิ่งไปกันใหญ่ คืนนี้เลยเข้านอนไปแบบอิ่มอกอิ่มใจ ไม่คิดว่าตื่นเช้ามาจะมีเสียงคุยโม้ไปทั่วลานกางเตนท์ว่าเมื่อคืนมีเสือดาว!
มื้อสุดท้ายในนามิเบีย ซาฟารีโรยเกลือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถ้าพูดถึงแค่ซาฟารีเพียวๆ พริมชอบบอตสวานามากกว่า.. สภาพแวดล้อมหลากหลาย ต้องใช้ความพยายามถึงจะพบ ไม่ได้เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวแบบนี้ และในขณะที่บอตสวานาต่อต้าน trophy hunting หรือการล่าสัตว์เพื่อความบันเทิง นามิเบียกลับเป็นประเทศที่นักล่าใฝ่ฝัน เพราะเป็นไม่กี่ประเทศในโลกที่มีหนทางให้ล่า big 5 ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เสือดาว สิงโต ฮิปโป หรือสัตว์อะไรก็แล้วแต่ ใบอนุญาตมีขายกันเป็นแพคเกจ พรานกี่คน ไปกี่วัน เช่าปืนมั้ย นำของที่ระลึกจากการล่าหรือซากสัตว์ออกนอกนามิเบียได้กี่อย่าง แต่ประเทศคุณจะยอมให้นำเข้ามั้ยนั่นอีกเรื่อง
[CR] ☁︎ NAMIBIA : ในพายุทรายใต้ทะเลดาว
บทที่ 3 ซาฟารี ทะเลทราย และชนเผ่าตัวแดง
การเดินทาง 1 คน 1 เดือน 1 แสนนิดๆ มาถึงประเทศที่ 4 ประเทศนี้จะลบล้างความคิดว่าแอฟริการ้อนไหม้ไปหมดสิ้น
กางเตนท์นอนในพายุทรายใต้ทะเลดาวกับอุณหภูมิ 1 องศา อากาศแห้งจนมองเห็นประกายสีฟ้าๆแล่บออกมาจากมือ
0. intro to africa : https://ppantip.com/topic/38139119
1. zimbabwe & zambia : https://ppantip.com/topic/38158156
2. botswana : https://ppantip.com/topic/38183649
3. namibia
4. south africa : https://ppantip.com/topic/38271153
พอเข้านามิเบีย ก็ผจญอยู่กับพายุทรายตลอด จึงต้องใช้กล้อง 2 ตัว คือ olympus tough tg5 และ omd em10 mark3
ตอนแรกมีคนทักว่ากล้องรุ่นเล็กอย่าง em10 ไม่น่าจะทนสภาพฝุ่นทรายในแอฟริกาได้ แต่จากที่เคยใช้ em10 รุ่นเก่ามา เอาไปสมบุกสมบัน เปียกฝน เปียกหิมะ อุณหภูมิติดลบ มันก็ยังรอด จึงเชื่อในกล้องตัวเล็กนี้มาก ยอมรับว่ารุ่นเก่าพริมใช้ฝืนสเปคมาตลอดแต่มันก็รอด ส่วน em10 mark3 นี่รุ่นใหม่ ถ้าใช้งานกันตามสเปคคงอยู่ได้ยาว วันไหนมีลงน้ำหรือเจอพายุทรายค่อยพึ่ง tg5
Etosha National Park
อีโตชา เป็นจุดหมายซาฟารีที่ใหญ่สุดในนามิเบีย ใหญ่ประมาณ 14 เท่าของกรุงเทพ ประกอบด้วยทุ่งสะวันน่าและทุ่งเกลือ salt pan ไม่รู้จะเรียกชื่อไทยว่าอะไรดี เดี๋ยวก่อนออกจากอุทยานจะพาไปดู the great white place ความหมายของชื่ออีโตชา สัตว์ป่าที่นี่อยู่กันหนาแน่น ทางอุทยานจะคอยสำรวจว่าตอนนี้ประชากรผู้ล่าและผู้ถูกล่าอยู่ในสัดส่วนที่พอดีกันรึเปล่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไปจนขาดสมดุล ก็อาจมีการพิจารณาซื้อขายสัตว์ป่าจากพื้นที่อื่นได้
อีโตชาไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเพียงบ่อน้ำตื้นๆให้สัตว์ดื่มกิน ในเมื่อไม่มีแม่น้ำหนองบึง จึงไม่มีฮิปโปและควาย ควายแอฟริกาจะใช้ชีวิตติดกับน้ำตลอดเวลา แต่เห็นว่าที่นี่กำลังพัฒนาให้มีควายในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เพราะสำหรับแอฟริกาแล้ว ควายเป็น 1 ใน big 5 ที่นักท่องต่างใฝ่ฝันจะเห็นให้ครบ ถ้าอุทยานแห่งนี้มี big 5 ก็น่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก ส่วนตัวพริมไม่ค่อยสนใจ big 5 เท่าไหร่ คิดว่าเจออะไรก็ดีหมด
พุงป่อง บั้นท้ายอวบ คุณสมบัติของม้าลาย ตอนแรกคิดว่ามันท้อง แต่มองไปก็เห็นว่าท้องทุกตัวคงไม่ใช่ ที่แท้ระบบย่อยไม่ค่อยดีนั่นเอง
ยีราฟตัวผู้ยิ่งแก่ สีขนตรงลายยิ่งเข้ม ซึ่งแปลกมาก ขัดกับสัตว์อื่นที่แก่ลงแล้วผมหรือขนจะยิ่งซีดอ่อน
ส่งยิ้มให้ด้วย กินจนดอก acacia สีเหลืองติดหน้าเลย
อุณหภูมิตอนเช้าๆจะ 10 องศา แต่บ่ายก็ร้อนอย่างรวดเร็ว การสะบัดหู 2 ทีของช้าง ช่วยให้อุณหภูมิในตัวมันลดลงได้ถึง 2 องศา เคยคุยเรื่องความต่างของช้างแอฟริกันและช้างไทยไปแล้วในกระทู้บอตสวานา คราวนี้จะพูดเรื่องความต่างของช้างแอฟริกันตามทุ่งสะวันนาและช้างทะเลทรายบ้าง ซึ่งนามิเบียเป็นเพียงไม่กี่แห่งบนโลกที่มีช้างทะเลทราย
เข้าใจว่าสัตว์ที่จะอยู่รอดในทะเลทรายน่าจะต้องอึดและอดน้ำได้ประมาณนึง ภาพในหัวจึงมีแต่พวกอูฐ สัตว์เลื้อยคลานและแมลงบางชนิด ไม่คิดว่าสัตว์ตัวใหญ่ๆที่มักใช้ชีวิตอยู่กับน้ำจะปรับตัวได้สำเร็จ ไม่มีรูปให้ดูเลย ตอนผ่านทะเลทรายหาไม่เจอ
ช้างทะเลทรายจะมีรูปร่างที่เปรียวกว่า เท้าก็โตกว่าเพื่อที่จะสามารถเดินบนทรายได้ง่ายๆ ลองนึกภาพคนใส่รองเท้าผ้าใบกับใส่ส้นเข็มเดินบนทราย เนื่องจากมันอาจต้องเดินไกลเป็นร้อยๆโลเพื่อให้มีน้ำดื่มซักครั้งในรอบหลายวัน งวงก็ยาวกว่า เพราะบางทีอาจต้องขุดลงไปใต้ทรายเพื่อเสาะหาน้ำ
ก้อนขนสีน้ำตาลเพิ่งลุกจากการหมอบกินน้ำ สัตว์ตัวอื่นๆรอบบึงมีขยับตัวบ้างเล็กน้อย แต่ไม่มีตัวไหนวิ่งเตลิด เหมือนว่าสิงโตจะแค่ออกมากินน้ำดับร้อน ปกติแล้วสิงโตตัวผู้จะไม่ล่าเหยื่อ หน้าที่หุงหาอาหารเป็นหน้าที่ของตัวเมีย ในขณะที่ตัวผู้จะทำหน้าที่รักษาอาณาเขตปกป้องฝูง เฝ้ารอกินอาหารที่ตัวเมียล่ามาให้ จากที่ยืมเลนส์เทเลโอลิมปัส m.zuiko 40-150mm f2.8 มาใช้ บวกกับ 1.4x converter และปุ่มซูมขยายที่มากับตัวกล้อง omd em10 mark3 นึกว่าจะได้เห็นหน้าสิงโตใกล้ๆ สรุปที่ระยะเลนส์ประมาณ 800mm ของกล้องฟูลเฟรม ก็ยังได้สิงโตออกมาตัวนิดเดียวเอง ส่วนใต้ต้นไม้นั่นน่าจะเป็นแรด ตอนกลางวันเจอได้ยากพอๆกับสิงโต
แอนทีโลพตัวนี้ชื่อ hartebeest
wildebeest วิ่งกวด oryx จนฝุ่นตลบ คงแกล้งเล่นแก้เบื่อ เห็นมันวิ่งไล่มาหลายตัวแล้ว พวกสปริงบ็อกก็โดน
ฝูง blue wildebeest
พืชที่เติบโตที่นี่มีหญ้าและต้นไม้โปร่งๆสไตล์สะวันนา โดยส่วนมากเป็นพุ่มไม้ที่มีใบน้อยกว่าหนาม หนามสีขาวทำให้มองไกลๆเหมือนเป็นพุ่มไม้เงิน ออกดอกเล็กเป็นปุย สัตว์ชอบกินโดยไม่สนใจความแหลมคมของหนาม แต่พุ่มหนามตระกูล acacia พวกนี้พริมเข็ดมากหลังโดนเกี่ยวเลือดซิบมาหลายที

Etosha National Park : Etosha Salt Pan
ทุ่งเกลือที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าให้เทียบกับกรุงเทพอีกครั้งก็ประมาณ 3 เท่าของกรุงเทพ ที่นี่เคยเป็นทะเลสาบมาก่อน โดยผิวหน้าสีขาวเขียวคือโคลนที่ถูกลมพัดจนแห้ง ตอนย่ำเท้าลงไปมันจะแตกดังกร๊อบๆ
หลายๆปีอาจจะมีฝนซักหน ถ้าตกหนักๆ น้ำฝนจะท่วมทุ่มเกลือเป็นชั้นบางๆ แล้ว etosha salt pan จะกลายเป็นแหล่งอาหารให้ฝูงฟลามิงโก
ชอบวิวที่ว่างเปล่า แต่ในความเวิ้งว้างมันควรมีคนบ้าง เลยตั้งกล้องกับพื้นแล้วเชื่อม wifi เข้ามือถือ เพื่อให้มือถือเป็นเหมือนรีโมทที่ดูภาพสดๆจากกล้องได้เลย ตั้งค่าได้ทุกอย่าง จิ้มโฟกัสก็ได้ กดถ่ายได้เองเมื่อพอใจ หมดยุคตั้งเวลาที่กล้อง 12 วิ แล้ววิ่งหน้าตั้งกลับมาเข้าเฟรมแล้ว จริงๆถ้าทำเนียนซ่อนมือถือดีๆ คงได้รูปตัวเองยิ้มมองกล้อง ไม่ใช่ออกมาเหมือนคนเดินเล่นมือถือแบบนี้ เราว่านี่เป็นอีกจุดแข็งของ olympus omd em10 mark3 สำหรับคนที่ชอบเที่ยวคนเดียว ชอบที่มีตัวเองปะปนไปกับวิวมากกว่าเป็นสายเซลฟี่
คาราคาล ตระกูลแมวตระกูลเสือ
พริมจำเสือดาวกับชีตาร์สลับกันอยู่เรื่อย ตอนซาฟารีก็เรียกเหมารวมว่าเจ้าพวก big cats ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชอบเรียกแบบนี้
ต้องขอบคุณคนอ่านที่มาเตือนว่าโพสผิดตัว ตอนนี้แยกออกแล้วว่า ตัวซ้าย:ชีต้าร์เพรียวกว่า ตัวขวา:เสือดาวบึ้กกว่า
แล้วคุณว่าสิงโตหรือเสือดาวน่ากลัวกว่ากัน
ถ้าเจอสิงโต แล้วทำเป็นวางท่ากล้าแกร่ง มันจะไม่ค่อยยุ่งด้วย จะสังเกตได้ว่าสิงโตชอบยืนจ้องอยู่นานเพื่อหาว่าสัตว์ตัวไหนดูอ่อนแรงที่สุดในฝูง จ้องจนเหยื่อรู้ตัว แล้วถึงจู่โจมจากด้านหน้า นั่นแสดงว่าคุณจะมีโอกาสจ้องตาต่อรองกับมันก่อน
ในขณะที่เสือดาว คุณจะไม่มีโอกาสใดๆเลย เพราะเวลาออกล่า มันจะรอเหยื่อเผลอแล้วกระโจนใส่จากด้านหลัง ไม่เปิดโอกาสให้จ้องตาด้วยซ้ำ เสือดาวขี้อาย ไม่ชอบจ้องตา ดังนั้นถ้าเจอเสือดาวด้านหน้าถือว่าโชคดี จ้องมันไว้ มันจะไม่จู่โจม หันหลังให้เมื่อไหร่ โดนขย้ำแน่
ไม่ไกลจากลานกางเตนท์มีบ่อน้ำ ที่ไหนมีน้ำ ที่นั่นย่อมมีสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวันที่ร้อนๆ สัตว์จะรุมกันหนาแน่น ถ้าเมื่อไหร่เห็นบ่อน้ำแต่ไม่เห็นสัตว์ นั่นเป็นสถานการณ์ที่แปลก ถ้าเฝ้ารอต่อซักพัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเจอพวกผู้ล่าอย่างเสือสิง หลังจากกางเตนท์เสร็จ เราก็เดินออกมานั่งเฝ้าบ่อน้ำแห่งนี้ มีสปอตไลท์สีเหลืองของอุทยานส่องให้พร้อม นักท่องเที่ยวทุกคนนั่งรอในความเงียบ ไม่มีเสียงพูดคุย เราเข้าไปนั่งบนท่อนไม้ว่างๆที่แถวหลังสุด ถึงไฟจะส่องสว่างไปยังบ่อน้ำ แต่แสงดาวและทางช้างเผือกก็ยังสวย จัดการวางกล้องลงบนท่อนไม้อีกท่อนข้างตัวโดยหันเลนส์หันขึ้นไปทางท้องฟ้า เชื่อมไวไฟกับมือถือเพื่อให้เป็นรีโมทควบคุมกล้อง การถ่ายดาวแบบไม่มีฉากหน้าทำให้เราโฟกัสไม่ค่อยถูก พูดไม่ออกว่าชอบกว่าเดิมมั้ยที่ดาวเบลอช่วยให้ดูดวงใหญ่และสว่างกว่าเดิม เรากระซิบคุยเรื่องสัตว์กับคนข้างๆเพลินจนลืมไปเลยว่ากล้องที่วางคั่นตรงกลางกำลังเก็บภาพอยู่ เลยได้รูปดาวเบลอๆกับคนเบลอๆ
นั่งซักพักก็เจอไฮยีน่า ตามด้วย black-backed jackel สัตว์ที่หน้าตาคล้ายค้างคาวในคราบหมาจิ้งจอก แล้วก็ไม่มีตัวไหนโผล่มาอีกนาน กำลังคิดจะเดินกลับ ก็ได้ยินเสียงเหมือนวัวร้องจากที่ไกลๆ เสียงนั้นใกล้เข้ามาเรื่อยๆ แล้วแรดดำก็โผล่ออกมา พาลูกมากินน้ำด้วย แรดดำเจอง่ายกว่าแต่ก็ยังหายากอยู่ดี โครงหน้าต่างกันนิดหน่อย แต่สีของทั้งคู่คือสีเทาเหมือนกัน ไม่มีดำมีขาวอย่างชื่อพันธุ์ที่ใช้เรียก แรดจะมีอาณาเขตเดิมๆของตัวเอง วนเวียนอยู่แค่ที่นั้นๆ ทำให้มันถูกมนุษย์ล่าได้ง่าย
พริมถ่ายรูปนี้โดยไม่มีขาตั้ง speedshutter 1/30 กับ iso 10000 นอยซ์ไม่แย่ แถมเลนส์เทเลที่หนักและยาวเกือบศอกก็ทำอะไรระบบกันสั่น 5 แกนในกล้องไม่ได้ แรดแม่ลูกหายเข้าไปในความมืดแล้ว นั่งเฝ้าต่ออีกซักพักจนง่วงจึงเดินกลับเตนท์ นักท่องเที่ยวที่เดินสวนมาถามว่าเจออะไรบ้าง เลยบอกเจอแรด เค้าตื่นเต้นรีบวิ่งไปกันใหญ่ คืนนี้เลยเข้านอนไปแบบอิ่มอกอิ่มใจ ไม่คิดว่าตื่นเช้ามาจะมีเสียงคุยโม้ไปทั่วลานกางเตนท์ว่าเมื่อคืนมีเสือดาว!
มื้อสุดท้ายในนามิเบีย ซาฟารีโรยเกลือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้