อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๑ )
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง ภิกษุย่อมรู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไร
ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด ภิกษุผู้ หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐-๕๒๑/๑๖๕๕.
อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๒)
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาน) เป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วใน ความหลีก เร้น เป็นผู้ประกอบซึ่งความสงบจิตของตนในภายใน มีฌานอันไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
เป็นผู้ประกอบ ซึ่งความสงบจิตของตนในภายใน มีฌานอันไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคารอยู่
พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๖๐/๒๒๓.
อานิสงค์จากการหลีกเร้นนัยอื่น
- รู้ชัดอายตนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่าง คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักษุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง /// - บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๐/๑๔๘.
- แสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง /// -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๑/๒๕๐.)
" อา นิ สงค์ ของ การ หลีก เร้น "
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง ภิกษุย่อมรู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไร
ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด ภิกษุผู้ หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐-๕๒๑/๑๖๕๕.
อานิสงส์ของการหลีกเร้น (นัยที่ ๒)
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาน) เป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วใน ความหลีก เร้น เป็นผู้ประกอบซึ่งความสงบจิตของตนในภายใน มีฌานอันไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
เป็นผู้ประกอบ ซึ่งความสงบจิตของตนในภายใน มีฌานอันไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคารอยู่
พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๖๐/๒๒๓.
อานิสงค์จากการหลีกเร้นนัยอื่น
- รู้ชัดอายตนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่าง คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักษุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง /// - บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๐/๑๔๘.
- แสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง /// -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๑/๒๕๐.)