Damme คลองขุดของนโปเลียนเพื่อหลบเลี่ยงกองทัพเรืออังกฤษ


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Canal de Damme



Panoramic view of the famous
Damme Canal. Photo credit: canadastock/Shutterstock.com



การท่องเที่ยวยอดนิยมชม
เมือง Bruges ใน Belgium
คือ การนั่งเรือล่องตามลำคลองสายต่าง ๆ
ที่มีอยู่หลายสายมากมายในเมือง
ใจกลางเมืองประวัติศาสตร
แห่งนี้มีลักษณะคล้ายไข่แดง
ที่ถูกห้อมล้อมและล้อมรอบ
ด้วยคลองสายต่าง ๆ
โบสถ์และบ้านเรือนแบบยุคเก่า
ที่น่าสนใจและน่าชม
และต้นไม้ที่ขึ้นเรียงราย
สามแถวบนตลิ่งเหนือคลอง
Bruges-Sluis Canal หรือ Damme Canal


คลองสายนี้มีความยาวถึง  15 กิโลเมตร
เชื่อมต่อระหว่าง Bruges กับ
ชายแดนของ Dutch
ที่เมือง Sluis ผ่านเมือง Damme
คลองสายนี้ถูกขุดขึ้นมาตามคำบัญชาของ  Napoleon Bonaparte
ทำให้มีการเรียกว่า Napoleon Vaart
หรือ Napoleon Canal


ความมุ่งหมายเดิมของ
Napoleon  Bonaparte
คือ การขุดคลองแอบซ่อนไว้
ด้านหลังตามแนวชายฝั่ง
เพื่อส่งเสบียงอาหาร
และอาวุธยุทโธปกรณ์
ให้กองทัพฝรั่งเศสได้อย่างรวดเร็ว
และเป็นการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
/ปะทะกับกองทัพเรืออังกฤษ
เพราะราชนาวีอังกฤษ
มีความชำนาญการรบ
และแข็งแกร่งกว่าฝรั่งเศสมาก

คลองสายนี้ไว้เชื่อมต่อระหว่าง Bruges
กับบริเวณปากแม่น้ำ Scheldt
ใน Netherlands แต่ต้องยุติลงไป
เพราะการพ่ายแพ้ในการรบของ
Napoleon  Bonaparte
ใน Battle of Waterloo

หลังจากนั้นต่อมาไม่นานนัก
King William I ของ Netherlands
ได้มีพระราชโองการให้ขุดคลอง
Bruges-Sluis ให้เสร็จสิ้น
แต่กว่าจะสำเร็จลุล่วงใช้งานได้
ก็ในช่วงปลายปี ค.ศ.1856
เพราะทางเบลเยี่ยมเริ่มขุดต่อ
หลังจากได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1830


คลอง Damme  คลองเส้นนี้ตัดผ่าน
คลอง Leopold กับคลอง  Schipdonk
คลองทั้งสองสายนี้ถูกขุดขึ้น
กลางศตวรรษที่ 19
เพื่อเพิ่มช่องทางเครือข่ายเส้นทาง
คลองที่ใช้สัญจรขนส่งข้าวของ
มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของ Belgian
ที่มักจะถูก Dutch แทรกแซง
และครอบงำยึดเป็นเมืองขึ้นประจำ


หลังจากที่ Belgian
ได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1830
คลองนี้จึงมีการขุดต่อเนื่องมาหลังจากนั้น
และเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ.1856
จนถึงปี ค.ศ.1940
และต้องหยุดการใช้งานไป
เพราะกองทัพฝรั่งเศศได้ทำลาย
ระบบเพิ่ม/ลดน้ำในคลองเส้นนี้
ทำให้ต้องยุติการสัญจร/
การขนส่งทางน้ำในคลอง Damme
เฉพาะเรือบรรทุกสินค้าที่กินระวางน้ำลึก
แล่นผ่านไปมาไม่ได้เหมือนในอดีต


ทุกวันนี้  บนริมฝั่งคลองทั้งสองข้าง
จะเต็มไปด้วยต้น Poplar
ที่ปลูกอย่างเป็นระเบียบ
และเชื่อกันว่าเป็นคลอง
สายที่สวยที่สุดใน  Flanders
(ชาวเบลเยี่ยมที่พูดภาษาเฟลมมิช)


เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2SkaKJW
http://bit.ly/2CH2oqw






Photo credit: Eric Huybrechts/Flickr




Photo credit: Alain Rouiller/Flickr


Credit : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ

คลองขุดของไทย  
ตั้งแต่ยุคก่อนสุโขทัยถึงรัชกาลที่ 9
จากข้อมูลที่ปรากฏมีไม่น้อยกว่า 36 คลอง

1.



2.



3.



4.



5.



6.



7.



8.



9.



10.



11.



12.





เรื่องเล่าไร้สาระ


มีตำนานเล่าสืบต่อกันกันว่า
สุลต่านสุไลมาน หรือ ทวดหุม
อดีตเจ้านครรัฐสงขลา
ต้นสกุล ณ พัทลุง ศรียาภัย พิทักษ์คุมพล ฯลฯ
(อาศีส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี)
ยังมีมรหุ่ม อัล-มาร์ฮุม ในภาษาอารบิก
แปลว่า ผู้เป็นที่โปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้า
หรือสุสานของท่าน ที่อ.สิงหนคร จ.สงขลา
อยู่ใกล้กับทางเข้าคลังน้ำมัน ปตท. สงขลา




มรหุ่ม ของทวดหุม  ที่สิงหนคร  สงขลา



ภาพทวดหุมในมรหุ่ม  
ที่มีคนมโนวาดขึ้นมาแล้วไปวางไว้  
ที่มรหุ่มของท่าน พวกเล่นหวย
/ชาวเรือชอบไปแก้บน
ด้วยธูปเทียนดอกไม้ ประทัด
เลยมีการวางที่บูชาไว้ด้านหน้า
ที่ฝังศพท่าน(อยู่ใต้ดิน)


ท่านมีบัญชาให้ขุดคลองด้านหลังเกาะยอ
เพื่อให้เชื่อมต่อกับคลองพะวง หรือคลองวง
(เส้นแบ่งเขตอำเภอหาดใหญ่-อำเภอเมือง)
ที่มีเส้นทางบกไปจะนะเทพา
ไปทะลุออกได้ใกล้กับปัตตานี
และให้ไปเชื่อมต่อกับคลอง
สายรอบนอกอำเภอหาดใหญ่
กับคลองอู่ตะเภา คลองสายหลักของหาดใหญ่ผ่านที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
คลองสายนี้ไหลมาจากทิศใต้หาดใหญ่  
ต้นน้ำไหลมาจากภาคเหนือมาเลย์
ผ่านอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ไหลไปทางทิศเหนือเพื่อไหลลง
ที่ทะเลสาบสงขลาด้านหลังเกาะยอ-สงขลา


ถ้าแล่นเรือทวนน้ำ
จะไปที่ไทรบุรี(เกดาห์) รัฐสยามเดิมในอดีต
แถวนี้มีคนสยามที่มีอาชีพหลักคือ การทำนา
และมีวัดไทยจำนวนมากในแถบ
ภาคเหนือของมาเลย์
มาเลย์มักจะไม่เขียนในภูมิศาสตร์ว่า
มีคนสยามและวัดไทยอยู่ในภาคเหนือมาเลย์
ตามข้อมูลจากคนสยามใน 5 รัฐสยามเดิม
ที่มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแถวภาคใต้

การขุดคลองตามคำบัญชาของทวดหุม
เพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ด้านเสบียงกรัง
เส้นทางหนีทีไล่เวลารบกับทัพหลวงอยุธยา
โดยท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกลไปกว่านั้น
คือต้องการจะขุดคลองให้ไปเชื่อมต่อกับ
คลอง/แม่น้ำที่ไปทะลุออกที่จังหวัดสตูล
ไปออกทะเลอันดามัน ถ้าทำได้
ซึ่งถ้าท่านทำได้สำเร็จ
จะเป็นคอคอดกระเส้นแรกของสยาม
ทั้งนี้ยังมีร่องรอยเรียกชื่อว่า คลองขุด
อยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่

แต่เพราะเทคโนโลยีการขุดคลอง
ที่จำกัดในอดีต กับแรงงานที่ขาดแคลนมาก
แบบเกิดง่ายตายง่าย เพราะโรคภัยไข้เจ็บ
ที่ระบบการแพทย์ยังไม่ดีพอแบบทุกวันนี้
ทำให้เหลือร่องรอยคลองขุด
ที่ท่านให้ชาวบ้านขุดทิ้งไว้
ที่ยังหลงเหลือมาถึงจนถึงทุกวันนี้
เพียงสายสั้น ๆ เรียกว่า คลองขุด
ขนาดคลองมีความกว้างพอใช้
เพราะน้ำหลาก/น้ำไหลเชี่ยวในฤดูฝน
แต่ทุกวันนี้มีการใช้งานน้อยมาก  
แค่การประมงพื้นบ้าน
เพราะการคมนาคมใช้ทางบกมากกว่าทางเรือ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่