เผยแพร่: 25 ต.ค. 2561 21:52 ปรับปรุง: 25 ต.ค. 2561 22:01 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
“อังกฤษก็แล้ว, ชิลีก็แล้ว นี่ก็มาฟิลิปปินส์อีก นี่เราจะสะสมชีวิตนักปั่นทั่วโลก ให้มาตายที่เมืองไทยเลยเหรอครับ?” นักปั่นรอบโลกชื่อดัง ฝากถามด้วยความขุ่นข้องใจ ย้ำชัดสภาพ “ถนนไทย” ไม่อันตรายเท่าจิตสำนึก “คนขับ” เพราะรายล่าสุดก็เพิ่งสังเวยไปกับการฝ่าไฟแดงพุ่งชน
ขณะที่กูรูท้องถนนช่วยชี้ ช่องโหว่อุบัติเหตุคือ “บทลงโทษ” ที่รุนแรงน้อยเกินไป ได้เวลาปรับเสียใหม่ พร้อมออกปากเตือนผู้จัด-นักปั่น ไม่พร้อมจริง อย่าริปั่นบน “ถนนสายดุ” ของไทย สถิติบอกชัดอัตราการตายของชาวสองล้อตก “วันละคน”!!
“3 เคส” สะเทือนข้ามทวีป “ถนนไทยแดนฆาตกรรม”
[นักปั่นชาวฟิลิปปินส์ “รัสเซลล์ เรเปรซ” ผู้เคราะห์ร้ายรายลาสุด]
"เกลียดถนนประเทศนี้ แหล่งรวมเครื่องจักรสังหาร เต็มไปด้วยนักขับชั้นเลว R.I.P"
"มีฝรั่งบอก ปั่นในเมืองไทย อันตรายกว่าไปอยู่ซีเรีย น่าจะเป็นความจริง"
"คนไทยเราไร้วินัยจราจรเอามากๆ เร็ว-ซิ่ง-วิ่งแรง-ประมาท-ขาดสติ ครบองค์ประชุมเลย"
“ถนนเมืองไทย ยังไม่ปลอดภัยพอสำหรับจักรยานหรอกครับ”
“ถนนบ้านเมืองเรา อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก”
[ภาพก่อนเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับ นักปั่นชาวฟิลิปปินส์]
นี่คือส่วนหนึ่งของถ้อยคำแทนใจชาวสองล้อ หลังอุบัติเหตุสะเทือนความรู้สึกเกิดขึ้นกับนักปั่นชาวฟิลิปปินส์ “รัสเซลล์ เรเปรซ (Russal Repres)” ชาวสองล้อผู้เคราะห์ร้าย ที่ถูกรถตู้ฝ่าไฟแดง พุ่งเข้าชนอย่างจังแล้วขับหนีไป ก่อนจะถึงเส้นชัยในกิจกรรม “1,000 BRM สุวรรณภูมิ-ตราด” ในอีก 50 กม.บนถนนสุวรรณภูมิ-ตราด
ล่าสุด ทางคณะผู้จัดงานได้ออกมาชี้แจงผ่านแฟนเพจ "Audax Randonneurs Thailand" แล้ว โดยยืนยันหนักแน่นว่า นักปั่นรายดังกล่าวปฏิบัติตามกฎจราจรทุกอย่าง สภาพเส้นทางก็มีไฟส่องสว่างที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นแยกหลัก รวมถึงมาตรฐานการเตรียมงาน ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นไปตามเกณฑ์ด้านความปลอดภัยทุกอย่าง
จึงเกิดกลายเป็นคำถามว่า สรุปแล้ว “ช่องโหว่” ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอยู่ตรงไหน อะไรทำให้ “นักปั่นจากต่างแดน” ต้องมาสังเวยชีวิตให้แก่ถนนสัญชาติไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้กลายเป็นถ้อยคำตัดพ้อต่อว่าด่า “จิตสำนึกคนขับ” กันข้ามทวีป และดูเหมือนว่าจะยังมองหาจุดสิ้นสุดไม่เจอเสียด้วย
[คู่รักนักปั่นชาวอังกฤษ ผู้ถูกปลิดชีพที่เมืองไทย "ปีเตอร์-แมรี่"]
ย้อนกลับไปยังข่าวอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นกับ “คู่รักนักปั่นชาวอังกฤษ” เมื่อปี 56 ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยถูกสื่อจากทั่วโลก ตีแผ่ภาพลักษณ์ “เจ้าของประเทศถนนมรณะ” หลังรถปิกอัพคันหนึ่ง ก้มเก็บหมวกระหว่างขับรถ แล้วเสียหลักพุ่งลงข้างทาง จนกวาดเอาชีวิต “ปีเตอร์ รูท (Peter Root)” และ “แมรี่ ทอมป์สัน (Mary Thompson)” ไปด้วย
[สภาพรถที่พุ่งชน คู่นักปั่นชาวอังกฤษ และเศษซากอุบัติเหตุ]
[เพื่อนชาวสองล้อ เดินทางมาร่วมไว้อาลัยให้แก่ นักปั่นชาวอังกฤษ]
ทั้งสองคนคือคู่รักนักผจญภัยด้วยการปั่นจักรยานรอบโลก ที่พิชิตเส้นทางทั่วทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง จีน และอีก 23 ประเทศมาแล้ว แต่กลับต้องมายุติการเดินทางลงที่ประเทศไทย
["ฮวน ฟรานซิสโก" นักปั่นชาวชิลี อีกหนึ่งชีวิตที่ต้องสังเวย]
ไม่ต่างไปจาก ชะตาชีวิตของ “นักปั่นชาวชิลี” ที่เดินทางมาปั่นถึงประเทศไทยในปี 58 โดยหวังทำสถิติโลกในการพิชิต 5 ทวีปภายในเวลา 5 ปี ด้วยแรงขับเคลื่อนสองล้อ เพื่อลงบันทึกใน “กินเนสส์ บุ๊ก” แต่กลับไปไม่ถึงฝั่งฝัน หลังมีรถกระบะเฉี่ยวชนขบวนของเขา จนเป็นเหตุให้ “ฮวน ฟรานซิสโก (Juan Francisco Guillermo)” เสียชีวิตในทันที ส่วนภรรยาและลูกของเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บ
[แทบไม่เหลือเค้ารถสองล้อ ของนักปั่นชาวชิลี]
[หลังอุบัติเหตุปี 58 คร่าชีวิตนักปั่นผู้เป็นพ่อ ส่วนภรรยาและลูกได้รับบาดเจ็บ]
ทำไมนักปั่นที่ปั่นมาแล้วหลายประเทศทั่วโลก ต้องมาจบชีวิตลงที่ประเทศไทย? คือสิ่งที่หลายคนตั้งคำถามเอาไว้เหมือนๆ กัน มันแสดงให้เห็นว่าสภาพการขับขี่บนท้องถนนในบ้านเมืองแห่งนี้คือสุดยอดแห่งความอันตรายหรือเปล่า?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีไปกว่า คนไทยคนแรกที่ใช้เวลา 6 ปี พิชิตเส้นทางปั่นรอบโลกมาแล้ว อย่าง หมู-เจริญ และ วรรณ-อรวรรณ โอทอง เจ้าของแฟนเพจ "Bicycle Wind" ที่ช่วยวิเคราะห์ผ่านปลายสายให้แก่ ทีมข่าว MGR Live เอาไว้ว่า ปัญหาหลักๆ คือเรื่อง “จิตสำนึกคนขับ” ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการพรากชีวิตนักปั่นยิ่งไปกว่า “สภาพท้องถนน” หลายเท่านัก
["หมู-เจริญ โอทอง" คนไทยคนแรกที่ใช้เวลา 6 ปี พิชิตเส้นทางปั่นรอบโลก]
“ผมกับคุณวรรณ เราเดินทางปั่นรอบโลกกันมานาน 6 ปี (พ.ศ.2544 - 2550) กลับมาเมืองไทย เราก็มามีชีวิตเป็นชาวสองล้ออยู่นานถึง 11 ปีแล้ว เห็นพฤติกรรมการขับขี่บนท้องถนนมามากมายในทุกพื้นที่ ทำให้เรารู้ว่าการใช้รถใช้ถนนในเมืองไทยยากและอันตรายสูงมาก
คือขับรถสปีดต่ำไปก็ไม่ได้ สปีดสูงไปก็อันตรายอีก หรือแม้แต่จุดยูเทิร์นในประเทศเราก็มีจุดเสี่ยงอยู่เยอะมาก คิดดูว่ารถเลนขวาสุดขับมาด้วยความเร็ว แล้วจู่ๆ ก็มีจุดยูเทิร์นอีกไม่กี่เมตร อนุญาตให้รถเข้ามาในเลนที่เร็วที่สุดได้เลย
เทียบกับในต่างประเทศแล้ว ต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะการยูเทิร์นของเขาคือ เขาจะใช้เกือกม้าหรือมีทางลอดให้รถแทน เพื่อให้รถที่ยูเทิร์นมาค่อยๆ เพิ่มความเร็ว เข้าสู่เลนซ้าย แล้วค่อยย้ายไปเลนขวา แต่ประเทศไทยไม่ใช่แบบนั้น
["วรรณ-อรวรรณ โอทอง" คู่รักนักปั่นผู้พิชิตเส้นทางรอบโลกร่วมกัน]
และต่อให้นักปั่นจะปั่นเก่งขนาดไหน แต่เมื่ออุบัติเหตุที่เกิดจากคนอื่น ซึ่งไร้ซึ่งวินัย มันก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทั้งๆ ที่ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีไหล่ทางที่ดีที่สุดในโลกด้วยซ้ำ เพราะไหล่ทางของเรากว้างมาก น่าปั่นมาก แต่ปัญหาคือวินัยในการขับขี่ พอไปไหนไม่ได้ก็เบียดเข้าซ้าย ทำให้เกือบทุกเคสที่ชน ก็เพราะการกวาดเอาจักรยานบนไหล่ทางไปด้วยนี่แหละ
เทียบกับต่างประเทศแล้ว หลายๆ ที่เขาไม่ได้มีเส้นทางจักรยานที่ตีเส้น หรือวาดรูปจักรยานตลอดแนวด้วยซ้ำ แต่เขาประกาศเป็นฉันทมติของชุมชน หรือเป็นที่รู้กันของหมู่บ้านนั้นๆ ว่า เส้นทางสายนี้ต้องระวังเป็นพิเศษนะ เพราะมีจักรยานมาขี่ร่วมอยู่บ่อยๆ และทุกคนก็ช่วยกันระวัง ทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุที่น่าเศร้าเกิดขึ้นกับนักปั่น
ทุกเคสที่เกิดขึ้นกับนักปั่นที่ผ่านมา ผมว่ามันเกิดแบบนี้ซ้ำๆ มามากพอแล้ว เคสนักปั่นชาวอังกฤษคู่หนึ่งก็สังเวยไปแล้ว นักจักรยานชิลีก็ไปแล้ว นี่ก็มาที่นักจักรยานชาวฟิลิปปินส์แล้ว หรือเราจะ "สะสมชีวิตนักปั่นทั่วโลก" ให้มาตายที่เมืองไทยเหรอครับ มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องมามองว่ามันเกิดอะไรขึ้นในบ้านเรา
จากการได้ไปปั่นรอบโลกมาแล้ว ผมเห็นเลยว่าวัฒนธรรมการขับขี่ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือซีกตะวันตก เขามองว่าวัตถุที่เล็กที่สุดบนท้องถนน เขาจะให้เกียรติสูงสุด เช่น คนเดิน, จักรยาน ฯลฯ แต่ในซีกตะวันออก ฝั่งเอเชียของเราส่วนใหญ่คือ ใครใหญ่สุดบนท้องถนน คนนั้นเป็นผู้ตัดสิน เป็นผู้ครองถนน เช่น รถสิบล้อ, รถทัวร์ ที่เป็นเจ้าถนน ส่วนรถเล็กหรือคนก็ต้องถอยออกไป
ด้วยทัศนคติที่แตกต่างกันไปคนละด้านแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้นักปั่นหรือนักออกกำลังกายบางคนไม่เข้าใจ หรือลืมคิดไปว่าฝั่งเอเชียเป็นแบบนี้ ก็เลยอาจจะเป็นเหตุให้ชีวิตของเขาต้องตกอยู่ในความเสี่ยงมากกว่าคนในบ้านเมืองเรากันเอง ที่รู้อยู่แล้วว่าต้องเจออะไรบ้างบนท้องถนนเมืองไทย เพราะไม่อย่างนั้น ประเทศเราคงจะต้องใช้คำว่า "R.I.P (Rest In Peace)" ไว้อาลัยให้คนตายซ้ำๆ อยู่แบบนี้”
กฎหมายอ่อนไป!! แยกให้ชัด “ขับประมาท-ขับอันตราย”
[สภาพจักรยานของ นักปั่นชาวชิลี จุดหมายสุดท้ายบนถนนสัญชาติไทย]
อีกหนึ่งทางออกที่คู่รักนักปั่นรายดังกล่าวช่วยเสนอเอาไว้ เพื่อลดความเสี่ยงของบรรดานักปั่นก็คือ การเลือกเส้นทางปั่นที่ปลอดภัย โดยให้เลือก “ถนนสายรอง” แทนที่ “ถนนสายหลัก” ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงถนนสายดุที่อัดแน่นไปด้วยรถเร่งมิดไมล์ และที่สำคัญคือต้องส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปถึงนักปั่นทั้งต่างชาติและชาวไทย ถ้าไม่อยากต้องมานั่งไว้อาลัยกันบ่อยๆ ให้เสียใจ-เสียความรู้สึก
สอดคล้องกับคำแนะนำบางส่วนที่กูรูแห่งท้องถนนอย่าง นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ได้ให้ไว้แก่ทีมข่าวผ่านปลายสาย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเลือกเส้นทางปั่นที่ปลอดภัย ทั้งยังเพิ่มมิติเรื่อง “บทลงโทษ” ในกฎหมายไทยไว้ให้ฉุกคิดอีกต่างหาก
“เอาเข้าจริงๆ คนที่ตายจากการขี่จักรยาน โดยเฉลี่ยตอนนี้ปีนึงก็ตกประมาณปีนึง 300-350 คน ซึ่งเท่ากับ "ตายวันละศพ" อยู่แล้วนะครับ เพราะฉะนั้น มันไม่เกี่ยวหรอกว่าจะเป็นนักปั่นจากต่างประเทศ เคยปั่นมาแล้วรอบโลก หรือเป็นนักปั่นไทย เพราะไม่ว่าใครมาปั่นในไทยก็มีความเสี่ยงเหมือนกันหมด
เพียงแต่ว่าถ้าจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์นี้ ผมคิดว่าประเด็นมันอยู่ที่ตัวผู้จัดงานเป็นส่วนใหญ่ คือเขาต้องเตรียมการให้ดี จะทำยังไงให้ผู้จัดงานจะมีมาตรการการจัดการเรื่องความปลอดภัยให้ได้มากที่สุด
[สภาพรถที่เฉี่ยวชนเข้ากับ รถจักรยานของนักปั่นชาวชิลี]
อย่างแรกเลยคือ ต้องมีวิธีในการ "เลือกเส้นทาง" ที่มั่นใจว่าปลอดภัย คืออย่างน้อยถ้าไม่ปิดถนนที่ปั่นทั้งเส้น ก็ต้องปิดให้จักรยานวิ่งได้ 1 เลน แล้วก็ต้องเลือกเส้นทางที่หลีกเลี่ยงรถใช้ความเร็ว หลีกเลี่ยงเส้นที่ไหล่ทางมีปัญหา หรือไหล่ทางแคบ
ประการที่สองคือ ผู้จัดต้องมี "กระบวนการในการจัดการความปลอดภัย" มีรถนำขบวนและรถปิดท้ายขบวน หรือแม้แต่การจัดการข้างทาง รวมถึงการจัดการจุดอันตราย ถ้าเป็นจุดที่มีทางแยกและดูซับซ้อน หรือเป็นสี่แยก ก็ต้องมีคนไปคอยอำนวยความปลอดภัยให้
ประการที่สามก็คือ ทำยังไงให้ผู้จัดสามารถ "สื่อสารกับนักปั่น" ให้เขารับรู้ได้ว่าความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนนบ้านเรา ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก มากกว่าที่อื่นๆ ด้วยซ้ำ และถ้าประเมินแล้วว่ามีข้อจำกัด ข้อใดเพียงข้อหนึ่งที่กล่าวมา ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งให้มีกิจกรรมปั่นแบบนี้ในเมืองไทยเลยดีกว่า
[เหลือเพียงเศษซากจักรยาน พร้อมร่างไร้ลมหายใจ]
นอกจากนี้ จะทำยังไงให้ "บทลงโทษ" ในบ้านเรามันรุนแรงได้มากกว่านี้ คือถ้าเป็นต่างประเทศ การฝ่าสัญญาณไฟ เขาจะถือว่าเป็น "การขับขี่อันตราย" ซึ่งจะแยกออกจากบทลงโทษเรื่อง "การขับขี่โดยประมาท" อย่างชัดเจน อย่างประเทศญี่ปุ่น การขับอันตรายจนทำให้มีคนตาย ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษจำคุกถึง 18-20 ปีเลย
นักปั่นรอบโลกคอนเฟิร์ม "ถนนไทยพันธุ์ดุ" แหล่งสังเวยชีวิต ฉาวข้ามโลก!!
“อังกฤษก็แล้ว, ชิลีก็แล้ว นี่ก็มาฟิลิปปินส์อีก นี่เราจะสะสมชีวิตนักปั่นทั่วโลก ให้มาตายที่เมืองไทยเลยเหรอครับ?” นักปั่นรอบโลกชื่อดัง ฝากถามด้วยความขุ่นข้องใจ ย้ำชัดสภาพ “ถนนไทย” ไม่อันตรายเท่าจิตสำนึก “คนขับ” เพราะรายล่าสุดก็เพิ่งสังเวยไปกับการฝ่าไฟแดงพุ่งชน
ขณะที่กูรูท้องถนนช่วยชี้ ช่องโหว่อุบัติเหตุคือ “บทลงโทษ” ที่รุนแรงน้อยเกินไป ได้เวลาปรับเสียใหม่ พร้อมออกปากเตือนผู้จัด-นักปั่น ไม่พร้อมจริง อย่าริปั่นบน “ถนนสายดุ” ของไทย สถิติบอกชัดอัตราการตายของชาวสองล้อตก “วันละคน”!!
“3 เคส” สะเทือนข้ามทวีป “ถนนไทยแดนฆาตกรรม”
[นักปั่นชาวฟิลิปปินส์ “รัสเซลล์ เรเปรซ” ผู้เคราะห์ร้ายรายลาสุด]
"เกลียดถนนประเทศนี้ แหล่งรวมเครื่องจักรสังหาร เต็มไปด้วยนักขับชั้นเลว R.I.P"
"มีฝรั่งบอก ปั่นในเมืองไทย อันตรายกว่าไปอยู่ซีเรีย น่าจะเป็นความจริง"
"คนไทยเราไร้วินัยจราจรเอามากๆ เร็ว-ซิ่ง-วิ่งแรง-ประมาท-ขาดสติ ครบองค์ประชุมเลย"
“ถนนเมืองไทย ยังไม่ปลอดภัยพอสำหรับจักรยานหรอกครับ”
“ถนนบ้านเมืองเรา อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก”
[ภาพก่อนเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับ นักปั่นชาวฟิลิปปินส์]
นี่คือส่วนหนึ่งของถ้อยคำแทนใจชาวสองล้อ หลังอุบัติเหตุสะเทือนความรู้สึกเกิดขึ้นกับนักปั่นชาวฟิลิปปินส์ “รัสเซลล์ เรเปรซ (Russal Repres)” ชาวสองล้อผู้เคราะห์ร้าย ที่ถูกรถตู้ฝ่าไฟแดง พุ่งเข้าชนอย่างจังแล้วขับหนีไป ก่อนจะถึงเส้นชัยในกิจกรรม “1,000 BRM สุวรรณภูมิ-ตราด” ในอีก 50 กม.บนถนนสุวรรณภูมิ-ตราด
ล่าสุด ทางคณะผู้จัดงานได้ออกมาชี้แจงผ่านแฟนเพจ "Audax Randonneurs Thailand" แล้ว โดยยืนยันหนักแน่นว่า นักปั่นรายดังกล่าวปฏิบัติตามกฎจราจรทุกอย่าง สภาพเส้นทางก็มีไฟส่องสว่างที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นแยกหลัก รวมถึงมาตรฐานการเตรียมงาน ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นไปตามเกณฑ์ด้านความปลอดภัยทุกอย่าง
จึงเกิดกลายเป็นคำถามว่า สรุปแล้ว “ช่องโหว่” ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอยู่ตรงไหน อะไรทำให้ “นักปั่นจากต่างแดน” ต้องมาสังเวยชีวิตให้แก่ถนนสัญชาติไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้กลายเป็นถ้อยคำตัดพ้อต่อว่าด่า “จิตสำนึกคนขับ” กันข้ามทวีป และดูเหมือนว่าจะยังมองหาจุดสิ้นสุดไม่เจอเสียด้วย
[คู่รักนักปั่นชาวอังกฤษ ผู้ถูกปลิดชีพที่เมืองไทย "ปีเตอร์-แมรี่"]
ย้อนกลับไปยังข่าวอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นกับ “คู่รักนักปั่นชาวอังกฤษ” เมื่อปี 56 ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยถูกสื่อจากทั่วโลก ตีแผ่ภาพลักษณ์ “เจ้าของประเทศถนนมรณะ” หลังรถปิกอัพคันหนึ่ง ก้มเก็บหมวกระหว่างขับรถ แล้วเสียหลักพุ่งลงข้างทาง จนกวาดเอาชีวิต “ปีเตอร์ รูท (Peter Root)” และ “แมรี่ ทอมป์สัน (Mary Thompson)” ไปด้วย
[สภาพรถที่พุ่งชน คู่นักปั่นชาวอังกฤษ และเศษซากอุบัติเหตุ]
[เพื่อนชาวสองล้อ เดินทางมาร่วมไว้อาลัยให้แก่ นักปั่นชาวอังกฤษ]
ทั้งสองคนคือคู่รักนักผจญภัยด้วยการปั่นจักรยานรอบโลก ที่พิชิตเส้นทางทั่วทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง จีน และอีก 23 ประเทศมาแล้ว แต่กลับต้องมายุติการเดินทางลงที่ประเทศไทย
["ฮวน ฟรานซิสโก" นักปั่นชาวชิลี อีกหนึ่งชีวิตที่ต้องสังเวย]
ไม่ต่างไปจาก ชะตาชีวิตของ “นักปั่นชาวชิลี” ที่เดินทางมาปั่นถึงประเทศไทยในปี 58 โดยหวังทำสถิติโลกในการพิชิต 5 ทวีปภายในเวลา 5 ปี ด้วยแรงขับเคลื่อนสองล้อ เพื่อลงบันทึกใน “กินเนสส์ บุ๊ก” แต่กลับไปไม่ถึงฝั่งฝัน หลังมีรถกระบะเฉี่ยวชนขบวนของเขา จนเป็นเหตุให้ “ฮวน ฟรานซิสโก (Juan Francisco Guillermo)” เสียชีวิตในทันที ส่วนภรรยาและลูกของเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บ
[แทบไม่เหลือเค้ารถสองล้อ ของนักปั่นชาวชิลี]
[หลังอุบัติเหตุปี 58 คร่าชีวิตนักปั่นผู้เป็นพ่อ ส่วนภรรยาและลูกได้รับบาดเจ็บ]
ทำไมนักปั่นที่ปั่นมาแล้วหลายประเทศทั่วโลก ต้องมาจบชีวิตลงที่ประเทศไทย? คือสิ่งที่หลายคนตั้งคำถามเอาไว้เหมือนๆ กัน มันแสดงให้เห็นว่าสภาพการขับขี่บนท้องถนนในบ้านเมืองแห่งนี้คือสุดยอดแห่งความอันตรายหรือเปล่า?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีไปกว่า คนไทยคนแรกที่ใช้เวลา 6 ปี พิชิตเส้นทางปั่นรอบโลกมาแล้ว อย่าง หมู-เจริญ และ วรรณ-อรวรรณ โอทอง เจ้าของแฟนเพจ "Bicycle Wind" ที่ช่วยวิเคราะห์ผ่านปลายสายให้แก่ ทีมข่าว MGR Live เอาไว้ว่า ปัญหาหลักๆ คือเรื่อง “จิตสำนึกคนขับ” ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการพรากชีวิตนักปั่นยิ่งไปกว่า “สภาพท้องถนน” หลายเท่านัก
["หมู-เจริญ โอทอง" คนไทยคนแรกที่ใช้เวลา 6 ปี พิชิตเส้นทางปั่นรอบโลก]
“ผมกับคุณวรรณ เราเดินทางปั่นรอบโลกกันมานาน 6 ปี (พ.ศ.2544 - 2550) กลับมาเมืองไทย เราก็มามีชีวิตเป็นชาวสองล้ออยู่นานถึง 11 ปีแล้ว เห็นพฤติกรรมการขับขี่บนท้องถนนมามากมายในทุกพื้นที่ ทำให้เรารู้ว่าการใช้รถใช้ถนนในเมืองไทยยากและอันตรายสูงมาก
คือขับรถสปีดต่ำไปก็ไม่ได้ สปีดสูงไปก็อันตรายอีก หรือแม้แต่จุดยูเทิร์นในประเทศเราก็มีจุดเสี่ยงอยู่เยอะมาก คิดดูว่ารถเลนขวาสุดขับมาด้วยความเร็ว แล้วจู่ๆ ก็มีจุดยูเทิร์นอีกไม่กี่เมตร อนุญาตให้รถเข้ามาในเลนที่เร็วที่สุดได้เลย
เทียบกับในต่างประเทศแล้ว ต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะการยูเทิร์นของเขาคือ เขาจะใช้เกือกม้าหรือมีทางลอดให้รถแทน เพื่อให้รถที่ยูเทิร์นมาค่อยๆ เพิ่มความเร็ว เข้าสู่เลนซ้าย แล้วค่อยย้ายไปเลนขวา แต่ประเทศไทยไม่ใช่แบบนั้น
["วรรณ-อรวรรณ โอทอง" คู่รักนักปั่นผู้พิชิตเส้นทางรอบโลกร่วมกัน]
และต่อให้นักปั่นจะปั่นเก่งขนาดไหน แต่เมื่ออุบัติเหตุที่เกิดจากคนอื่น ซึ่งไร้ซึ่งวินัย มันก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทั้งๆ ที่ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีไหล่ทางที่ดีที่สุดในโลกด้วยซ้ำ เพราะไหล่ทางของเรากว้างมาก น่าปั่นมาก แต่ปัญหาคือวินัยในการขับขี่ พอไปไหนไม่ได้ก็เบียดเข้าซ้าย ทำให้เกือบทุกเคสที่ชน ก็เพราะการกวาดเอาจักรยานบนไหล่ทางไปด้วยนี่แหละ
เทียบกับต่างประเทศแล้ว หลายๆ ที่เขาไม่ได้มีเส้นทางจักรยานที่ตีเส้น หรือวาดรูปจักรยานตลอดแนวด้วยซ้ำ แต่เขาประกาศเป็นฉันทมติของชุมชน หรือเป็นที่รู้กันของหมู่บ้านนั้นๆ ว่า เส้นทางสายนี้ต้องระวังเป็นพิเศษนะ เพราะมีจักรยานมาขี่ร่วมอยู่บ่อยๆ และทุกคนก็ช่วยกันระวัง ทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุที่น่าเศร้าเกิดขึ้นกับนักปั่น
ทุกเคสที่เกิดขึ้นกับนักปั่นที่ผ่านมา ผมว่ามันเกิดแบบนี้ซ้ำๆ มามากพอแล้ว เคสนักปั่นชาวอังกฤษคู่หนึ่งก็สังเวยไปแล้ว นักจักรยานชิลีก็ไปแล้ว นี่ก็มาที่นักจักรยานชาวฟิลิปปินส์แล้ว หรือเราจะ "สะสมชีวิตนักปั่นทั่วโลก" ให้มาตายที่เมืองไทยเหรอครับ มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องมามองว่ามันเกิดอะไรขึ้นในบ้านเรา
จากการได้ไปปั่นรอบโลกมาแล้ว ผมเห็นเลยว่าวัฒนธรรมการขับขี่ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือซีกตะวันตก เขามองว่าวัตถุที่เล็กที่สุดบนท้องถนน เขาจะให้เกียรติสูงสุด เช่น คนเดิน, จักรยาน ฯลฯ แต่ในซีกตะวันออก ฝั่งเอเชียของเราส่วนใหญ่คือ ใครใหญ่สุดบนท้องถนน คนนั้นเป็นผู้ตัดสิน เป็นผู้ครองถนน เช่น รถสิบล้อ, รถทัวร์ ที่เป็นเจ้าถนน ส่วนรถเล็กหรือคนก็ต้องถอยออกไป
ด้วยทัศนคติที่แตกต่างกันไปคนละด้านแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้นักปั่นหรือนักออกกำลังกายบางคนไม่เข้าใจ หรือลืมคิดไปว่าฝั่งเอเชียเป็นแบบนี้ ก็เลยอาจจะเป็นเหตุให้ชีวิตของเขาต้องตกอยู่ในความเสี่ยงมากกว่าคนในบ้านเมืองเรากันเอง ที่รู้อยู่แล้วว่าต้องเจออะไรบ้างบนท้องถนนเมืองไทย เพราะไม่อย่างนั้น ประเทศเราคงจะต้องใช้คำว่า "R.I.P (Rest In Peace)" ไว้อาลัยให้คนตายซ้ำๆ อยู่แบบนี้”
กฎหมายอ่อนไป!! แยกให้ชัด “ขับประมาท-ขับอันตราย”
[สภาพจักรยานของ นักปั่นชาวชิลี จุดหมายสุดท้ายบนถนนสัญชาติไทย]
อีกหนึ่งทางออกที่คู่รักนักปั่นรายดังกล่าวช่วยเสนอเอาไว้ เพื่อลดความเสี่ยงของบรรดานักปั่นก็คือ การเลือกเส้นทางปั่นที่ปลอดภัย โดยให้เลือก “ถนนสายรอง” แทนที่ “ถนนสายหลัก” ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงถนนสายดุที่อัดแน่นไปด้วยรถเร่งมิดไมล์ และที่สำคัญคือต้องส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปถึงนักปั่นทั้งต่างชาติและชาวไทย ถ้าไม่อยากต้องมานั่งไว้อาลัยกันบ่อยๆ ให้เสียใจ-เสียความรู้สึก
สอดคล้องกับคำแนะนำบางส่วนที่กูรูแห่งท้องถนนอย่าง นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ได้ให้ไว้แก่ทีมข่าวผ่านปลายสาย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเลือกเส้นทางปั่นที่ปลอดภัย ทั้งยังเพิ่มมิติเรื่อง “บทลงโทษ” ในกฎหมายไทยไว้ให้ฉุกคิดอีกต่างหาก
“เอาเข้าจริงๆ คนที่ตายจากการขี่จักรยาน โดยเฉลี่ยตอนนี้ปีนึงก็ตกประมาณปีนึง 300-350 คน ซึ่งเท่ากับ "ตายวันละศพ" อยู่แล้วนะครับ เพราะฉะนั้น มันไม่เกี่ยวหรอกว่าจะเป็นนักปั่นจากต่างประเทศ เคยปั่นมาแล้วรอบโลก หรือเป็นนักปั่นไทย เพราะไม่ว่าใครมาปั่นในไทยก็มีความเสี่ยงเหมือนกันหมด
เพียงแต่ว่าถ้าจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์นี้ ผมคิดว่าประเด็นมันอยู่ที่ตัวผู้จัดงานเป็นส่วนใหญ่ คือเขาต้องเตรียมการให้ดี จะทำยังไงให้ผู้จัดงานจะมีมาตรการการจัดการเรื่องความปลอดภัยให้ได้มากที่สุด
[สภาพรถที่เฉี่ยวชนเข้ากับ รถจักรยานของนักปั่นชาวชิลี]
อย่างแรกเลยคือ ต้องมีวิธีในการ "เลือกเส้นทาง" ที่มั่นใจว่าปลอดภัย คืออย่างน้อยถ้าไม่ปิดถนนที่ปั่นทั้งเส้น ก็ต้องปิดให้จักรยานวิ่งได้ 1 เลน แล้วก็ต้องเลือกเส้นทางที่หลีกเลี่ยงรถใช้ความเร็ว หลีกเลี่ยงเส้นที่ไหล่ทางมีปัญหา หรือไหล่ทางแคบ
ประการที่สองคือ ผู้จัดต้องมี "กระบวนการในการจัดการความปลอดภัย" มีรถนำขบวนและรถปิดท้ายขบวน หรือแม้แต่การจัดการข้างทาง รวมถึงการจัดการจุดอันตราย ถ้าเป็นจุดที่มีทางแยกและดูซับซ้อน หรือเป็นสี่แยก ก็ต้องมีคนไปคอยอำนวยความปลอดภัยให้
ประการที่สามก็คือ ทำยังไงให้ผู้จัดสามารถ "สื่อสารกับนักปั่น" ให้เขารับรู้ได้ว่าความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนนบ้านเรา ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก มากกว่าที่อื่นๆ ด้วยซ้ำ และถ้าประเมินแล้วว่ามีข้อจำกัด ข้อใดเพียงข้อหนึ่งที่กล่าวมา ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งให้มีกิจกรรมปั่นแบบนี้ในเมืองไทยเลยดีกว่า
[เหลือเพียงเศษซากจักรยาน พร้อมร่างไร้ลมหายใจ]
นอกจากนี้ จะทำยังไงให้ "บทลงโทษ" ในบ้านเรามันรุนแรงได้มากกว่านี้ คือถ้าเป็นต่างประเทศ การฝ่าสัญญาณไฟ เขาจะถือว่าเป็น "การขับขี่อันตราย" ซึ่งจะแยกออกจากบทลงโทษเรื่อง "การขับขี่โดยประมาท" อย่างชัดเจน อย่างประเทศญี่ปุ่น การขับอันตรายจนทำให้มีคนตาย ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษจำคุกถึง 18-20 ปีเลย