นักวิจัยพบวิธีใหม่บำบัดเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาหลายขนานได้ผลถึง 80% คาดจะเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ในการต่อสู้โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก
รายงานพิเศษจากเอเอฟพีเผยว่า แพทย์ในเบลารุส ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการดื้อยาของเชื้อวัณโรคสูงที่สุดในโลก ได้ทดลองใช้ยาตัวใหม่คือ “บีดาควิลีน” (bedaquiline) คู่ขนานไปกับยาปฏิชีวนะอื่นๆ ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยใช้เวลาอยู่หลายเดือน ผลจากการรักษาผู้ป่วย 181 ราย ในจำนวนดังกล่าวมี 168 รายที่ได้รับยาตัวใหม่ครบชุด และมี 144 รายที่หายขาด
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ระบุว่า มีประชากรเพียง 55% ที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยา แล้วรักษาได้หายขาด
การทดลองเบลารุสซึ่งมีอัตราการรักษาหาย 80% นี้ เป็นการทดสอบยาบีดาควิลีนที่เคยมีทดสอบในประเทศอื่นๆ ที่ยุโรปตะวันออก แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพาลา ฟูจิวารา (Paula Fujiwara) ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของสหพันธ์สากลองค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอด (International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ ให้ความเห็นว่าผลทดลองจากการศึกษาดังกล่าวนี้ยืนยันว่า ยาตัวใหม่อย่างบีดาควิลีนสามารถรักษา และเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” สำหรับประชากรที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และเป็นเชื้อที่ดื้อยารุนแรง
อะเลนา สคราฮินา (Alena Skrahina) นักวิจัยหลักการศูนย์วิจัยและใช้ประโยชน์สาธารณรัฐด้านระบบหายใจและวัณโรค (Republican Research and Practical Centre for Pulmonology and TB) ในเมืองมินสก์ เบลารุส กล่าวถึงผลการรักษาด้วยยาบีดาควิลีนว่า “เป็นสัญญาณที่ดี” และบอกว่าการศึกษาครั้งนี้เป็นการยืนยันประสิทธิภาพของบีดาควิลีนที่เคยมีการศึกษาระดับคลีนิคก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้ยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้
เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาวัณโรคได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 1.7 โดยอ้างอิงจากองคืการอนามัยโลก ทำให้โรคที่ติดต่อผ่านฝอยละอองในอากาศนี้เป็นโรคติดเชื้อที่มีการตายได้มากที่สุดในโลก โดยคร่าชีวิตคนไปมากกว่าโรคมาลาเรียถึง 3 เท่าในแต่ละปี อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของการตายในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ แม้จะมีคนตายจากวัณโรคไปจำนวนมาก แต่ทุนวิจัยทั่วโลกเพื่อรักษาโรคนี้กลับน้อยกว่าทุนวิจัยด้านเอชไอวีและเอดส์ถึง 10 เท่า
เชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานนี้จะภูมิต้านทานยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคนี้อย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการแพร่กระจายของโรคนี้ไปทั่วโลกนั้นเนื่องจากการด้อยความสามารถในการจัดการผู้ป่วยโรคนี้
เมื่อเทียบกับการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว การติดเชื้อวัณโรคนั้นรักษาให้หายได้ แต่ต้องอยูภายใต้การรักษาอย่างเข้มงวดนานถึง 6 เดือน และในแต่ละวันยังต้องรับการรักษาด้วยยาหลายขนาน ซึ่งหลายครั้งที่การรักษาไม่ต่อเนื่องทำให้เกิดการดื้อยาได้ ซึ่งปัจจุบันมีรายการดื้อยาขนานของเชื้อวัณโรคทั่วโลกอย่างน้อย 117 ประเทศแล้ว
สำหรับยาบิเดควิลีนนั้นไม่ได้โจมตีเชื้อแบคทีเรียก่อวัณโรคโดยตรง แต่จะพุ่งเป้าไปที่เอ็นไซม์ซึ่งเชื้อโรคต้องใช้สร้างพลังงาน และผลจากการรักษาผู้ป่วยที่มีประสบการณ์พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาอื่นๆ รักษาวัณโรค ให้ข้อมูลว่าการรักษาด้วยยาตัวนี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/science/detail/9610000106453
พบวิธีใหม่บำบัดวัณโรคดื้อยาหลายขนานได้ผล 80%
นักวิจัยพบวิธีใหม่บำบัดเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาหลายขนานได้ผลถึง 80% คาดจะเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ในการต่อสู้โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก
รายงานพิเศษจากเอเอฟพีเผยว่า แพทย์ในเบลารุส ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการดื้อยาของเชื้อวัณโรคสูงที่สุดในโลก ได้ทดลองใช้ยาตัวใหม่คือ “บีดาควิลีน” (bedaquiline) คู่ขนานไปกับยาปฏิชีวนะอื่นๆ ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยใช้เวลาอยู่หลายเดือน ผลจากการรักษาผู้ป่วย 181 ราย ในจำนวนดังกล่าวมี 168 รายที่ได้รับยาตัวใหม่ครบชุด และมี 144 รายที่หายขาด
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ระบุว่า มีประชากรเพียง 55% ที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยา แล้วรักษาได้หายขาด
การทดลองเบลารุสซึ่งมีอัตราการรักษาหาย 80% นี้ เป็นการทดสอบยาบีดาควิลีนที่เคยมีทดสอบในประเทศอื่นๆ ที่ยุโรปตะวันออก แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพาลา ฟูจิวารา (Paula Fujiwara) ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของสหพันธ์สากลองค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอด (International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ ให้ความเห็นว่าผลทดลองจากการศึกษาดังกล่าวนี้ยืนยันว่า ยาตัวใหม่อย่างบีดาควิลีนสามารถรักษา และเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” สำหรับประชากรที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และเป็นเชื้อที่ดื้อยารุนแรง
อะเลนา สคราฮินา (Alena Skrahina) นักวิจัยหลักการศูนย์วิจัยและใช้ประโยชน์สาธารณรัฐด้านระบบหายใจและวัณโรค (Republican Research and Practical Centre for Pulmonology and TB) ในเมืองมินสก์ เบลารุส กล่าวถึงผลการรักษาด้วยยาบีดาควิลีนว่า “เป็นสัญญาณที่ดี” และบอกว่าการศึกษาครั้งนี้เป็นการยืนยันประสิทธิภาพของบีดาควิลีนที่เคยมีการศึกษาระดับคลีนิคก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้ยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้
เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาวัณโรคได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 1.7 โดยอ้างอิงจากองคืการอนามัยโลก ทำให้โรคที่ติดต่อผ่านฝอยละอองในอากาศนี้เป็นโรคติดเชื้อที่มีการตายได้มากที่สุดในโลก โดยคร่าชีวิตคนไปมากกว่าโรคมาลาเรียถึง 3 เท่าในแต่ละปี อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของการตายในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ แม้จะมีคนตายจากวัณโรคไปจำนวนมาก แต่ทุนวิจัยทั่วโลกเพื่อรักษาโรคนี้กลับน้อยกว่าทุนวิจัยด้านเอชไอวีและเอดส์ถึง 10 เท่า
เชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานนี้จะภูมิต้านทานยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคนี้อย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการแพร่กระจายของโรคนี้ไปทั่วโลกนั้นเนื่องจากการด้อยความสามารถในการจัดการผู้ป่วยโรคนี้
เมื่อเทียบกับการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว การติดเชื้อวัณโรคนั้นรักษาให้หายได้ แต่ต้องอยูภายใต้การรักษาอย่างเข้มงวดนานถึง 6 เดือน และในแต่ละวันยังต้องรับการรักษาด้วยยาหลายขนาน ซึ่งหลายครั้งที่การรักษาไม่ต่อเนื่องทำให้เกิดการดื้อยาได้ ซึ่งปัจจุบันมีรายการดื้อยาขนานของเชื้อวัณโรคทั่วโลกอย่างน้อย 117 ประเทศแล้ว
สำหรับยาบิเดควิลีนนั้นไม่ได้โจมตีเชื้อแบคทีเรียก่อวัณโรคโดยตรง แต่จะพุ่งเป้าไปที่เอ็นไซม์ซึ่งเชื้อโรคต้องใช้สร้างพลังงาน และผลจากการรักษาผู้ป่วยที่มีประสบการณ์พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาอื่นๆ รักษาวัณโรค ให้ข้อมูลว่าการรักษาด้วยยาตัวนี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/science/detail/9610000106453