PART 1
อารัมภบท
ปารีสคือปาคี ปาคีเป็นเมืองที่เราชอบมาก ไปแล้วไปอีกไม่มีเบื่อ (อย่าเพิ่งหมั่นไส้นะเจ้าคะ ไม่ได้ไปบ่อยขนาดนั้น เขาเรียกว่าออกแขกเหมือนลิเกกำลังจะเล่น) และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสกลับไปอีกครั้ง ครั้งนี้ขอดื่มดำกำซาบความงามทั้งตัวเมือง, ผู้คน, โบสถ์วิหาร, และงานศิลปะชั้นนำตั้งแต่ยุคสร้างโลกจนถึงปัจจุบันอย่างเต็มสตรีม เรื่องที่จะได้อ่านต่อไปนี้เป็นบันทึกเรื่องราวการเดินทางที่ตีพิมพ์ครั้งแรกบนเฟสบุ๊คให้เพื่อนจริงและเสมือนจริงคอยติดตามอ่านแบบ real time ครั้งนี้เอามารวมเล่มใหม่เหมือนกับ #BeninDiary ที่โพสต์ไปเมื่อวาน
ป.ล. เพื่อนๆบอกว่าพอโพสต์ลงพันทิปแล้วไม่แรงเหมือนตอนโพสต์ในเฟสบุ๊ค เอิ่ม ก็ต้อง keep verb นิดนึงเดี๋ยวโดนรีพอร์ต
เอารูปที่ถ่ายสมัยสาวๆเมื่อปี 2004 ไปดูเรียกน้ำย่อยก่อน เมื่อนั้นรูปทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องฟิลม์แล้วเอามาสแกนเป็นไฟล์ดิจิตอลอีกที
DAY 1
5 กรกฎาคม 2018
เรามาถึงปาคีตอน 8 โมงยี่สิบ กว่าจะผ่านด่าน immigration, รอกระเป๋า, ต่อคิวซื้ออาร์อีอาร์, นั่งรถไฟเข้าเมือง, และเดินหาโรงแรมก็เกือบ 11 โมง; ขอบอกว่าโรงแรมที่จองมาอยู่ใกล้ Notre Dame มากเพราะใช้เวลาเดินไม่ถึง 3 นาที แต่... อย่าคิดว่าโรงแรมจะหรูนะ มันคือโรงแรมจิ้งหรีดดีๆนี่เอง ตัวห้องเล็กมากคือเปิดประตูเข้าไปจะมีลานอเนกประสงค์ไว้ใช้กลับตัวประมาณ 2 ตารางเมตรหรืออีกนัยหนึ่งคือก้าวขาได้หนึ่งก้าวครึ่งก็จะเข้าประชิดถึงเตียงเลย ห้องอยู่ชั้น 4 ไม่มีลิฟต์ ต้องแบกกระเป๋าขึ้นบันได ดีนะที่เอาชุด Spring/Summer collection มาเลยไม่หนักมาก ส่วนบันไดก็ชันแบบทางเดินขึ้นปรางค์ประธานปราสาทบรมวิษณุโลก (นครวัด) เท่านั้นยังไม่พอยังมีการบิดตัวเป็น double helix แบบโครงสร้าง DNA ที่ร้ายสุดคือไม่มีแอร์ มีหน้าต่างและพัดลมเล็กๆหนึ่งตัวเป็นอุปกรณ์ให้ความเย็น
.
หลังจากจัดข้าวของและพักผ่อนอิริยาบทเป็นที่สำราญใจแล้วก็ออกเดินชมเมืองสะพายกล้องเป็นฮิปสแถรดยุคดิจิตอล ไปถึง Notre Dame มีคนล้านเจ็ดยืนถ่ายรูปกันอย่างเอิกเกริก เราจึงขอบายแล้วเดินผ่านไปยัง Palais du Justice เพื่อเปลี่ยนแผนไปเที่ยว Sainte-Chapelle; ตัดภาพกลับมาที่กำลังยืนต่อแถวยาวหนึ่งโยชน์ซื้อตั๋วเข้าชมวิหารแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ณ จุดนี้ไม่ว่าจะเดินไปไหนก็จะเจอมวลมหาประชาชน อุปรมาเหมือนปาคีหน้าร้อนเป็น Disney World หวังใจทำธุรกรรมอันใดจักต้องรอคิวฝึกความอดทน
.
เราชอบ Sainte-Chapelle มาก หากใครมาปาคีแนะนำให้มาทัศนา ถึงตัวเรือนจะดูเทาคล้ายใช้รองพื้นผิดเบอร์แต่ภายในกรุกระจกสีเป็นที่งามเรติน่ายิ่งนัก ตัววิหารตั้งอยู่ในเขตพระราชฐาน คงเหมือนวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีสรรเพชญ์อันเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาของกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ คนที่สร้างคือเซนต์หลุยส์ (St. Louis) หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (Louis IX) พระองค์เป็นคนดีศรีฝรั่งเศสและเป็นคาทอลิกในสายเลือด ตัววิหารสร้างเพื่อเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุที่เซนต์เฮลีนา (St. Helena) ไปเอามาจากเยรูซาเล็มตั้งแต่สมัยโรมันเช่นมงกุฎดอกหนาม (Crown of Thorns) หรือเศษไม้กางเขนที่จีซัสแบก (True Cross)
*เซนต์เฮลีน่าเป็นแม่ของคอนสแตนติน (Emperor Constantine) จักรพรรดิผู้ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักรโรมันและทำให้คริสต์ศาสนายิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้
**ปัจจุบันมงกุฎดอกหนามถูกเก็บรักษาไว้ที่ Notre Dame de Paris
ภาพภายนอกและใน Sainte-Chapelle
[img]
https://f.ptcdn.info/425/060/000/ph19qdfgzJUP664wgZf-o.jpg[/
Sainte-Chapelle สร้างในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ส่วนกระจกสีสร้างเรื่อยมาและเสร็จสมบูรณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภาพที่ช่างสิบหมู่บรรจงสร้างบนพื้นกระจกก็เหมือนภาพจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์วิหารของไทยแต่เล่าเรื่องเหตุการณ์สำคัญจากไบเบิ้ล; Sainte-Chapelle เป็นวิหารที่มี 2 ชั้น ชั้นล่างดูธรรมดาต้องขึ้นไปบนเล่าเต้งถึงจะเจอกับความงาม ปัจจุบันตัววิหารตั้งอยู่ใน Palais du Justice หรือกระทรวงยุติธรรม (หรือเปล่า? ไม่แน่ใจ); หากเดินไปตามทางก็จะเจอ Conciergerie อันเป็นที่ที่ข้าราชการทำงานในยุคกลางและถูกเปลี่ยนเป็นคุกในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสหรือ French Revolution (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18) ในส่วนนี้มีนิทรรศการเล่าประวัติโดยเฉพาะในช่วงที่ Marie Antoinette โดนจับและพิพากษาให้ตาย โดยฝ่ายปฏิวัติเห็นว่านางร้ายกาจ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) กระด้างกระเดื่อง ซึ่งตามประวัติศาสตร์ก็ว่านางเป็นแบบนั้นจริงๆ (แต่ฟังแล้วเหมือนเรื่องสนมหยางกุ้ยเฟย เพียงแต่กุ้ยเฟยบ่ได้ทำอะไรผิด แค่สวยเท่านั้น)
รูปวาดพระนางมารีกำลังถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง นางเริ่ดเชิดหยิ่งมาก
แวะถ่ายรูปเมืองและ Notre Dame de Paris ก่อนกลับโรงแรม
DAY 2
6 กรกฎาคม 2018
เพราะฤทธานุภาพของ Jet Lag ทำให้ฟื้นสมประดีตั้งแต่ตี 5 ครั้นจะข่มตาหลับก็ไม่สามารถหลับได้ เลยอาบน้ำประพรมน้ำอบน้ำปรุงแล้วถือโอกาสเดินมาชมอาสนะวิหารผู้หญิงของเรา (Notre Dame) โดยหวังใจว่าจะเห็นแสงพระอาทิตย์ขึ้นส่องมาจากด้านหลังตัวเรือนธาตุเป็นที่อัศจรรย์
รูปตอนเช้าหน้า Notre Dame de Paris
Cathedral มาจากภาษาละตินว่า cathedra แปลว่าเก้าอี้ cathedral จึงเป็นโบสถ์ที่ถือเป็นศูนย์บัญชาการ (official seat) ของบิชอปหรืออาร์คบิชอปประจำส่วนการปกครองหรือศัพท์พระคาธอลิคเรียกว่า archdioces ส่วน basilica เป็นโบสถ์ที่ไม่ใช่สำนักงานใหญ่แต่มีความสำคัญมาก ทางฝ่ายบริหารของ Holy Sea ที่วาติกันจึงมอบตำแหน่งให้แตกต่างจากโบสถ์ทั่วไป
ลานวิหารตอนเช้าเงียบสงบ มีกลุ่มวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสออกมานั่งเล่นเย็นใจให้เห็นเป็นหย่อมๆ Notre Dame ตั้งอยู่ในเกาะเมืองหรือ Ile de la Cite คือเป็นเกาะธรรมชาติกลางแม่น้ำแซน ว่ากันว่าชาวโกลส์ (Gauls) อันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมร่วมกันและพูดภาษาเดียวกัน (ethnolinguistic) คือภาษาในตระกูล Celtics (ตัวซีออกเสียงเคอะ) อันเป็นภาษาอยู่ในตระกูลใหญ่อินโดยูโรเปียนอพยพมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศรัสเซียปัจจุบันระหว่างทางเหนือของทะเลดำและแคสเปียน
*บริเวณนี้นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษา proto Indo-European หรือ PIE; อนึ่งภาษา PIE เป็นภาษาสังเคราะห์จากภาษาลูกในตระกูลอินโดยูโรเปียนเป็นภาษาที่คิดว่าน่าจะพูด, อ่าน, และเขียนแบบนี้แต่เนื่องจากสังคมชาว PIE ไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรหรือ illiterate จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าคำที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นคำจริงๆที่ใช้พูดในชีวิตประจำวันหรือไม่
พวกโกลส์มาสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณเกาะ Cite ตั้งแต่ก่อนคริสตกาลแล้วจับพลัดจับผลูตกอยู่ใต้อาณัติของอาณาจักรโรมันตะวันตก ตามบันทึกของ Julius Caesar พวกโรมันเรียกหมู่บ้านนี้ว่า Lutetia จากนั้นพวกแฟรงค์ (Franks) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในตระกูลเจอมานิค (Germanic) ซึ่งอยู่ในตระกูลใหญ่อินโดยูโรเปียนเช่นกันบุกเข้ามายังเกาะเมืองและประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันและตั้งรกรากสถาปนาระบอบเทวราชาขึ้นปกครอง
*น่าแปลกที่พอชาว Franks อันเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาเจอมานิค (ภาษาอังกฤษ, เยอรมัน, และดัชต์เป็นอาทิ) เข้ามาอยู่ในแผ่นดินนี้กลับสร้างภาษาฝรั่งเศสอันเป็นภาษาในตระกูลโรแมนซ์ที่มี DNA ใกล้เคียงกับภาษาละติน, สเปน, อิตาลี, โปรตุเกส, และโรมาเนีย สงสัยคงได้รับอิทธิพลจากภาษาละตินที่เป็นภาษาราชการตอนที่อยู่ใต้ร่มบารมีของอาณาจักรโรมัน; ส่วนภาษา Celtics เหลือพูดประปรายในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบันแถวแคว้น Brittany และเกาะบริเตนใหญ่ใน Scottland และ Ireland
.
#ParisDiary Part 1
อารัมภบท
ปารีสคือปาคี ปาคีเป็นเมืองที่เราชอบมาก ไปแล้วไปอีกไม่มีเบื่อ (อย่าเพิ่งหมั่นไส้นะเจ้าคะ ไม่ได้ไปบ่อยขนาดนั้น เขาเรียกว่าออกแขกเหมือนลิเกกำลังจะเล่น) และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสกลับไปอีกครั้ง ครั้งนี้ขอดื่มดำกำซาบความงามทั้งตัวเมือง, ผู้คน, โบสถ์วิหาร, และงานศิลปะชั้นนำตั้งแต่ยุคสร้างโลกจนถึงปัจจุบันอย่างเต็มสตรีม เรื่องที่จะได้อ่านต่อไปนี้เป็นบันทึกเรื่องราวการเดินทางที่ตีพิมพ์ครั้งแรกบนเฟสบุ๊คให้เพื่อนจริงและเสมือนจริงคอยติดตามอ่านแบบ real time ครั้งนี้เอามารวมเล่มใหม่เหมือนกับ #BeninDiary ที่โพสต์ไปเมื่อวาน
ป.ล. เพื่อนๆบอกว่าพอโพสต์ลงพันทิปแล้วไม่แรงเหมือนตอนโพสต์ในเฟสบุ๊ค เอิ่ม ก็ต้อง keep verb นิดนึงเดี๋ยวโดนรีพอร์ต
เอารูปที่ถ่ายสมัยสาวๆเมื่อปี 2004 ไปดูเรียกน้ำย่อยก่อน เมื่อนั้นรูปทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องฟิลม์แล้วเอามาสแกนเป็นไฟล์ดิจิตอลอีกที
DAY 1
5 กรกฎาคม 2018
เรามาถึงปาคีตอน 8 โมงยี่สิบ กว่าจะผ่านด่าน immigration, รอกระเป๋า, ต่อคิวซื้ออาร์อีอาร์, นั่งรถไฟเข้าเมือง, และเดินหาโรงแรมก็เกือบ 11 โมง; ขอบอกว่าโรงแรมที่จองมาอยู่ใกล้ Notre Dame มากเพราะใช้เวลาเดินไม่ถึง 3 นาที แต่... อย่าคิดว่าโรงแรมจะหรูนะ มันคือโรงแรมจิ้งหรีดดีๆนี่เอง ตัวห้องเล็กมากคือเปิดประตูเข้าไปจะมีลานอเนกประสงค์ไว้ใช้กลับตัวประมาณ 2 ตารางเมตรหรืออีกนัยหนึ่งคือก้าวขาได้หนึ่งก้าวครึ่งก็จะเข้าประชิดถึงเตียงเลย ห้องอยู่ชั้น 4 ไม่มีลิฟต์ ต้องแบกกระเป๋าขึ้นบันได ดีนะที่เอาชุด Spring/Summer collection มาเลยไม่หนักมาก ส่วนบันไดก็ชันแบบทางเดินขึ้นปรางค์ประธานปราสาทบรมวิษณุโลก (นครวัด) เท่านั้นยังไม่พอยังมีการบิดตัวเป็น double helix แบบโครงสร้าง DNA ที่ร้ายสุดคือไม่มีแอร์ มีหน้าต่างและพัดลมเล็กๆหนึ่งตัวเป็นอุปกรณ์ให้ความเย็น
.
หลังจากจัดข้าวของและพักผ่อนอิริยาบทเป็นที่สำราญใจแล้วก็ออกเดินชมเมืองสะพายกล้องเป็นฮิปสแถรดยุคดิจิตอล ไปถึง Notre Dame มีคนล้านเจ็ดยืนถ่ายรูปกันอย่างเอิกเกริก เราจึงขอบายแล้วเดินผ่านไปยัง Palais du Justice เพื่อเปลี่ยนแผนไปเที่ยว Sainte-Chapelle; ตัดภาพกลับมาที่กำลังยืนต่อแถวยาวหนึ่งโยชน์ซื้อตั๋วเข้าชมวิหารแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ณ จุดนี้ไม่ว่าจะเดินไปไหนก็จะเจอมวลมหาประชาชน อุปรมาเหมือนปาคีหน้าร้อนเป็น Disney World หวังใจทำธุรกรรมอันใดจักต้องรอคิวฝึกความอดทน
.
เราชอบ Sainte-Chapelle มาก หากใครมาปาคีแนะนำให้มาทัศนา ถึงตัวเรือนจะดูเทาคล้ายใช้รองพื้นผิดเบอร์แต่ภายในกรุกระจกสีเป็นที่งามเรติน่ายิ่งนัก ตัววิหารตั้งอยู่ในเขตพระราชฐาน คงเหมือนวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีสรรเพชญ์อันเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาของกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ คนที่สร้างคือเซนต์หลุยส์ (St. Louis) หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (Louis IX) พระองค์เป็นคนดีศรีฝรั่งเศสและเป็นคาทอลิกในสายเลือด ตัววิหารสร้างเพื่อเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุที่เซนต์เฮลีนา (St. Helena) ไปเอามาจากเยรูซาเล็มตั้งแต่สมัยโรมันเช่นมงกุฎดอกหนาม (Crown of Thorns) หรือเศษไม้กางเขนที่จีซัสแบก (True Cross)
*เซนต์เฮลีน่าเป็นแม่ของคอนสแตนติน (Emperor Constantine) จักรพรรดิผู้ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักรโรมันและทำให้คริสต์ศาสนายิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้
**ปัจจุบันมงกุฎดอกหนามถูกเก็บรักษาไว้ที่ Notre Dame de Paris
ภาพภายนอกและใน Sainte-Chapelle
[img]https://f.ptcdn.info/425/060/000/ph19qdfgzJUP664wgZf-o.jpg[/
Sainte-Chapelle สร้างในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ส่วนกระจกสีสร้างเรื่อยมาและเสร็จสมบูรณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภาพที่ช่างสิบหมู่บรรจงสร้างบนพื้นกระจกก็เหมือนภาพจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์วิหารของไทยแต่เล่าเรื่องเหตุการณ์สำคัญจากไบเบิ้ล; Sainte-Chapelle เป็นวิหารที่มี 2 ชั้น ชั้นล่างดูธรรมดาต้องขึ้นไปบนเล่าเต้งถึงจะเจอกับความงาม ปัจจุบันตัววิหารตั้งอยู่ใน Palais du Justice หรือกระทรวงยุติธรรม (หรือเปล่า? ไม่แน่ใจ); หากเดินไปตามทางก็จะเจอ Conciergerie อันเป็นที่ที่ข้าราชการทำงานในยุคกลางและถูกเปลี่ยนเป็นคุกในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสหรือ French Revolution (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18) ในส่วนนี้มีนิทรรศการเล่าประวัติโดยเฉพาะในช่วงที่ Marie Antoinette โดนจับและพิพากษาให้ตาย โดยฝ่ายปฏิวัติเห็นว่านางร้ายกาจ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) กระด้างกระเดื่อง ซึ่งตามประวัติศาสตร์ก็ว่านางเป็นแบบนั้นจริงๆ (แต่ฟังแล้วเหมือนเรื่องสนมหยางกุ้ยเฟย เพียงแต่กุ้ยเฟยบ่ได้ทำอะไรผิด แค่สวยเท่านั้น)
รูปวาดพระนางมารีกำลังถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง นางเริ่ดเชิดหยิ่งมาก
แวะถ่ายรูปเมืองและ Notre Dame de Paris ก่อนกลับโรงแรม
DAY 2
6 กรกฎาคม 2018
เพราะฤทธานุภาพของ Jet Lag ทำให้ฟื้นสมประดีตั้งแต่ตี 5 ครั้นจะข่มตาหลับก็ไม่สามารถหลับได้ เลยอาบน้ำประพรมน้ำอบน้ำปรุงแล้วถือโอกาสเดินมาชมอาสนะวิหารผู้หญิงของเรา (Notre Dame) โดยหวังใจว่าจะเห็นแสงพระอาทิตย์ขึ้นส่องมาจากด้านหลังตัวเรือนธาตุเป็นที่อัศจรรย์
รูปตอนเช้าหน้า Notre Dame de Paris
Cathedral มาจากภาษาละตินว่า cathedra แปลว่าเก้าอี้ cathedral จึงเป็นโบสถ์ที่ถือเป็นศูนย์บัญชาการ (official seat) ของบิชอปหรืออาร์คบิชอปประจำส่วนการปกครองหรือศัพท์พระคาธอลิคเรียกว่า archdioces ส่วน basilica เป็นโบสถ์ที่ไม่ใช่สำนักงานใหญ่แต่มีความสำคัญมาก ทางฝ่ายบริหารของ Holy Sea ที่วาติกันจึงมอบตำแหน่งให้แตกต่างจากโบสถ์ทั่วไป
ลานวิหารตอนเช้าเงียบสงบ มีกลุ่มวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสออกมานั่งเล่นเย็นใจให้เห็นเป็นหย่อมๆ Notre Dame ตั้งอยู่ในเกาะเมืองหรือ Ile de la Cite คือเป็นเกาะธรรมชาติกลางแม่น้ำแซน ว่ากันว่าชาวโกลส์ (Gauls) อันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมร่วมกันและพูดภาษาเดียวกัน (ethnolinguistic) คือภาษาในตระกูล Celtics (ตัวซีออกเสียงเคอะ) อันเป็นภาษาอยู่ในตระกูลใหญ่อินโดยูโรเปียนอพยพมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศรัสเซียปัจจุบันระหว่างทางเหนือของทะเลดำและแคสเปียน
*บริเวณนี้นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษา proto Indo-European หรือ PIE; อนึ่งภาษา PIE เป็นภาษาสังเคราะห์จากภาษาลูกในตระกูลอินโดยูโรเปียนเป็นภาษาที่คิดว่าน่าจะพูด, อ่าน, และเขียนแบบนี้แต่เนื่องจากสังคมชาว PIE ไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรหรือ illiterate จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าคำที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นคำจริงๆที่ใช้พูดในชีวิตประจำวันหรือไม่
พวกโกลส์มาสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณเกาะ Cite ตั้งแต่ก่อนคริสตกาลแล้วจับพลัดจับผลูตกอยู่ใต้อาณัติของอาณาจักรโรมันตะวันตก ตามบันทึกของ Julius Caesar พวกโรมันเรียกหมู่บ้านนี้ว่า Lutetia จากนั้นพวกแฟรงค์ (Franks) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในตระกูลเจอมานิค (Germanic) ซึ่งอยู่ในตระกูลใหญ่อินโดยูโรเปียนเช่นกันบุกเข้ามายังเกาะเมืองและประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันและตั้งรกรากสถาปนาระบอบเทวราชาขึ้นปกครอง
*น่าแปลกที่พอชาว Franks อันเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาเจอมานิค (ภาษาอังกฤษ, เยอรมัน, และดัชต์เป็นอาทิ) เข้ามาอยู่ในแผ่นดินนี้กลับสร้างภาษาฝรั่งเศสอันเป็นภาษาในตระกูลโรแมนซ์ที่มี DNA ใกล้เคียงกับภาษาละติน, สเปน, อิตาลี, โปรตุเกส, และโรมาเนีย สงสัยคงได้รับอิทธิพลจากภาษาละตินที่เป็นภาษาราชการตอนที่อยู่ใต้ร่มบารมีของอาณาจักรโรมัน; ส่วนภาษา Celtics เหลือพูดประปรายในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบันแถวแคว้น Brittany และเกาะบริเตนใหญ่ใน Scottland และ Ireland
.