เอาล่ะค่ะ วันนี้ จะมาบ่น(?)เรื่องการใช้คำลงท้ายประโยคที่อยู่ในรูป
"-ะ, -่ะ" !! แทนแท้น
มาเริ่มกันเล้ยย
คะ/ค่ะ
คะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะขึ้นเสียงสูง
[คะ, เชื่อมกับ ล่ะ (เชื่อมกับ ล่ะ ในกรณีประโยคคำถาม), นะ, วะ, เหรอ, สิ / ไม่เชื่อมกับ ละ, น่ะ]
ต.ย. - ไปไหนล่ะคะ?, แน่ใจสิคะ, ใช่แน่นะคะ?, ขอบคุณนะคะ
ค่ะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะลงเสียงกลาง (หรือต่ำ)
[ค่ะ, เชื่อมกับ ล่ะ (เชื่อมกับ ล่ะ ในกรณีประโยคบอกเล่า), ว่ะ / ไม่เชื่อมกับ
นะ, วะ, สิ, เหรอ]
ต.ย. ที่โน่นน่ะค่ะ, ไม่ใช่ค่ะ, ไม่เป็นไรค่ะ
(ของแถม การใช้ จ้ะ/จ๊ะ ให้ถูกต้อง เทียบตาม คะ/ค่ะ ได้ โดยให้ คะ = จ๊ะ และ ค่ะ = จ้ะ)
นะ/น่ะ
ตัวนี้ขอชี้แจงเลยว่า...
หน่ะ/หนะ เป็นเพียงเสียงอ่าน ห้ามใช้แทน นะ/น่ะ
นะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะขึ้นเสียงสูง (หรือประโยคคำถาม ชี้แจง ขอร้อง คำสั่ง และปฏิเสธ)
ต.ย. แน่ใจแล้วนะ?, ไม่ใช่นะ, งั้นเอาแบบนี้นะ, เป็นคนอย่างนี้เองสินะ, มั้งนะ (สองตัวหลังไม่รู้จะนับว่ายังไงดี 555)
น่ะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะลงเสียงกลาง (หรือต่ำ) (หรือประโยคบอกเล่า)
ต.ย. ตรงนั้นน่ะ, ไปเที่ยวขั้วโลกใต้มาน่ะ
วะ/ว่ะ
ตัวนี้ขอชี้แจงเลยว่า...
หว่ะ/หวะ เป็นเพียงเสียงอ่าน ห้ามใช้แทน วะ/ว่ะ
...ตัว วะ/ว่ะ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก เทียบกับ คะ/ค่ะ ไม่ค่อยได้ อาจชี้แจงมึน ๆ หน่อย
วะ - ใช้กับประโยคตอบรับ คำถาม ปฏิเสธ (ในบางกรณี)
[วะ, เชื่อมกับ สิ, เหรอ, ล่ะ /ไม่เชื่อมกับ น่ะ]
ต.ย. ไปไหนวะ, แน่ใจเหรอวะ, ก็เออสิวะ, เหรอวะ, ไม่ใช่มั้งวะ
ว่ะ - ใช้กับประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ ปฏิเสธ (ในบางกรณี)
ต.ย. ไปเที่ยวมาว่ะ, ไม่ใช่หรอกว่ะ
ละ/ล่ะ
ชี้แจง : ละ เป็นการกร่อนเสียงจาก แล้ว ทั้งนี้ ละ ไม่ใช่คำลงท้ายประโยคแต่อย่างใด ถ้าจะลงท้ายจะมีแต่ ล่ะ
ชี้แจง 2 :
หล่ะ, หละ เป็นเพียงเสียงอ่าน ห้ามใช้แทน ละ/ล่ะ
ล่ะ - ใช้กับการถามหาอีกสิ่ง บอกเล่า ตอบรับ ฯลฯ
ต.ย. แล้วอาหารล่ะ?, นั่นล่ะ, ใช่แล้วล่ะ
ละ - ละที่เป็นการกร่อนเสียงจาก แล้ว ใช้แทนคำว่า "แล้ว" ในประโยคใด ๆ ไม่มีการใช้ ละ ลงท้ายประโยค
...ท้ายสุด จขกท. แนะนำว่าการหา/ใช้คำลงท้ายประโยคที่ดีที่สุดคือการ ผันเสียงและวรรณยุกต์ น่าจะสะดวกกว่าการมาจำแบบนี้นะคะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่หลาย ๆ ท่าน
ป.ล. อาจมีการกลับมาปรับแก้ในส่วนใดที่ผิดพลาดภายหลัง
การใช้คำลงท้ายประโยค -ะ, -่ะ
"-ะ, -่ะ" !! แทนแท้น
มาเริ่มกันเล้ยย
คะ/ค่ะ
คะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะขึ้นเสียงสูง
[คะ, เชื่อมกับ ล่ะ (เชื่อมกับ ล่ะ ในกรณีประโยคคำถาม), นะ, วะ, เหรอ, สิ / ไม่เชื่อมกับ ละ, น่ะ]
ต.ย. - ไปไหนล่ะคะ?, แน่ใจสิคะ, ใช่แน่นะคะ?, ขอบคุณนะคะ
ค่ะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะลงเสียงกลาง (หรือต่ำ)
[ค่ะ, เชื่อมกับ ล่ะ (เชื่อมกับ ล่ะ ในกรณีประโยคบอกเล่า), ว่ะ / ไม่เชื่อมกับ นะ, วะ, สิ, เหรอ]
ต.ย. ที่โน่นน่ะค่ะ, ไม่ใช่ค่ะ, ไม่เป็นไรค่ะ
(ของแถม การใช้ จ้ะ/จ๊ะ ให้ถูกต้อง เทียบตาม คะ/ค่ะ ได้ โดยให้ คะ = จ๊ะ และ ค่ะ = จ้ะ)
นะ/น่ะ
ตัวนี้ขอชี้แจงเลยว่า...หน่ะ/หนะ เป็นเพียงเสียงอ่าน ห้ามใช้แทน นะ/น่ะ
นะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะขึ้นเสียงสูง (หรือประโยคคำถาม ชี้แจง ขอร้อง คำสั่ง และปฏิเสธ)
ต.ย. แน่ใจแล้วนะ?, ไม่ใช่นะ, งั้นเอาแบบนี้นะ, เป็นคนอย่างนี้เองสินะ, มั้งนะ (สองตัวหลังไม่รู้จะนับว่ายังไงดี 555)
น่ะ - ลงท้ายประโยคที่มีแนวโน้มว่าจะลงเสียงกลาง (หรือต่ำ) (หรือประโยคบอกเล่า)
ต.ย. ตรงนั้นน่ะ, ไปเที่ยวขั้วโลกใต้มาน่ะ
วะ/ว่ะ
ตัวนี้ขอชี้แจงเลยว่า...หว่ะ/หวะ เป็นเพียงเสียงอ่าน ห้ามใช้แทน วะ/ว่ะ
...ตัว วะ/ว่ะ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก เทียบกับ คะ/ค่ะ ไม่ค่อยได้ อาจชี้แจงมึน ๆ หน่อย
วะ - ใช้กับประโยคตอบรับ คำถาม ปฏิเสธ (ในบางกรณี)
[วะ, เชื่อมกับ สิ, เหรอ, ล่ะ /ไม่เชื่อมกับ น่ะ]
ต.ย. ไปไหนวะ, แน่ใจเหรอวะ, ก็เออสิวะ, เหรอวะ, ไม่ใช่มั้งวะ
ว่ะ - ใช้กับประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ ปฏิเสธ (ในบางกรณี)
ต.ย. ไปเที่ยวมาว่ะ, ไม่ใช่หรอกว่ะ
ละ/ล่ะ
ชี้แจง : ละ เป็นการกร่อนเสียงจาก แล้ว ทั้งนี้ ละ ไม่ใช่คำลงท้ายประโยคแต่อย่างใด ถ้าจะลงท้ายจะมีแต่ ล่ะ
ชี้แจง 2 : หล่ะ, หละ เป็นเพียงเสียงอ่าน ห้ามใช้แทน ละ/ล่ะ
ล่ะ - ใช้กับการถามหาอีกสิ่ง บอกเล่า ตอบรับ ฯลฯ
ต.ย. แล้วอาหารล่ะ?, นั่นล่ะ, ใช่แล้วล่ะ
ละ - ละที่เป็นการกร่อนเสียงจาก แล้ว ใช้แทนคำว่า "แล้ว" ในประโยคใด ๆ ไม่มีการใช้ ละ ลงท้ายประโยค
...ท้ายสุด จขกท. แนะนำว่าการหา/ใช้คำลงท้ายประโยคที่ดีที่สุดคือการ ผันเสียงและวรรณยุกต์ น่าจะสะดวกกว่าการมาจำแบบนี้นะคะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่หลาย ๆ ท่าน
ป.ล. อาจมีการกลับมาปรับแก้ในส่วนใดที่ผิดพลาดภายหลัง